United Nations | สหประชาชาติ [TU Subject Heading] |
United Nations Conference on Trade and Development | การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา [TU Subject Heading] |
United Nations Convention Against Transnational Organized Crime (2000) | อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (ค.ศ. 2000) [TU Subject Heading] |
United Nations Convention against Corruption (2003) | อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (ค.ศ. 2003) [TU Subject Heading] |
United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods (1980) | อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ (ค.ศ.1980) [TU Subject Heading] |
United Nations Convention on the Law of the Sea (1982) | อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (ค.ศ. 1982) [TU Subject Heading] |
United Nations Convention on the Carriage of Goods by sea (1978) | อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งของทางทะเล (ค.ศ. 1978) [TU Subject Heading] |
United Nations Framework Convention on Climate Change (1992) | ข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกขององค์การสหประชาชาติ (ค.ศ. 1992) [TU Subject Heading] |
United Nations Framework Convention on Climate Change (1992). Protocols, etc., 1997 Dec. 11. | อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ค.ศ.1992). พิธีสาร (11 ธ.ค. ค.ศ. 1997) [TU Subject Heading] |
United Nations. Charters | สหประชาชาติ. กฎบัตร [TU Subject Heading] |
United Nations. General Assembly | สหประชาชาติ. สมัชชาใหญ่ [TU Subject Heading] |
United Nations. Security Council | สหประชาชาติ. คณะมนตรีความมั่นคง [TU Subject Heading] |
United Nations. Trusteeshif Council | สหประชาชาติ. คณะมนตรีภาวะทรัสตี [TU Subject Heading] |
United Nations Development Programme (UNDP) | โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ, Example: องค์การพิเศษของสหประชาชาติ มีหน้าที่ประสานงานโครงการพัฒนาและให้ความช่วยเหลือ ทางเทคนิคต่างๆ ของสหประชาชาติ องค์กรนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 จัดเป็นองค์การความร่วมมือทางเทคนิคที่ใหญ่ที่สุดของโลก ได้ให้ความช่วยเหลือในโครงการต่างๆ ทั่วโลกไปแล้วหลายพันโครงการ กิจกรรมที่ดครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติให้ความสนับสนุนได้แก่ โครงการด้านทรัพยากรธรรมชาติ การเพิ่มศักยภาพทางการค้าและการส่งออก การพัฒนากำลังคน การสร้างสิ่งจูงใจให้มีการลงทุนในการสร้างทุน โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ แก่ประเทศกำลังพัฒนา และโครงการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เงินทุนที่ใช้ในโครงการได้รับบริจาคโดยสมัครใจจากประเทศสมาชิกและองค์การ ต่างๆ [สิ่งแวดล้อม] |
United Nations Conference on Trade and Development | ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา, Example: องค์การระหว่างประเทศถือกำเนิดขึ้นจากข้อมติ ของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2507 เพื่อแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในปัญหาที่แกตต์ (ดู GATT) ไม่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ อังค์แทดเป็นเวทีการประชุมระหว่างประเทศ ที่เปิดโอกาสให้ประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ปรึกษาหารือร่วมกันแก้ไขปัญหาการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถรวมกลุ่มกัน ใช้เป็นเวทีเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วผ่อนคลาดมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อ การค้าของประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงให้ประเทศกำลังพัฒนามีบทบาทร่วมในการตัดสินใจ เกี่ยวกับนโยบายและการจัดระบบเศรษฐกิจของโลกมากขึ้น ผลงานสำคัญของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา เช่น จีเอสพี (ดู GSP) โครงการร่วมโภคภัณฑ์ (ดู Commodity Stabilization Agreements) และจีเอสทีพี (ดู GSTP) อังค์เทดมีสำนักงานอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิกรวม 168 ประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศสังคมนิยมยุโรปตะวันออก และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา [สิ่งแวดล้อม] |
Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary Permanent Representative of Thailand to the United Nations | เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ (ณ นครนิวยอร์ก/นครเจนีวา) [การทูต] |
Amendments to the Charter of the United Nations | การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต] |
General Assembly of the United Nations | สมัชชาแห่งสหประชาชาติ, Example: หน้าที่สำคัญของสมัชชามีดังนี้1. พิจารณาและจัดทำคำแนะนำเกี่ยวกับหลักการของความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง รวมทั้งหลักการเรื่องการลดอาวุธ และข้อบังคับว่าด้วยกำลังอาวุธ2. พิจารณาและอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพและความมั่นคง พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ นอกจากในกรณีที่ข้อพิพาทหรือสถานการณ์กำลังอยู่ในระหว่างการอภิปรายในคณะ มนตรีความมั่นคงในขณะนั้น3. พิจารณาและอภิปราย เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาใด ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎบัตร หรือที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ขององค์กรใด ๆ ในสหประชาชาติ4. ริเริ่มศึกษา และจัดทำคำแนะนำเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการเมืองระหว่างประเทศ ส่งเสริมการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งพยายามทำให้ทุกคนได้มีสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพมูลฐานประจักษ์ผลตลอดจน ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และการสาธารณสุข5. รับและพิจารณารายงานจากคณะมนตรีความมั่นคงและองค์กรอื่นๆ ของสหประชาชาติ6. จัดทำคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการระงับสถานการณ์ที่ยุ่งยากใดๆ โดยสันติวิธี โดยไม่คำนึงถึงต้นเหตุซึ่งอาจจะยังความเสียหายแก่ความสัมพันธ์ฉันมิตร ระหว่างประเทศ7. ควบคุมดูแลโดยผ่านทางคณะมนตรีภาวะทรัสตีให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามความ ตกลงเกี่ยวกับภาวะทรัสตีในดินแดนทั้งหมดที่มิได้ถูกกำหนดว่าเป็นพื้นที่ทาง ยุทธศาสตร์8. เลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง สมาชิกในคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม สมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตีจะได้รับการเลือกตั้งให้มีส่วนร่วมกับคณะมนตรี ความมั่นคง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศ และแต่งตั้งตัวเลขาธิการสหประชาชาติตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง9. พิจารณาและอนุมัติงบประมาณของสหประชาชาติจัดสรรเงินค่าบำรุงในระหว่างประเทศ สมาชิก และพิจารณางบประมาณของบรรดาองค์การชำนัญพิเศษ (Specialized agencies)ข้อมติใด ๆ ของสมัชชานั้น ถือว่าเป็นข้อเสนอแนะ (recommendations) หรือคำแนะนำแก่ประเทศสมาชิกองค์กรหรือองค์การรัฐบาลอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสหประชาชาติ แม้ว่าข้อเสนอแนะเหล่านี้ไม่เป็นเครื่องผูกมัดก็ตาม แต่ก็ถือว่ามีลักษณะชักจูงจิตใจของรัฐบาลต่าง ๆ ที่เป็นเสียงส่วนข้างมากของโลก และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังข้อเสนอแนะดังกล่าวสมัชชาจะประชุมกันปีละครั้งเป็น ประจำทุกปี โดยมากจะเริ่มต้นในวันอังคารที่สามของเดือนกันยายน สมัชชาย่อมเรียกประชุมสมัยพิเศษได้ ถ้าคณะมนตรีความมั่นคงขอร้อง หรือสมาชิกส่วนข้างมากของสหประชาชาติ หรือประเทศสมาชิกหนึ่งใดที่เป็นประเทศสมาชิกส่วนข้างมากเห็นพ้องด้วย สมัชชาจักประชุมสมัยพิเศษยามฉุกเฉินได้ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งได้รับการขอร้องจากคณะมนตรีความมั่นคง ด้วยคะแนนเสียงของประเทศสมาชิกใดๆ 7 ประเทศของคณะมนตรีความมั่นคงหรือด้วยเสียงข้างมากของประเทศสมาชิกของสหประชา ชาติ หรือตามคำขอร้องของประเทศสมาชิกหนึ่งใด ซึ่งสมาชิกส่วนข้างมากของสหประชาชาติเห็นพ้องด้วยสมัชชาสหประชาชาติประกอบ ด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมดทุกประเทศ แต่ละประเทศสมาชิกมีผู้แทนในสมัชชาไม่เกินกว่า 5 คน และแต่ละประเทศสามารถตัดสินใจเลือกผู้แทนได้ตามวิถีทางของตน สมัชชาจะทำงานโดยผ่านคณะกรรมการใหญ่รวม 7 คณะ และประเทศสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกผู้แทนของตนไปประจำอยู่ในคณะ กรรมการเหล่านั้น คณะกรรมการดังกล่าวมี - คณะกรรมการที่หนึ่ง (First Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายการเมืองและความมั่นคง รวมทั้งการจัดระเบียบควบคุมกำลังอาวุธด้วย- คณะกรรมการฝ่ายการเมืองพิเศษ (Special Political Committee) มีส่วนร่วมทำงานกับคณะกรรมการที่หนึ่ง- คณะกรรมการที่สอง (Second Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง- คณะกรรมการที่สาม (Third Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายสังคม มนุษยธรรม และวัฒนธรรม- คณะกรรมการที่สี่ (Fourth Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายภาวะทรัสตี รวมทั้งดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง- คณะกรรมการที่ห้า (Fifth Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายธุรการและงบประมาณ- คณะกรรมการที่หก (Sixth Committee) ได้แก่ คณะกรรมการฝ่ายกฎหมายนอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการทั่วไป (General Committee) อีกคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ตัวประธาน และรองประธานสมัชชาอีก 13 คน รวมทั้งประธาน (President) ของคณะกรรมการสำคัญทั้ง 7 คณะ คณะกรรมการทั่วไปนี้จะทำการประชุมกันบ่อยครั้งในระหว่างสมัยประชุมสมัชชา เพื่อดูแลให้งานการประชุมของสมัชชาดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการฝ่ายการแต่งตั้ง (Credentials Committee) ซึ่งประธานสมัชชาจะเป็นผู้แต่งตั้งทุกสมัยการประชุม เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบหนังสือแต่งตังของบรรดาผู้แทนประเทศสมาชิกตามปกติ สมัชชาเป็นฝ่ายนำเสนอเรรื่องทั้งหมดในระเบียบวาระของสมัชชาไปให้คณะกรรมการ สำคัญคณะหนึ่ง คือ คณะกรรมการร่วม (Joint Committee) หรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง (Ad hoc Committee) ที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ จากนั้น คณะกรรมการเหล่านี้จะส่งข้อเสนอของตนไปให้สมัชชารับรองในการประชุมเต็มคณะ (Plenary meeting)อนึ่ง สมัชชาสหประชาชาติมีคณะกรรมการที่เรียกว่า Standing Committee ทำหน้าที่ช่วยเหลืออยู่สองคณะ คือ คณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาด้านธุรการและงบประมาณ และคณะกรรมการเกี่ยวกับเงินค่าบำรุงของประเทศสมาชิก สมาชิกในคณะกรรมการเกี่ยวกับเงินค่าบำรุงของประเทศสมาชิก สมาชิกในคณะกรรมการเหล่านี้จะได้รับการเลือกตั้งจากสมัชชาให้อยู่ในคณะ กรรมการสามปีจึงจะครบวาระ การพิจารณาเลือกตั้งนั้นให้ถือตามคุณวุฒิส่วนตัว และการแบ่งสรรถือตามเขตภูมิรัฐศาสตร์ (Geographical distribution) [การทูต] |
United Nations International Research and Training Institute for the Advancement of Women | สถาบันวิจัยและฝึกอบรมระหว่างประเทศเพื่อความก้าวหน้าของสตรีแห่งสหประชา ชาติ เป็นสถาบันที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินบริจาคโดยสมัครใจจากประเทศสมาชิก มีเป้าหมายที่จะเร่งรัดและช่วยเหลือให้สตรีสามารถมีบทบาทอย่างแข็งขันและ อย่างเท่าเทียมกันในกระบวนการพัฒนา [การทูต] |
International Law Commission of the United Nations | คือคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมปรับปรุงกฎหมายระหว่า ประเทศ รวมทั้งการทำประมวลกฎหมายให้ก้าวหน้าและทันสมัยคณะกรรมาธิการนี้ประกอบด้วย สมาชิกรวม 25 คน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งสมาชิกคราวละ 5 ปี และจะทำงานในคณะกรรมาธิการในฐานะตัวบุคคล มิใช่เป็นตัวแทนจากประเทศของตน ตลอดการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเป็นจำนวนหลายสมัยมาแล้ว คณะกรรมาธิการได้ทำหน้าที่ร่างกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย บางเรื่องได้ริเริ่มขึ้นเองโดยคณะกรรมาธิการ แต่บางเรื่องทางสมัชชาสหประชาชาติหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ได้ส่งไปให้พิจารณาดำเนินการคณะกรรมาธิการได้ร่างสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายทาง ทะเลไปแล้วไม่น้อยกว่า 4 ฉบับ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง อนุสัญญาว่าด้วยอาณาเขตทางทะเลและพื้นที่ติดชายฝั่งอนุสัญญาเกี่ยวกับการจับ ปลา การอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีชีวิตในท้องทะเลหลวง พร้อมทั้งได้รับสัตยาบันสารจากประเทศต่าง ๆ ไว้แล้วเป็นจำนวนมาก เมื่อ ค.ศ.1961 และ 1963 คณะกรรมาธิการได้จัดให้มีการประชุมใหญ่สองครั้งตามลำดับ ณ กรุงเวียนนา พร้อมทั้งได้ลงมติรับรองอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล [การทูต] |
Secretariat of the United Nations | คือสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตามที่องค์การต้องการหน้าที่สำคัญของเลขาธิการสหประชา ชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ นำเรื่องใดก็ตามเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคง ซี่งตามทรรศนะของเลขาธิการเห็นว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี และรายงานเพิ่มเติมใด ๆ ที่จำเป็นเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติ เกี่ยวกับงานขององค์การ สหประชาชาติคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานช่วยเหลือเลขาธิการนั้น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ในการเกณฑ์เจ้าหน้าที่เหล่านี้เข้าทำงานกับสหประชาชาติ จะคัดแต่ผู้ที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์ในระดับสูงสุด และคำนึงถึงเขตภูมิศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานตามหน้าที่ ทั้งตัวเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน จะต้องไม่แสวงหรือรับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงยอมรับนับถือความรับผิดชอบที่มีลักษณะระหว่าง ประเทศของสำนักเลขาธิการ และจักไม่แสวงใช้อิทธิพลใด ๆ ต่อสำนักเลขาธิการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบเหล่านั้น [การทูต] |
Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] |
United Nations Capital Development Fund | กองทุนพัฒนาเงินทุนแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Conference on Environment and Development | การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาและสิ่งแวด ล้อม [การทูต] |
United Nations Centre for Human Settlements หรือ HABITAT | ศูนย์เพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของคณะกรรมาธิการว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (Commission on Human Settlements) ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานกิจกรรมการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชา ชาติที่เน้นในเรื่องที่พักพิง (shelter) และบริการทางสังคม การจัดการเมือง สิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐาน และการประเมิน ติดตามข่าวสารข้อมูลทางด้านการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ [การทูต] |
United Nations Conference on Trade and Development | การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) " เป็นองค์กรของสหประชาชาติที่รับผิดชอบเรื่องการค้า การเงิน การ ลงทุน เทคโนโลยี และการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีหน้าที่เป็นเวทีประสานนโยบายระหว่างรัฐบาล ศึกษาวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจโลกและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศ กำลังพัฒนา ปัจจุบันมีรัฐสมาชิก 190 ประเทศ ประชุมระดับรัฐมนตรีปีละ 4 ครั้ง ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอังค์ถัดครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 10) เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2543 " [การทูต] |
United Nations Drug Control Programme | โครงการควบคุมยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางด้านข้อมูลข่าวสารและความรู้ในด้านการควบคุมยาเสพติด โดยได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกในด้านการจัดทำยุทธศาสตร์ควบคุมยาเสพ ติด [การทูต] |
United Nations Development Programme | โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ปริหารและประสานความช่วยเหลือด้านวิชาการทั้งหมดในระบบสหประชาชาติ [การทูต] |
Office of the United Nations Disaster Relief Co-ordinator | สำนักงานผู้ประสานงานในการบรรเทาภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Environment Programme | โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Emergency Force | กองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ขอรัองให้เลขาธิการสหประชาชาติเสนอแผนการภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติของสหประชาชาติ โดยได้รับอนุมัติจากชาติที่เกี่ยวข้อง ให้ทำหน้าที่ยุติและควบคุมดูแลการหยุดรบในประเทศอียิปต์ วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 5 พฤศจิกายน สมัชชาก็ได้ลงมติให้จัดตั้งกองบัญชาการแห่งสหประชาชาติขึ้นปรากฏว่า ผู้แทนของสหภาพโซเวียตได้กล่าวอ้างว่า การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ โดยยกบทที่ 7 ของกฎบัตรขึ้นมาอ้างว่า คณะมนตรีความมั่นคงองค์กรเดียวเท่านั้น ที่กฎบัตรให้อำนาจจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ สหภาพโซเวียตและอีกบางประเทศจึงแถลงว่า จะไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกเงินค่าใช้จ่ายสำหรับกองกำลังดังกล่าวโดยเด็ดขาด พึงสังเกตว่า การที่สหภาพโซเวียตอ้างยืนยันว่า คณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นที่กฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจตั้งกองกำลังสห ประชาชาติได้ ก็เพราะหากยินยอมตามข้ออ้างของสหภาพโซเวียตดังกล่าว จะไม่มีทางจัดตั้งกองกำลังขึ้นได้เลย เพราะสหภาพโซเวียตจะใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงอย่างไม่ต้องสงสัย [การทูต] |
United Nations University | มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1973 ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นสถาบันอิสระที่บริหารปกครองตนเองภายในโครงร่างของสหประชาชาติ เรียกได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศในเชิงวิชาการ ในอันที่จะมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลต่อการแก้ปัญหาเร่งด่วนต่าง ๆ ของโลก มหาวิทยาลัยนี้มีลักษณะไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นทั่ว ๆ ไป ทั้งในด้านโครางสร้างและแบบอย่างการดำเนินงาน กล่าวคือ ไม่มีนิสิตนักศึกษาของตนเอง ไม่มีคณะในมหาวิทยาลัย และไม่มีบริเวณมหาวิทยาลัย (campus) ดำเนินงานภายในเครือข่ายของสถาบันวิจัยและวิชาการต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งศูนย์ฝึกและศูนย์วิจัยของตนเอง ทั้งยังรวมไปถึงผู้คงแก่เรียนเป็นรายบุคคลด้วย ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกเป็นจุดสำคัญเรื่องที่มหาวิทยาลัยสหประชาชาติกำลังกังวลและสนใจอยู่ใน ขณะนี้ คือ เรื่องเกี่ยวกับค่านิยมของมนุษย์ทั่วโลก รวมทั้งความรับผิดชอบทั้งหลายที่มนุษย์ทั่วโลกจะพึงมี เรื่องทิศทางใหม่ ๆ ในภาวะเศรษฐกิจที่กลังปรากฏอยู่ในโลก รวมทั้งเรื่องความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการทางเทคโนโลยีเรื่องพลัง ที่ทำให้เกิดความผันแปรระหว่างพลเมืองของโลก ตลอดจนเรื่องสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ยังมุ่งหมายที่จะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพในการวิจัย และการฝึกในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายด้วย และภายในมหาวิทยาลัยเองก็กำลังสนใจด้านวิจัยและการฝึกฝนในบางเรื่องโดยเฉพาะ [การทูต] |
United Nations Transitional Administration in East Timor | องค์กรบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก " จัดตั้งขึ้นตามมติสหประชาชาติที่ 1272 (1999) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2542 พลโทบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ นายทหารไทย ได้รับเลือกให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพของ UNTAET ในติมอร์ตะวันออก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 " [การทูต] |
United Nations Secretary-General | เลขาธิการสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การสหประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Security Council | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ " ประกอบด้วยสมาชิกสหประชาชาติ 15 ประเทศ แบ่งออกเป็นสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา (กำหนดในกฎบัตรสหประชาชาติ) และสมาชิกไม่ถาวรที่มาจากการเลือกตั้งจากสมัชชาฯ อีก 10 ประเทศ มีกำหนดคราวละ 2 ปี คณะมนตรีความมั่นคงฯ ทำหน้าที่หลักในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยกระทำในนามของสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด และสมาชิกสหประชาชาติมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำวินิจ- ฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงฯ " [การทูต] |
United Nations Relief and Works Agency for Palestine Refugees in the Near East | สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ใน ตะวันออกใกล้ [การทูต] |
United Nations Research Institute for Social Development | สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Office on Drugs and Crime | สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Mine Action Service | องค์กรสนับสนุนการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งสห ประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization | องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาติ [การทูต] |
United Nations Fund for Population Activities | กองทุนเพื่อกิจกรรมประชากรแห่งสหประชาติ [การทูต] |
United Nations General Assembly | สมัชชาสหประชาชาติ เป็นที่ประชุมใหญ่ของประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด ปัจจุบันมีสมาชิก 189 ประเทศ [การทูต] |
Office of the United Nations High Commissioner for Refugees | สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Children's Fund | กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Institute for Disarmament Research | สถาบันวิจัยเพื่อการลดอาวุธแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Industrial Development Organization | องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Development Fund for Women | กองทุนเพื่อการพัฒนาสตรีแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Institute for Training and Research | สถาบันเพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
Voting Procedure in the United Nations | วิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ สมาชิกแต่ละประเทศมีคะแนนเสียง 1 คะแนน ข้อมติของสมัชชาในปัญหาสำคัญ (Important Questions) จะกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ที่เรียกว่าปัญหาสำคัญนั้นได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตี การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เพิ่มเติมนั้น จัดกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียงอนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจักต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute majority) ในที่ประชุมของสมัชชาและในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย นอกจากนี้สมาชิกสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินที่ค้างชำระเท่าหรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุงที่ถึงกำหนด ชำระสำหรับ 2 ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตาม สมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้น เนื่องมาจากภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |