ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*classific*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: classific, -classific-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
classification(n) การจัดแบ่งประเภท, Syn. grouping, sorting
classificatory(adj) ที่จัดแบ่งประเภท

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
classification(แคลสซิฟิเค'เชิน) n. การแบ่งออกเป็นหมวดหมู่., See also: classificatory adj. -al adj.

English-Thai: Nontri Dictionary
classification(n) การแบ่งประเภท, การจัดหมวดหมู่, การแยกประเภท

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
phylogenetic classificationการจำแนกตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]
P.C. (position classification)การจำแนกตำแหน่งตามหน้าที่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
position classification (P.C.)การจำแนกตำแหน่งตามหน้าที่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
law, classification ofการแบ่งแยกประเภทกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
lithostratigraphic classificationการจำแนกลำดับชั้นหินตามลักษณะหิน [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
rank classificationการจำแนกตำแหน่งตามชั้นยศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
soil classificationการจำแนกดิน [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
stratigraphic classificationการจำแนกลำดับชั้นหิน [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
occupational classificationการจำแนกประเภทตามกลุ่มอาชีพ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
occupational classificationการแยกประเภทอาชีพ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
artificial classificationการจำแนกแบบง่าย [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]
biostratigraphic classificationการจำแนกลำดับชั้นหินตามชีวภาพ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
categories of stratigraphic classificationประเภทการจำแนกลำดับชั้นหิน [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
chronostratigraphic classificationการจำแนกลำดับชั้นหินตามอายุกาล [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
classificationการจำแนก [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
classification clauseข้อกำหนดมาตรฐานเรือ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
classification errorความเคลื่อนคลาดในการจัดจำพวก [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
classification of crimesการจำแนกประเภทการกระทำผิดอาญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
classification of lawการแบ่งแยกประเภทกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
classification of tortsการจำแนกประเภทละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
classification societyสมาคมมาตรฐานเรือ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
classification, position (P.C.)การจำแนกตำแหน่งตามหน้าที่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
classification, rankการจำแนกตำแหน่งตามชั้นยศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
CIPW classificationการจำแนกแบบซีไอพีดับเบิลยู [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
classificationการแยกประเภท, การจำแนก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
classificationการจำแนกประเภท, การจัดจำพวก [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
classificationการจำแนก [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]
denture classificationการจำแนกประเภทฟันปลอม [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕]
field classificationการจำแนกในสนาม [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
igneous rock classificationการจำแนกประเภทหินอัคนี [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
torts, classification ofการจำแนกประเภทละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Kennedy classificationการจำแนกแบบเคนเนดี [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕]
natural classificationการจำแนกแบบใช้หลายลักษณะ [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Classificationการวิเคราะห์หนังสือ [เทคโนโลยีการศึกษา]
Dewey Decimal Classificationการจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ [เทคโนโลยีการศึกษา]
Library classificationการจัดหมู่หนังสือ, Example: เดิมห้องสมุดส่วนใหญ่จัดเก็บหนังสือ ตามขนาดของหนังสือ ตามสีของปก หรือตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือ ต่อมา ได้มีผู้คิดระบบจัดหมู่หนังสือขึ้น โดยแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ โดยมีพัฒนาการ ดังนี้ <p> <p>1. สมัยโบราณ <p><p> 1.1 ชาวอัสซีเรียน เชื่อกันว่า ชาวอัสซีเรียนเป็นพวกที่เริ่มวิธีการจัดหมู่อย่างเป็นแบบแผน ในสมัยพระเจ้าอัสซูบานิปาล มีการจัดกลุ่มแท่งดินเหนียวในห้องสมุดแห่งเมืองนิเนเวห์ออกเป็น 2 หมวดใหญ่แบ่งตามเนื้อเรื่อง คือ เรื่องราวทางโลก และ เรื่องราวทางสวรรค์ <p><p> 1.2 ชาวโรมัน ห้องสมุดในสมัยโรมัน มีการแบ่งแยกหนังสือตามประเภทของผู้เขียน เป็น 2 หมวด คือ หนังสือของพวกนักเขียนนอกศาสนา และหนังสือของพวกนักเขียนที่นับถือศาสนาคริสต์หรือนักบวช <p><p> 1.3 ชาวอียิปต์ คัลลิมาคัส ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ของห้องสมุดอเล็กซานเดรีย จัดแบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่ คือ กวีนิพนธ์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา วาทศิลป์ และเบ็ดเตล็ด <p> 2 สมัยกลาง อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก คิดระบบการจัดแบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 3 ภาคได้แก่ <p><p> - ความรู้ภาคปฏิบัติ (Practical หรือ Ethical) ประกอบด้วย วิชาเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ <p><p> - ความรู้ในทางสร้างสรรค์ (Productive หรือ Creative) ประกอบด้วย วิชากวีนิพนธ์ และศิลปะ <p><p> - ความรู้ภาคทฤษฎี (Theoretical) ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเทววิทยา <p> 3. สมัยศตวรรษที่ 16 คอนราด เกสเนอร์ (Conrad Gesner) เขียนหนังสือชื่อ Bibliotheca Universalis ซึ่งเป็นบรรณานุกรมที่รวบรวมรายชื่อหนังสือภาษาลาติน กรีก และฮินดู จัดเรียงตามรายชื่อหนังสือตามลำดับหัวข้อวิชา โดยแบ่งออกเป็น 21 หัวข้อ <p> 4. สมัยศตวรรษที่ 17 เซอร์ ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon) ได้เขียนหนังสือชื่อ The Advancement of Learning ขึ้นในปี ค.ศ. 1605 โดยเบคอนมีความคิดว่า มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดเป็น 3 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนมีผลทำให้เกิดความรู้ขึ้น ได้แก่ ส่วนที่ 1 ความจำ (Memory) ทำให้เกิดวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนที่ 2 จินตนาการ (Imagination) ทำให้เกิดวิชาร้อยกรอง และ ส่วนที่ 3 เหตุผล (Reason) ทำให้เกิดวิชาปรัชญา <p> จากแนวความคิดนี้เอง ประธานาธิบดี โธมัส เจฟเฟอสัน (Thomas Jefferson) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้นำมาจัดทำเป็นระบบจัดหมู่หนังสือในห้องสมุดส่วนตัว ซึ่งต่อมาก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นระบบจัดหมู่หนังสือในหอสมุดรัฐสภาอเมริกันในยุคแรก <p> 5. สมัยศตวรรษที่ 18 กุสตาฟ บูรเนต์ (Gustave Brunet) ชาวฝรั่งเศส เขียนหนังสือคู่มือการจัดหมู่หนังสือและห้องสมุดชื่อ Manuel du Libraire et d l' Amateur de Livres โดยแบ่งความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่คือ เทววิทยา นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดี <p> 6. สมัยศตวรรษที่ 19-20 ได้มีผู้คิดระบบจัดหมู่หนังสือเพื่อใช้ในห้องสมุดอย่างจริงจังหลายระบบ ได้แก่ <p><p> ค.ศ. 1876 ระบบทศนิยมดิวอี้ <p><p>ค.ศ. 1891 ระบบเอ็กแพนซีฟ <p><p>ค.ศ. 1901 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p><p>ค.ศ. 1905 ระบบทศนิยมสากล <p><p> ค.ศ. 1906 ระบบซับเจ็ค <p><p> ค.ศ. 1933 ระบบโคลอน <p><p> ค.ศ. 1935 ระบบบิบลิโอกราฟิค <p> ระบบการจัดหมู่ในระยะแรกมีแนวคิดในการแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่อย่างมีเหตุผลตามแนวทฤษฎี จึงเรียกว่า ระบบทฤษฎี (Theoretical system) ต่อมาในศตวรรษที่ 20 แนวความคิดเปลี่ยนเป็นการคำนึงถึงหนังสือที่มีอยู่จริงในห้องสมุด จึงเรียกว่า ระบบปฏิบัติ (Practical system) <p> บรรณานุกรม <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์. แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์. 2520. ประวัติการทำบัตรรายการและการจัดหมู่หนังสือ. เอกสารบรรณารักษศาสตร์ เล่ม 19. กรุงเทพฯ : แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. <p> Wynar, Bohdan S. 1985. Introduction to Cataloging and Classification. 7th ed. Littletob, Colo. : Libraries Unlimited. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Decimal classificationการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Dewey Decimal Classificationการจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Library of Congress Classification Systemระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Universal Decimal Classificationระบบทศนิยมสากล [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Classification, Dewey Decimalการวิเคราะห์หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้, Example: ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification Syste, - DDC หรือ DC) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่เก่าแก่และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ผู้คิดระบบทศนิยมดิวอี้ คือ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) บรรณารักษ์ชาวอเมริกัน เมื่อปี ค.ศ. 1873 และจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1876 ใช้ชื่อว่า A Classicification and Subject Index for Cataloging and Arranging Books and Pamphlets of a Library โดยครอบคลุมการแบ่งย่อยเนื้อหาวิชาจากเรื่องกว้างๆ ไปจนถึงเนื้อเรื่องเฉพาะ นอกเหนือจากฉบับพิมพ์แล้ว ปัจจุบันคือ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 22 ยังมีเป็นแบบออนไลน์อีกด้วย <p> <p> ลักษณะทั่วไปของระบบทศนิยมดิวอี้ <p> 1. ระบบทศนิยมดิวอี้ เป็นระบบที่คิดขึ้นโดยการแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ตามหลักทฤษฎี (Theoretical systems) กล่าวคือ กำหนดการแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้ในแต่ละหมวดหมู่ โดยคำนึงถึงลำดับพัฒนาการของการเกิดวิชาความรู้ในแต่ละสาขาเป็นสำคัญ เริ่มจาก <p> - ปรัชญา: เป็นเนื้อหาความรู้แรก เป็นเรื่องที่มนุษย์คิดเกี่ยวกับตน คือใคร มาจากไหน ความดีหรือความชั่ว คืออะไร เป็นอย่างไร <p> - ศาสนา: เป็นวิชาที่มนุษย์คิดเกี่ยวกับพระเจ้า พระเจ้าคือใคร จะช่วยให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างไร <p> - สังคมศาสตร์: ถัดจากคิดเกี่ยวกับตัวเอง คือ การที่มนุษย์คิดเกี่ยวกับบุคคลอื่น การอยู่ร่วมกันต้องมีการคิดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้อื่น <p> - ภาษา: การที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับถ้อยคำและการสื่อสารเพื่อการติดต่อ สมาคม <p> - วิทยาศาสตร์: มนุษย์คิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ทำไมจึงเกิด มีการคิด พิสูจน์ ได้ข้อเท็จจริงที่อธิบายปรากฏารณ์ต่างๆ และบันทึกข้อเท็จจริงนั้นๆ ไว้ <p> - วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี: เมื่อมนุษย์นำความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความสุขสบาย <p> - ศิลปะและนันทนาการ: มนุษย์คิดสร้างสรรค์จากความประทับใจของตนเป็นงานเชิงศิลปะ ดนตรี และความบันเทิง <p> - วรรณกรรมหรือวรรณคดี: งานศิลปะที่สร้างขึ้นถูกมนุษย์นำมาถ่ายทอด และบอกเล่าผ่านทางตัวอักษร <p> - ประวัติศาสตร์: มนุษย์บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับคน สถานที่ เหตุการณ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ <p> - ความรู้ทั่วไปหรือเบ็ดเตล็ด: การเอาความรู้อื่นๆ ที่ไม่อาจจัดไว้ในหมวดหมู่อื่นได้ มารวมไว้ด้วยกัน <p> 2. จัดแบ่งหมวดวิชาความรู้ในสาขาต่างๆ โดยเริ่มจากเรื่องทั่วๆ ไป สู่เรื่องที่เฉพาะยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็นชั้น ชั้นละ 10 กลุ่ม จากหมวดใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อย ดังนี้ <p> 2.1 การแบ่งครั้งที่ 1 (First Summary) คือ แบ่งวิชาความรู้ทุกแขนงวิชาของมนุษยชาติออกเป็นหมวดใหญ่ (Main class) 10 หมวด ใช้เลขอารบิกหลักร้อย 0-9 เป็นสัญลักษณ์แทนวิชาความรู้ทั้ง 10 หมวด ดังนี้ <p> 000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และ ความรู้ทั่วไป (Computer science, information & general works) <p> 100 ปรัชญาและจิตวิทยา (Philosophy and psychology) <p> 200 ศาสนา (Religion) <p> 300 สังคมศาสตร์ (Social sciences) <p> 400 ภาษา (Languages) <p> 500 วิทยาศาสตร์ (Science) <p> 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Technology and applied science) <p> 700 ศิลปะและนันทนาการ (Arts and recreation) <p> 800 วรรณคดี (Literature) <p> 900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และชีวประวัติ (History, geography and biography) <p> 2.2 การแบ่งครั้งที่ 2 (Second Summary) คือ การแบ่งหมวดวิชาความรู้หมวดใหญ่แต่ละหมวดออกเป็นหมวดย่อย (Division) 10 หมวด ใช้เลขอารบิกหลักสิบ 0-9 แทนความรู้หมวดย่อย เช่น หมวดใหญ่ 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ แบ่งเป็นหมวดย่อย 10 หมวด คือ <p> 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Technology (Applied sciences) <p> 610 แพทยศาสตร์ (Medical sciences) <p> 620 วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) <p> 630 เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p> 640 คหกรรมศาสตร์ (Home economics) <p> 650 การจัดการ (Management) <p> 660 อุตสาหกรรมเคมี (Chemical engineering) <p> 670 โรงงานอุตสาหกรรม (Manufacturing) <p> 680 โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้เฉพาะอย่าง (Manufacture for specific uses) <p> 690 การก่อสร้าง (Buildings) <p> ดังนั้น หมวดใหญ่ 10 หมวดจึงแบ่งเป็นหมวดย่อยได้ 100 หมวด ดังนี้ <p> 000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และความรู้ทั่วไป (Computer science, information & general works) <p> 010 บรรณานุกรม (Bibliographies) <p> 020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (Library & information sciences) <p>030 หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม (Encyclopedias & books of facts) <p> 040 ยังไม่กำหนดใช้ (No longer used) <p> 050 นิตยสาร วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Magazines, journals & serials) <p> 060 สมาคม องค์การและพิพิธภัณฑวิทยา (Associations, organizations & museums) <p> 070 สื่อใหม่ วารสารศาสตร์ และการพิมพ์ (News media, journalism & publishing) <p>080 รวมเรื่อง (General collections) <p> 090 ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก (Manuscripts & rare books) <p> 100 ปรัชญา (Philosophy) <p> 110 อภิปรัชญา (Metaphysics) <p> 120 ญาณวิทยา ความเป็นเหตุผล ความเป็นมนุษย์ (Epistemology, causation, humankind) <p> 130 จิตวิทยานามธรรม (Paranormal phenomena) <p> 140 แนวความคิดปรัชญาเฉพาะกลุ่ม (Specific philosophical schools) <p> 150 จิตวิทยา (Psychology) <p> 160 ตรรกศาสตร์ ตรรกวิทยา (Logic) <p> 170 จริยศาสตร์ ศีลธรรม (Ethics (Moral philosophy)) <p> 180 ปรัชญาสมัยโบราณ สมัยกลาง ตะวันออก (Ancient, medieval, Oriental philosophy) <p> 190 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ (Modern Western philosophy (19th-century, 20th-century)) <p> 200 ศาสนา (Religion) <p> 210 ศาสนาธรรมชาติ (Natural theology) <p> 220 ไบเบิล (Bible) <p> 230 เทววิทยาตามแนวคิดคริสต์ศาสนา (Christian theology) <p> 240 ศีลธรรมชาวคริสต์ การอุทิศเพื่อศาสนา (Christian moral & devotional theology) <p> 250 คริสต์ศาสนาในท้องถิ่นและระเบียบแบบแผนปฏิบัติ (Christian orders & local church) <p> 260 สังคมชาวคริสต์ เทววิทยาทางศาสนา (Christian social theology) <p> 270 ประวัติคริสต์ศาสนา (Christian church history) <p> 280 นิกายต่างๆ ในคริสต์ศาสนา (Christian denominations & sects) <p> 290 ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่นๆ (Other & comparative religions) <p> 300 สังคมศาสตร์ สังคมวิทยา และ มนุษยวิทยา (Social sciences, Sociology & anthropology) <p> 310 สถิติศาสตร์ (General statistics) <p> 320 รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง (Political science) <p> 330 เศรษฐศาสตร์ (Economics) <p> 340 กฎหมาย (Law) <p> 350 รัฐประศาสนศาสตร์ และวิทยาการทหาร (Public administration) <p> 360 การบริการสังคม และสมาคม (Social services; assoication) <p> 370 การศึกษา (Education) <p> 380 การพาณิชย์ การสื่อสาร การขนส่ง (Commerce, communications, transport) <p>390 ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยา (Customs, etiquette, folklore) <p> 400 ภาษา (Language) <p> 410 ภาษาศาสตร์ (Linguistics) <p> 420 ภาษาอังกฤษ (English & Old English) <p> 430 ภาษาเยอรมัน (Germanic languages; German) <p> 440 ภาษาโรมานซ์ ; ภาษาฝรั่งเศส (Romance languages; French) <p> 450 ภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน (Italian, Romanian, Rhaeto-Romantic) <p> 460 ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส (Spanish & Protugese languages) <p> 470 ภาษาละติน (Italic languages; Latin) <p> 480 ภาษากรีก (Hellenic languages; Classical Greek) <p> 490 ภาษาอื่นๆ (Other languages) <p> 500 วิทยาศาสตร์ (Sciences) <p> 510 คณิตศาสตร์ (Mathematics) <p> 520 ดาราศาสตร์ (Astronomy & allied sciences) <p> 530 ฟิสิกส์ (Physics) <p> 540 เคมี (Chemistry & allied sciences) <p> 550 วิทยาศาสตร์โลก (Earth sciences) <p> 560 บรรพชีวินวิทยา (Paleontology; Paleozoology) <p>570 ชีววิทยา (Life sciences) <p> 580 พฤกษศาสตร์ (Plants) <p>590 สัตววิทยา (Zoological sciences/Animals) <p> 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี (Technology (Applied sciences)) <p> 610 แพทยศาสตร์ (Medical sciences; Medicine) <p>620 วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering & applied operations) <p> 630 เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p> 640 คหกรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัว (Home economics & family living) <p> 650 การจัดการธุรกิจ (Management & auxiliary services) <p> 660 วิศวกรรมเคมี (Chemical engineering) <p> 670 โรงงานอุตสาหกรรม (Manufacturing) <p> 680 สินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักร (Manufacture for specific uses) <p> 690 การก่อสร้าง (Buildings) <p> 700 ศิลปกรรม การบันเทิง (Arts) <p> 710 ภูมิสถาปัตย์ (Civic & landscape art) <p> 720 สถาปัตยกรรม (Architecture) <p> 730 ประติมากรรม (Plastic arts; Sculture) <p> 740 การวาดเขียน มัณฑนศิลป์ (Drawing & decorative arts) <p> 750 จิตรกรรม ภาพเขียน (Painting & paintings) <p> 760 ศิลปะการพิมพ์ ศิลปะกราฟิก (Graphic arts; Printmaking & prints) <p> 770 การถ่ายรูป ภาพถ่าย (Photography & photographs) <p> 780 ดนตรี (Music) <p> 790 การบันเทิง นันทนาการ กีฬา (Recreational & performing arts) <p> 800 วรรณกรรม วรรณคดี (Literature) <p> 810 วรรณคดีอเมริกันในภาษาอังกฤษ (Literature rhetoric & criticism) <p> 820 วรรณคดีภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษโบราณ (English & Old English literatures) <p> 30 วรรณคดีภาษาเยอรมัน (Literatures of Germanic languages) <p> 840 วรรณคดีภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมานซ์ (Literatures of Romance languages) <p> 850 วรรณคดีภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน (Italian, Romanian, Rhaeto-Romanic) <p> 860 วรรณคดีภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส (Spanish & Portugese literature) <p> 870 วรรณคดีภาษาละติน (Italic literature; Latin) <p> 880 วรรณคดีภาษากรีก (Hellenic literatures; Classical Greek) <p> 890 วรรณคดีภาษาอื่นๆ (Literatures of other languages) <p> 900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ (History, geography & biography) <p> 910 ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว (Geography & travel) <p> 920 ชีวประวัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (Biography, genealogy, insignia) <p> 930 ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ (History of ancient world) <p> 940 ประวัติศาสตร์ยุโรป โลกตะวันตก (General history of Europe) <p> 950 ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออก (General history of Asia; Far East) <p> 960 ประวัติศาสตร์แอฟริกา (General history of Africa) <p> 970 ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ (General history of North America) <p> 980 ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้ (General history of South America) <p> 990 ประวัติศาสตร์ส่วนอื่นๆ ของโลก (General history of other areas) <p>จากหมวดย่อย 100 หมวด เลขตัวที่ 2 คือเลขหลักสิบของหมวดย่อยทั้ง 100 หมวด เป็นเลข 0-9 เหมือนๆ กัน เพราะหมวดใหญ่แต่ละหมวดแบ่งเป็น 10 หมวดย่อยเท่าๆ กัน ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของระบบที่ใช้เลขฐาน 10 เป็นหลักในการแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้จากหมวดใหญ่ไปหมวดย่อย และเลขหมู่หมวดใหญ่แต่ละหมวด ต่างก็มีเนื้อหาครอบคลุมวิชาความรู้หมวดย่อยทุกหมวด เช่น หมวด 100 ครอบคลุมวิชาความรู้ในหมวด 110-190 <p> <p>2.3 การแบ่งครั้งที่ 3 (Third Summary) คือ การแบ่งวิชาความรู้ในหมวดย่อยแต่ละหมวดออกเป็นหมู่ย่อย (Section) 10 หมู่ย่อย ตัวอย่าง การแบ่งหมวดย่อย 630 <p> 630 เกษตรศาสตร์ <p> 631 เทคนิค อุปกรณ์ และวัสดุ (Techniques, equipment, materails) <p> 632 ความเสียหายของพืชอันเกิดจากเชื้อโรคและสัตว์ (Plant injuries, diseases, pests) <p> 633 การเพาะปลูกพืชไร่ (Field & plantation crops) <p> 634 การทำสวนผลไม้ ผลไม้ และป่าไม้ (Orchards, fruits, forestry) <p> 635 การทำสวนครัว (Garden crops (Horticulture)) <p> 636 สัตวบาล (Animal husbandry) <p> 637 อุตสาหกรรมนมเนย (Processing dairy & related products) <p> 638 การเพาะเลี้ยงแมลง (Insect culture) <p> 639 การล่าสัตว์ การตกปลา การอนุรักษ์ (Hunting, fishing, comservation) <p> ในแต่ละหมู่ย่อย ยังแบ่งวิชาความรู้ออกไปสู่เรื่องที่เฉพาะมากขึ้นได้อีก โดยการกระจายเลขหลังจุดทศนิยมต่อจากเลข 3 หลักดังกล่าว เช่น <p> หมวด 600 Technology (Applied sciences) เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ <p> 610 Medical sciences Medicine (การแพทย์) <p> 611 Human anatomy, cytology, tissues (กายวิภาคศาสตร์ เนื้อเยื่อ) <p> 630 Agriculture & related technologies (การเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร) <p> 631 Crops & their production (พืชและผลิตผล) <p> 632 Plant injuries, diseases, pests (โรคพืช แมลงศัตรูพืช) <p> 633 Field crops (พืชไร่) <p> 634 Orchards, fruits, forestry (ผลไม้และการทำป่าไม้) <p> .9 Forestry (การทำป่าไม้) <p> .92 Forest economy (ไม้เศรษฐกิจ) <p> .928 Management (การจัดการ) <p> .956 Forestation (การเพาะพันธุ์) <p> .9562 Seeds, seed collecting, seeding (เมล็ดพันธุ์) <p> ตัวอย่าง หนังสือ เรื่อง การปลูกพืชด้วยเมล็ด เลขหมู่ที่กำหนดได้ คือ 634.9562 <p> พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เลขหมู่ที่กำหนดได้ คือ 495.913 <p> ระบบทศนิยมดิวอี้มีตารางช่วย (Auxiliary tables) ซึ่งเป็นตารางย่อยใช้เติมเข้ากับเลขหมู่หนังสือ เพื่อระบุลักษณะเฉพาะของหนังสือมากยิ่งขึ้น ว่าเนื้อเรื่องที่เขียนในลักษณะใด เขียนเป็นภาษาใด เกี่ยวกับพื้นที่หรือท้องถิ่นใด หรือเกี่ยวกับใคร เป็นต้น ช่วยให้สามารถวิเคราะห์เนื้อหาได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ตารางช่วยดังกล่าวมี 7 ตาราง ได้แก่ <p> ตารางที่ 1 ตารางเลขวิธีเขียน (Standard subdivisions) หรือ ตารางย่อยมาตรฐาน ใช้ประกอบกับเลขหลักในแผนการจัดหมู่ได้ทุกหมวดหมู่ แสดงถึงวิธีเขียน เช่น <p> 01- สำหรับหนังสือที่เขียนในเชิงทฤษฎีและปรัชญา <p> 02- สำหรับหนังสือคู่มือ หนังสือภาพ หนังสือที่มีตาราง แผนภูมิ หรือแผนภาพเป็นส่วนประกอบสำคัญ หนังสือนามานุกรม และหนังสือเบ็ดเตล็ดอื่นๆ <p> 03- สำหรับหนังสือพจนานุกรม สารานุกรม บัญชีคำศัพท์ <p> 04- เป็นเลขว่างซึ่งจะกำหนดใช้เพื่อแบ่งย่อยเรื่องเฉพาะของเลขหมู่บางเลขหมู่เท่านั้น <p> 05- สำหรับสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เช่น หนังสือรายปี รายงานประจำปี วารสารและหนังสือพิมพ์ <p> 06- สำหรับเรื่องของสมาคมและชมรมวิชาชีพ รวมทั้งการดำเนินงานของสมาคมหรือชมรมนั้นๆ <p> 07- สำหรับหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อการศึกษาและการสอน เช่น ตำรา งานวิจัย หลักสูตร สมุดแบบฝึกหัด เป็นต้น <p> 08- สำหรับหนังสือที่เขียนถึงประวัติและพรรณนาเรื่องราวของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มอาชีพ <p> 09- สำหรับหนังสือที่เขียนถึงประวัติของเรื่องราวต่างๆ ในยุคสมัยใดยุคสมัยหนึ่ง และเขียนถึงเรื่องราวต่างๆ ในพื้นที่หรือท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง <p> ตัวอย่าง <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ คือ ประวัติของพุทธศาสนา <p> พุทธศาสนา (เลขหมู่คือ 294) <p> วิธีเขียน (เลขจากตารางที่ 1) <p> ประวัติ (-09) <p> เลขหมู่ที่กำหนดจากการเติม ได้เป็น 294.309 <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ เป็น พจนานุกรมทางวิทยาศาสตร์ <p> วิทยาศาสตร์ (500) <p> วิธีเขียน (เลขจากตารางที่ 1) <p> พจนานุกรม (-03) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 503 <p> ตารางที่ 2 ตารางเลขภูมิศาสตร์ (Areas) ใช้ประกอบกับเลขหลักในแผนการจัดหมู่ที่มีคำอธิบายให้เพิ่มเลขภูมิศาสตร์ เพื่อแสดงให้ทราบถึงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องภายในเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นที่ใด ซึ่งอาจจะเป็นทวีป ประเทศ รัฐ เมือง แม่น้ำ มหาสมุทร เป็นต้น <p> -1 เขตภูมิศาสตร์ทั่วๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น เขตมหาสมุทร ทะเล เขตภูมิอากาศ <p> -2 สำหรับหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั่วๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง <p> -3 ดินแดนสมัยโบราณ เช่น เมโสโปเตเมีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ <p> -4 ทวีปยุโรป <p> -5 ทวีปเอเซีย <p> -6 ทวีปแอฟริกา <p> -7 ทวีปอเมริกาเหนือ <p> -8 ทวีปอเมริกาใต้ <p> -9 พื้นที่ส่วนอื่นๆ เช่น หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และดินแดนที่อยู่นอกโลก เช่น อวกาศ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร <p> ตารางที่ 3 ตารางเลขเฉพาะสำหรับหมวดวรรณคดี ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่ในหมวดวรรณคดีเพื่อระบุลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีนั้นๆ <p> -08 สำหรับหนังสือรวมวรรณคดี เฉพาะภาษาของนักเขียนหลายๆ คน <p> -09 สำหรับหนังสือประวัติศาสตร์และวิจารณ์วรรณคดีเฉพาะภาษาของนักเขียนหลายๆ คน <p> -1-8 ลักษณะคำประพันธ์ ได้แก่ <p> -1 กวีนิพนธ์ <p> -2 บทละคร <p> -3 นวนิยาย <p> -4 ความเรียง บทความ <p> -5 สุนทรพจน์ ปาฐกถา <p> -6 จดหมาย <p> -7 เรื่องเชิงล้อเลียนและตลกขบขัน <p> -8 งานเขียนเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เช่น บันทึกประจำวัน บันทึกความจำ สุภาษิตคำคม <p> ตารางที่ 4 ตารางเลขเฉพาะสำหรับหมวดภาษา เป็นตารางเลขย่อยซึ่งกำหนดให้ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่ในหมวดภาษาเฉพาะ เพื่อระบุเรื่องเฉพาะของแต่ละภาษานั้น เช่น ไวยากรณ์ภาษา พจนานุกรมภาษา หลักการอ่าน เขียนภาษา เป็นต้น <p> -1 หลักในการเขียนและพูดภาษาต่างๆ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน <p> -2 นิรุกติศาสตร์ <p> -3 พจนานุกรมภาษา <p> -32-39 พจนานุกรมสองภาษา <p> -5 ระบบโครงสร้างหรือหลักไวยากรณ์ของภาษาที่ใช้เป็นมาตรฐาน <p> -7 ภาษาที่ไม่ได้ใช้เป็นมาตรฐาน เช่น ภาษาถิ่น ภาษาแสลง ภาษาโบราณ <p> -8 ภาษาประยุกต์ (การนำเอาภาษาไปประยุกต์ใช้ในกรณีต่างๆ เช่น การแปล การสอน) <p> ตัวอย่าง <p> เนื่อเรื่องของหนังสือ เป็นพจนานุกรมภาษาไทย <p> ภาษาไทย (495.91) <p> เรื่องเฉพาะทางภาษา (เลขจากตารางที่ 4) <p> พจนานุกรมภาษาเดียว (-3) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 495.913 <p> ตารางที่ 5 ตารางเลขเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ กลุ่มชนชาติ เป็นตารางย่อยที่ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่หรือเลขในตารางอื่นเพื่อแบ่งย่อยเนื้อเรื่องออกไปตามกลุ่มเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ <p> -01 ชนพื้นเมือง <p> -03 กลุ่มเผ่าพันธุ์พื้นฐานของมนุษย์ เช่น คอเคซอยด์ มองโกลอยด์ <p> -1-9 กลุ่มเชื้อชาติของมนุษย์ จัดตามถิ่นกำเนดหรือถิ่นที่อยู่ <p> -1 เชื้อชาติอเมริกันเหนือ <p> -2 เชื้อชาติแองโกล-แซกซอน บริติช อังกฤษ <p> -3 เชื้อชาตินอร์ดดิค เช่น พวกเยอรมัน <p> -4 เชื้อชาติลาตินใหม่ เช่น พวกฝรั่งเศส <p> -5 เชื้อชาติอิตาเลียน <p> -6 เชื้อชาติสเปนและโปรตุเกส <p> -7 เชื้อชาติอิตาลิค เช่น พวกโรมันโบราณ <p> -8 เชื้อชาติกรีก <p> -9 เชื้อชาติอื่นๆ เช่น พวกอินเดียน สลาฟ แอฟริกัน ไทย จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ <p> ตัวอย่าง <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ เรื่อง ประเพณีการแต่งงานของไทย <p> ประเพณีการแต่งงาน (392.5) <p> เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ (เลขจากตารางที่ 5) <p> เชื้อชาติไทย (-9591) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 392.50899591 <p> ตารางที่ 6 ตารางเลขภาษา กำหนดเพื่อใช้กับเลขหมู่ในตารางช่วยอื่น เพื่อระบุภาษาที่ใช้ในการเขียนเนื้อเรื่องของหนังสือแต่ละเล่ม <p> สังเขปตารางเลขภาษา <p> -1 ภาษาอินโด-ยูโรเปียน <p> -2 ภาษาอังกฤษและแองโกล-แซกซอน <p> -3 ภาษาเยอรมัน <p> -4 ภาษาตระกูลโรมานซ์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส <p> -5 ภาษาอิตาเลียน <p> -6 ภาษาสเปนและโปรตุเกส <p> -7 ภาษาตระกูลอิตาลิค เช่น ภาษาลาติน <p> -8 ภาษาตระกูลเฮลเลนิก เช่น ภาษากรีก <p> -9 ภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาฮีบรู เป็นต้น <p> ตัวอย่าง <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ สารานุกรมภาษาไทย <p> สารานุกรมทั่วไป (039) <p> ภาษา (เลขจากตารางที่ 6) <p> ภาษาไทย (-95911) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 039.95911 <p> ตารางที่ 7 ตารางเลขบุคคล เป็นตารางย่อยซึ่งกำหนดให้ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่หรือเลขในตารางช่วยอื่นเพื่อระบุเรื่องย่อยของหนังสือว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในลักษณะใด เช่น กลุ่มอาชีพ เพศ วัย ชนชั้นทางสังคม ฯลฯ ตาราง 7 จะใช้ประกอบกับเลขหมู่ที่มีคำอธิบายให้เติมเลขบุคคลจากตาราง 7 ช่วย (Add "Persons" notation ...) เช่น Add "Person" notation 04-87 from Table 7 to base number 704 e.g. lawyers as artists 704.344; however, class art dealers in 338.7617; description, critical appraisal, wors, biography of artisits in 709.2 <p> สังเขปตารางเลขบุคคล <p> -01 ปัจเจกบุคคล <p> -02 กลุ่มบุคคลทั่วไปไม่ระบุลักษณะเฉพาะทางอาชีพ เพศ วัย และอื่นๆ <p> -03 กลุ่มบุคคลจัดตามภูมิหลังทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ <p> -04 กลุ่มบุคคลจัดตามเพศและความสัมพันธ์ทางเครือญาติ <p> -05 กลุ่มบุคคลจัดตามอายุ <p> -06 กลุ่มบุคคลจัดตามลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ <p> -08 กลุ่มบุคคลจัดตามสภาพทางร่างกายและจิตใจ <p> -09 กลุ่มบุคคลที่ไม่จัดอยู่ในวิชาชีพเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นักวิจัย นักการศึกษา บรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ โดยจะมีตัวเลขแบ่งย่อยอีกตามกลุ่มบุคคลในสาขาวิชาชีพต่างๆ <p> ตัวอย่าง หนังสือเกี่ยวกับจิตรกรรมและมัณฑนศิลป์ของเด็กนักเรียน <p> จิตรกรรมและมัณฑศิลป์ (704.04-.87) <p> เด็กนักเรียน หาเลขเด็กนักเีรียนจากตาราง 7 (-054 4) <p> เลขหมู่ทีเ่กิดจากการเติม 704.0544 <p> บรรณานุกรม <p>Guide to use of Dewey decimal classification : based on the practice of the Decimal Classification Office at the Library of Congress. 1962. Lake Placid Club, N.Y. : Forest Press. <p>OCLC Online Computer Library Center, Inc. Summaries DDC Dewey Decimal Classification. 2003. Rereive from http://www.oclc.org/dewey/resources/summaries/deweysummaries.pdf. <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> ทองหยด ประุทุมวงศ์ และ พรทิยพ์ สุวันทารัตน์. การวิเคราะห์สารนิเทศระบบทศนิยมดิวอี้ ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา การวิเคราะห์สารนิเทศ หน้า 150-217. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Classification, Library of Congressระบบการจัดหมู่รัฐสภาอเมริกัน, การวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน, Example: ระบบการจัดหมู่รัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classficiation - LC) หรือเรียกสั้นๆ ว่า LC หรือระบบ LCC เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดหมู่หนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> ในระยะแรกก่อตั้งหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เมื่อปี ค.ศ. 1800 ระบบจัดหมู่หนังสือที่ใช้อยู่นั้น คิดขึ้นโดยจอห์น เบคเลย์ (John Beckley) โดยจัดหนังสือตามขนาดหน้ายก หนังสือขนาดเดียวกันจัดเรียงตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือ <p> ต่อมาในปี ค.ศ. 1812 เมื่อหนังสือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนเป็นวิธีการจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง โดยนำระบบจัดหมู่หนังสือของ The Library Company of Philadelphia มาใช้ แบ่งเนื้อเรื่องเป็น 18 หมวด เมื่อห้องสมุดไฟไหม้ จึงได้จัดซื้อหนังสือจำนวน 6, 487 เล่มจากห้องสมุดส่วนตัวของประธานาธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน โดยคิดระบบตามที่ประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สัน โดยแบ่งออกเป็น 44 หมวด <p> จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1890 เมื่อมีหนังสือเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ บรรณารักษ์ของหอสมุดในขณะนั้น คือ จอห์น รัสเซล ยัง (John Russell Young)คิดว่าระบบเดิมไม่เหมาะสม ควรคิดหาระบบใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสมมากขึ้น จึงมอบหมายให้ เจมส์ แฮนสัน (James Hanson) และ ชาร์ลส์ มาร์แตล (Charles Martel) ศึกษาหาแนวทางที่จะสร้างระบบจัดหมู่หนังสือใหม่เพื่อใช้ในหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> การศึกษาอย่างจริงจังได้เริ่มเมื่อ เฮอร์เบิร์ต พุตนัม (Herbert Putnum) เข้ามาดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์ในปี ค.ศ. 1899 และยังคงมอบหมายให้ แฮนสันและมาร์แตลรับศึกษาต่อไป โดยนำระบบ 3 ระบบ คือ ระบบทศนิยมดิวอี้ ระบบเอ็กแพนซีฟ และระบบจัดหมู่หนังสือของเยอรมัน ชื่อ Halle Schema ของออตโต ฮาร์ตวิก (Otto Hartwig) พบว่า ระบบเอ็กแพนซีฟมีความเหมาะสมมาก เนื่องจากการจัดหมวดหมู่กว้างขวางและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายทุกๆ หมวดตามต้องการ สัญลักษณ์ที่ใช้สามารถขยายได้ทั้งชนิดที่เป็นตัวอักษรและตัวเลข เพราะเป็นสัญลักษณ์ผสม เหมาะกับหอสมุดรัฐสภาอเมริกันซึ่งมีหนังสือจำนวนมาก จึงได้จัดทำระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันขึ้นโดยยึดหลักการของระบบเอ็กแพนซีฟ <p> มีการจัดทำหมวด Z เป็นหมวดแรก เมื่อปี ค.ศ. 1902 <p> ลักษณะทั่วไปของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p>1. ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันเป็นระบบที่คิดขึ้นโดยจัดแบ่งหมวดหมู่ตามสาขาวิชาความรู้ที่มีอยู่จริงของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p>2. สัญลักษณ์เป็นสัญลักษณ์ผสมระหว่างตัวอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่และเลขอารบิค โดยอักษรโรมันตัวใหญ่หนึ่งตัวแทนหมวดใหญ่และเพิ่มอักษรโรมันตัวใหญ่อีกหนึ่งหรือสองตัวแทนหมวดย่อย (ยกเว้นหมวด E-F และ Z) และแบ่งหมู่ย่อยต่อไปอีก โดยใช้เลขอารบิคจาก 1-9999 รวมทั้งขยายโดยใช้จุดทศนิยม <p>3. แผนการจัดหมวดหมู่จัดแบ่งวิชาความรู้ในสาขาต่างๆ โดยเริ่มจากเรื่องทั่วไปสู่เรื่องที่เฉพาะยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ <p>3.1 การแบ่งครั้งที่ 1 เป็นการแบ่งเนื้อหาวิชาเป็น 20 หมวดใหญ่ (Main class) โดยใช้อักษรตัวเดียวโดดๆ A-Z ยกเว้น I, O, W, X, Y <p>A ความรู้ทั่วไป (General Works) <p>B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion) <p>C ศาสตร์ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary sciences of history) <p>D ประวัติศาสตร์ : เรื่องทั่วไปและประวัติศาสตร์โลกเก่า (History : general and old world) <p>E-F ประวัติศาสตร์ : อเมริกา (History : America) <p>G ภูมิศาสตร์ แผนที่ มานุษยวิทยา นันทนาการ (Geography, Maps, Anthropology, Recreation) <p>H สังคมศาสตร์ (Social science) <p>J รัฐศาสตร์ (Political science) <p>K กฎหมาย (Law) <p>L การศึกษา (Education) <p>M ดนตรี (Music) <p>N ศิลปกรรม (Fine Arts) <p>P ภาษาและวรรณคดี (Languages and Literature) <p>Q วิทยาศาสตร์ (Sciences) <p>R แพทยศาสตร์ (Medicines) <p>S เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p>T เทคโนโลยี (Technology) <p>U ยุทธศาสตร์ (Military science) <p>V นาวิกศาสตร์ (Naval science) <p>Z บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library science) <p>3.2 การแบ่งครั้งที่ 2 เป็นการแบ่งหมวดย่อย (subclass) ตามสาขาวิชา โดยใช้ตัวอักษรโรมันตั้งแต่ 2 ตัว ถึง 3 ตัว เป็นสัญลักษณ์ และใช้หลักการเรียงลำดับตามตัวอักษร A-Z ยกเว้นหมวด Z จะไม่มีการแบ่งครั้งที่ 2 เช่น หมวด Q แบ่งออกเป็นหมวดย่อย 12 หมวดดังนี้คือ <p>Q วิทยาศาสตร์ (Science) <p> QA คณิตศาสตร์ (Mathematics) <p> QB ดาราศาสตร์ (Astronomy) <p> QC ฟิสิกส์ (Physics) <p> QD เคมี (Chemistry) <p> QE ธรณีวิทยา (Geology) <p> QH ธรรมชาติวิทยา (Natural History) <p> QK พฤกษศาสตร์ (Botany) <p> QL สัตววิทยา (Zoology) <p> QM กายวิภาคศาสตร์ (Human Anatomy) <p> QP สรีรวิทยา (Physiology) <p> QR จุลชีววิทยา (Microbiology) <p> ซึ่งยังคงแบ่งต่อไปได้อีก เมื่อต้องการขยายเลขหมู่เพิ่มในภายหลัง <p> 3.3 การแบ่งครั้งที่ 3 คือ การแบ่งออกเป็น หมู่ (division) โดยใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1-9999 ประกอบตัวอักษรโรมัน ในแต่ละหมู่จะมีจำนวนการแบ่งเป็นหมู่ย่อยไม่เท่ากัน เช่น หมวด LA จะแบ่งเป็น LA1-LA 2397 หรือ หมวด HV จะแบ่งเป็น HV 1-HV 9920 เป็นต้น สามารถที่จะขยายเลขหมู่สำหรับวิชาการที่จะเพิ่มใหม่ การแบ่งครั้งที่ 3 มี 2 ลักษณะ คือ <p> 3.3.1 การแบ่งโดยใช้เลขทศนิยม คือ การนำเอาเลขทศนิยมมาขยายเลขย่อยในกลุ่มนั้น ให้ได้เลขหมู่เพิ่มขึ้นสำหรับเนื้อหาวิชาที่ควรจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน <p> 3.3.2 การแบ่งโดยใช้เลขคัตเตอร์ คือ การใช้ตัวอักษรและตัวเลขสำหรับการแบ่งย่อยเนื้อหาที่ละเอียดลงไปอีก เช่น การแบ่งย่อยตามชื่อทางภูมิศาสตร์ (geographical name) และการแบ่งย่อยตามรายชื่อเนื้อหาวิชาเฉพาะ (special topics) และการแบ่งตามเลขคัตเตอร์สำรองที่ได้กำหนดไว้แล้ว <p> ตัวอย่าง HF 5438.5 HF เป็นหมวดย่อยของ H คือ สังคมศาสตร์ ซึ่ง HF เป็นหมู่ย่อย หมายถึง การค้า (Commerce) และแบ่งออกเป็นหมู่ คือ 5438 หมายถึง การขาย (Selling) จากนั้นแบ่งโดยใช้เลขทศนิยม คือ .5 หมายถึง การส่งเสริมการขาย (Sales promotion) <p> ตัวอย่าง ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี <p> DS เป็นเลขหมู่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย <p> 575 แบ่งย่อยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางการเมืองและการทูต <p> .5 แบ่งย่อยเป็นความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ A-Z <p> .J3 ประเทศญี่ปุ่น (Japan = .J3) <p> จะได้เลขหมู่เป็น DS 575.5.J3 ปัจจุบัน หนังสือคู่มือหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกันมีทั้งแบบสิ่งพิมพ์และแบบออนไลน์ <p> บรรณานุกรม <p> Library of Congress. Library of Congress Classification Outline. 2011. [ Online ] Retrieve from: http://www.loc.gov/catdir/cpso/lcco/. Accessed 20110516. <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> กมลา รุ่งอุทัย. 2533. การวิเคราะห์สารนิเทศระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การวิเคราะห์สารนิเทศ หน้า 219-281. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. <p> อัมพร ทีขะระ. 2532. คู่มือการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาััลัย. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Classification systemระบบการจำแนกประเภท [เศรษฐศาสตร์]
International classification of goods and servicesการจำแนกประเภทสินค้าและบริการระหว่างประเทศ [เศรษฐศาสตร์]
Standard industrial classificationการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม [เศรษฐศาสตร์]
Standard intemational trsde classificationการจัดประเภทมาตรฐานการค้าระหว่างประเทศ [เศรษฐศาสตร์]
Statistical classificationการจัดประเภทเชิงสถิติ [เศรษฐศาสตร์]
Tariff reclassificationการจัดประเภทพิกัดอัตราศุลกากรใหม่ [เศรษฐศาสตร์]
Classificationระบบการจัดหมวดหมู่สิทธิบัตรตามการประดิษฐ์ [ทรัพย์สินทางปัญญา]
EC Classificationระบบการจัดหมวดหมู่สิทธิบัตรแบบยุโรป [ทรัพย์สินทางปัญญา]
US Classificationระบบการจัดหมวดหมู่สิทธิบัตรแบบอเมริกา [ทรัพย์สินทางปัญญา]
IPC Classificationระบบการจัดหมวดหมู่สิทธิบัตรตามการประดิษฐ์ระหว่างประเทศ [ทรัพย์สินทางปัญญา]
International Design Classificationระบบการจัดหมวดหมู่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ [ทรัพย์สินทางปัญญา]
Automatic classificationการวิเคราะห์หนังสืออัตโนมัติ [TU Subject Heading]
Classificationการจำแนก [TU Subject Heading]
Classification, Dewey decimalการวิเคราะห์หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้ [TU Subject Heading]
Classification, Library of Congressการวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน [TU Subject Heading]
Classification--Booksการวิเคราะห์หนังสือ [TU Subject Heading]
Classification systemระบบการจัดหมวดหมู่ [เทคโนโลยีการศึกษา]
National Library of Medicine Classificationการวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน [TU Subject Heading]
Security classification (Government documents)เอกสารลับ [TU Subject Heading]
Soil Classificationการจำแนกดิน [สิ่งแวดล้อม]
Land Capability Classificationการจำแนกสมรรถนะที่ดิน [สิ่งแวดล้อม]
Classification Errorความคลาดเคลื่อนในการแบ่งกลุ่ม, Example: เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สถิติประชากรเกิด ข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อน [สิ่งแวดล้อม]
Waste Classification Systemระบบแยกประเภทของเสีย [สิ่งแวดล้อม]
Classification systemระบบจัดหมู่ของห้องสมุด, Example: การจัดหมู่ (Classification) หมายถึง กระบวนการที่รวมสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน สิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกันก็จะอยู่ใกล้ๆ กัน สิ่งที่แตกต่างกันก็จะแยกออกจากกัน <p> ประเภทของการจัดหมู่ อาจแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 2 ประเภท คือ <p> 1. การจัดหมู่อย่างง่ายๆ หรือจัดตามลักษณะทั่วไป (Artificial Classification) ได้แก่ การจัดกลุ่มของสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ ดูจากลักษณะภายนอกที่มองเห็น เช่น สี ขนาด รูปร่าง เป็นต้น โดยเป็นการจัดหมู่ที่ไม่คำนึงถึงเนื้อหาหรือลักษณะตามธรรมชาติของสิ่งที่นำมาจัดหมู่ <p> 2. การจัดหมู่ตามธรรมชาติ (Natural Classification) คือ การจัดกลุ่มของสิ่งต่างๆ ออกเป็นหมวด เป็นหมู่ โดยพิจารณาเนื้อหา ลักษณะโครงสร้าง หรือส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งที่นำมาจัดหมู่ เช่น การจัดหมู่วิชาความรู้ (Classification of knowledge) หรือ Philosophical Classification <p> การจัดหมู่หนังสือ คือ กระบวนการในการจัดหมวดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง หรือตามรูปแบบคำประพันธ์ของหนังสือแต่ละเล่ม พร้อมกำหนดสัญลักษณ์แทนเนื้อหาหรือรูปแบบคำประพันธ์ไว้ที่เล่มหนังสือ เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายแสดงแหล่งที่อยู่ของหนังสือ <p> วัตถุประสงค์ของการจัดหมู่หนังสือ คือ <p> 1. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดหนังสือเข้าชั้น <p> 2. เพื่อใช้จัดทำบรรณานุกรมตามหมวดหมู่วิชา <p> 3. เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกหนังสือที่ตรงกับความต้องการ หรือสามารถเลือกหนังสือที่เกี่ยวข้องที่ต้องการได้ตนเอง ด้วยวิธีการง่ายๆ สะดวก และรวดเร็ว <p> 4. เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดให้บริการทางด้านบรรณานุกรมแก่ผู้ใช้ได้สะดวก <p> 5. เพื่อให้ทราบปริมาณของหนังสือในแต่ละสาขาวิชาว่ามีมากน้อยเพียงไร จะได้สั่งซื้อให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ <p> การจัดหมู่หนังสือจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ ก็ต้องใช้สัญลักษณ์ที่สั้น อ่านเข้าใจง่าย เป็นเครื่องหมายประจำหนังสือ เพื่อกำหนดตำแหน่งที่อยู่ของหนังสือบนชั้น และไม่ว่าห้องสมุดจะใช้การจัดหมู่หนังสือระบบใด เก็บหนังสือไว้ในระบบชั้นเปิด หรือระบบชั้นปิดก็ตาม เครื่องมือสำคัญสำหรับการค้นหาหนังสือก็คือ บัญชีรายชื่อหนังสือของห้องสมุด (Library Catalog) ซึ่งถือเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงพื้นฐานของห้องสมุดจะต้องทันสมัยและสมบูรณ์อยู่เสมอ <p> แนวคิดพื้นฐานของระบบจัดหมู่หนังสือ <p> ระบบจัดหมู่หนังสือส่วนใหญ่ยึดถือหลักการจัดหมวดหมู่ตามเหตุผล หรือตามวิชาความรู้ คือ จัดแบ่งวิชาความรู้ทั้งมวลในจักรวาลออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวดใหญ่ (Class) ไปหาหมวดย่อย (Subclass) และแบ่งเป็นหมู่ย่อยๆ ซึ่งมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ซึ่งมีเนื้อหาสัมพันธ์กัน ตัวอย่าง การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ ซึ่งแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นลำดับชั้น คือ แบ่งครั้งที่ 1 เป็น10 หมวดใหญ่ แบ่งครั้งที่ 2 เป็น 100 หมวดย่อย แบ่งครั้งที่ 3 เป็น 1000 หมู่ย่อย และแบ่งต่อไปเป็นทศนิยม ดังตัวอย่าง <p> การแบ่งครั้งที่ 1 600 เทคโนโลยี <p> การแบ่งครั้งที่ 2 620 วิศวกรรมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง <p> การแบ่งครั้งที่ 3 621 ฟิสิกส์ประยุกต์ <p> ทศนิยม 621.3 อิเล็กโทรแมกเนติกและสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง <p> 621.38 วิศวกรรมอิเล็กโทรนิกและวิศวกรรมการสื่อสาร <p> 621.381 วิศวกรรมอิเล็กโทรนิก <p> 621.3819 พัฒนาการเฉพาะด้าน <p> 621.38195 คอมพิวเตอร์ <p> การแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้ต่างๆ ในแต่ละระบบ จำเป็นต้องมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของวิชาความรู้ตามหมวดหมู่ต่างๆ ซึ่งเรียกว่า Notation (ดูเพิ่มเติมที่ Notation) <p> ระบบจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง <p> ระบบจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่องมีกำเนิดขึ้นในราวปลายคริสตศตวรรษที่ 19 (ดูเพิ่มเติมที่ Library Classification) ระบบที่รู้จักและใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ ระบบทศนิยมดิวอี้ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ระบบทศนิยมสากล และระบบไม่สู้แพร่หลายนัก ได้แก่ ระบบซับเจ็กท์ ระบบบลิส และระบบโคลอน <p> ประเภทของระบบจัดหมู่หนังสือ <p> แบ่งตามประเภทของเนื้อหาของระบบจัดหมู่ แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ <p> 1. ระบบจัดหมู่หนังสือทั่วไป (General Classification) เป็นระบบจัดหมู่ที่ครอบคลุมวิชาความรู้ทั้งมวลในจักรวาล ระบบจัดหมู่ประเภทนี้จะเว้นไว้สำหรับเติมวิชาความรู้ใหม่ๆ ไว้ เช่น ระบบทศนิยมดิวอี้ <p> 2. ระบบจัดหมู่เฉพาะวิชา (Special Classification) เป็นระบบการจัดหมู่ที่ครอบคลุมเนื้อหาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น ระบบจัดหมู่หนังสือเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ของโซเฟีย เอช กลิดเดน ระบบจัดหมู่หนังสือด้านวิชาแพทย์ ของหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน ระบบจัดหมู่หนังสือกฎหมายของ เจ.อาร์เธอ ชิลเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย <p> แบ่งตามการสร้างแผนการจัดหมู่ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ <p> 1. ระบบจัดหมู่ที่เป็นแผนการจัดหมู่แบบครอบจักรวาล (Enumerative Classification) คือ กำหนดสัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชาความรู้ต่างๆ อย่างสมบูรณ์ และเว้นที่ว่างไว้สำหรับเพิ่มเติมสัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชาความรู้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่างเช่น ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และระบบทศนิยมดิวอี้ <p> 2. ระบบแฟเซ็ท หรือฟาเซ็ท (Faceted Classification) เป็นระบบจัดหมู่หนังสือแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือ แยกแง่มุมต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐาน ออกเป็นด้านต่างๆ หรือแง่มุมต่างๆ แล้วนำเอาแง่มุมหรือด้านต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐานมาสังเคราะห์เข้าเป็นเลขหมู่ ระบบจัดหมู่แบบนี้เป็นระบบจัดหมู่ที่ทันสมัย แต่ก็มีสัญลักษณ์ที่ยืดยาวไม่สู้สะดวกในการใช้ ตัวอย่างของระบบการจัดหมู่นี้ ได้แก่ ระบบโคลอน <p> บรรณานุกรม <p> ทองหยด ประทุมวงศ์. ระบบจัดหมู่ของห้องสมุด. วารสารวิทยบริการ 7, 1 (ก.ค. 2538) : 67-79 [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Faceted Classificationระบบการจัดหมู่แบบแฟเซ็ท, Example: เป็นระบบจัดหมู่หนังสือแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือ แยกแง่มุมต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐาน ออกเป็นด้านต่างๆ หรือแง่มุมต่างๆ แล้วนำเอาแง่มุมหรือด้านต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐานมาสังเคราะห์เข้าเป็นเลขหมู่ ระบบจัดหมู่แบบนี้เป็นระบบจัดหมู่ที่ทันสมัย แต่ก็มีสัญลักษณ์ที่ยืดยาวไม่สู้สะดวกในการใช้ ตัวอย่างของระบบการจัดหมู่นี้ ได้แก่ ระบบโคลอน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Faceted Classificationระบบการจัดหมู่แบบแฟเซ็ท, Example: เป็นระบบจัดหมู่หนังสือแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือ แยกแง่มุมต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐาน ออกเป็นด้านต่างๆ หรือแง่มุมต่างๆ แล้วนำเอาแง่มุมหรือด้านต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐานมาสังเคราะห์เข้าเป็นเลขหมู่ ระบบจัดหมู่แบบนี้เป็นระบบจัดหมู่ที่ทันสมัย แต่ก็มีสัญลักษณ์ที่ยืดยาวไม่สู้สะดวกในการใช้ ตัวอย่างของระบบการจัดหมู่นี้ ได้แก่ ระบบโคลอน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Colon classificationระบบโคลอน, Example: Colon classification หมายถึง ระบบโคลอน เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่พัฒนาขึ้นโดยแรงกานาธาน (S. R. Ranganathan) ชาวอินเดีย แรงกานาธานได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาบรรณารักษศาสตร์ของอินเดีย แรงกานาธานได้คิดระบบนี้ขึ้นใช้ที่ห้องสมุดวิทยาลัยมัทราสที่เขาทำงานอยู่ และตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก ใน ค.ศ. 1933 โดยนำมาใช้จัดหมู่สิ่งพิมพ์ 2 ประเภท คือ หนังสือ และ บันทึกรายงาน ระบบโคลอนมีใช้กันแพร่หลายในอินเดีย และที่ห้องสมุดของวิทยาลัยคริสต์ (Christ’s College) ในประเทศอังกฤษ ระบบนี้มีชื่อว่าระบบโคลอนเนื่องจากการใช้เครื่องหมาย : (colon) แบ่งย่อยเนื้อหาพื้นฐาน ในเลขหมู่หนังสือออกเป็นด้านต่างๆ สัญลักษณ์ของระบบเป็นสัญลักษณ์ผสม ประกอบด้วยอักษรโรมันตัวใหญ่ อักษรกรีก เลขอารบิก เครื่องหมาย : (colon) และเครื่องหมายอื่น ๆ เพื่อใช้ในการแบ่งย่อยเนื้อหา ระบบโคลอนเป็นระบบที่มีความยากและเนื้อหาเน้นสาขาวิชาทางด้านอินเดียและตะวันออก ไม่เหมาะสมกับห้องสมุดตะวันตก จึงไม่เป็นที่นิยมใช้และเป็นระบบที่เกิดขึ้นภายหลังระบบที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Bone, Shape and Classification ofลักษณะและประเภทต่างๆของกระดูก [การแพทย์]
Classificationการจัดจำพวก, การจัดกลุ่ม, การจัดลำดับชั้น, การจำแนกชนิด, การแบ่งชนิด, การจัดแบ่งชนิด, การแบ่งกลุ่ม, การแยกประเภท, การจัดแบ่ง, การจัดหมวดหมู่, การจำแนกประเภท, การจำแนกชนิดของโรค [การแพทย์]
Classification of Diseasesจัดกลุ่มโรค [การแพทย์]
Classification of Diseases, Internationalการจำแนกโรคสากล [การแพทย์]
Classification, Cell Typeการจำแนกตามชนิดของเซลล์ [การแพทย์]
Classification, Chronologicalจำแนกตามเวลา [การแพทย์]
Classification, Clinicalแบ่งชนิดตามลักษณะทางคลินิค [การแพทย์]
Classification, Etiologicแบ่งตามสาเหตุ [การแพทย์]
Classification, Etiologicalจำแนกตามสาเหตุ [การแพทย์]
Classification, Functionalแบ่งตามหน้าที่ [การแพทย์]
Classification, Geographicalจำแนกตามสภาพภูมิศาสตร์, จำแนกตามสภาพภูมิศาสตร์ [การแพทย์]
Classification, Pathophysiologicalการจำแนกตามลักษณะร่วมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น [การแพทย์]
Classification, Qualitativeการจำแนกตามคุณภาพ, การจำแนกตามคุณภาพ [การแพทย์]
Classification, Quantitativeจำแนกตามปริมาณ [การแพทย์]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
"Binsfeld's classification of demons.""การแบ่งประเภทปีศาจของบินส์ฟิลด์" The Magnificent Seven (2007)
- XY is the book classification code.- XY อยู่แผนกหนังสือลับ National Treasure: Book of Secrets (2007)
In Harvard-Yenching, it's a classification forAsian literature.ที่ฮาวเวิร์ด เยนฉิง มันเอาไว้จัดลำดับหนังสือเอเชียน่ะ RED (2010)
Embarrassing is a better classification.น่าขายหน้าน่าจะเป็นคำที่เหมาะสมกว่า White Tulip (2010)
We're testing everyone with a level four classification or above.เราตรวจสอบหมดแล้ว ด้วยมาตรการระดับ4หรือสูงกว่านั้น Do Shapeshifters Dream of Electric Sheep? (2010)
Different classification entirely...การจัดแบ่งประเภทแตกต่างกันทั้งหมดเลย Aftermath (2010)
Fae is a general classification.อมนุษย์เป็นหมวดหมู่ที่ใช้เรียกกันทั่วไป It's a Fae, Fae, Fae, Fae World (2010)
Dragon classifications.คลาสของมังกร How to Train Your Dragon (2010)
And grids and lists and classification, which is fine, but it's not how the world works, and it's certainly not how the brain works.ตารางข้อมูลและรายการ และการจำแนก เป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ใช่ วิธีที่โลกทำงาน และแน่นอนไม่ใช่ วิธีที่สมองทำงาน Red in Tooth and Claw (2013)
I've calculated what the spectra should look like across a wide range of temperatures, and they match your system of classification perfectly.ฉันได้คำนวณสิ่งที่สเปกตรัม ควรมีลักษณะที่หลากหลาย อุณหภูมิและพวกเขาตรงกับ Sisters of the Sun (2014)

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
หมวดหมู่(n) classification, See also: category, grouping, sort, type, Syn. พวก, หมู่, หมวด, Example: นักภาษาศาสตร์ทำการแบ่งภาษาต่างๆ ในโลกออกเป็นหมวดหมู่ตามโซนและต้นตระกูลภาษา
วจีวิภาค(n) speech classification, Example: ตำราภาษาไทยแต่เดิมนั้นประกอบด้วย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์, Thai Definition: ชื่อตำราไวยากรณ์ไทยว่าด้วยการแบ่งคำพูดเป็นชนิดต่างๆ
วิภัตติ(n) categorization, See also: classification, separation, division, Syn. การแบ่ง, การจัดพวก, การจำแนก, การจัดประเภท, Notes: (บาลี)
วิภาค(n) division, See also: distinction, classification, partition, separation, Syn. การแบ่ง, การจัดพวก, การจำแนก, การจัดประเภท, Notes: (บาลี/สันสกฤต)
ปริเฉท(n) chapter, See also: classification, division, compiled and classified articles, Syn. บริเฉท, Example: หนังสือที่ดีจะแบ่งเรื่องราวไว้เป็นสัดส่วนในปริเฉท, Thai Definition: ข้อความที่รวบรวมเอามาจัดเป็นตอนๆ, ข้อความที่กำหนดไว้เป็นหมวดๆ
การจัดประเภท(n) categorization, See also: classification, Example: การจัดประเภทของคำสามารถดูได้จากหน้าที่ของคำ
การจำแนก(n) classification, See also: categorization, Example: ที่ประชุมมีมติให้เลขาฯ ทำการจำแนกข้อมูลรายละเอียดการขายโดยแยกเป็นแต่ละแผนกอย่างชัดเจน
การจำแนกประเภท(n) classification, See also: categorization, Example: พวกเราได้มีการจำแนกประเภทของข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
อัน[an] (classif, (n)) EN: [ classifier : small objects ; pieces of candy ; ashtrays ; round objects ; objects with unknown classifiers ]  FR: [ classificateur : petits objets ; choses en général ]
ใบ[bai] (n) EN: [ classifier : leaves (of trees); round and hollow objects (hats, cups, glasses, bowls, tin-cans, eggs, fruit, bags, wallets); small documents (tickets, certificates, leaflets) ]  FR: [ classificateur : feuilles (arbres et plantes); objets ronds et creux (chapeaux, coupes, bols, cannettes, oeufs, fruits); petits documents (billets, tickets, certificats) ]
บาน[bān] (n) EN: [ classifier : doors, windows; mirrors; frames; screens; other flat things ]  FR: [ classificateur : portes, fenêtres ; miroirs ; cadres ; écrans ; autres objets plats ]
บท[bot] (n) EN: [ classifier : lessons; songs; poems; verses; stanzas; chapters ]  FR: [ classificateur : leçons ; chapitres ; versets ; chansons ; couplets ]
ฉบับ[chabap] (n) EN: [ classifier : newspapers ; letters ; manuscripts ; documents ; periodicals ]  FR: [ classificateur : journaux ; lettres ; documents manuscrits ]
เชือก[cheūak] (n) EN: [ classifier : domesticated elephants ]  FR: [ classificateur : éléphants domestiques ]
ชิ้น[chin] (n) EN: [ classifier : pieces of items (dentures ...); pieces of food (cakes, pastries, croissants, meats, fruits, vegetables ...); pieces of cloths ]  FR: [ classificateur : morceaux ou tranches quelconques (gâteaux, pâtisseries, croissants, viande) ; prothèses dentaires ... ]
ช่อ[chø] (n) EN: [ classifier : bunches of flowers ]  FR: [ classificateur : bouquets de fleurs ]
ชุด[chut] (n) EN: [ classifier : sets of things (crockery, china, glassware ...); suits of clothing; teams ; menus ]  FR: [ classificateur : ensembles d'objets assortis ; ensembles vestimentaires (costumes ...); équipes sportives; menus ]
ด้าม[dām] (n) EN: [ classifier : pens ]  FR: [ classificateur : stylos ]
ดอก[døk] (n) EN: [ classifier : individual flowers; patterns on cloth; tyres/tires treads ]  FR: [ classificateur : fleurs; motifs vestimentaires; chapes de pneus ]
ดวง[dūang = duang] (n) EN: [ classifier : stars, moons, suns; individual lights; postage stamps; seals; medals ]  FR: [ classificateur : astres (étoile, lune, soleil, planète) ; lampes ; cachets, sceaux ; médailles ]
ฟ่อน[fǿn] (n) EN: [ classifier : bundle, sheaf ]  FR: [ classificateur : gerbes ]
ฟอง[føng] (n) EN: [ classifier : poultry eggs ]  FR: [ classificateur : oeufs de volaille ]
ฝูง[fūng] (n) EN: [ classifier : flocks, herds ]  FR: [ classificateur : troupeaux ]
ห่อ[hø] (n) EN: [ classifier : packages, parcels, bundels, packets wrapped in paper ]  FR: [ classificateur : paquets, colis dans un emballage de papier ]
ห้อง[hǿng] (n) EN: [ classifier : rooms ]  FR: [ classificateur : pièces d'habitation, chambres ]
หัวผักกาด[hūaphakkāt] (n) EN: [ classifier : bulbs, tubers ]  FR: [ classificateur : bulbes, tubercules ]
แก้ว[kaēo] (n) EN: [ classifier : drinking glasses ]  FR: [ classificateur : verres à boire ]
การแบ่งกลุ่ม[kān baeng klum] (n, exp) EN: classification ; clustering
การแบ่งกลุ่มข้อมูล[kān baeng klum khømūn] (n, exp) EN: data clustering ; data classification
การแบ่งกลุ่มข้อมูลอัตโนมัติ[kān baeng klum khømūn attanōmat] (n, exp) EN: automatic classification
การแบ่งหมวดหมู่[kān baeng mūatmū] (n, exp) EN: classification
การแบ่งหมวดหมู่หนังสือ[kān baeng mūatmū nangseū] (n, exp) EN: classification of books ; library classification  FR: classification des ouvrages [ f ]
การจำแนก[kān jamnaēk] (n) EN: classification ; categorization  FR: classification [ f ] ; classement [ m ] ; catégorisation [ f ] ; distribution [ f ] ; séparation [ f ] ; division [ f ]
การจำแนกประเภท[kān jamnaēk praphēt] (n, exp) EN: classification ; categorization
การจัดประเภท[kān jat praphēt] (n, exp) EN: classification
ขบวน[khabūan] (x) EN: [ classifier : processions ; convoys ; trains ]  FR: [ classificateur : processions, cortèges ; convois ; trains ]
แคน[khaēn] (n) EN: [ classifier : soda cans ]  FR: [ classificateur : cannettes de soda ]
คำ[kham] (n) EN: [ classifier : words ; mouthfuls of food ]  FR: [ classificateur : mots ; bouchées de nourriture ]
คัน[khan] (n) EN: [ classifier : automobiles, carriages and other vehicles (buses, motorbikes ...) ; umbrellas ; spoons, forks ]  FR: [ classificateur : automobiles, cyclomoteurs, bicyclettes, véhicules motorisés ; parapluies, ombrelles ; cuillères, fourchettes ]
ขนาน[khanān] (x) EN: [ classifier : medicines, drugs ]  FR: [ classificateur : sortes de médicaments ]
ขนาด[khanāt] (n) EN: [ classifier : sizes (of items) ]  FR: [ classificateur : tailles ]
ข้าง[khāng] (n) EN: [ classifier : legs, arms, sides of objects ]  FR: [ classificateur : jambes, bras ]
คน[khon] (n) EN: [ classifier : persons, people, human beings ]  FR: [ classificateur : personnes, individus ]
ขด[khot] (n) EN: [ classifier : coils of something (wire, rope ...), rings ]  FR: [ classificateur : rouleaux (fil métallique, corde ...) ]
เครื่อง[khreūang] (n) EN: [ classifier : machines ; tools ; appliances (TVs, radios, refrigerators ...) ]  FR: [ classificateur : machines ; outils ; appareils électroménagers (télévisions, radios, réfrigérateurs ...) ; appareillages électriques ]
เครื่องยนต์[khreūangyon] (x) EN: [ classifier : motors, engines ]  FR: [ classificateur : moteurs ]
คู่[khū] (n) EN: [ classifier : pairs of people, animals, articles (socks, shoes ...) ]  FR: [ classificateur : couples de personnes ou d'animaux ; paires d'articles (chaussettes, chaussures ...) ]
ขวด[khūat] (n) EN: [ classifier : bottles (soda, beer ...) ]  FR: [ classificateur : bouteilles (soda, bière ...) ]
กลัก[klak] (n) EN: [ classifier : smalll boxes (matchboxes, tablets, pills ...) ]  FR: [ classificateur : petites boîtes (allumettes, pilules ...) ]
กล่อง[klǿng] (n) EN: [ classifier : small boxes (toothpaste box ...) ; parcels ; cartons ]  FR: [ classificateur : petites boîtes ; boîtes en carton ]
กล้อง[klǿng] (n) EN: [ classifier : cameras ; binoculars ; telescopes ; microscopes ]  FR: [ classificateur : appareils photographiques ; jumelles ; télescopes ; microscopes ]
กลุ่ม[klum] (n) EN: [ classifier : reels, balls of string, rolls, skeins, groups of persons ]  FR: [ classificateur : bobines, écheveaux, pelotes, groupes de personnes ]
ก้อน[køn] (n) EN: [ classifier : stones ; lumps of sugar ; cakes of soap ; clouds ]  FR: [ classificateur : pierres ; morceaux de sucre ; savonnettes ; nuages ] ]
กอง[køng] (n) EN: [ classifier : piles or heaps of things (stones, rocks ...), divisions in the Thai army ]  FR: [ classificateur : piles ou tas ]
กระบอก[krabøk] (n) EN: [ classifier : pipes, tubes, cylinders, firearms (guns ...) ]  FR: [ classificateur : tubes, cylindres, canons ]
กระป๋อง[krapǿng] (n) EN: [ classifier : soda cans ]  FR: [ classificateur : cannettes, boîtes de conserve ]
ลักษณนาม = ลักษณะนาม[laksananām] (n, exp) EN: classifier  FR: classificateur [ m ]
ลำ[lam] (n) EN: [ classifier : boats ; ships ; watercraft ; airplanes ; long round hollow objects (bamboo, stems, sugarcanes, ...) ]  FR: [ classificateur : bateaux ; embarcations ; avions ; fusées ; objets arrondis, allongés et creux (bambous, cannes à sucre, tiges, troncs ...) ]

CMU English Pronouncing Dictionary Dictionary [with local updates]
classification
classifications
reclassification

Oxford Advanced Learners Dictionary (pronunciation guide only)
classification
classifications
declassification
declassifications

WordNet (3.0)
classification(n) a group of people or things arranged by class or category, Syn. categorisation, categorization
classification(n) the basic cognitive process of arranging into classes or categories, Syn. categorisation, sorting, categorization
classification(n) restriction imposed by the government on documents or weapons that are available only to certain authorized people, Ant. declassification
classification system(n) a system for classifying things
classificatory(adj) relating to or involving classification:
cross-classification(n) classification according to more than one attribute at the same time, Syn. cross-division
declassification(n) reduction or removal by the government of restrictions on a classified document or weapon, Ant. classification
dewey decimal classification(n) a system used by libraries to classify nonfictional publications into subject categories; the subject is indicated by a three-digit numeral and further specification is given by numerals following a decimal point; publications are shelved by number, Syn. Dewey decimal system, decimal system of classification
hierarchical classification system(n) a classification system where entries are arranged based on some hierarchical structure
reclassification(n) classifying something again (usually in a new category)
categorization(n) the act of distributing things into classes or categories of the same type, Syn. classification, compartmentalization, compartmentalisation, assortment, categorisation

The Collaborative International Dictionary of English (GCIDE) v.0.53
Classific

a. Characterizing a class or classes; relating to classification. [ 1913 Webster ]

Classification

n. [ Cf. F. classification. ] The act of forming into a class or classes; a distribution into groups, as classes, orders, families, etc., according to some common relations or affinities. [ 1913 Webster ]


Artificial classification. (Science) See under Artifitial.
[ 1913 Webster ]

Classificatory

a. Pertaining to classification; admitting of classification. “A classificatory system.” Earle. [ 1913 Webster ]

declassification

n. Reduction by the government of restrictions on a classified document or weapon. [ WordNet 1.5 ]

Chinese-English: CC-CEDICT Dictionary
分类[fēn lèi, ㄈㄣ ㄌㄟˋ,   /  ] classification #4,064 [Add to Longdo]
类别[lèi bié, ㄌㄟˋ ㄅㄧㄝˊ,   /  ] classification; category #10,057 [Add to Longdo]
语种[yǔ zhòng, ㄩˇ ㄓㄨㄥˋ,   /  ] language type (in a classification) #27,591 [Add to Longdo]
非金属[fēi jīn shǔ, ㄈㄟ ㄐㄧㄣ ㄕㄨˇ,    /   ] nonmetal, includes: carbon C 碳, nitrogen N 氮, oxygen O 氧, phosphorus P 磷, sulfur S 硫, selenium S 硒 (and others in some classifications) #38,775 [Add to Longdo]
警种[jǐng zhǒng, ㄐㄧㄥˇ ㄓㄨㄥˇ,   /  ] police classification; subdivision of policing activities (traffic, border guard, criminal etc) #43,642 [Add to Longdo]
分属[fēn shǔ, ㄈㄣ ㄕㄨˇ,   /  ] classification [Add to Longdo]
动物分类[dòng wù fēn lèi, ㄉㄨㄥˋ ㄨˋ ㄈㄣ ㄌㄟˋ,     /    ] taxonomy; classification of animals [Add to Longdo]
谴责小说[qiǎn zé xiǎo shuō, ㄑㄧㄢˇ ㄗㄜˊ ㄒㄧㄠˇ ㄕㄨㄛ,     /    ] A novel of denunciation (acc. to Lu Xun's 鲁迅|鲁迅 classification) [Add to Longdo]
非金属元素[fēi jīn shǔ yuán sù, ㄈㄟ ㄐㄧㄣ ㄕㄨˇ ㄩㄢˊ ㄙㄨˋ,      /     ] nonmetal, includes: carbon C 碳, nitrogen N 氮, oxygen O 氧, phosphorus P 磷, sulfur S 硫, selenium S 硒 (and others in some classifications) [Add to Longdo]

German-English: TU-Chemnitz DING Dictionary
Anordnung { f } nach Sachgebietensubject classification [Add to Longdo]
Datenklassifikation { f }military classification [Add to Longdo]
Einordnung { f }; Einteilung { f }classification [Add to Longdo]
Einstufung { f } | Einstufungen { pl }classification | classifications [Add to Longdo]
Gliederungszeichen { n }classification sign; structuring sign [Add to Longdo]
Kategorisierung { f }classification in categories [Add to Longdo]
Kennzahl { f }classification number [Add to Longdo]
Klassifikation { f }; Klassifizierung { f }classification [Add to Longdo]
Kontengliederung { f }; Kontoklassifikation { f }account classification [Add to Longdo]
Mannschaftswertung { f }team classification [Add to Longdo]
Ordnungsprinzip { n }principle of classification [Add to Longdo]
Ordnungssystem { n }classification system [Add to Longdo]
Patentklassifikation { f }patent classification [Add to Longdo]
Stelleneinstufung { f }job classification [Add to Longdo]
Systematik { f }classification [Add to Longdo]
Typenbezeichnung { f }classification [Add to Longdo]

Japanese-English: EDICT Dictionary
分類[ぶんるい, bunrui] (n, vs) classification; categorization; sorting; (P) #819 [Add to Longdo]
区分[くぶん, kubun] (n, vs, adj-no) division; section; demarcation; partition; segmentation; subdivision; (traffic) lane; compartment; classification; sorting; (P) #1,551 [Add to Longdo]
区別(P);區別(oK)[くべつ, kubetsu] (n, vs) distinction; differentiation; classification; (P) #2,611 [Add to Longdo]
種別[しゅべつ, shubetsu] (n, vs) classification; assortment; (P) #3,490 [Add to Longdo]
[ぞう, zou] (n) miscellany (classification of Japanese poetry unrelated to the seasons or to love) #10,291 [Add to Longdo]
格付け[かくづけ(P);かくずけ(ik), kakuduke (P); kakuzuke (ik)] (n, vs) rating; classification; allocation; grading; (P) #10,927 [Add to Longdo]
内訳[うちわけ, uchiwake] (n) itemization (of expenses); the items; breakdown; classification; (P) #15,129 [Add to Longdo]
大別[たいべつ, taibetsu] (n, vs) general classification; (P) #17,431 [Add to Longdo]
類別[るいべつ, ruibetsu] (n, vs) classification #18,103 [Add to Longdo]
カ行[カぎょう, ka gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "ku"; "ka" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
ガ行[ガぎょう, ga gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "gu"; "ga" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
クラシフィケイション[kurashifikeishon] (n) classification [Add to Longdo]
サ行[サぎょう, sa gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "su"; "sa" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
ザ行[ザぎょう, za gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "zu"; "za" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
タ行[タぎょう, ta gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "tsu"; "ta" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
ダ行[ダぎょう, da gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "dzu"; "da" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
ヌ行[ヌぎょう, nu gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "nu"; "na" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
ハ行[ハぎょう, ha gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "hu or fu"; "ha" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
バ行[バぎょう, ba gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "bu"; "ba" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
パ行[パぎょう, pa gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "pu"; "pa" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
ファセット分類体系[ファセットぶんるいたいけい, fasetto bunruitaikei] (n) { comp } faceted classification system [Add to Longdo]
マ行[マぎょう, ma gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "mu"; "ma" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
ヤ行[ヤぎょう, ya gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "yu"; "ya" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
ラ行[ラぎょう, ra gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "ru"; "ra" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo]
一段階層分類体系[いちだんかいそうぶんるいたいけい, ichidankaisoubunruitaikei] (n) { comp } hierarchical classification system; monohiererchical classification system [Add to Longdo]
一般分類体系[いっぱんぶんるいたいけい, ippanbunruitaikei] (n) { comp } universal classification system; general classification system [Add to Longdo]
雲級[うんきゅう, unkyuu] (n) classification of clouds [Add to Longdo]
会意[かいい, kaii] (n) (See 会意文字) compound ideograph formation (one of the six kanji classifications); making kanji up of meaningful parts (e.g. "mountain pass" is up + down + mountain) [Add to Longdo]
会意文字[かいいもじ, kaiimoji] (n) compound ideograph (one of the six kanji classifications); kanji made up of meaningful parts (e.g. "mountain pass" is up + down + mountain) [Add to Longdo]
回線種別[かいせんすべつ, kaisensubetsu] (n) { comp } line type; line classification [Add to Longdo]
階層化[かいそうか, kaisouka] (n) { comp } stratification; classification [Add to Longdo]
階層分類体系[かいそうぶんるいたいけい, kaisoubunruitaikei] (n) { comp } hierarchical classification system; monohiererchical classification system [Add to Longdo]
簡略分類体系[かんりゃくぶんるいたいけい, kanryakubunruitaikei] (n) { comp } broad classification system [Add to Longdo]
教相判釈[きょうそうはんじゃく, kyousouhanjaku] (n) { Buddh } classification of the sutras and their teachings [Add to Longdo]
区分け[くわけ, kuwake] (n, vs) division; section; demarcation; (traffic) lane; compartment; classification; sorting [Add to Longdo]
語種[ごしゅ, goshu] (n) classification of Japanese words by their origin as Japanese, Chinese or Western [Add to Longdo]
合成形分類体系[ごうせいがたぶんるいたいけい, gouseigatabunruitaikei] (n) { comp } synthetic classification system [Add to Longdo]
仕訳;仕分け[しわけ, shiwake] (n, vs) assortment journalizing (in bookkeeping); classification [Add to Longdo]
四角号碼[しかくごうま, shikakugouma] (n) four-corner kanji character stroke classification system [Add to Longdo]
自然分類[しぜんぶんるい, shizenbunrui] (n) natural classification [Add to Longdo]
十進分類体系[じっしんぶんるいたいけい, jisshinbunruitaikei] (n) { comp } decimal classification system [Add to Longdo]
十進分類法[じっしんぶんるいほう, jisshinbunruihou] (n) decimal classification; Dewey (decimal) classification [Add to Longdo]
色分け[いろわけ, irowake] (n, vs) classification; color coding; colour coding; color keying; colour keying; differentiation using different colors (colours) [Add to Longdo]
深層分類体系[しんそうぶんるいたいけい, shinsoubunruitaikei] (n) { comp } close classification system; depth classification system [Add to Longdo]
人為分類[じんいぶんるい, jin'ibunrui] (n) artificial classification [Add to Longdo]
精密分類体系[せいみつぶんるいたいけい, seimitsubunruitaikei] (n) { comp } close classification system; depth classification system [Add to Longdo]
専門分類体系[せんもんぶんるいたいけい, senmonbunruitaikei] (n) { comp } specialized classification system [Add to Longdo]
線形分類体系[せんけいぶんるいたいけい, senkeibunruitaikei] (n) { comp } linear classification system [Add to Longdo]
船級[せんきゅう, senkyuu] (n) ship's classification [Add to Longdo]
選別[せんべつ, senbetsu] (n, vs) selection; classification; sorting; screening; triage; (P) [Add to Longdo]

Japanese-English: COMPDICT Dictionary
ファセット分類体系[ファセットぶんるいたいけい, fasetto bunruitaikei] faceted classification system [Add to Longdo]
一段階層分類体系[いちだんかいそうぶんるいたいけい, ichidankaisoubunruitaikei] hierarchical classification system, monohiererchical classification system [Add to Longdo]
一般分類体系[いっぱんぶんるいたいけい, ippanbunruitaikei] universal classification system, general classification system [Add to Longdo]
回線種別[かいせんすべつ, kaisensubetsu] line type, line classification [Add to Longdo]
階層化[かいそうか, kaisouka] stratification, classification [Add to Longdo]
階層分類体系[かいそうぶんるいたいけい, kaisoubunruitaikei] hierarchical classification system, monohiererchical classification system [Add to Longdo]
簡略分類体系[かんりゃくぶんるいたいけい, kanryakubunruitaikei] broad classification system [Add to Longdo]
合成形分類体系[ごうせいがたぶんるいたいけい, gouseigatabunruitaikei] synthetic classification system [Add to Longdo]
十進分類体系[じっしんぶんるいたいけい, jisshinbunruitaikei] decimal classification system [Add to Longdo]
深層分類体系[しんそうぶんるいたいけい, shinsoubunruitaikei] close classification system, depth classification system [Add to Longdo]
精密分類体系[せいみつぶんるいたいけい, seimitsubunruitaikei] close classification system, depth classification system [Add to Longdo]
専門分類体系[せんもんぶんるいたいけい, senmonbunruitaikei] specialized classification system [Add to Longdo]
線形分類体系[せんけいぶんるいたいけい, senkeibunruitaikei] linear classification system [Add to Longdo]
多元分類体系[たげんぶんるいたいけい, tagenbunruitaikei] multidimensional classification system [Add to Longdo]
二分分類体系[にぶんぶんるいたいけい, nibunbunruitaikei] dichotomized classification system [Add to Longdo]
普遍分類体系[ふへんぶんるいたいけい, fuhenbunruitaikei] universal classification system, general classification system [Add to Longdo]
分析形分類体系[ぶんせきがたぶんるいたいけい, bunsekigatabunruitaikei] analytical classification system [Add to Longdo]
分析合成形分類体系[ぶんせきごうせいがたぶんるいたいけい, bunsekigouseigatabunruitaikei] analytico-synthetic classification system [Add to Longdo]
分類[ぶんるい, bunrui] classification (vs), sorting [Add to Longdo]
分類体系[ぶんるいたいけい, bunruitaikei] classification system [Add to Longdo]
分類表[ぶんるいひょう, bunruihyou] classification table [Add to Longdo]
類別[しゅべつ, shubetsu] classification (vs) [Add to Longdo]
列挙分類体系[れっきょぶんるいたいけい, rekkyobunruitaikei] enumerative classification system [Add to Longdo]

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top