trade terms | [เทรด เทอมส] (n) "ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้า" ยังไม่เจาะจงลงไปว่าเป็นแหล่งอ้างอิงจากชื่อใด เข่น AFTD: American Foreign Trade Definition หรือ RWO: Rules of Warsaw and Oxford หรือ GCDM: General Conditions for Delivery of Merchandise หรือ Combiterms หรือ Incoterms ซึ่งในแต่ละแหล่งอ้างอิงมี Terms ให้ใช้คล้ายกัน เช่น Ex Works, FOB หรือ CIF เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แหล่งอ้างอิงที่เสถียรในเรื่องค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการส่งมอบ คือแหล่ง Incoterms ทำให้หลายแหล่ง เช่น ล่าสุดทางอเมริกา ประกาศยกเลิก ธรรมนูญการค้าหรือ UCC บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าของตน ซึ่ง UCC นี้เองได้เป็นฐานในการกำหนดงเป็น AFTD ล่าสุดอเมริกาและแทบทั้งโลกมาขอใช้ร่วมกับ Incoterms ของ ICC International Chamber of Commerce, Paris, France นี้ เป็นมีการกำหนดจุดรับภาระที่แน่นอนกว่า | เมพขิงๆ | (phrase, slang) มาจากการพิมพ์คำว่า เทพจิงๆ ผิด, ซึ่งเพี้ยนมาจาก เทพจริงๆ อีกที ซึ่งแปลว่า เก่งจริงๆ, เหนือชั้นจริงๆ เป็นภาษาตามสมัยนิยม ใช้กันมากในอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บบอร์ด, เกมออนไลน์ โดยคำว่าเทพในที่นี้ใช้ในความหมายว่า เก่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากๆ, เนื่องจากแป้นคีย์บอร์ด ตัว ท กับ ม และ ข กับ จ อยู่ติดกัน | แหก | [แหก] (jargon) การเปิดโปง ออกมาแฉ บอกความจริง ในเรื่องหรือกรณีต่างๆ ที่คนหนึ่งได้เคยออกมาโกหก หรือ จกตา ไว้ก่อนหน้านี้ ตัวอย่าง จกตาเพื่อนมาได้ตั้งนาน สุดท้ายเป็นไงละ โดน “แหก” จนได้ |
| มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N | [มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N] (n, vi, vt, modal, verb, aux, verb, adj, adv, prep, conj, pron, phrase, jargon, slang, colloq, vulgar, abbrev, name, o) มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: Norma Jeane Mortenson) เกิดวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1926 – 5 สิงหาคม ค.ศ. 1962) เป็นอดีตนักแสดง นักร้อง นางแบบชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากบทบาท "dumb blonde" เธอกลายเป็นสัญลักษณ์ทางเพศที่ได้รับความนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นสัญลักษณ์ของทัศนคติที่มีต่อเพศแห่งยุค แม้ว่าเธอได้เป็นนักแสดงระดับต้น ๆ เพียงแค่หนึ่งทศวรรษ ภาพยนตร์ของเธอทำรายได้ได้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนที่เธอจะเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดใน ค.ศ. 1962[ 1 ] เธอยังถือว่าเป็นสัญรูปของวัฒนธรรมสมัยนิยมหลัก ๆ นับแต่นั้นมา[ 2 ] มอนโรเกิดและเติบโตในลอสแอนเจลิส วัยเด็กเธออาศัยอยู่ในบ้านรับเลี้ยงเด็ก และสถานเด็กกำพร้า และสมรสครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ขณะทำงานในโรงงานเป็นส่วนหนึ่งของกำลังสงคราม ใน ค.ศ. 1944 เธอพบกับช่างภาพคนหนึ่ง และเริ่มทำอาชีพนางแบบ งานของเธอทำให้เธอได้เซ็นสัญญากับภาพยนตร์ขนาดสั้น 2 เรื่องกับค่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ (1946-1947) และโคลัมเบียพิกเจอส์ (1948) หลังจากรับบทย่อยในภาพยนตร์จำนวนหนึ่ง เธอเซ็นสัญญาใหม่กับฟอกซ์ใน ค.ศ. 1951 เธอกลายเป็นนักแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วด้วยบทบาทตลกขบขันหลายบทบาท เช่นในเรื่อง แอสยังแอสยูฟีล (1951) และมังกีบิสเนส (1952) และในภาพยนตร์ดรามาเรื่อง แคลชบายไนต์ (1952) และ โดนต์บาเดอร์ทูน็อก (1952) มอนโรเผชิญหน้ากับข่าวลือหลังจากมีการเปิดเผยว่าเธอเคยถ่ายแบบเปลือยก่อนมาเป็นนักแสดง แต่แทนที่จะทำลายอาชีพเธอ มันกลับทำรายได้ให้กับบอกซ์ออฟฟิศ ก่อน ค.ศ. 1953 มอนโรเป็นหนึ่งในดาราฮอลลิวูดที่มีบทบาทนำในภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ ฟิล์มนัวร์ เรื่อง ไนแอการา (ภาพยนตร์ ค.ศ. 1953)|ไนแอการา ซึ่งมุ่งจุดสนใจที่เสน่ห์ทางเพศของเธอ และภาพยนตร์ตลกเรื่อง เจนเทิลเม็นพรีเฟอร์บลอนส์ และ ฮาวทูแมร์รีอะมิลเลียนแนร์ ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ให้เธอเป็น "dumb blonde" แม้ว่าเธอจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างและจัดการภาพลักษณ์สาธารณะของเธอตลอดอาชีพการทำงาน เธอรู้สึกผิดหวังต่อสตูดิโอที่ไทป์แคสต์ และการให้ค่าตัวเธอต่ำไป เธอถูกพักงานเป็นช่วงสั้น ๆ ในต้นปี ค.ศ. 1954 เนื่องจากเธอปฏิเสธโครงการทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง แต่กลับมาเป็นดาราในภาพยนตร์เรื่องที่ประสบความสำเร็จที่สุดเรื่องหนึ่งคือ เดอะเซเวนเยียร์อิตช์ (1955) เมื่อสตูดิโอยังลังเลที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญาของเธอ มอนโรก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ใน ค.ศ. 1954 ชื่อ มาริลิน มอนโร โพรดักชันส์ (MMP) ขณะก่อสร้างบริษัท เธอเริ่มศึกษาการแสดงที่แอกเตอส์สตูดิโอ ในปลายปี ค.ศ. 1955 ฟอกซ์มอบฉันทะให้เธอควบคุมและให้เงินเดือนสูงขึ้น หลังจากได้รับคำสรรเสริญจากการแสดงในเรื่อง บัสสต็อป (1956) และการแสดงในภาพยนตร์อิสระเรื่องแรกของบริษัท MMP เรื่อง เดอะพรินซ์แอนด์เดอะโชว์เกิร์ล (1957) เธอได้รับรางวัลลูกโลกทองคำจากเรื่อง ซัมไลก์อิตฮอต (1959) ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของเธอที่ถ่ายทำจนเสร็จคือเรื่อง เดอะมิสฟิตส์ (1961) |
|
| กฎ | ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. | กรณี | (กะระ-, กอระ-) น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. | กระดากปาก, กระดากลิ้น | ก. ตะขิดตะขวงใจที่จะพูดในเรื่องที่ไม่ควรพูด. | กันชน | น. เครื่องป้องกันการกระทบกระแทกด้านหน้าและด้านหลังรถยนต์, เรียกประเทศหรือรัฐที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ ว่า ประเทศกันชน หรือ รัฐกันชน. | กัปปิยการก | (-การก) น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค. | การออกเสียงประชามติ | น. การขอความเห็นชอบจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อาจกระทบถึงประโยชน์ส่วนได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน โดยวิธีการให้ออกเสียงลงมติโดยตรง. | การเวก ๑ | (การะ-) น. ชื่อนกในเรื่องปรัมปรา เชื่อกันว่ามีอยู่ในป่าหิมพานต์ บินสูงเหนือเมฆ ร้องเพราะ สัตว์ทั้งหลายได้ยินก็หยุดชะงักไป. | กุมภนิยา | น. ชื่อพิธีชุบศรพรหมาสตร์ของอินทรชิตในเรื่องรามเกียรติ์. | เก๋า ๒ | ว. เชี่ยวชาญ, มีประสบการณ์หรือความชำนาญมาก, เช่น คุณปู่เก๋ามากในเรื่องพระเครื่อง | โกวิท | (-วิด) ว. ฉลาด, ชำนิชำนาญ, รอบรู้ในการอันใดอันหนึ่ง, เช่น อัศวโกวิท ว่า ผู้มีความชำนาญในเรื่องม้า. | ข้อกำหนด | น. ข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติหรือดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. | ข้อกำหนดพินัยกรรม | น. ข้อความที่ระบุไว้ในพินัยกรรมในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นทรัพย์มรดก หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว เช่น สิทธิในการรับมรดก การจัดการทรัพย์มรดก การโอนทรัพย์มรดก. | ขอดค่อน | ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ, ยกความชั่วขึ้นมาว่าให้เจ็บใจ, ค่อนขอด ก็ว่า. | เข้าตามตรอกออกตามประตู | ก. ทำตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ. | เข้ารกเข้าพง | ก. พูดหรือทำไม่ถูกต้องกับเรื่อง เพราะขาดความชำนาญในเรื่องนั้น. | ค่อนขอด | ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ, ยกความชั่วขึ้นมาว่าให้เจ็บใจ, ขอดค่อน ก็ว่า. | คำฟ้องแย้ง | น. คำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง. | จุ้นจ้าน | ก. เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หรือในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวจนน่าเกลียด, (ปาก) จุ้น. | เจ้าถิ่น | น. เจ้าของถิ่น, ผู้ชำนาญในเรื่องของท้องถิ่นนั้น ๆ, (ปาก) นักเลงโต. | ชาติ ๒, ชาติ- ๒ | กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน. | ซอกแซก | ก. ไปทั่วทุกแห่งทุกที่ที่ต้องการจะไปหรือที่คนอื่นไม่คิดจะไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ในความว่า ซอกแซกไป, เสาะค้นขึ้นมาถามในเรื่องที่ต้องการจะรู้หรือเรื่องที่คนอื่นไม่คิดจะถามด้วยความอยากรู้อยากเห็น ในความว่า ซอกแซกถาม. | ดักดาน | ว. คงสภาพอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานาน (มักใช้ในเรื่องที่ไม่เจริญก้าวหน้า) เช่น เป็นเสมียนอยู่ดักดาน โง่ดักดาน. | ตกลึก | โดยปริยายหมายความว่า ถลำลึกเข้าไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. | ต่อตาม | ก. พูดเกี่ยงราคาในเรื่องซื้อขาย, พูดเกี่ยงผลประโยชน์ในการทำความตกลงกัน. | ตัวเอก | น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น. | ตาบอดสอดตาเห็น | อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. | ตีตนก่อนไข้, ตีตนตายก่อนไข้ | ก. กังวลทุกข์ร้อนหรือหวาดกลัวในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น. | เตียว ๑ | น. เรียกพลลิงจำพวกหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้ผ้าตะบิดโพกศีรษะ ว่า เตียวเพชร | โต้ตอบ | ก. มีหนังสือไปมา, ตอบกันไปมาในเรื่องนั้น ๆ. | โต้วาที | ก. แสดงคารมโดยมีฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. | ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน | ว. ต่างฝ่ายต่างปฏิบัติดีต่อกันในเรื่องเดียวกันหรือในทำนองเดียวกัน. | ทศกัณฐ์ | น. “ผู้มีสิบคอ” คือ ท้าวราพณ์ในเรื่องรามเกียรติ์. | นวนิยาย | น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครงเรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง ของ อิงอร เรื่องสร้อยทอง ของ นิมิต ภูมิถาวร. | น้ำตาเช็ดหัวเข่า | เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนักในเรื่องคู่ครอง (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น เพราะเธอเชื่อผู้ชายคนนี้ จึงต้องน้ำตาเช็ดหัวเข่า. | บำเพ็ญ | ก. ทำให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน, (มักใช้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา) เช่น บำเพ็ญบุญ บำเพ็ญบารมี | ประชามติ | น. มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง. (อ. plebiscite) | ประเทศกันชน | น. ประเทศหรือรัฐที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์, รัฐกันชน ก็เรียก. | ประนอมหนี้ | ก. การที่ลูกหนี้ขอทำความตกลงในเรื่องหนี้สิน โดยวิธีขอชำระหนี้เพียงบางส่วน หรือโดยวิธีอื่น. | ผู้รู้ | น. ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ เช่น เรื่องนี้ต้องให้ผู้รู้เป็นคนชี้แจง. | พยานบอกเล่า | น. พยานบุคคลซึ่งให้การในเรื่องที่ตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้มาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น รวมตลอดถึงข้อความที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุก็ถือเป็นพยานบอกเล่า. | พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ | น. รูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของฝ่ายนิติบัญญัติในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง พรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสนอ การพิจารณาและการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากพระราชบัญญัติ. | พลอดรัก | ก. พูดจาอ่อนหวานต่อกันในเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ. | พินัยกรรม | น. คำสั่งของบุคคลที่กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว. | พีชคณิต | (พีชะคะนิด) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจำแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบจำนวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสำคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย. | พุทธิศึกษา | น. การศึกษาที่เน้นในเรื่องการสอนให้เกิดความรู้ความคิดอย่างมีเหตุผล. | เพ้อเจ้อ | ว. พล่าม, อาการที่พูดมากในเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระ, อาการที่พูดพล่ามจนเสียประโยชน์, อาการที่พูดไม่รู้จักจบ. | ฟ้องแย้ง | ก. การที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์. | ภาพกาก | น. ภาพเขียนที่เป็นตัวประกอบในเรื่อง. | ภูมิศาสตร์กายภาพ | น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่แวดล้อมตัวมนุษย์. | ภูมิศาสตร์การเมือง | น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องเกี่ยวกับการเมืองของรัฐต่าง ๆ ในโลก. |
| | Convention on Access to Information, Public Participation in Decision-making, and Access to Justice in Environmental Matters | อนุสัญญาว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูล การมีส่วนร่วมของสาธารณะชนในการตัดสินใจ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม (ค.ศ. 1, อนุสัญญาว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูล การมีส่วนร่วมของสาธารณะชนในการตัดสินใจ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม (ค.ศ. 1998) [TU Subject Heading] | ASEAN Free Trade Area - Mercado Común del Sur (Southern Common Market) | ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับตลาดร่วมอเมริกาใต้ ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย โดยความร่วมมือในชั้นนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการ รวมตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละฝ่าย [การทูต] | ASEAN Free Trade Area - North America Free Trade Area | ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการจัดตั้ง เขตการค้าเสรีของแต่ละฝ่าย [การทูต] | Agreement | การที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต] | ASEAN Secretariat | สำนักเลขาธิการอาเซียน " ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา มีหน้าที่ให้การสนับสนุนงานการประชุม ประสานงาน และเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ และมีเลขาธิการอาเซียนเป็น หัวหน้าสำนักงาน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ทั้งนี้ นายแผน วรรณเมธี เป็นคนไทยคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งนี้ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2527-2529 " [การทูต] | ASEAN Troika | กลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน " เป็นข้อเสนอของไทยในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ผู้นำประเทศ/รัฐบาลอาเซียน เป็นกลไกเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนสามารถแก้ไขและร่วมมือกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทันท่วงทีและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ และในเรื่องที่อาเซียนมีความห่วงกังวลร่วมกันว่ามี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะปฏิบัติงานโดยยึดหลักการที่สำคัญของอาเซียน คือ หลักฉันทามติ และการไม่แทรกแซงกิจการภายใน กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำของ อาเซียนในปัจจุบัน อดีต และอนาคต " [การทูต] | Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] | Common Foreign and Security Policy | นโยบายร่วมต่างประเทศและความมั่นคง (ของสหภาพยุโรป) " ผู้ที่ได้รับการมอบหมายให้ดูแลในเรื่องนี้ คือ ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายร่วมต่างประเทศและความมั่นคง (High Representative) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า Mr. CFSP " [การทูต] | Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] | Conference Diplomacy | กระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต] | consensus | ฉันทามติ หมายถึง แนวปฏิบัติในการตัดสินใจที่จะมีมติดำเนินการหรือไม่ดำเนินการในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง โดยแม้ทุกฝ่ายจะมิได้เห็นพ้องร่วมกัน แต่ก็ไม่มีผู้ใดคัดค้าน [การทูต] | declaration | ปฏิญญา มีความหมาย 3 อย่าง คือ (1) ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะผูกพัน (2) ปฏิญญาฝ่ายเดียว ซึ่งก่อสิทธิและหน้าที่ให้แก่ประเทศอื่น และ (3) ปฏิญญาซึ่งรัฐหนึ่งแถลงให้รัฐอื่นทราบความเห็นและเจตนาของตนในเรื่องบาง เรื่อง [การทูต] | Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] | Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] | Establishment of Diplomatic Relations and Missions | การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต] | Exemption from Taxation of Diplomatic Agent | การยกเว้นภาษีอากรให้แก่ตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ข้อ 34 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ให้ตัวแทนทางการทูตได้รับยกเว้นจากภาระผูกพันและภาษีทั้ง ปวงของชาติท้องถิ่นหรือเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน เว้นแต่ก. ภาษีทางอ้อม ชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาของสินค้าหรือบริการแล้วข. ภาระผูกพันและภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับ นอกจากว่า ตัวแทนทางการทูตครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในนามของรัฐผู้ส่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนค. อากรกองมรดก การสืบมรดก หรือการรับมรดก ซึ่งรัฐผู้รับเรียกเก็บภายในบังคับแห่งบทของวรรค 4 ข้อ 39 ง. ภาระผูกพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัว ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในรัฐผู้รับ และภาษีเก็บจากเงินทุนซึ่งได้ลงทุนในการประกอบการพาณิชย์ในรัฐผู้รับจ. ค่าภาระซึ่งเรียกเก็บสำหรับบริการจำเพาะที่ได้ให้ฉ. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมศาล หรือสำนวนความ ภาระผูกพันในการจำนอง และอากรแสตมป์ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ภายในบังคับแห่งบทของข้อ 23?นอกจากนี้ ข้อ 35 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า ?ให้รัฐผู้รับให้ตัวแทนทางการทูตได้รับการยกเว้นจากการบริการส่วนบุคคลทั้ง มวล จากบริการส่วนสาธารณะทั้งมวล และจากข้อผูกพันทางทหาร เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกเกณฑ์ ส่วนบำรุง หรือเรียกคืนที่พักอาศัยเพื่อปฏิบัติการทางทหาร? [การทูต] | Exercise of Consular Functions in a Third State | การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต] | exactions | ข้อเรียกบังคับ หรือภาระเรียกบังคับ ใช้ในเรื่องของการเรียกเก็บภาษี [การทูต] | Exequatur | คำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต] | Flexible Engagement | ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน " [การทูต] | HABITAT | ดูที่ UNCHF = ศูนย์เพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของคณะกรรมาธิการว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (Commission on Human Settlements) ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานกิจกรรมการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชา ชาติที่เน้นในเรื่องที่พักพิง (shelter) และบริการทางสังคม การจัดการเมือง สิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐาน และการประเมิน ติดตามข่าวสารข้อมูลทางด้านการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ [การทูต] | Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agents | ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต] | Indigent Nationals | คนในชาติที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้นในต่างแดน ในเรื่องนี้ มีหลายประเทศได้อนุญาตให้ผู้แทนทางการทูตและทางกงสุลของตนอำนวยความช่วย เหลือเท่าที่จำเป็นแก่คนชาติของตนที่ประสบความยากจนข้นแค้นในต่างประเทศรวม ทั้งค่าส่งตัวกลับประเทศด้วย มีหลายรายที่กำหนดให้คนชาติที่ต้องทุกข์นั้น แจ้งถึงสาเหตุที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้น และสัญญาว่าเงินที่ได้รับนี้จะต้องชดใช้คืนภายหลัง ตามปกติ ผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลจะต้องปรึกษากับกระทรวงการต่างประเทศของตน ก่อนที่จะนำเงินให้คนชาติของตนกู้ยืมหรือไปรับรองบุคคลเหล่านั้น หรือไปรับผิดชอบทางการเงินใดๆ [การทูต] | International Law Commission of the United Nations | คือคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมปรับปรุงกฎหมายระหว่า ประเทศ รวมทั้งการทำประมวลกฎหมายให้ก้าวหน้าและทันสมัยคณะกรรมาธิการนี้ประกอบด้วย สมาชิกรวม 25 คน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งสมาชิกคราวละ 5 ปี และจะทำงานในคณะกรรมาธิการในฐานะตัวบุคคล มิใช่เป็นตัวแทนจากประเทศของตน ตลอดการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเป็นจำนวนหลายสมัยมาแล้ว คณะกรรมาธิการได้ทำหน้าที่ร่างกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย บางเรื่องได้ริเริ่มขึ้นเองโดยคณะกรรมาธิการ แต่บางเรื่องทางสมัชชาสหประชาชาติหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ได้ส่งไปให้พิจารณาดำเนินการคณะกรรมาธิการได้ร่างสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายทาง ทะเลไปแล้วไม่น้อยกว่า 4 ฉบับ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง อนุสัญญาว่าด้วยอาณาเขตทางทะเลและพื้นที่ติดชายฝั่งอนุสัญญาเกี่ยวกับการจับ ปลา การอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีชีวิตในท้องทะเลหลวง พร้อมทั้งได้รับสัตยาบันสารจากประเทศต่าง ๆ ไว้แล้วเป็นจำนวนมาก เมื่อ ค.ศ.1961 และ 1963 คณะกรรมาธิการได้จัดให้มีการประชุมใหญ่สองครั้งตามลำดับ ณ กรุงเวียนนา พร้อมทั้งได้ลงมติรับรองอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล [การทูต] | Inviolability of Residence and Property of Diplomatic Agents | หมายถึง ความละเมิดมิได้ของทำเนียบและทรัพย์สินของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ว่า ?1. ให้ที่อยู่ส่วนตัวของตัวแทนทางการทูต ได้อุปโภคความละเมิดมิได้และความคุ้มครอง เช่นเดียวกับสถานที่ของคณะผู้แทน 2. ให้กระดาษเอกสาร หนังสือโต้ตอบ และยกเว้นที่ได้บัญญัติไว้ในวรรค 3 ของข้อ 31 ทรัพย์สินของตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคและละเมิดมิได้เช่นกัน?วรรค 3 ของข้อ 31 ในอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า มาตรการบังคับคดีไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต (เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยเงื่อนไขว่า มาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้ โดยปราศจาการละเมิด) หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต [การทูต] | Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] | Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] | Order of Precedence | หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต] | Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] | Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] | Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] | point of order | ประท้วง หรือขัดจังหวะในระหว่างการประชุม หรือระหว่างการกล่าวถ้อยแถลงในเรื่องผิดข้อบังคับการประชุม [การทูต] | Reciprocity of Rank of Envoys | หมายถึง การถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันในเรื่องตำแหน่งของทูต กล่าวคือ ประเทศทั้งหลายถือธรรมเนียมปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนทูตที่มีตำแหน่งเท่าเทียม กัน ดังนั้น หากประเทศหนึ่งส่งทูตไปประจำอีกประเทศหนึ่ง ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ประเทศนั้นก็คาดว่าประเทศผู้รับย่อมจะให้ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน โดยส่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มของตนไปประจำที่ประเทศผู้ส่งด้วย พึงสังเกตว่าการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกันเช่นนี้มิใช่เป็นระเบียบข้อบังคับของ กฏหมายระหว่างประเทศ หากเป็นการแสดงไมตรีจิตมิตรภาพต่อกันระหว่างประเทศทั้งหลายมากกว่า [การทูต] | Regional Organizations | คือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต] | Size of Staff of Diplomatic Mission | ขนาดของคณะผู้แทนทางการทูต โดยพฤตินัย จำนวนคณะผู้แทนทางการทูตจะมีตั้งแต่แห่งละหนึ่งหรือสองคนขึ้นไป จนถึงแห่งละ 100 กว่าคนได้ แต่โดยส่วนเฉลี่ย คณะผู้แทนทางการทูต จะมีจำนวนระหว่าง 12 ถึง 24 คน สำหรับคณะผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวงของประเทศใหญ่ๆ เช่น ที่กรุงวอชิงตันดีซี กรุงลอนดอน กรุงปารีส กรุงมอสโก กรุงปักกิ่ง และกรุงโตเกียว เป็นต้น จะมีเจ้าหน้าที่ทูตมากกว่าปกติอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูตได้บัญญัติอยู่ในมาตรา 11 ว่า ?1. เมื่อไม่มีความตกลงเฉพาะในเรื่องขนาดของคณะผู้แทน รัฐผู้รับอาจเรียกร้องให้ขนาดของคณะผู้แทนอยู่ในจำนวนจำกัดตามที่ตนเห็นว่า เหมาะหรือเป็นปกติได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์หรือสภาวการณ์ในรัฐผู้รับ และความจำเป็นของคณะผู้แทนเฉพาะราย 2. ภายในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน และบนมูลฐานที่ไม่เลือกปฏิบัติ รัฐผู้รับอาจปฏิเสธได้เช่นเดียวกัน ที่จะยอมรับพนักงานเฉพาะรายประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้? [การทูต] | Size of Consular Staff | ขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล ข้อ 20 ในอนุสัญญากรุงเวียนนาบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ไม่มีความตกลงอย่างชัดเจนในเรื่องขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล รัฐผู้รับอาจกำหนดให้รักษาขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ไว้ภายในขีดจำกัดที่ตน พิจารณาเห็นว่าปกติและสมควรได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และสถานการณ์ในเขตกงสุลนั้น รวมทั้งความต้องการของสถานที่ทำการทางกงสุลแห่งนั้นโดยเฉพาะ [การทูต] | United Nations Centre for Human Settlements หรือ HABITAT | ศูนย์เพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของคณะกรรมาธิการว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (Commission on Human Settlements) ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานกิจกรรมการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชา ชาติที่เน้นในเรื่องที่พักพิง (shelter) และบริการทางสังคม การจัดการเมือง สิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐาน และการประเมิน ติดตามข่าวสารข้อมูลทางด้านการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ [การทูต] | Voting Procedure in the United Nations | วิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ สมาชิกแต่ละประเทศมีคะแนนเสียง 1 คะแนน ข้อมติของสมัชชาในปัญหาสำคัญ (Important Questions) จะกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ที่เรียกว่าปัญหาสำคัญนั้นได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตี การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เพิ่มเติมนั้น จัดกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียงอนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจักต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute majority) ในที่ประชุมของสมัชชาและในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย นอกจากนี้สมาชิกสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินที่ค้างชำระเท่าหรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุงที่ถึงกำหนด ชำระสำหรับ 2 ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตาม สมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้น เนื่องมาจากภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น [การทูต] | Waiver of Immunity | การสละความคุ้มกันทางการทูต ในเรื่องนี้บางประเทศออกกฎไว้ว่า ความคุ้มกันจากอำนาจทั้งทางแพ่งหรืออาญาของผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ใน ประเทศผู้รับ ตามที่กฎหมายระหว่างประเทศได้มอบให้ รวมทั้งคณะเจ้าหน้าที่ทางการทูตและบุคคลในครอบครัวของเขานั้น ย่อมสละมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศของผู้นั้น เหตุผลของการออกกฎข้อนี้เป็นเพราะเขาถือว่า ความคุ้มกันนั้นมิได้เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่โดยตรงหากแต่เกี่ยวกับตำแหน่ง หน้าที่ของเขามากกว่าเรื่องการสละความคุ้มกันข้างต้น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 32 ว่า?1. ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูตและของบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกัน ภายใต้ขอ้ 37 อาจสละได้โดรัฐผู้ส่ง 2. การสละต้องเป็นที่ชัดแจ้งเสมอ 3. การริเริ่มคดีโดยตัวแทนทางการทูต หรือโดยบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลภายใต้ข้อ 37 จะกันตัวแทนทางการทูตหรือบุคคลนั้นจากการอ้างความคุ้มกันของอำนาจศาล ในส่วนที่เกี่ยวกับการฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียกร้องสิทธิ สำคัญนั้น 4. การสละความคุ้มกันจากอำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีปกครอง ไม่ให้ถือว่ามีนัยเป็นการสละความคุ้มกันในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตาม คำพิพากษา ซึ่งจำเป็นต้องมีการสละต่างหากอีก? [การทูต] | Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] | Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] | soap opera | บริษัทผลิตสบู่, ละครวิทยุหรือโทรทัศน์ที่ออกอากาศเป็นตอนๆ ต่อเนื่องกันเป็นประจำ เนื้อเรื่องที่นำมาแสดงมักจะเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน และปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวละครในเรื่อง ในช่วงแรกเริ่มผู้อุปถัมภ์รายการละครวิทยุหรือโทรทัศน์ ลักษณะนี้เป็นบริษัทผลิตสบู่ จึงถูกเรียกว่า soap หรือ soap opera [อื่นๆ] | KM Assessment Tool | เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินองค์กรตนเองในเรื่องการจัดการความรู้, Example: เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการประเมินองค์กรตนเองในเรื่องการจัดการ ความรู้ และให้ข้อมูลกับองค์กรว่ามีจุดอ่อน-จุดแข็ง / โอกาส-อุปสรรค ในการจัดการความรู้เรื่องใดบ้าง หนึ่ง เพื่อให้ทราบถึงจุดอ่อน - จุดแข็ง / โอกาส-อุปสรรค ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญต้องปรับปรุง-รักษา ไว้/พัฒนา ให้การจัดการความรู้บรรลุผลตามเป้าหมาย ( KM Desired State) [การจัดการความรู้] | Technical Competency | สมรรถนะทางวิชาการ, ความรู้ ทักษะและพฤติกรรมที่พนักงานต้องมีเพื่อนำมาใช้ปฏิบัติงาน เช่น ความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์ (Product Knowledge) คุณภาพงานบริการ (Service Quality) ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making) เป็นต้น [การจัดการความรู้] | Ethylene propylene diene rubber | ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา [เทคโนโลยียาง] | Ethylene propylene rubber | ยาง EPM เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ ของเอทิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐานและมีสมบัติเป็นยาง แต่ไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) จึงทำให้มีสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากแสง แดด ออกซิเจน ความร้อน โอโซน และสารเคมี แต่ยางชนิดนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำมะถันในการคงรูปได้ (เนื่องจากไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์เท่านั้น การใช้งานนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายนอก เช่น ยางขอบประตู ยางขอบหน้าต่าง โอริง ฉนวนหุ้มสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] | Attitude, Tightward | หย่อนในเรื่องรางวัล [การแพทย์] | Fetishism | พวกที่มีความใคร่กับวัตถุสิ่งของของเพศตรงข้าม, การมีความสุขทางเพศกับส่วนของร่างกายหรือวัตถุ, ประเภทสนใจในเรื่องสิ่งของหรือชอบสะสมของของเพศตรงข้าม [การแพทย์] | ระดับความสามารถ | ระดับความสามารถ, การเปรียบเทียบอัตราส่วนศักยภาพในเรื่องหนึ่ง ๆ ว่าผู้นั้นอยู่ในช่วง/ระดับศักยภาพเท่าใดของเรื่องนั้น ๆ, Example: ได้จากความสามารถที่ทำได้ (Score Ability) เทียบกับความสามารถจริง (True Ability) ตามหลักของทฤษฎีการวัด ] ซึ่งนักวัดระดับความสามารถหลาย ๆ ท่านมักจะใช้คำว่า Quotient อันแปลอย่างตรงตัวว่า ผลลัพธ์ของการหาร มักจะถูกนำไปวางไว้หลังคำภาษาอังกฤษในเรื่องที่ใช้วัดความ [สุขภาพจิต] | คุณภาพชีวิต | คุณภาพชีวิต, ความรู้สึกพึงพอใจในเรื่องต่าง ๆ อันเป็นความต้องการของตัวบุคคล ที่มีการดำรงชีพของมนุษย์ในระดับที่เหมาะสมตามความจำเป็นพื้นฐานในสังคม หนึ่ง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะมีเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานที่ต้องบรรลุแต่ละด้าน หรือกำหนดเป็นตัวชี้วัด จึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงระด [สุขภาพจิต] |
| In the matter of Her Majesty... versus Gerard Patrick Conlon... the case is hereby dismissed. | ในเรื่องของการเสด็จฯ ไป ... เมื่อเทียบกับ Patrick Conlon ... เจอราร์ด In the Name of the Father (1993) | In the matter of Her Majesty versus Paul Hill... the case is hereby dismissed. | ในเรื่องของการ เสด็จฯ ไปเมื่อเทียบกับพอลฮิลล์ ... กรณีขอออกเป็น In the Name of the Father (1993) | In the matter of Her Majesty versus Patrick Armstrong... the case is hereby dismissed. | ในเรื่องของการ เสด็จฯ ไปเมื่อเทียบกับ Patrick Armstrong ... กรณีขอออกเป็น In the Name of the Father (1993) | In the matter of Her Majesty versus Carole Richardson... the case is hereby dismissed. | ในเรื่องของการ เสด็จฯ ไปเมื่อเทียบกับ Carole Richardson ... กรณีขอออกเป็น In the Name of the Father (1993) | In fact, I used to go out of my way to prove my mother wrong, that I wasn't cut out to be the best anything, I could only be me. | ที่จริงแล้ว ฉันมักจะออกนอกเส้นทางของตัวเองเสมอ เพื่อพิสูจน์ว่าแม่ของฉันผิด ว่าฉันไม่ใช่คนที่เกิดมายอดเยี่ยม ในเรื่องอะไรสักอย่าง ฉันก็เป็นได้แค่ตัวฉันเอง The Joy Luck Club (1993) | Thank God I already prepped him on the Emily Post of Chinese manners. | ขอบคุณพระเจ้าที่ฉันเตรียมตัวเขา ในเรื่องมารยาทของคนจีนเอาไว้แล้ว The Joy Luck Club (1993) | It was straight out of some awtul racist movie, like The World of Suzie Wong. | มันเหมือนกับหลุดมาจากหนังเหยียดเชื้อชาติแย่ๆ อย่างในเรื่อง The Wor1d of Suzie Wong The Joy Luck Club (1993) | A difficult poem, to flaunt his mastery of arcane poetic realms. | บทกวีอันซับซ้อน เพื่ออวดว่าตัวเองเก่งในเรื่องกวี บทกวีอันซับซ้อน เพื่ออวดว่าตัวเองเก่งในเรื่องกวี Wild Reeds (1994) | It was God's canvas... in all its natural beauty. | มันเป็นภาพเขียนของพระเจ้า ในเรื่องความงามทั้งมวลของธรรมชาติ Don Juan DeMarco (1994) | The hotelfrom... | โรงแรมในเรื่อง In the Mouth of Madness (1994) | My grandmother has this new boyfriend and they're both kind of insecure in bed, so... | ยายฉันสิมีแฟนใหม่ แล้วก็ไม่ค่อยมั่นใจในเรื่องบนเตียง The One with George Stephanopoulos (1994) | Oh, I thought you were great in Silence of the Lambs. | นายหล่อเลยในเรื่อง Silence of The Lambs The One with George Stephanopoulos (1994) | I told you when we hooked up... that you'd have to share me... with all the bad people and all the ugly events on this planet. | บอกแล้วไงตั้งแต่ร่วมชีวิตกัน ว่าคุณต้องแชร์กับผม ในเรื่องคนเลวกับเรื่องโหด ๆ ในโลก Heat (1995) | - There's no point in this thing going on. | - มีจุดใดในเรื่องนี้ที่เกิดขึ้นเป็น 12 Angry Men (1957) | Can I speak to you on a personal matter? | ฉันสามารถพูดคุยกับคุณสักครู่ ในเรื่องส่วนตัว? ส่วนบุคคล? How I Won the War (1967) | Let us go into the ring in this, our first round, with the light of battle in our eyes and the strength of the righteous in our hearts. | ให้เราไปเป็นแหวนในเรื่องนี้ รอบแรกของเราด้วยแสงของ การต่อสู้ ในสายตาและความแข็งแรง ของเรา How I Won the War (1967) | And soon, the Great Umpire above will call close of play in this, the Second World War. | จะเรียกอย่างใกล้ชิดของการ เล่น ในเรื่องนี้สงครามโลกครั้งที่ สอง How I Won the War (1967) | Who is responsible for this? | ใครคือผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้? Yellow Submarine (1968) | He's supposed to be very good with a knife, but only in matters of business with reasonable complaint. | เขาควรจะเป็นสิ่งที่ดีมากด้วยมีด แต่ในเรื่องของธุรกิจที่มีการร้องเรียนที่มีเหตุผล The Godfather (1972) | Like in the story. | เช่นเดียวกับในเรื่อง The Godfather (1972) | As a control measure, you will remain locked in your hotel room alone. | เพื่อการควบคุมในเรื่องนี้ คุณจะต้องถูกขังในห้องพักโรงแรม คนเดียว Oh, God! (1977) | - She's interested in your favourite subject: | -เขาสนใจในเรื่องที่คุณชอบน่ะ Suspiria (1977) | She is the leading character in a story I'm going to write here. | เธอเป็นตัวละครชี้นำในเรื่องราว ที่ฉันจะเขียนที่นี่ I Spit on Your Grave (1978) | Understand this. | เข้าใจในเรื่องนี้ Mad Max (1979) | Ever go to Sunday school? | ถ้าคุณเชื่อในเรื่องแบบนั้น เคยไปโรงเรียนวันอาทิตย์หรือเปล่า? Indiana Jones and the Raiders of the Lost Ark (1981) | I don't understand this. | ฉันไม่เข้าใจในเรื่องนี้ 2010: The Year We Make Contact (1984) | I will not stop work... that might lead to an answer, let alone in an area that is central to the condition. | ในเรื่องสำคัญๆแบบนี้ ขอบอกให้รู้ไว้ Day of the Dead (1985) | The main guy of the story is this fat kid that nobody likes, named Davie Hogan. | ตัวเอกในเรื่องเป็นเด็กอ้วน ที่ไม่มีใครชอบ ชื่อเดวี่ โฮแกน Stand by Me (1986) | Try your Sandra Dee, Jackie Kennedy... or Elizabeth Taylor-Cleopatra wig. | ลองทรงผมของ ซานดร้า ดีย์ แจ็กกี้ เคเนดี้... หรือแบบ อลิซาเบท เทย์เลอร์ ในเรื่อง คลีโอพัตรา Dirty Dancing (1987) | And I have a way of making it up for you. | และฉันก็อยากจะชดเชยให้กับคุณในเรื่องนั้น Mannequin (1987) | Spencer Tracy said that in "Fury." | สเปนเซอร์ เทรซี่ พูดไว้ในเรื่อง "ฟิวรี่." Cinema Paradiso (1988) | It's not his best work, but the story's hero ... is named John Kinsella, my father. | มันไม่ใช่งานที่ดีที่สุดของเขา แต่วีรบุรุษในเรื่อง... ตัวละครที่แมนน์สร้างขึ้น 26 ปีที่แล้ว ชื่อจอห์น คินเซลล่า - พ่อของผม Field of Dreams (1989) | It's time to ask yourself what you believe. | ถึงเวลาที่จะถามตัวคุณเองว่า คุณเชื่อในเรื่องอะไร Indiana Jones and the Last Crusade (1989) | Are you alone in this, or were you sent by others? | คุณเป็นคนเดียวในเรื่องนี้หรือไม่ก็ถูกคุณที่ส่งมาจากผู้อื่นได้อย่างไร The Russia House (1990) | He is the gentleman who is in charge of your display. | เขาจะเป็นคนจัดการดูแลในเรื่องงานแสดงของท่าน Mannequin: On the Move (1991) | He's the best I know on soprano sax. | เขาเก่งมากในเรื่อง โซปราโน่ แซ็ค. The Young Indiana Jones Chronicles (1992) | When you are here, you'll visit me. We can have conversations on many topics. | พอมาที่นี่ ให้คุณมาพบเรา เราจะได้คุยกันในเรื่องต่างๆ Seven Years in Tibet (1997) | Nothing in politics is a matter of honor, my friend. | ในเรื่องการเมือง ไม่มีอะไร ที่ถือเป็นเกียรติยศได้หรอกเพื่อน Seven Years in Tibet (1997) | My experience of such things is limited. | ประสบการณ์ของเราในเรื่องนี้ ยังมีไม่มากพอ Seven Years in Tibet (1997) | Rose and I differ somewhat in our definition of fine art. | โรสกับผม เห็นแตกต่างกันในเรื่องงานศิลป์ Titanic (1997) | I don't know about you... but I intend to write a strongly-worded letter... to the White Star Line about all this. | ไม่รู้คุณคิดยังไง แต่ผมต้องเขียนจดหมายไปต่อว่า ไวท์สตาร์ไลน์ในเรื่องนี้หน่อยแล้ว Titanic (1997) | It's exactly what happened in this trial... because the media twisted things around... so people got all focused on these cops... and whether or not they were going to get convicted... and whether Rodney King's civil rights had been violated. | มันก็เป็นอย่างที่มันเกิดขึ้นนั่นแหละ / ในเรื่องนี้... มันเป็นเพราะส่วนกลางที่บิดเบี้ยวรอบๆ... ผู้คนก็พากันจับตามอง/ ไปที่ตำรวจ... American History X (1998) | He didn't believe in shit. None of them did. | เขาไม่เชื่อในเรื่องแย่ๆ / แต่หนึ่งในนั้นก็เชื่อ American History X (1998) | I'm not very good at matters of the heart. I mean the proverbial heart. | ผมไม่ได้ดีเลิศอย่างที่ควรจะเป็น / ในเรื่องของหัวใจ ผมหมายความว่า... City of Angels (1998) | It's not so strange. You're great at things we don't understand. | ไม่แปลกหรอก เธอก็รอบรู้ในเรื่องที่เราไม่เข้าใจเหมือนกัน? Show Me Love (1998) | I mean, who would´ve thought that my foray into hair plugs... would´ve resulted in last month´s cover story? | ฉันหมายถึง คนที่คิดว่า / นั่นคือการโจมตีของฉันกับเครื่องทำผม... จะต้องเป็นผล / ภายในเรื่องนิตยสารฉบับเดือนล่าสุดใช่มั้ย? Never Been Kissed (1999) | Tom Cruise. Risky Business. | ทอม ครูซ ในเรื่อง ริสกี้บิสเนส ไง Never Been Kissed (1999) | Yes, since you'II never find the answers to the big questions... | ใช่ ตั้งแต่คุณไม่เคยหาคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ได้เลย... The Story of Us (1999) | ... whojumpedthirdinto the fourth Iifeboat on Titanic. | ... คนทึ่เป็นคนกระโดดขึ้นเรือช่วยชีวิต เป็นคนที่สาม จากสี่คน ในเรื่องไททานิค The Story of Us (1999) | You're saying you don't believe in everlasting love? | แกกำลังบอกว่า แกไม่เชื่อในเรื่อง รักกันชั่วนิรันดรเหรอ? The Story of Us (1999) |
| ในเรื่อง | [nai reūang] (x) EN: as to ; in the matter of ; as regards FR: au sujet de ; à propos de ; en matière de |
| homoeopathy | [โฮมีโอพาธี] (n) การบำบัดแบบโฮมีโอพาธีมีแนวคิดหรือปรัชญาพื้นฐานในการทำความเข้าใจร่างกายมนุษย์ที่แตกต่างจากระบบการแพทย์แผนปัจจุบันโดยสิ้นเชิง การมองร่างกายและจิตใจของ ผู้ป่วยจะไม่ได้มองเป็นอวัยวะที่แยกส่วนออกจากกัน แต่จะมองร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นภาพรวมเดียวกัน ดังนั้นก่อนที่จะบำบัดผู้ป่วยจะต้องมีการสัมภาษณ์และคุยกับผู้ป่วยในเรื่องของลักษณะทั่วไป บุคลิกภาพ ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว อารมณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม อาหาร อากาศ ฯลฯ รวมทั้งอาการของโรคด้วย นักบำบัด (practitioner) จะต้องนำคำตอบทั้งหมดมาประมวลและสรุปเป็นภาพรวมโดยเรียกว่า “ภาพของอาการ” (symtom picture)ดังนั้นการประเมินประสิทธิภาพของการบำบัดจึงไม่ควรใช้กรอบและแนวคิดของระบบการแพทย์แผนปัจจุบันประเมินแต่เพียงอย่างเดียว ควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีด้วย โดยสรุปแล้วการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีจัดเป็นศาสตร์การรักษาสุขภาพแบบองค์รวมที่เน้นเรื่องการปรับสมดุลสารชีวเคมีและพลังไหลเวียนภายในร่างกาย การให้ยาเป็นไปเพียงเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการปรับสมดุลด้วยกลไกตามธรรมชาติของร่างกายเอง ไม่ได้มุ่งหมายให้ยาไปขจัดหรือทำลายกลไกของร่างกายหรือสารที่ก่อให้เกิดอาการป่วย รวมทั้งไม่ได้มุ่งหมายที่จะขจัดสิ่งมีชีวิตใด ๆ ออกจากร่างกายด้วย | mansplaining | (n, slang) การกระทำที่ผู้พูด (มักเป็นผู้ชาย) อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้ฟัง (มักเป็นผู้หญิง) ในลักษณะที่ทำตัวเหนือกว่า, คิดว่าฝ่ายผู้ฟังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือ ใช้คำอธิบายในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายจนเกินสมควรเช่นเหมือนอธิบายเด็ก ดูคำอธิบายเพิ่มเติม https://dict.longdo.com/blog/word-of-the-day-mansplaining/ | sportswashing | (n) วิธีการใช้การจัดงานมหกรรมกีฬา เช่น โอลิมปิก ฟุตบอลโลก หรือสร้างกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬา เช่น ซื้อทีมฟุตบอล เป็นเครื่องมือในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อกลบเกลื่อนเรื่องที่ไม่ดี หรือ ข่าวฉาวในเรื่องอื่นๆ |
| able-bodism | (n) การกีดกันในเรื่องสภาพร่างกาย, Syn. ableism | ableism | (n) การกีดกันในเรื่องสภาพร่างกาย, Syn. able-bodism | aficionado | (n) ผู้ที่คลั่งไคล้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง | as for | (idm) ในกรณีของ, See also: ในเรื่องของ, เกี่ยวกับ | assist at | (phrv) ช่วยในเรื่อง, See also: ช่วยทำ, Syn. assist in, assist with | assist in | (phrv) ช่วยในเรื่อง, See also: ช่วยทำ, Syn. assist at, assist with | assist with | (phrv) ช่วยในเรื่อง, See also: ช่วยทำ, Syn. assist at, assist in | broach | (vt) เริ่มพูดคุยในเรื่องที่น่าอับอายหรือคนอื่นไม่ยอมรับ | butterfly | (n) คนโง่หรือคนที่ไม่ใส่ใจในเรื่องใดๆ, Syn. scatterbrain | barter for | (phrv) พยายามตกลงในเรื่อง, See also: ทำสัญญาเรื่อง | battle over | (phrv) ต่อสู้กันในเรื่อง | be beyond one's ken | (idm) ยากเกินกว่าจะเข้าใจหรือมีความรู้ในเรื่อง | be hip to | (phrv) มีความรู้ในเรื่อง (คำไม่เป็นทางการ), See also: รอบรู้ในเรื่อง, Syn. get hip to | be in on | (phrv) นำในเรื่อง (คำไม่เป็นทางการ), See also: เป็นผู้นำเรื่อง, Syn. get in on | be keyed up | (phrv) ตื่นเต้นมากในเรื่อง, See also: วิตกจริตกับ, ตื่นกลัวกับ | beguile into | (phrv) หลอกให้ทำในเรื่อง, See also: ลวงให้ทำในเรื่อง, Syn. trick into | believe in | (phrv) เชื่อในเรื่อง, See also: เชื่อเรื่อง | bend on | (phrv) มุ่งมั่นในเรื่อง, See also: ตั้งใจมั่นกับ, แน่วแน่ในเรื่อง | bend upon | (phrv) มุ่งมั่นในเรื่อง, See also: ตั้งใจมั่นกับ, แน่วแน่ในเรื่อง, Syn. bend on | bet on | (phrv) มั่นใจเกินไปในเรื่อง | beware of | (phrv) ระมัดระวังในเรื่อง | bicker about | (phrv) ทะเลาะกันเรื่อง, See also: เถียงกันในเรื่อง, Syn. quarrel about | bicker over | (phrv) ทะเลาะกันเรื่อง, See also: เถียงกันในเรื่อง, Syn. quarrel about | blame for | (phrv) ตำหนิในเรื่อง, See also: ติเตียนในเรื่อง, กล่าวโทษ | blow about | (phrv) พูดถึง...กับผู้อื่น (คำไม่เป็นทางการ), See also: พูดเกี่ยวกับ...กับคนอื่น, คุยในเรื่อง...กับคนอื่น, Syn. toss about | blow around | (phrv) พูดถึง...กับผู้อื่น (คำไม่เป็นทางการ), See also: พูดเกี่ยวกับ...กับคนอื่น, คุยในเรื่อง...กับคนอื่น, Syn. toss about | blush for | (phrv) ละอายในเรื่อง | boast about | (phrv) คุยโม้ในเรื่อง, See also: โอ้อวด, คุยโต, Syn. brag about | boast of | (phrv) คุยโม้ในเรื่อง, See also: โอ้อวด, คุยโต, Syn. brag about | bother about | (phrv) วิตกกังวลเกี่ยวกับ, See also: ห่วงใยในเรื่อง, Syn. bother with | bother with | (phrv) วิตกกังวลเกี่ยวกับ, See also: ห่วงใยในเรื่อง, Syn. bother about | brood about | (phrv) วิตกเกี่ยวกับ, See also: กังวลในเรื่อง, คิดถึงในเรื่อง, Syn. think about | brood on | (phrv) วิตกเกี่ยวกับ, See also: กังวลในเรื่อง, คิดถึงในเรื่อง, Syn. think about | brood over | (phrv) วิตกเกี่ยวกับ, See also: กังวลในเรื่อง, คิดถึงในเรื่อง, Syn. think about | brood upon | (phrv) วิตกเกี่ยวกับ, See also: กังวลในเรื่อง, คิดถึงในเรื่อง, Syn. think about | clan | (n) กลุ่มคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน, Syn. clique, set | coterie | (n) กลุ่มคนเล็กๆ ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน | cybersex | (n) การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์โดยมีจุดประสงค์ในเรื่องทางเพศ | cajole into | (phrv) ล่อหลอกในเรื่อง, See also: ล่อลวงเรื่อง, ทำให้หลงกล, ทำให้หลงเชื่อ | cajole out of | (phrv) ล่อหลอกไม่ให้ทำ, See also: ทำให้หลงเชื่อไม่กระทำในเรื่อง | carry off | (phrv) ประสบความสำเร็จในเรื่อง (ที่คนอื่นทำได้ยาก) | cast on | (phrv) สงสัยในเรื่อง, See also: สงสัยเกี่ยวกับ, Syn. throw on | cast upon | (phrv) สงสัยในเรื่อง, See also: สงสัยเกี่ยวกับ, Syn. throw on | catch at | (phrv) จับพิรุธได้ในเรื่อง, See also: จับได้เกี่ยวกับ, ค้นพบ, Syn. grab at | cavil at | (phrv) ตำหนิในเรื่อง, See also: ติ, ติเตียน, Syn. carp at | celebrate for | (phrv) มีชื่อเสียงในเรื่อง | clash on | (phrv) ไม่เห็นด้วยกับ, See also: ขัดแย้งในเรื่อง, Syn. clash over | clash over | (phrv) ไม่เห็นด้วยกับ, See also: ขัดแย้งในเรื่อง, Syn. clash on | click for | (phrv) ได้โอกาสในเรื่อง (คำไม่เป็นทางการ), See also: มีโอกาสดีในเรื่อง | clue up | (phrv) ให้ข้อมูลในเรื่อง, See also: แนะเงื่อนงำในเรื่อง, Syn. clew up |
| aladin | เป็นชื่อตัวละครซึ่งเป็นพระเอกในเรื่องยักษ์ในตะเกียงวิเศษอะลาดิน | alert box | ช่องข้อความเตือนหมายถึงช่องข้อความที่คอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นบนจอภาพ มีข้อความเตือนในเรื่องการใช้คำสั่งบางประการที่อาจทำให้เกิดผลเสีย เช่น เครื่องพิมพ์ไม่มีกระดาษ ข้อความบางตอนอาจศูนย์หาย ฯ เป็นต้น | alpha test | การทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะมีข้อความบ่งบอกไว้ว่า เป็น alpha version หมายความว่า รุ่นทดสอบรอบแรก ดู beta version ประกอบ | alpha version | รุ่นทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีข้อความบ่งบอกไว้ว่าเป็นรุ่นทดสอบรอบแรก มีความหมายเหมือน alpha testดู beta version ประกอบ | animism | (แอน' นิมิสซึม) n. ความเชื่อถือที่ว่ามีวิญญาณในธรรมชาติและจักรวาล, ความเชื่อว่าวิญญาณอาจอยู่แยกต่างหากจากร่างกาย, ความเชื่อถือว่าวิญญาณเป็นส่วนสำคัญของชีวิตและสุขภาพที่ดี, ความเชื่อในเรื่องวิญญาณ -animist n. -animistic adj. | bank switching | การสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้ | broken-heart | n. ความท้อแท้หมดหวัง, ความเศร้าสลด, ความผิดหวังในเรื่องความรัก, ความเสียใจมาก, See also: broken-hearted adj. ดูbroken-heart | casette tape | ตลับแถบบันทึกหมายถึง ม้วนแถบพลาสติกอาบแม่เหล็ก นำมาใช้ในการเก็บข้อมูล ใช้ทั้งกับไมโครคอมพิวเตอร์ และเครื่องขนาดใหญ่ (mainframe) ที่นำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเหมือนตลับเทปเพลงธรรมดา สมัยหนึ่งเรานิยมใช้แถบบันทึกนี้เก็บข้อมูล เพราะราคาถูกกว่าสื่ออย่างอื่น แต่จะมีปัญหาตามมามากมาย เช่นในเรื่องความคลาดเคลื่อนของข้อมูล อีกทั้งยังมักจะเสียง่าย ในปัจจุบัน จึงหันมานิยมใช้จานบันทึก (diskette) จานบันทึกอัดแน่นหรือซีดี (CD) แทนกันหมดแล้ว | cd | abbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD <ชื่อสารบบ> \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่) | character | (แค'ริคเทอะ) n. ตัวอักษร, อักขระ, อุปนิสัย, คุณสมบัติ, ลักษณะพิเศษ, หลักความประพฤติ, ความรักหรือหยิ่งในศักดิ์ศรี, ชื่อเสียงที่ดี, เกียรติคุณ, ฐานะตัวในเรื่อง, บทบาทในละครหรือภาพยนตร์, สัญลักษณ์, See also: characterisation, characterization n. | client | (ไคล'เอินทฺ) n. ลูกความ, คนไข้, ลูกค้า, คนซื้อของ, ผู้พึ่งคนอื่น, บุคคลหรือบริษัทที่จ่ายเงินสำหรับสินค้าหรือการบริการ adj. เป็นลูกค้าประจำ, See also: cliental adj. ดูclient ผู้รับบริการ1. ใช้ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ LAN หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่สามารถเรียกข้อมูลข่าวสารหรือโปรแกรมจากเครื่องบริการแฟ้ม file server มาใช้ได้ หรืออาจหมายถึงเครื่องที่ทำงานอย่างอิสระ โดยใช้โปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องนั้นเองก็ได้ ดู file server ประกอบ2. หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกับเครื่องอื่นได้ โดยใช้ระบบ DDE หรือ dynamic data exchange ดู dynamic data exchange ประกอบ | client application | โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ | color monitor | จอสีหมายถึง อุปกรณ์แสดงผลชนิดจอภาพที่แสดงภาพเป็นสีต่าง ๆ ได้หลายสี (จอภาพ ที่แสดงได้สีเดียว เรียกว่า monochrome) จอสีนั้นมีความแตก ต่างกันในเรื่องการแสดงจำนวนสี บางประ เภทแสดงได้ 16สี บางประเภทแสดงได้ถึง 256 สี หรือกว่านั้นก็มี ทั้งยังมีคุณภาพต่างกันในเรื่องของความคมชัด ดู CGA, VGA และ SVGA ประกอบ | computer engineering | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นสาขาหนึ่งในการศึกษาวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ โดยจะเน้นหนักในเรื่องของฮาร์ดแวร์ (hard ware) หรือส่วนตัวเครื่อง และระบบการทำงานภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นวงจร (card) หน่วยประมวลผล หน่วยบันทึก ฯดู computer science เปรียบเทียบ | computer specialist | ผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์หมายถึง ผู้ที่มีความรู้พิเศษในเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ อาจหมายถึง ระบบตัวเครื่อง การเขียนโปรแกรม หรือการวิเคระห์ระบบ ก็ได้ | config.sys | แฟ้มโครงแบบย่อมาจาก configuration system เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในระบบดอสและโอเอสทูซึ่งจะมีข้อความที่กำหนดในเรื่องการใช้แป้นพิมพ์ จำนวนของบัฟเฟอร์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบนั้นจะใช้ ฯ พอเริ่มใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไปสักพัก ก็จะต้องเรียนรู้วิธีการสร้างแฟ้มข้อมูลนี้ คอมพิวเตอร์จะแฟ้มข้อมูลนี้เฉพาะเมื่อมีการเริ่มเครื่องใหม่เท่านั้น | coprocessor | ตัวประมวล (ผล) ร่วมหมายถึง ตัวประมวลผลตัวหนึ่ง ที่แยกออกมาเพื่อเอาไว้ใช้ทำงานในส่วนที่เกินความสามารถของตัวประมวลผลหลัก เพื่อที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น เช่น ตัวประมวลภาพจะทำหน้าที่เฉพาะในเรื่องการแสดงภาพ ตัวประมวลผลคณิตก็จะทำหน้าที่เฉพาะด้านการคำนวณ | copy protection | การป้องกันการคัดลอกหมายถึง วิธีการป้องกันไม่ให้ผู้ใดสามารถคัดลอกได้ ผู้เขียนโปรแกรมมักพยายามทำทุกวิถีทางที่จะกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใด มาคัดลอกโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่เขาสร้างขึ้นไว้ เช่นใช้อุปกรณ์ปิดกั้น หรือซ่อนแฟ้มข้อมูลบางแฟ้มไม่ให้มองเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกฎหมายในเรื่องของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ออกมาแล้ว ผู้ที่จะคัดลอกก็จะต้องระมัดระวังในเรื่องการคัดลอกนี้มากขึ้น | daisy chain | สายโซ่เดซีหมายถึง การเชื่อมต่อรายการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (เหมือนกับ สายโซ่) ถ้าใช้ในเรื่องของการสั่งพิมพ์ จะหมายถึง การสั่งให้พิมพ์แฟ้มข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มต่อเนื่องกันไป ตามลำดับที่กำหนดไว้ตั้งแต่ก่อนพิมพ์ | data bank | คลังข้อมูลหมายถึง ที่หรือแหล่งเก็บข้อมูล หรือแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนมากจะอยู่กับหน่วยงานคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยคอมพิวเตอร์ของกระทรวงเกษตร อาจเป็นคลังข้อมูลในเรื่องของ ผลผลิต เนื้อที่การเกษตร รายละเอียดเกี่ยวกับกสิกร สัตว์ที่ใช้ในการเกษตร สินค้าเกษตร ฯลฯ เป็นต้น | data packet | กลุ่มข้อมูลกลุ่มหมายถึง ข้อมูลจำนวนหนึ่งหรือหน่วยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์เป็นเรื่องราวเดียวกัน ใช้ในเรื่องของการสื่อสารข้อมูล (data communication) เช่น packet switching บางทีใช้ packet เฉย ๆ ก็ได้ | data structure | โครงสร้างข้อมูลหมายถึง รูปแบบของการจัดระเบียบของข้อมูล ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ศัพท์ต่าง ๆ ในเรื่องของโครง สร้างของข้อมูลที่คุ้นหู มีอยู่หลายคำ เช่น เขตข้อมูล (field) , แถวลำดับ (array) , ระเบียน (record) , ต้นไม้ (tree) , รายการโยง (linked list) เป็นต้น | ebcdic | (เอบซีดิก) ย่อมาจาก extended binary coded decimal interchange code (แปลว่า รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยาย) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ | extended binary coded dec | extended binary coded decimal interchange code รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยายใช้ตัวย่อว่า EBCDIC (อ่านว่า เอ็บซีดิก) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ | extended technology | เทคโนโลยีแบบขยายใช้ตัวย่อว่า XT (อ่านว่า เอกซ์ที) เป็นเทคโนโลยีใหม่แบบหนึ่งที่นำมาใช้ในการสร้างไมโครคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นนั้น จึงได้รับสมญานาม ว่า XT มีการเน้นในเรื่องการกำหนดให้มีช่องเสียบแผ่นวงจร (card) เพิ่ม เพื่อการปรับขยายในภายหลัง กับการใช้จานบันทึกที่มีความจุสูง ดู AT ประกอบ | fcc | (เอฟซีซี) ย่อมาจากคำว่า Federal Communication Commission (แปลว่า คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่มีหน้าที่ควบคุมในเรื่องการสื่อสาร โดยเฉพาะการควบคุมสัญญาณความถี่ของคลื่นวิทยุ | federal communication com | คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารใช้ตัวย่อว่า FCC (อ่านว่า เอฟซีซี) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่มีหน้าที่ควบคุมในเรื่องการสื่อสาร โดยเฉพาะการควบคุมสัญญาณความถี่ของคลื่นวิทยุ | fifo | (ฟีโฟ, ไฟโฟ) ย่อมาจาก first in, first out แปลว่า "เข้าก่อนออกก่อน" ผู้เขียนโปรแกรมนำศัพท์คำนี้มาใช้ในเรื่องของ การส่งข้อมูล เข้าไปเก็บ บางทีเราต้องการให้เก็บแบบที่เข้าไปก่อน ก็ให้เรียกออกมาได้ก่อน บางที เราอาจต้องการให้เป็นแบบ "เข้าทีหลัง ออกก่อน" เพราะข้อมูลที่เข้าไปก่อนอยู่ลึกเข้าไป กว่าจะเรียกออกมาได้ ต้องรอจนข้อมูลที่เข้าไปทีหลังออกมา จนหมดเสียก่อน แบบหลังนี้เรียกว่า last in, first out ดู LIFO ประกอบ | fifties | n., adj. ปีหรือจำนวนที่อยู่ระหว่าง50ถึง59. คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้าหมายถึง คอมพิวเตอร์ยุคใหม่สุด ซึ่งนับเป็นยุคที่ห้า คอมพิวเตอร์ยุคนี้จะเน้นในเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) เป็นสำคัญ เช่น ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ ให้มากขึ้น ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน รวมทั้งประมวลผลได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย ญี่ปุ่นทำท่าว่าจะเป็นผู้นำในด้านนี้มากกว่าชาติอื่น ดู artificial intelligence ประกอบ | finder | (ไฟ'เดอะ) n. ผู้ค้นหา, สิ่งที่ใช้ค้นหา, กล้องโทรทรรศน์, กล้องส่องทางไกล, กล้องดูภาพ, เครื่องวัด, เครื่องตรวจสอบ ตัวหาเป็นชื่อโปรแกรมที่อยู่ในระบบปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช (ดูใน System Folder) ที่ทำหน้าที่จัดการ ในเรื่องสัญรูป (icon) การแสดงรายการต่าง ๆ ตลอดถึงการแสดงวินโดว์ การคัดลอก การย้าย และการลบแฟ้มข้อมูล หากไม่มี โปรแกรมนี้ การทำงานจะช้ากว่านี้ มาก เครื่องแมคอินทอช รุ่นใหม่ ๆ จะแสดงเป็นเมนูดัง ที่เห็นในภาพข้าง ๆ | first in, first out | เข้าก่อนออกก่อนใช้ตัวย่อว่า FIFO อ่านว่า ฟีโฟ หรือไฟโฟ ผู้เขียนโปรแกรมนำศัพท์คำนี้มาใช้ในเรื่องของ การส่งข้อมูล เข้าไปเก็บ บางทีเราต้องการให้เก็บแบบที่เข้าไปก่อน ก็ให้เรียกออกมาได้ก่อน บางที เราอาจต้องการให้เป็นแบบ "เข้าทีหลัง ออกก่อน" เพราะข้อมูลที่เข้าไปก่อนอยู่ลึกเข้าไป กว่าจะเรียกออกมาได้ ต้องรอจนข้อมูลที่เข้าไปทีหลังออกมา จนหมดเสียก่อน แบบหลังนี้เรียกว่า last in, first out ดู last in, first out ประกอบ | footer | ข้อความท้ายหน้าหมายถึง ข้อความที่พิมพ์ไว้ส่วนล่างของหน้ากระดาษทุกหน้า (อาจเป็นเลขหน้า ก็ได้) โปรแกรมประมวลผลคำต่าง ๆ จะเตรียมจัดในเรื่องนี้ไว้ให้ทุกโปรแกรม แม้โปรแกรมตาราง จัดการ ก็สามารถกำหนดให้มีข้อความใด ๆ ที่หัวกระดาษ (header) และ ที่ท้ายหน้า (footer) ได้ดู header เปรียบเทียบ | fragmentation | การแยกส่วนหมายถึง อาการอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ที่ ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึก ข้อมูลลงไป แล้วมาสั่งลบภายหลัง ก็จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่ บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการ แบ่งแฟ้มใหม่นี้ให้ได้ สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน บางที แฟ้มเดียวกันจึงต้อง ถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการเก็บแยกส่วน ในโปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จะมีคำสั่ง "DE FRAG" ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหา ในเรื่องนี้ได้ | free lance | คนที่ทำงานโดยอิสระ โดยไม่ได้เป็นลูกจ้างกินเงินเดือนใคร, คนที่ต่อสู้ในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตัว | fussy | (ฟัส'ซี) adj. จู้จี้, ชอบจับผิดในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ , ยุ่ง, เต็มไปด้วยรายละเอียด (โดยเฉพาะมากเกินไป) , ละเอียดลออ., See also: fussily adv. fussiness n., Syn. dainty, fastidious | geneticist | (จะเนท'ทิซิสทฺ) n. ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องพันธุศาสตร์ | gormandise | (กอร'มันไดซ) vt., n. (การ) พิถีพิถันในเรื่องอาหารการกินมาก. | gormandize | (กอร'มันไดซ) vt., n. (การ) พิถีพิถันในเรื่องอาหารการกินมาก. | handles | จุดรอบภาพในเรื่องที่เกี่ยวกับโปรแกรมวาดภาพหรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ตั้งโต๊ะ (desktop publishing) คำนี้จะหมายถึง กรอบสี่เหลี่ยมที่มีจุดที่มุม และที่กึ่งกลางของเส้นรอบด้านทั้งสองข้างที่เกิดขึ้นรอบ "ภาพ" ที่ได้เลือก (select) หรือกำหนดไว้ การย้ายหรือการเคลื่อนที่ภาพเหล่านี้ จะต้องทำให้มีจุดรอบภาพนี้ก่อน จึงจะใช้เมาส์ลากไปได้ หรือจะใช้เมาส์กดที่มุมใดมุมหนึ่งแล้วลากออกหรือหดเข้า เป็นการขยายหรือลดสัดส่วนของภาพนั้นก็ได้ ถ้าเป็นข้อความ (text) ก็หมายถึงเส้นกำกับข้อความที่อยู่บนและล่างของข้อความที่เลือกหรือกำหนดไว้ | herein | (เฮีย'ริน') adj. ในนี้, ในกรณีนี้, ในเรื่องนี้ | host computer | คอมพิวเตอร์แม่ข่ายคอมพิวเตอร์แม่งานหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหลักในเครือข่าย ที่จะทำหน้าที่ควบคุมคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายนั้นทั้งหมด เป็นทั้งที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลพื้นฐาน ที่คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะเรียกใช้ได้ในเรื่องการสื่อสาร หมายถึง คอมพิวเตอร์เครื่องที่ใช้ต่อเข้า/ออก | ieee | (ไอทริพเพิลอี) ย่อมาจาก Institute of Electrical and Electronic Engineers แปลว่า สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสถาบันที่ทำการศึกษาวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งมีวิชาการด้านคอมพิวเตอร์รวมอยู่ด้วย เน้นในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและการประมวลผลข้อมูลเพื่อการแลdเปลี่ยนสารสนเทศ และความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ให้ สถาบันนี้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการทั่วไป | information technology | เทคโนโลยีสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า IT หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications) | inquiry | หมายถึง การสอบถามหาข้อมูลผ่านทางเครื่องปลายทาง (terminal) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการให้ โดยปกติข้อมูลเหล่านี้ จะต้องเก็บ ๆ ไว้ในจานบันทึก เพื่อให้ค้นหาได้รวดเร็ว เมื่อหาพบแล้ว ก็จะแสดงผลให้ดูบนจอภาพ ตัวอย่างง่าย ๆ ที่จะอธิบายในเรื่องนี้ ก็คือเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) | institute of electrical a | สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า IEEE (อ่านว่า ไอทริพเพิลอี) เป็นสถาบันที่ทำการศึกษาวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งมีวิชาการด้านคอมพิวเตอร์รวมอยู่ด้วย เน้นในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและการประมวลผลข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ และความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ต่าง ๆ ให้ สถาบันนี้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการทั่วไป | it | (อิท) pron. มัน, นั่น, ตัว, คน, บุคคล, ตัวมาร, ตัวการ, คนสำคัญ, คนโง่. n. คนเล่น, สถานการณ์โดยทั่วไป ไอทีย่อมาจาก information technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications) | laissez faire | (เลสเซแฟรฺ') n. ทฤษฎีที่ว่ารัฐบาลควรเข้ายุ่งเกี่ยวในเรื่องเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด, ทฤษฎีการไม่ยุ่งเรื่องของผู้อื่น., See also: laissez-faire adj. ดูlaissez faire laisser-faire adj. ดูlaissez faire, Syn. laisser faire | lisp | ลิสพ์ย่อมาจาก List Programming เป็นชื่อภาษาคอมพิวเตอร์อีกภาษาหนึ่ง ภาษานี้เกิดขึ้นในราว ๆ ต้น ค.ศ.1960 ที่ MIT เพื่องานวิจัยในด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) โปรแกรมที่ใช้ภาษานี้ก็มีประเภทโปรแกรมประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language) และการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ในเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ | nesting | การซ้อนในเป็นศัพท์ที่ใช้ในเรื่องของการเขียนโปรแกรม ถ้าใช้ในเรื่องของวงวน (loop) หมายถึง การสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นวงวน และถ้ามีวงวนหนึ่งหรือมากกว่า ซ้อนอยู่ภายในวงวนอีกวงหนึ่ง จะเรียกว่า วงซ้อนใน ดูตัวอย่างข้างล่างนี้ (ภาษาฟอร์แทรน) FOR E = 1 TO 10 FOR F = 1 TO 3 NEXT F NEXT E | occultism | (อะคัล'ทิสซึม) n. ความเชื่อในเรื่องผีสาง, ความเชื่อในเรื่องเวทมนตร์คาถา, ลัทธิลึกลับ, See also: occultist n., adj. |
| concerning | (pre) เกี่ยวกับ, ในเรื่อง, เกี่ยวข้อง | economic | (adj) เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์, ในทางเศรษฐกิจ, ในเรื่องเงิน | herein | (adv) ในที่นี้, ในกรณีนี้, ในเรื่องนี้ | on | (pre) ข้างบน, บน, ในเรื่อง, ณ, เกี่ยวกับ, โดย, ตาม | pertain | (vi) เกี่ยวกับ, เป็นของ, ในเรื่อง | regarding | (pre) ในเรื่อง, เกี่ยวกับ | therein | (adv) ในที่นั้น, ในเรื่องนั้น | toward | (pre) ไปต่อ, ในเรื่อง, ไปทาง, เกี่ยวกับ, เนื่องจาก | towards | (pre) ไปต่อ, ในเรื่อง, ไปทาง, เกี่ยวกับ, เนื่องจาก |
| as to | ในเรื่องของ , เกี่ยวกับ | good at | [กู๊ด แอท] (adj, slang) เก่ง, มีความสามารถในด้าน, ทำได้ดีในเรื่อง | lifesaver | [ชีพ-พะ-รัก-สิก] (n) ชีพรักษิก = ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องการช่วยชีวิตทางน้ำ การปฐมพยาบาล การนวดหัวใจผายปอด แต่มิได้เป็นที่ประกอบวิชาชีพ ชีพบาล โดยตรง | mansplaining | การกระทำที่ผู้พูด อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้ฟังในลักษณะที่ทำตัวเหนือกว่า, คิดว่าฝ่ายผู้ฟังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือ ใช้คำอธิบายในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายจนเกินสมควรเช่นเหมือนอธิบายเด็ก ดูคำอธิบายเพิ่มเติม | rickrolling | (n) เป็นการหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ตประเภทหนึ่ง ที่ผู้หลอก แสดงลิงค์ในเรื่องที่ผู้อ่านสนใจแต่เมื่อคลิ๊กลิงค์นั้นๆไปแล้ว เนื้อหาที่ปรากฏกลับเป็นมิวสิควีดีโอของ Rick Astley ในเพลง Never Gonna Give You Up | เมพขิงๆ | (phrase, slang) มาจากการพิมพ์คำว่า เทพจิงๆ ผิด, ซึ่งเพี้ยนมาจาก เทพจริงๆ อีกที ซึ่งแปลว่า เก่งจริงๆ, เหนือชั้นจริงๆ เป็นภาษาตามสมัยนิยม ใช้กันมากในอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บบอร์ด, เกมออนไลน์ โดยคำว่าเทพในที่นี้ใช้ในความหมายว่า เก่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากๆ, เนื่องจากแป้นคีย์บอร์ด ตัว ท กับ ม ติดกัน และ ข กับ จ ติดกัน | แรด | (n, vt) N = บุคคลที่แสดงกริยาท่าทางในเชิงลบ ในเรื่องหรือ/และการกระทำต่อเพศตรงข้าม คำนี้มีความหมายตรงข้ามเรียบร้อย เช่น สมศรีแรดมาก S = สามารถใช้เป็นคำแสลง เพื่อแสดงออกในกริยา เช่น วันนี้เค้าไปแรดมา เห็นว่าได้เสื้อมา 2 ตัว (แรด ในที่นี้มีความหมายว่า ไปซื้อของ), See also: A. เรียบร้อย, Syn. กระซู่ |
| 上手 | [じょうず, jouzu] (adj) เก่ง (ในเรื่องนั้นๆ ) |
| sich äußern | (vt) |äußerte sich, hat sich geäußert| พูด หรือ แสดงความคิดเห็น เช่น Ich möchte mich über unsere Teamarbeit äußern. = ผมอยากจะแสดงความเห็นในเรื่องงานที่เราทำด้วยกัน หรือ งานกลุ่ม ( กริยา ตามด้วย กรรมตรง เช่น mich ในประโยคตัวอย่าง ), See also: meinen, sagen, das Gefühl erklären, die Meinung geben, A. schw, Syn. die Meinung sagen | Kosten | (n) |nur Pl.| ผลรวมรายจ่ายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, ค่าใช้จ่าย เช่น Die beiden Politiker haben ihre Asienreise auf eigene Kosten gemacht. นักการเมืองสองท่านนี้ใช้เงินส่วนตัวจ่ายค่าเดินทางไปทวีปเอเซีย, See also: Related: Ausgaben, Unkosten | Unkosten | (n) |nur Pl.| รายจ่ายหรือค่าใช้จ่ายข้างเคียง (ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับค่ารายจ่ายปกติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง) เช่น Bei unserer Japan-Reise entstanden uns neben den Ausgaen für den Flug Unkosten in Höhe von 1000 Euro. ตอนที่ไปเที่ยวที่ญี่ปุ่น เราใช้จ่ายไปหนึ่งพันยูโรนอกเหนือจากค่าเครื่องบิน, See also: Related: Ausgaben, Kosten | von etwas ausgehen | (phrase) เชื่อมันหรือแน่ใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น Ich gehe davon aus, dass Peter nicht mit uns mitkommt. ฉันแน่ใจว่าปีเตอร์จะไม่ไปกับเราด้วย |
| *nblick { m }; Ansicht { f }; Sicht { f }; Blick { m }; Aus* | n. ภาพ, ทิวทัศน์, ทัศนวิสัย, ทรรศนะ, สายตา, การมอง, การสังเกต, ข้อคิดเห็น, ทัศนคติ, จุดประสงค์, เจตนา, จุดมุ่งหมาย, การสำรวจทั่วไป, -Phr. (in view ภายในแนวสายตา ภายใต้การพิจารณา) -Phr. (in view of เมื่อพิจารณาถึงในเรื่องเกี่ยวกับ) vt. ดู, มอง, สังเกต, สำรวจ, ตรวจสอบ |
|
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |