ชะเนียง | น. ต้นเนียง. (ดู เนียง ๒). |
เนียง ๑ | น. นาง (ออกเสียงตามเขมรที่เขียนว่า นาง). |
เนียง ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Archidendron jiringa (Jack) I.C. Nielsen ในวงศ์ Leguminosae ฝักบิดเป็นวง เมล็ดค่อนข้างแบน กินได้, พะเนียง ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ชะเนียง. |
พะเนียง ๑ | น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่บรรจุดินดำ ใช้ตั้งจุดไฟให้ลุกเป็นช่องาม เรียกว่า ไฟพะเนียง. |
พะเนียง ๒ | ดู เนียง ๒. |
พะเนียง ๓ | น. ชื่อหม้อนํ้าชนิดหนึ่ง รูปอย่างหม้อคะนน. |
ศัพท์สำเนียง | น. เสียง เช่น ข้างนอกเสียงเอ็ดอึง อยู่ข้างในฟังไม่ได้ศัพท์สำเนียง. |
สำเนียง | น. เสียง, นํ้าเสียง, หางเสียง, วิธีออกเสียง, เช่น สำเนียงส่อภาษา สำเนียงไม่ชัด พูดภาษาไทยแต่สำเนียงเป็นฝรั่ง. |
สุรางค์จำเนียง | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ |
สุรางค์จำเนียง | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเถา. |
กระกรี๊ด | ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กระต่ายเต้น | ชื่อเพลงไทยสำเนียงมอญ ใช้ในการแสดงละครและลิเก. |
กระแต ๒ | น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงลาว มี ๒ เพลง คือ กระแตเล็กหรือกราวกระแซ และกระแตใหญ่หรือกระแตไต่ไม้. |
กระแตไต่ไม้ ๑ | ชื่อเพลงโหมโรงเสภา เดิมเป็นเพลงไทยภาคเหนือสำเนียงลาว ต่อมามีผู้นำมาแต่งขยายเป็นอัตรา ๓ ชั้น โดยใช้ชื่อเดิม. |
กลองจีน | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง ได้แบบมาจากจีน ใช้บรรเลงเพลงสำเนียงจีน มักทำด้วยไม้แผ่นประกอบกันเข้าเป็นรูปกลม ไม่ได้ขุดให้กลวงเหมือนกลองอย่างอื่น. |
กลองต๊อก | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง เป็นของจีนใช้ประกอบในการบรรเลงเพลงสำเนียงจีน มีขนาดเล็ก ตีหน้าเดียวด้วยไม้เล็ก ๆ ๑ คู่. |
กังสดาล | (-สะดาน) น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง เป็นแผ่นโลหะหล่อจากสัมฤทธิ์หรือทองเหลือง รูปร่างคล้ายพัดที่คลี่ออก ด้านบนเจาะรูแขวน ด้านล่างเป็นวงโค้งคล้ายวงเดือน เช่น แว่วสำเนียงเสียงระฆังกังสดาล (อิเหนา). |
กัมพุช ๒ | น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงเขมร, ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเถา. |
กำปอ | น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงเขมร เรียกว่า เขมรกำปอ. |
เกรียง ๒ | (เกฺรียง) ว. ใหญ่, ยิ่ง, มาก, เช่น มีศัพท์สำเนียงเกรียงระงม (ม. คำหลวง กุมาร). |
โกญจนะ | (โกนจะนะ) ย่อมาจาก โกญจนาท เช่น เสียงช้างก้องโกญจนสำเนียง (สมุทรโฆษ). |
ขอม ๒ | น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงขอม เช่น ขอมทรงเครื่อง ขอมใหญ่ ขอมน้ำเต้า ขอมระทม. |
ขะแมร์กอฮอม | น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงเขมร อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ แต่งขยายจากเพลงเขมรแดง อัตรา ๒ ชั้น นิยมบรรเลงต่อกันเป็นเพลงชุด เรียกว่า สามขะแมร์ ซึ่งประกอบด้วย เพลงขะแมร์กอฮอม เพลงขะแมร์ซอ และเพลงขะแมร์ธม. |
ขะแมร์ซอ | น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงเขมร อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ แต่งขยายจากเพลงเขมรขาว อัตรา ๒ ชั้น นิยมบรรเลงต่อกันเป็นเพลงชุด เรียกว่า สามขะแมร์ ซึ่งประกอบด้วย เพลงขะแมร์กอฮอม เพลงขะแมร์ซอ และเพลงขะแมร์ธม. |
ขะแมร์ธม | น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงเขมร อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ แต่งขยายจากเพลงเขมรใหญ่ อัตรา ๒ ชั้น นิยมบรรเลงต่อกันเป็นเพลงชุด เรียกว่า สามขะแมร์ ซึ่งประกอบด้วย เพลงขะแมร์กอฮอม เพลงขะแมร์ซอ และเพลงขะแมร์ธม. |
เขมร ๒ | (ขะเหฺมน) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงเขมร เช่น เขมรไทรโยค เขมรโพธิสัตว์ เขมรลออองค์. |
แขก ๓ | น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงแขก เช่น แขกสาหร่าย แขกบรเทศ แขกกุลิต. |
คีต, คีต-, คีตกะ, คีตะ | (คีด, คีตะ-, คีตะกะ) น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีตสำเนียงบรรสาน (สมุทรโฆษ). |
เงี้ยวระเริง | น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงไทใหญ่ (เงี้ยว). |
จีน ๒ | น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงจีน เช่น จีนขวัญอ่อน จีนลั่นถัน จีนขิมเล็ก. |
เจ้าเซ็น | ชื่อเพลงไทยสำเนียงแขก อัตราชั้นเดียวและอัตรา ๒ ชั้น, แขกเจ้าเซ็น ก็เรียก. |
ชมสวนสวรรค์ | น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงจีน อัตรา ๒ ชั้น |
ซุ้ม ๓ | น. ทำนองเพลงไทยสำเนียงลาว อัตราชั้นเดียว เดิมประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงเดี่ยวลาวแพน เรียกว่า ออกซุ้ม ต่อมามีผู้นำไปบรรเลงต่อท้ายเพลงสำเนียงลาวอื่น ๆ. |
ตรีเพชรพวง | น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคมีคำเดียวกัน ผันวรรณยุกต์รูปสามัญ เอก โท ตรี และจัตวา สลับกันก็ได้ เช่น มโหรีรี่รี้ดีดสีเสียง จับปี่หริงหริ่งหริ้งพริ้งเพราะเพรียง ฆ้องสำเนียงเต๋งเต่งเต้ง ติงเหน่งโยน (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน). |
ต้อยตริ่ง | (-ตะหฺริ่ง) น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงลาว อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับสองไม้ |
ตัดไม้ข่มนาม | ก. ทำพิธีทางไสยศาสตร์ก่อนออกสงคราม โดยหาไม้ที่มีชื่อเหมือนหรือสำเนียงคล้ายชื่อข้าศึกมาตัดให้ขาดเพื่อเอาชัย. |
ทวาย ๒ | (ทะ-) น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงมอญ มี ๒ แบบ คือ ทวายเต็ม และที่ตัดลงจากทวายเต็ม เรียกว่า ทวายตัด. |
ทองแดง ๓ | น. สำเนียงของคนภาคใต้ที่พูดภาษากลางเพี้ยนไปจากสำเนียงมาตรฐาน. |
ฝนแสนห่า ๑ | ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่งมีประกายไฟพุ่งออกมาคล้ายไฟพะเนียง แต่หมุนรอบตัว. |
ฝรั่ง ๒ | (ฝะหฺรั่ง) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงฝรั่ง เช่น ฝรั่งควง ฝรั่งรำเท้า ฝรั่งจรกา ฝรั่งแง. |
ฝอยทอง ๑ | ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่งคล้ายไฟพะเนียง. |
พญาแปร | น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงมอญ อัตรา ๒ ชั้น. |
พม่า ๒ | (พะม่า) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงพม่า เช่น พม่ากล่อม พม่าเห่ พม่ากำชับ พม่าห้าท่อน. |
เพลง | (เพฺลง) น. สำเนียงขับร้อง, ทำนองดนตรี, บทประพันธ์ดนตรี, กระบวนวิธีรำดาบรำทวนเป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย |
ภาษาถิ่น | น. ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น. |
มอญ ๒ | น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงมอญ เช่น มอญรำดาบ มอญชมจันทร์ มอญอ้อยอิ่ง. |
ละครพันทาง | น. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงมาจากละครรำของเก่า ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น เรื่องสามก๊ก ราชาธิราช พระลอ. |
ลั่นถัน | ชื่อเพลงไทยสำเนียงจีน อัตรา ๒ ชั้น ของเก่า หน้าทับสองไม้ |
ลาว ๒ | น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงลาว เช่น ลาวกระแซ ลาวดวงเดือน ลาวดำเนินทราย ลาวเจริญศรี ลาวครวญ. |
ลิ้นแข็ง | ว. อาการที่พูดออกสำเนียงได้ไม่ชัด, อาการที่พูดภาษาอื่นให้ชัดได้ยาก. |