ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ยาม, -ยาม- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ |
| วิชาจิตวิทยามนุษย์เชิงธุรกิจ | (n, phrase) Human Psychology and Business Ethics | เสรีภาพแห่งการพอเพียง | [พอเพียงเพื่อเสรีภาพ] (n, vi, vt, modal, verb, aux, verb, adj, adv, prep, pron, phrase, colloq, abbrev, name, org, uniq) เสรีภาพกระผมอย่างยกตัวอย่างที่ในหลวงร9และร10พยายามทำอยู่และส่งเสริมอย่างยิ่งมันคือสิ่งที่เป็นพื้นฐานแห่งชีวิตของทุกคนไม่ว่าคุณจะอดอยากประเทศยากจนในดินแดนต่างๆทั่วโลกไทยคือครัวโลกเรายินดีแบ่งปันความรู้เศรฐกิจพอเพียงนี้ด้วยพืชและสูตรการทำอาหารของไทยที่มีมากมายใข่2ฟองก็สามารถสร้างเมนูเพื่อยังชีพได้เกิน10อย่างผัดทอดนึ่งต้ม |
| สยามร้อน | (n, slang) บริเวณสยามสแควร์ส่วนที่เป็นร้านค้าแบบไม่มีเครื่องปรับอากาศ ใช้เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสยามสแควร์ฝั่งที่ไม่ใช่สยามพารากอนหรือสยามเซ็นเตอร์ |
| ยาม | (n) time, See also: hour, period, juncture, Syn. เวลา, Example: การนวดถือว่าเป็นการบำบัดดูแลสุขภาพในยามเจ็บป่วยวิธีหนึ่ง, Notes: (บาลี) | ยาม | (n) security guard, See also: guard, sentry, watchman, Syn. ยามรักษาการณ์, พนักงานรักษาความปลอดภัย, Example: บริเวณกระทรวงสาธารณสุขมียามดูแลตลอด 24 ชั่วโมง, Thai Definition: คนเฝ้าสถานที่ หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา, Notes: (บาลี) | ยาม | (n) one of three periods into which the day was traditionally divided, Example: เมื่อคืนนี้เขากลับมาเกือบสองยาม, Thai Definition: ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี 3 ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี 8 ยาม, Notes: (บาลี) | สยาม | (n) Siam, Syn. ไทย, ประเทศไทย, Example: เชียงใหม่เริ่มเปิดประตูความสัมพันธ์กับภาคกลางของสยาม, Thai Definition: ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 | หยาม | (v) despise, See also: view with contempt, look down on, Syn. ดูถูก, ดูหมิ่น, ดูแคลน, ดูถูกดูแคลน, เหยียดหยาม, สบประมาท, ปรามาส, ดูหมิ่นเหยียดหยาม, Example: พวกมาเฟียต่างถือศักดิ์ศรี แบบฆ่าได้แต่หยามไม่ได้, Thai Definition: แสดงอาการเป็นเชิงดูหมิ่น หรือเหยียดหยาม | จับยาม | (v) prognosticate, See also: prophesy, foretell, predict, Syn. ดูฤกษ์ดูยาม, นับยาม, Example: โหรได้จับยามดูแล้วบอกว่าขณะนี้กำลังฤกษ์งามยามดี | ตู้ยาม | (n) sentry box, Syn. ป้อมยาม, Example: ผมลืมตาตื่นตั้งแต่ได้ยินเสียงแขกยามเคาะแผ่นเหล็กห้าครั้ง ดังแว่วมาจากตู้ยามมุมถนน, Count Unit: หลัง, ตู้, Thai Definition: ห้องเล็กๆ สำหรับคนยาม หรือตำรวจทหารยืนเฝ้ายาม เป็นตู้ห้อง หน้าเปิดที่มีฝาและหลังคา | ปฐมยาม | (n) primary period, See also: first watch, 6 p.m.-9 p.m., first three hours of the night, Syn. ยามต้น, ยามแรก, Thai Definition: ยามแรก กำหนดเวลา 4 ชั่วโมงตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ 18 นาฬิกา ถึง 4 ทุ่ม หรือ 22 นาฬิกา | พยายาม | (v) try, See also: endeavour, attempt, make an effort, strive, Syn. พากเพียร, บากบั่น, อุตสาหะ, มานะ, Example: เด็กอาจแสดงพฤติกรรมหลายอย่างเพื่อพยายามเรียกร้องความเอาใจใส่และความรักจากพ่อแม่, Thai Definition: ทำโดยมานะบากบั่น, Notes: (บาลี), (สันสกฤต) | ออกยาม | (v) go off duty, See also: be off duty, Ant. อยู่ยาม, เข้ายาม, Thai Definition: พ้นหน้าที่จากการอยู่ยาม | แขกยาม | (n) Indian watchman, See also: Indian guard, Syn. แขกเฝ้ายาม, Example: แขกยามที่อยู่ในเมืองไทยส่วนใหญ่มาจากประเทศอินเดีย, Count Unit: คน, Thai Definition: แขกที่ทำหน้าที่รักษาหรือดูแลความสงบเรียบร้อย | ไทยยาม | (n) Thai watchman, See also: Thai sentry, Thai guard, sentinel, caretaker | คำนิยาม | (n) definition, See also: explanation, meaning, exposition, Syn. คำจำกัดความ, คำอธิบายศัพท์, Example: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 ให้คำนิยามว่าจริยธรรมคือธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, Thai Definition: ข้อความอธิบายความหมายอย่างเป็นทางการของคำหรือวลี | ทหารยาม | (n) sentry, See also: sentinel, guard, Example: ปัญหาเรื่องเปรตทำให้ทหารยามเกิดความหวาดหวั่น, Count Unit: คน, นาย, Thai Definition: ทหารที่มีหน้าที่ตรวจตรา | ป้อมยาม | (n) keeper's box, See also: gateman's box, Syn. ตู้ยาม, Example: ทุกคนสามารถเขียนเรื่องร้องเรียนภายในหมู่บ้านได้ โดยการนำไปใส่ไว้ในกล่องที่ป้อมยามหน้าหมู่บ้าน, Count Unit: หลัง, Thai Definition: ป้อมรักษาการณ์ | ยามเช้า | (n) morning, See also: forenoon, dawn, daybreak, daylight, morn, sun-up, sunrise, Syn. เช้า, ตอนเช้า, รุ่งเช้า, รุ่งแจ้ง, Ant. ค่ำ, พลบค่ำ, Example: แดดอ่อนยามเช้าสาดแสงสีสวย เช่นเดียวกับจิตใจของเธอ | อยู่ยาม | (v) stand on guard, See also: keep watch, be on duty, Syn. เฝ้ายาม, เข้ายาม, อยู่เวร, Example: แกจะต้องอยู่ยามที่นี่ตลอดคืนนี้, Thai Definition: เฝ้าระวังเหตุการณ์ | เฝ้ายาม | (v) to be on sentry, See also: keep watch, keep vigil over, Syn. ดูแลรักษา, ตรวจตรา, คุ้มครองรักษา, Example: นายสิบและพลตำรวจต่างแย่งกันไปเฝ้ายามที่เรือนจำ, Thai Definition: ระมัดระวังรักษาเหตุการณ์ในยามกลางคืน | กรุงสยาม | (n) Siam, See also: Thailand, Syn. ประเทศสยาม, สยาม, ประเทศไทย, Example: กรุงสยามแต่ครั้งโบราณรุ่งเรืองเป็นอันมาก | การนิยาม | (n) definition, See also: explanation, clarification, Syn. การให้ความหมาย, การกำหนดความหมาย, Example: โปรแกรมส่วนนี้ คือโปรแกรมส่วนที่ช่วยผู้ชำนาญการในการนิยามฐานความรู้ขึ้นมารวม ตลอดทั้งช่วยในการปรับปรุงฐานความรู้นั้นให้ถูกต้อง, Thai Definition: การกำหนดหรือการจำกัดความหมายที่แน่นอน | ประจำยาม | (n) name of a Thai design, See also: name of a Thai decorative pattern, Example: หน้าบันนี้สลักลายประจำยามคั่นลายเถา, Count Unit: ลาย, Thai Definition: ชื่อลายอย่างหนึ่งมีรูปเป็นดอก 4 กลีบ วางเป็นระยะๆ คั่นลายอื่น | หยาบหยาม | (v) insult, See also: affront, Syn. ดูถูก, เหยียด, หยาม, Example: การที่มนุษย์ต้องผิดหวังบ่อยๆ อาจจะทำใครเหล่านั้นหยาบหยามพระเจ้าได้, Thai Definition: กล่าวคำหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพและเป็นการดูถูก | หยามหน้า | (v) insult, See also: view with contempt, scorn, Syn. หยามน้ำหน้า, ดูถูกเหยียดหยาม, Example: อย่าหยามหน้ากันให้มากนัก, Thai Definition: ดูหมิ่นเกียรติ | ธรรมนิยาม | (n) the certainty of nature and of nature's laws, Thai Definition: ทางแห่งธรรม, วิธีแห่งธรรม, Notes: (บาลี, สันสกฤต) | ปัจฉิมยาม | (n) latter period, Example: เขาคิดว่าถ้าเขาเร่งเก็บเงินไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ตอนนี้ เมื่อถึงภายภาคปัจฉิมยามเขาก็สามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข, Thai Definition: ยามหลัง, ยามที่สุด | ยามค่ำคืน | (n) night, See also: nighttime, Syn. ค่ำคืน, วิกาล, กลางคืน, Ant. กลางวัน, Example: สมบุญรู้สึกหวาดระแวงกับความมืดยามค่ำคืน, Thai Definition: ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง | ความพยายาม | (n) attempt, See also: try, endeavor, Syn. ความมานะบากบั่น, ความอุตสาหะ, ความพากเพียร, Example: ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น | เหยียดหยาม | (v) insult, See also: abuse, affront, call names, slight, look down upon, Syn. ดูถูกดูหมิ่น, ดูถูกดูแคลน, ดูถูก, ดูถูกเหยียดหยาม, เย้ยหยัน, Example: เราไม่ควรที่จะไปทำลายน้ำใจหรือดุด่าตะคอกเขาในลักษณะดูถูกเหยียดหยาม | มิจฉาวายามะ | (n) wrong effort, See also: wrong attempt, wrong perserverance, Syn. ความพยายามผิด, Ant. สัมมาวายามะ, Notes: (บาลี) | มิจฉาวายามะ | (n) wrong effort, See also: wrong attempt, wrong perseverance, Syn. ความพยายามผิด, Ant. สัมมาวายามะ, Notes: (บาลี) | หยามน้ำหน้า | (v) look down upon, See also: scorn, Syn. เย้ยหยัน, ดูหมิ่น, Ant. ยกย่อง, เชิดชู, ให้เกียรติ, Example: คู่ต่อสู้หยามน้ำหน้าเขาว่าคงจะพ่ายแพ้แน่, Thai Definition: ดูหมิ่นเกียรติ | หาฤกษ์หายาม | (v) pick an auspicious day, See also: calculate an auspicious time, Syn. ดูฤกษ์ดูยาม, Example: พ่อแม่เตรียมหาฤกษ์หายามเพื่อจัดงานแต่งงานให้ลูกชาย | เพียรพยายาม | (v) be diligent, See also: be industrious, Syn. พยายาม, เพียร, มานะพยายาม, Example: ข้าพเจ้าเพียรพยายามบอกเธอว่า ไม่ต้องเสียใจทั้งๆ ที่รู้ว่าเธอไม่ได้ยิน, Thai Definition: ทำโดยมานะบากบั่น | ไม้ยามักการ | (n) punctuation, Example: สมัยก่อนพยัญชนะที่ออกเสียงควบจะถูกกำกับด้วยไม้ยามักการ, Count Unit: ตัว, Thai Definition: เครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ รูปดังนี้ ๎ | กิริยามารยาท | (n) manners, See also: politeness, decorum, behaviour, behavior, act, Syn. มารยาท, มรรยาท, กิริยา, Example: เขาเป็นคนหน้าตาดีแต่งตัวดีมีริยามารยาทดีไม่มีอะไรน่ารังเกียจ | การเหยียดหยาม | (n) despising, See also: looking down upon, Syn. การดูหมิ่น, การดูถูก, Ant. การยกย่อง | ความเพียรพยายาม | (n) attempt, See also: endeavor, try, Syn. ความพยายาม, ความเพียร, ความพากเพียร, ความอุตสาหะ, Ant. ความขี้เกียจ, ความเกียจคร้าน, Example: ท่านได้ใช้ความเพียรพยายามทุ่มเทขยันและอดทนจนประสบความสำเร็จในชีวิต | ชั่วครู่ชั่วยาม | (adv) for a moment, See also: for a short time, for a while, for a little while, temporarily, Syn. ชั่วคราว, ชั่วประเดี๋ยวประด๋าว, ชั่วเวลาหนึ่ง, ชั่วระยะเวลาอันสั้น, Ant. นาน, Example: ถ้าใครทำผิด จะถูกกล่าวขวัญอยู่เพียงชั่วครู่ชั่วยาม แล้วก็จะค่อยๆ ลืมไปในที่สุด | เคราะห์หามยามร้าย | (n) misfortune, See also: unfortunate, bad luck, misadventure, mischance, Syn. เคราะห์ร้าย, ซวย, Ant. โชคดี, เคราะห์ดี, มงคล, Example: คนเราใช่ว่าจะมีเคราะห์เสมอไปในท่ามกลางเคราะห์หามยามร้ายนั้นก็อาจจะมีโชคเกิดขั้นได้, Thai Definition: โชคไม่ดี, ชะตาไม่ดี |
| กักยาม | น. การกักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่สมควรตามที่จะกำหนด. | ขานยาม | ก. บอกเวลาเปลี่ยนชั่วโมง | ขานยาม | ขานรับเมื่อผู้ตรวจเรียกชื่อนักโทษทุกยาม เช่น ถ้าลักพระปล้นสดมลักช้างม้าเปนสัจให้จำ ๕ ประการไว้ในคุกให้ขานยาม (สามดวง). | เคราะห์หามยามร้าย | น. เคราะห์ร้าย. | จับยาม | ก. นับยามตามหลักยามสามตา (ตรีเนตร) โดยนับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรา. | ชั่วครู่ชั่วยาม | น. ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ขอยืมของไปใช้ชั่วครู่ชั่วยามแล้วจะเอามาคืน. | ธรรมนิยาม | น.“การกำหนดแน่นอนแห่งความจริงแท้”, การดำรงอยู่แห่งความจริงแท้ คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา. | นิยาม | (-ยาม) น. การกำหนด เช่น ธรรมนิยาม, ทาง, อย่าง, วิธี. | นิยาม | (-ยาม) ก. กำหนดหรือจำกัดความหมายที่แน่นอน. | ปฐมยาม | (ปะถมมะ-) น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. | ประจำยาม | น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง มีรูปเป็นดอกไม้ ๔ กลีบ วางเป็นระยะ ๆ คั่นลายอื่น. | ปัจฉิมยาม | (ปัดฉิมมะ-) น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา. | เฝ้ายาม | ก. เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา. | พยาม, พยามะ | (พะยาม, พะยามะ) น. วา คือ ระยะวาหนึ่ง. | พยายาม | (พะยา-) ก. ทำโดยมานะบากบั่น. | มัชฌิมยาม | น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. | มิจฉาวายามะ | น. ความพยายามผิด. | ไม้ยามักการ | น. เครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ รูปดังนี้ ๎. | ยาม, ยาม- | (ยาม, ยามะ-) น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม | ยาม, ยาม- | ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม | ยาม, ยาม- | ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ | ยาม, ยาม- | คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน | ยาม, ยาม- | คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้น ว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. | ยามกาลิก | (ยามะ-) น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ นํ้าอัฐบาน. (ป.). (ดู กาลิก). | ยามตูดชาย | น. เวลาบ่าย. | ยามพาด | น. เวลาเช้า. | ยามโยค | น. เวลาที่ประกอบด้วยฤกษ์. | ยามสามตา | น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ และอังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรายามสามตาหรือตรีเนตร. | ยามเกา | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ปุนัพสุ มี ๓ ดวง, ดาวตาเรือชัย ดาวหัวสำเภา ดาวสะเภา ดาวสำเภาทอง หรือ ดาวปุนัพพสู ก็เรียก. | ยามะ | น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓, เทวดาในชั้นนี้เรียกว่า ยามเทวบุตร. | ยามักการ | น. ชื่อเครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ มีรูปดังนี้ ๎ ใช้ในหนังสือบาลีรุ่นเก่า เช่น กต๎วา ทิส๎วา ในปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน เป็น กตฺวา ทิสฺวา. | ยามา | น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวสุยามเป็นใหญ่ในชั้นนี้. (ดู ฉกามาพจร ประกอบ). | ยามิก | น. คนเฝ้ายาม, คนเฝ้ายามเวลากลางคืน. | ย่ำยาม | ก. ตีกลอง ฆ้อง หรือระฆังถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาสำหรับเปลี่ยนยาม, ถ้ากระทำในเวลาเช้า เรียกว่า ย่ำรุ่ง (ราว ๖ นาฬิกา), ถ้ากระทำในเวลาค่ำ เรียกว่า ย่ำค่ำ (ราว ๑๘ นาฬิกา). | ยำยาม | ก. ชมเชย. | ยืนยาม | ก. ยืนเฝ้ายาม. | เรือยาม | น. เรือที่จัดให้อยู่เวรยาม เพื่อการเฝ้าตรวจ เช่น เรือยามเรดาร์ หรือเพื่อการใช้สอยทั่วไป เช่น เรือยามข้ามฟาก. | วยามะ | น. มาตราวัด ยาวเท่ากับ ๑ วา. | วยายาม | น. พยายาม. | วายามะ | น. ความพยายาม, ความหมั่น, ความบากบั่น. | ศยาม | (สะหฺยาม) ว. ดำ, คลํ้า. | ศยามล | (สะหฺยามน) น. สีดำ. | ศยามล | (สะหฺยามน) ว. ผิวคลํ้า, ดำ. | สยาม, สยาม- | (สะหฺยาม, สะหฺยามมะ-) น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ | สยาม, สยาม- | ของประเทศไทย. | สยามานุสติ | (สะหฺยามมานุดสะติ, สะหฺยามานุดสะติ) น. ชื่อพระราช-นิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นโคลง ๔ สุภาพ. | สยามินทร์ | (สะหฺยามิน) น. ผู้เป็นใหญ่ในสยามหมายถึง พระมหากษัตริย์ของประเทศไทย. | สยามรัฐ | (สะหฺยามมะ-) น. แคว้นไทย, ประเทศไทย. | สัมมาวายามะ | น. ความพยายามชอบ. | หยาบหยาม | ก. กล่าวคำหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพและเป็นการดูถูก. |
| pacific blockade | การปิดล้อมยามสันติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | physiology, hominal; physiology, human | มนุษยสรีรวิทยา, สรีรวิทยามนุษย์ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | physiology, human; physiology, hominal | มนุษยสรีรวิทยา, สรีรวิทยามนุษย์ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | putsch | การพยายามยึดอำนาจปกครองรัฐ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | person specified to pay in case of need | ผู้จะใช้เงินยามประสงค์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | power, war | อำนาจยามสงคราม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | legal definition | บทนิยามศัพท์กฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | referee in case of need | ผู้สมอ้างยามประสงค์ (เกี่ยวกับตั๋วเงิน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | recursive definition | บทนิยามเวียนเกิด [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] | splenology | วิทยาม้าม, ปิหกวิทยา [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | system definition | ๑. การนิยามระบบ๒. บทนิยามระบบ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | suppression | ๑. การห้ามไหล๒. การกด๓. การพยายามลืม (กลไกทางจิต) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | sacrilege | การลบหลู่ศาสนา, การเหยียดหยามศาสนา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | sacrilege | การลบหลู่สิ่งเคารพทางศาสนา, การเหยียดหยามศาสนา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | serenade | เพลงเกี้ยวยามค่ำ [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕] | ostensive definition | การนิยามโดยยกตัวอย่าง [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | obscene libel | การดูหมิ่นเหยียดหยาม, การหมิ่นประมาทซึ่งหน้า [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | oncology | ๑. วิทยาเนื้องอก๒. วิทยามะเร็ง [ มีความหมายเหมือนกับ cancerology; cancrology; carcinology ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | acceptance in case of needs | การรับรองยามประสงค์ (ตั๋วแลกเงิน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | attempt | พยายาม, การพยายาม (กระทำความผิดอาญา) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | attempted suicide | การพยายามฆ่าตัวตาย [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | abuse | ๑. ดูหมิ่น๒. หยาบหยาม๓. กระทำในทางที่ไม่ถูกต้อง๔. ใช้อำนาจโดยมิชอบ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | assignment of dower | การกำหนดส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของสามีให้แก่ภริยาม่าย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | blasphemy | ความผิดฐานเหยียดหยามศาสนา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | blockade, pacific | การปิดล้อมยามสันติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | macro definition | การนิยามแมโคร [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | malariology | วิทยามาลาเรีย [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | cancerology; cancrology; carcinology | วิทยามะเร็ง [ มีความหมายเหมือนกับ oncology ๒ ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | coastguard | ยามฝั่ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | case of need | ยามประสงค์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | case of need, person specified to pay in | ผู้จะใช้เงินยามประสงค์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | cancrology; cancerology; carcinology | วิทยามะเร็ง [ มีความหมายเหมือนกับ oncology ๒ ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | contraband of war | ของต้องห้ามยามสงคราม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | cynicism | คติหยามโลก [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕] | crisis government | รัฐบาลยามวิกฤต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | carcinology; cancerology; cancrology | วิทยามะเร็ง [ มีความหมายเหมือนกับ oncology ๒ ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | data definition | การนิยามข้อมูล [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | data definition language | ภาษานิยามข้อมูล [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | document type definition (DTD) | การนิยามชนิดเอกสาร (ดีทีดี) [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | document type definition (DTD) | การนิยามชนิดเอกสาร (ดีทีดี) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | define | นิยาม, กำหนด [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | define | นิยาม [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] | definition | ๑. การนิยาม, การกำหนด๒. บทนิยาม๓. ความชัด [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | definition | การนิยาม [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕] | definition | ๑. การนิยาม, การกำหนด๒. บทนิยาม๓. ความชัด [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | definition | บทนิยาม [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] | definition, legal | บทนิยามศัพท์กฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | definition, ostensive | การนิยามโดยยกตัวอย่าง [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | DTD (document type definition) | ดีทีดี (การนิยามชนิดเอกสาร) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | DTD (document type definition) | ดีทีดี (การนิยามชนิดเอกสาร) [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
| Unsealed source | ต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก, วัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่เป็นไปตามคำนิยามของต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก เช่น วัสดุกัมมันตรังสีไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดๆ ที่ไม่ได้มีการบรรจุหรือห่อหุ้มปิดผนึกด้วยโลหะหรือวัสดุอื่นใดอย่างมิดชิดถาวร การใช้ต้นกำเนิดรังสีชนิดนี้ อาจเกิดการแพร่กระจาย ฟุ้งกระจาย หกเปรอะเปื้อน ซึมรั่ว ออกจากภาชนะที่บรรจุได้ [นิวเคลียร์] | Human ecology | นิเวศวิทยามนุษย์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Augmentative and Alternative Communicate | อุปกรณ์ช่วยสื่อสารแบบพกพาสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด , อุปกรณ์ขนาดเล็ก มีปุ่มที่เก็บเสียงที่บันทึกล่วงหน้าได้ ในประเทศไทยมีผลงานวิจัยภายใต้โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชื่อ โอภา สามารถบันทึกได้ ๖๐ ข้อความ และเรียกใช้โดยการกดปุ่ม อุปกรณ์มี ๑๕ ปุ่ม และมีปุ่มเลือกชุดข้อความได้ ๔ ชุด และมีโหมดสแกนข้อความที่ทำงานคู่กับสวิตช์เดี่ยวใช้กดเลือกข้อความ [Assistive Technology] | Total Communication | การสื่อสารระบบรวม, รูปแบบการสอนนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน ที่ไม่ได้เน้นการฝึกฟัง หรือภาษามืออย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนในอดีต แต่พยายามจะใช้หลายๆ ระบบรวมกัน [Assistive Technology] | Yamaha motorcycle | จักรยานยนต์ยามาฮ่า [TU Subject Heading] | Assassination attempt, [ date ] | การพยายามลอบฆ่า, [ ปี ] [TU Subject Heading] | Attempts assassination ; Assassination attempts | การพยายามลอบฆ่า [TU Subject Heading] | Criminal attempt | การพยายามกระทำผิดทางอาญา [TU Subject Heading] | Human ecology | นิเวศวิทยามนุษย์ [TU Subject Heading] | Marxist anthropology | มานุษยวิทยามาร์กซิสต์ [TU Subject Heading] | Takayama-shi (Japan) | ทาคายามา (ญี่ปุ่น) [TU Subject Heading] | Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] | Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] | Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] | Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | Government in Exile | รัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง [การทูต] | International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] | International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] | International Trade Organization | องค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต] | North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] | Organization of American States | คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกราน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดย สันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา [การทูต] | Organization of European Economic Cooperation | คือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] | Pacific Charter | คือกฎบัตรแปซิฟิค ซึ่งประกาศ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ในโอกาสที่มีการตกลงกันทำสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Defense Treaty-SEATO ) ประเทศที่ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาสาระสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SEATO (ซีโต้) นั้นคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตรฐานการครอง ชีพสูงขึ้น มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคามสนธิสัญญาคือ บรรดาประเทศภาคีตกลงที่จะป้องกันหรือตอบโต้ความพยายามใด ๆ ที่จะล้มล้างเสรีภาพที่มีอยู่ในเขตสนธิสัญญา หรือทำลายอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งเขตแดนของประเทศภาคี พูดอย่างสั้น ๆ ก็คือฝ่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ต้องการกีดกันมิให้ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไปมีอำนาจครอบงำดินแดนเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเย็น (Cold War ) โดยวิธีรุกรานหรือวิธีอื่นใดก็ตาม [การทูต] | Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] | Political Offenses | ความผิดทางการเมือง หลักการข้อหนึ่งของการส่งตัวผู้กระทำความผิดไปให้อีก ประเทศหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการส่งผู้ร้ายข้ามแดน คือ ผู้ที่กระทำผิดทางการเมืองจะถูกส่งข้ามแดนไปให้อีกประเทศหนึ่งไม่ได้เป็นอัน ขาด แต่อย่างไรก็ดี มีปัญหาในปฏิบัติคือว่า จะแยกความแตกต่างกันอย่างไรระหว่างความผิดทางการเมือง กับที่มิใช่ด้วยเหตุผลทางการเมือง นักวิชาการบางท่านนิยามความหมายของคำว่าความผิดทางการเมืองไว้ว่า คือ ความผิดฐานกบฏ (Treason) ซึ่งในกฎหมายของหลายประเทศหมายถึงการประทุษร้าย หรือพยายามประทุษร้ายต่อประมุขของประเทศ หรือช่วยฝ่ายศัตรูทำสงครามกับประเทศของตน ความผิดฐานปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศ (Sedition) หรือการประกอบจารกรรม (Espionage) อันเป็นการคุกคามต่อความั่นคงหรือต่อระบบการปกครองของประเทศผู้ร้องขอ (หมายถึงประเทศที่ร้องขอให้ส่งตัวผู้กระทำผิดไปให้ในลักษณะผู้ร้ายข้ามแดน) ไม่ว่าจะกระทำโดยคนเดียวหรือหลายคนก็ตาม [การทูต] | Responsibility to protect | หลักการความรับผิดชอบในการคุ้มครอง เป็นหลักการที่ได้รับการรับรองในการประชุมระดับผู้นำ เพื่อทบทวนผลของปฏิญญาสหัสวรรษ(High Level Panel Meeting - HLPM) เมื่อวันที่ 14-16 กันยายน พ.ศ. 2548 ณ นครนิวยอร์ก ที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงทางมนุษยธรรม ( humanitarian interference/intervention of humanity)เพื่อคุ้มครองประชาชนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การฆ่าล้างชนชาติ โดยจะถือเป็นความรับผิดชอบและที่จะต้องดำเนินการร่วมกันโดยประชาคมระหว่าง ประเทศ อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่องนี้มีนัยเกี่ยวข้องกับกฏหมายระหว่างประเทศ อธิปไตย ของรัฐ ความอ่อนไหวทางการเมือง และความชอบธรรมในการปฏิบัติ จึงยังไม่มีการนิยามแนวความคิด R2P รวมถึงขอบเขตของ R2P ที่ชัดเจน [การทูต] | Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty | สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ลงนามในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2538 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาคและส่งเสริมความพยายามระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคใน การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่ง นอกจากเป็นส่วนประกอบสำคัญของแผนงานว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Zone of Peace, Freedom and Neutrality - ZOPFAN) แล้ว ยังเป็นการสนับ สนุนกระบวนการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในเวทีระดับโลกอีกด้วย " [การทูต] | Southeast Asia Collective Defense Treaty (Mahila Pact) | สนธิสัญญาซีโต้ สนธิสัญญานี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญามีประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สนธิสัญญาได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะ ป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกันสำนักงานใหญ่ขององค์การซีโต้ตั้ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมากทำให้องค์การซีโต้หมดความ จำเป็น และได้ยุบเลิกไปนานแล้ว [การทูต] | unsealed source | ต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก, หมายถึง วัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่เป็นไปตามคำนิยามของต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก ได้แก่ วัสดุกัมมันตรังสี ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดๆ ที่ไม่ได้มีการบรรจุหรือห่อหุ้มปิดผนึกด้วยโลหะ หรือวัสดุอื่นใดอย่างมิดชิดถาวร การใช้ต้นกำเนิดรังสีชนิดนี้ อาจเกิดการแพร่กระจาย ฟุ้งกระจายหกเปรอะเปื้อน ซึมรั่วออกจากภาชนะบรรจุได้ [พลังงาน] | Amphetamine | แอมเฟตามีน, ยา; แอมฟีตะมีน; แอมเฟตามีน; ยาแอมเฟตามีน; เอ็มเฟทตามิน; แอมเฟตตามีน; ยาม้า [การแพทย์] | Antipsychotic Drugs, High-Potency | ยามีฤทธิ์ต้านโรคจิตสูง [การแพทย์] | Bethanechol Chloride | ยามีธานีคอลคลอไรด์ [การแพทย์] | Bronchial Hyperreactivity | ปฏิกิริยามากเกินของหลอดลม;ปฏิกิริยาไวเกินของหลอดลม [การแพทย์] | Definition | นิยาม [การแพทย์] | Dependence | การพึ่งยา, การพึ่งยามากยิ่งขึ้น, การเสพติด, การติดยา [การแพทย์] | Dilution, Serial | เจือจางตามลำดับขั้น, ความเข้มข้นต่างๆกัน, เจือจางน้ำยามาตรฐานตามลำดับส่วน, การทำเจือจางเป็นลำดับ [การแพทย์] | Twilight spectrum | สเปคตรัมยามสนธยา [อุตุนิยมวิทยา] | ความคับข้องใจ | ความคับข้องใจ, สภาพทางจิตใจหรือความรู้สึกที่เป็นผลสืบเนื่องอันได้แก่ ความหงุดหงิด กระวนกระวายใจ กลุ้มใจ สิ่งเหล่านี้มาจากความปรารถนาที่บุคคลมุ่งหวัง แต่ถูกขัดขวาง ทำให้ลดแรงจูงใจ บั่นทอนอิทธิพลความพยายาม ไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย ไม่ตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ด้วยอุปสรร [สุขภาพจิต] | Netiquette | จรรยามารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ต, Example: จรรยามารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ต เป็นคำที่มาจากคำเต็มว่า "Network Etiquette" [คอมพิวเตอร์] | sine function | ฟังก์ชันไซน์, ฟังก์ชันตรีโกณมิติชนิดหนึ่ง อาจนิยามโดยอาศัยวงกลมหนึ่งหน่วยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ sine q = y โดยที่ q เป็นจำนวนจริงที่แทนด้วยความยาวของส่วนโค้งที่วัดจากจุด (1, 0) บนวงกลมหนึ่งหน่วย ไปตามส่วนโค้งของวงกลม(โดยคิดทิศทาง) และมี (x, y) เป็นจุดปลายของส่วนโค้งที่ย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | trigonometric function | ฟังก์ชันตรีโกณมิติ, ฟังก์ชันในเซตของจำนวนจริงสามารถใช้วงกลมหนึ่งหน่วยเป็นหลักในการนิยาม เช่น ฟังก์ชันไซน์ ฟังก์ชันโคไซน์ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | undefined term | คำอนิยาม, ข้อความที่ไม่ให้คำจำกัดความทางคณิตศาสตร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | homogeneous reaction | ปฏิกิริยาเนื้อเดียว, ปฏิกิริยาเคมีที่สารเข้าทำปฏิกิริยาและสารที่เป็นผลของปฏิกิริยามีวัฏภาคเดียวกัน เช่น HCl(aq) + NaOH(aq) ______> NaCl(aq) + H2O(aq) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | heterogeneous reaction | ปฏิกิริยาเนื้อผสม, ปฏิกิริยาเคมีที่สารเข้าทำปฏิกิริยาและสารที่เป็นผลของปฏิกิริยามีวัฏภาคต่าง ๆ กัน อาจมี 2 หรือ 3 วัฎภาครวมกันอยู่ในระบบ เช่น C(s) +O2(g) _______>CO2(g) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | rate of reaction | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี, ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหรือปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลงต่อหน่วยเวลาอัตราการเกิดปฏิกิริยามี 2 ลักษณะ คือ อัตราการเกิดปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่งกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | night blindness | ตาบอดกลางคืน, โรคที่เกิดจากร่างกายขาดวิตามิน A ซึ่งมีผลทำให้นัยน์ตามัวมองเห็นไม่ชัดในเวลาโพล้เพล้ หรือยามค่ำคืน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | World Wide Web (WWW) | เวิลด์ไวด์เว็บ, การให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ ที่ประกอบไปด้วยเอกสารจำนวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นแหล่งของข้อมูลขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงผ่านโพรโทคอลที่เรียกว่า เอชทีทีพี นอกจากนี้องค์กร W3C ได้นิยามคำว่าเว็บคือ จักรวาลของสารสนเทศที่สามารถเข้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | deductive reasoning | การให้เหตุผลแบบนิรนัย, การให้เหตุผลโดยการนำความรู้พื้นฐานซึ่งอาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฎ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับว่าเป็นจริงมาประกอบเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
| Guddu! | - พี่กุ๊ดดูยามมา Lion (2016) | - Guards! | ยาม! Immortals (2011) | I had to try. | ผมต้องพยายาม The Diamond in the Rough (2013) | - Security! | - ยาม Eye to Eye (2013) | That's the clown we've been waitin' for? Let's have the guards extend him an invitation to the palace, shall we? | เอาละ ให้ยามตามหาเขา และเชิญเขาเข้าพระราชวัง Aladdin (1992) | It's better than here. Always scraping for food and ducking the guards. | มันก็ยังดีกว่าที่นี้ คอยกินเศษอาหาร และหนีพวกยาม Aladdin (1992) | How may I be of service to you? The guards just took a boy from the market, on your orders. | ยามเพิ่งจะจับตัวเด็กชาย จากตลาด ด้วยคำสั่งเจ้า Aladdin (1992) | You see, we're trying to find this lamp. | เห็นมั้ย เราพยายามที่จะหาตะเกียงนี่ Aladdin (1992) | Tell them the truth, Jafar! You tried to have me killed. | บอกความจริงพวกเขา จาฟา ท่านพยายามจะฆ่าข้า Aladdin (1992) | Your highness, Jafar's been controlling you with this! | ฝ่าบาท จาฟาพยายามควบคุมท่านด้วยสิ่งนี้ Aladdin (1992) | Guards! | ยาม ยาม Aladdin (1992) | - Ali? -Jasmine, I tried to tell you, I'm just-- | อาลี จัสมิน ฉันพยายามจะบอกเธอ ฉันแค่ Aladdin (1992) | Did you try to help him get free? | คุณได้พยายามช่วยเขาออกมารึเปล่า? Basic Instinct (1992) | You got him on some other charge and he's trying to deal his way out. | เพราะคุณจับเขาได้ และเขาก็พยายามจะหาทางออกน่ะสิ Basic Instinct (1992) | Not by legal definition, no. Not at all. | ไม่ใช่ในคำนิยามของกฏหมาย ไม่ ไม่เลย Basic Instinct (1992) | She groaned, her breath catching as he suddenly yanked her hair like a rider pulling on a horse 's mane. | เธอร้องคราง ลมหายใจของเธอเสียงดัง... ...และทันใดนั้นเขาก็ดึงผมเธอ เหมือนยามที่นักขี่ม้าดึงบังเหียน Basic Instinct (1992) | She's trying to seduce you. | เธอพยายามจะล่อลวงคุณ Basic Instinct (1992) | They always try to seduce you. | พวกเขาก็พยายามจะล่อลวงคุณ Basic Instinct (1992) | I was trying to save her life. | ผมพยายามจะช่วยชีวิตเธอ Basic Instinct (1992) | Adam was trying to ruin you just out of spite, and I couldn't bear it. | อดัมพยายามจะทำลายคุณเพื่อ อยากจะแกล้ง และฉันก็รับไม่ได้ Basic Instinct (1992) | You're in danger. She's going to try and kill you. | คุณอยู่ในอันตราย เธอกำลังพยายามจะฆ่าคุณ Basic Instinct (1992) | Who's trying to kill me? | ใครพยายามจะฆ่าฉัน? Basic Instinct (1992) | I'll try and get her sectioned. It's the only thing that'll stop her. | ผมจะพยายามแยกเธออกเป็นสองท่อน นั่นคือสิ่งเดียวที่เราจะหยุดเธอได้ Basic Instinct (1992) | Nice try, though. | พยายามจริงนะ The Bodyguard (1992) | Lockwood has stumbled into the end of a strange story... a story that began 30 years before when an old man returned to Wuthering Heights... weary after a long journey. | ล็อกวู้ดเผอิญเจอะ เข้ากับจุดจบของเรื่องแสนประหลาด เรื่องราวที่เริ่มต้น เมื่อสามสิบปีก่อน ยามที่ชายชราเดินทางกลับ สู่เวธเตอริง ไฮตส์ Wuthering Heights (1992) | Uh, because he's handsome and pleasant to be with. | เพราะว่า เขาหล่อเหลา และมีความสุขยามอยู่ด้วย Wuthering Heights (1992) | As she recovered, she waited for his return... but he did not come. | ยามหล่อนหายดีขึ้น หล่อนรอให้เขากลับมา แต่เขาไม่เคยมา Wuthering Heights (1992) | Catherine, try to be glad without being absurd in front of the whole household. | แคทเธอรีน พยายามแสดงเพียงดีใจ ไม่ใช่ถึงขนาดไร้สาระ ต่อหน้าทั้งบ้านนะ Wuthering Heights (1992) | Whenever and wherever you spent time with me. | ทุกครั้งและทุกที่ ยามเธออยู่กับฉัน Wuthering Heights (1992) | Laughing at injuries, not maddening under them. | หัวเราะยามได้แผล ไม่ใช่คลุ้มคลั่งเพราะว่าได้มัน Wuthering Heights (1992) | It was a marvelous effort on her part to discover that I did not love her. | ต้องใช้ความพยายามอันน่าชื่นชม กว่าหล่อนจะพบว่าฉันมิได้ รักหล่อน Wuthering Heights (1992) | Try and understand. | พยายามเข้าใจนะคะ Wuthering Heights (1992) | Will you be happy when I'm in the earth? | จะมีความสุขไหม ยามฉันอยู่ใต้พื้นดิน Wuthering Heights (1992) | Are you possessed with the devil to talk in that manner to me when you're dying? | เธอโดนปีศาจร้าย เข้าสิงหรอกหรือ ถึงพูดแบบนี้กับฉัน ยามตัวเองกำลังตาย Wuthering Heights (1992) | ...to raise us from the death of sin unto the life of righteousness, that when we shall depart this life, we may rest in Him, as our hope is this, our brother doth, and that, at the general resurrection in the last day, | เพื่อชะล้างเรา จากบาปทั้งปวง สู่ชีวิต ที่มีแต่ความดีงาม เพื่อยามที่เราละทิ้ง ชีวิตนี้ Wuthering Heights (1992) | My one waking thought has been of you. | ทุกห้วงคำนึงยามตื่น มีเพียงเธอ Wuthering Heights (1992) | His happiest days were over when your days began. | วันอันเป็นสุขของเขาจบลง ยามวันของเธอเริ่มต้น Wuthering Heights (1992) | "when the secrets of all hearts should be disclosed, | "ยามความลับทุกอย่าง จะถูกเปิดเผย Wuthering Heights (1992) | I gave myself some ease... when I saw her face again. | ฉันให้ความสงบแก่ตัวเอง ยามเห็นใบหน้าหล่อนอีกครั้ง Wuthering Heights (1992) | How dare you touch me... when I would've given my life for one kind word when I was imprisoned. | กล้าดียังไงมาแตะตัวดิฉัน ยามที่ดิฉันยอม\ เอาชีวิตแลกกับแค่คำกรุณาคำเดียว ยามโดนกักขัง Wuthering Heights (1992) | You dare to try and rouse him against me! | เธอกล้าพยายามปลุกปั่น ให้เขาสู้กับฉัน Wuthering Heights (1992) | Together, they are afraid of nothing. | ยามอยู่ด้วยกัน พวกเขา ไม่กลัวสิ่งใดทิ้งสิ้น Wuthering Heights (1992) | I think a suspended sentence is unlikely. | หัวหน้า ผมไม่ได้พยายามเยาะเย้ยคุณนะ Hero (1992) | It tried to escape. | มันพยายามจะหนี The Lawnmower Man (1992) | I've tried to teach that stupid mind responsibility... since you were five years old. | ฉันพยายามสอนไอ้โง่อย่างแก.. ..มาตั้งแต่ห้าขวบ The Lawnmower Man (1992) | Amen. | ตราบจนถึงโมงยามสุดท้ายของชีวิต อาเมน The Lawnmower Man (1992) | I had to use all my concentration to block it. | ผมต้องพยายามอย่างหนัก เพื่อไม่ให้ได้ยินมัน The Lawnmower Man (1992) | You're trying to get inside my head, Jobe. | เธอพยายามเข้าไปในหัวฉัน โจ๊บ The Lawnmower Man (1992) | You may have tried to hide it... but I have witnessed what your new formulas, not Batch Five... have done to your human subject. | นายพยายามเหลือเกิน ที่จะไม่ให้ใครรู้ แต่ฉันเห็นกับตาในสิ่งที่โจ๊บทำ ซึ่งไม่ได้เป็น ผลมาจากสารทดลองที่ห้า The Lawnmower Man (1992) | I forgot, George. I tried not to, then I forgot. | ฉันลืมนี่ ฉันพยายามแล้ว แต่ก็ลืมอีก Of Mice and Men (1992) |
| บทนิยาม | [botniyām] (n) EN: definition FR: définition [ f ] | ชายชาวสยาม | [chāichāo Sayām] (n, prop) EN: Siamese FR: Siamois [ m ] | ดูหมิ่นเหยียดหยาม | [dūminyīetyām] (v) EN: despise | เฝ้ายาม | [faoyām] (v) EN: be on sentry ; keep watch ; keep vigil over FR: garder ; surveiller | ให้นิยาม | [hai niyām] (v, exp) FR: donner la défintion ; définir | การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 (๒๔๗๕) | [Kān Patiwat Sayām phø.sø. søng phan sī røi jetsip-hā] (n, prop) EN: Siamese Revolution of 1932 ; Siamese Coup d'état of 1932 ; 1932 Revolution in Siam FR: coup d'État de 1932 [ m ] | การเหยียดหยาม | [kān yīetyām] (n) EN: despising | คำนิยาม | [khamniyām] (n) EN: definition ; explanation ; meaning ; exposition FR: définition [ f ] | คนเฝ้ายาม | [khon faoyām] (n) FR: gardien de nuit [ m ] | คนยาม | [khon yām] (n) EN: guard FR: garde [ m ] ; agent de sécurité [ m ] | ความพยายาม | [khwām phayāyām] (n) EN: attempt ; effort ; try ; endeavour = endeavor (Am.) FR: effort [ m ] | กรุงสยาม | [Krung Sayām] (n, prop) EN: Kingdom of Siam FR: royaume de Siam [ m ] | หลับยาม | [lap yām] (v, exp) EN: fall asleep while on duty ; be caught napping FR: dormir au travail | ไม้ยามักการ | [māiyāmakkān] (n) EN: punctuation | มิจฉาวายามะ | [mitchāwāyāma] (n) EN: wrong effort ; wrong attempt ; wrong perserverance | ในยามสงคราม | [nai yām songkhrām] (x) FR: en temps de guerre | นิยาม | [niyām] (n) EN: definition FR: définition [ f ] | นิยาม | [niyām] (v) EN: define FR: définir | ปัจฉิมยาม | [patchimyām] (n) EN: latter period | ภาษาสยาม | [phāsā Sayām] (n, exp) EN: Siamese FR: siamois [ m ] | ภาษีกำไรยามสงคราม | [phāsī kamrai yām songkhrām] (n, exp) EN: war profits tax | พยายาม | [phayāyām] (v) EN: try ; attempt : make an effort ; make great efforts ; endeavour = endeavor (Am.) ; strive ; exert ; strain FR: essayer ; tenter ; s'efforcer (de) ; tâcher | พยายาม | [phayāyām] (v) EN: strive ; struggle ; fight FR: lutter ; se battre | พยายามตลอดชีวิต | [phayāyām taløt chīwit] (v, exp) EN: keep on fighting throughout one's life ; wage a lifelong struggle FR: lutter toute la vie durant | เพียรพยายาม | [phīenphayāyām] (v) EN: be diligent ; be industrious FR: être travailleur | เพียรพยายามชอบ | [phīenphayāyām chøp] (n, exp) EN: right effort FR: effort juste [ m ] | ผีเสื้อจ่าใหญ่สยาม | [phīseūa jā yai Sayām] (n, exp) EN: Great Sergeant | ผีเสื้อเหลืองสยามขอบดำ | [phīseūa leūang Sayām khøp dam] (n, exp) EN: Lesser Gull | ผีเสื้อเหลืองสยามลายขีด | [phīseūa leūang Sayām lāi khīt] (n, exp) EN: Common Gull | ผีเสื้อเหลืองสยามธรรมดา | [phīseūa leūang Sayām thammadā] (n, exp) EN: Orange Gull | ป้อมยาม | [pǿm yām] (n, exp) EN: keeper' s box | สยาม | [Sayām] (n, prop) EN: Siam FR: Siam [ m ] | สยามกีฬา | [Sayām Kīlā] (tm) EN: SiamSport FR: SiamSport | สยาม โอเชี่ยน เวิลด์ | [Sayām Ōchīen Woēl] (tm) EN: Siam Ocean World FR: Siam Ocean World | สยามพารากอน | [Sayām Phārakøn] (tm) EN: Siam Paragon FR: Siam Paragon | สยามรัฐ | [Sayām Rat] (tm) EN: Siam rath FR: Siam Rath | สยามสแกวร์ = สยามสแควร์ | [Sayām Sākwaē = Sayām Sākhwaē] (n, prop) EN: Siam square FR: Siam square | สยามธุรกิจ | [Sayām Thurakit] (tm) EN: Siam Turakij FR: Siam Turakij | สองยาม | [søng yām] (n, exp) EN: midnight FR: minuit | สวนสยาม | [Sūan Sayām] (n, prop) EN: Siam Park ; Suan Siam FR: Parc Siam [ m ] ; Suan Sayam | ทหารยาม | [thahān yām] (n) EN: sentry ; sentinel FR: sentinelle [ f ] ; factionnaire [ m ] ; garde [ m ] | ไทยสยาม | [Thai Sayām] (tm) EN: Thai Siam FR: Thai Siam | ถือฤกษ์ถือยาม | [theū reūk theū yām] (v, exp) EN: observe auspicious timing | ทิวลิปสยาม | [thiūlip Sayām] (n, exp) EN: Siam Tulip | ตู้ยาม | [tū yām] (n, exp) EN: sentry box FR: guérite [ f ] | วางยาม | [wāng yām] (v, exp) EN: place security guards ; place guards ; place watchmen | ยาม | [yām] (n) EN: time ; moment ; hour FR: temps [ m ] ; heure [ f ] | ยาม | [yām] (n) EN: guard ; watchman ; sentry FR: garde [ m ] ; gardien [ m ] ; vigile ]m ] ; agent de sécurité [ m ] ; surveillant [ m ] ; veilleur de nuit [ m ] ; sentinelle [ f ] | หยาม | [yām] (v) EN: despise ; view with contempt ; look down on FR: mépriser ; dédaigner | ยามบ่าย | [yām bāi] (n, exp) EN: afternoon |
| give it one's best shot | (phrase) พยายามอย่างสุดความสามารถ, เช่น I'll give it my best shot. ฉันจะพยายาม (ทำเรื่องนี้) อย่างสุดความสามารถ | sophomoric | ที่พยายามทำให้ดูว่าตัวเองสำคัญ, ซึ่งโอ้อวด, See also: bombastic, inflated in style or manner; immature, crude, superficial, Syn. pretentious | curfew | (n) ในยุโรปสมัยกลางบ้านเรือนทำมาจากท่อนซุง ตรงพื้นกลางบ้านมักจะขุดเป็นหลุมเพื่อเอาไว้ใช้เป็นเตา เพราะกลัวไฟไหม้ ตอนดึกๆ จึงต้องมียามเดินไปให้สัญญาว่าได้เวลานอนแล้ว ขอให้กลบไฟซะให้เรียบร้อยด้วย ซึ่งภาษาฝรั่งเศสว่า cuevre-feu แปลเป็นอังกฤษว่า to cover the fire เมื่อพระเจ้าวิลเลี่ยมแห่งฝรั่งเศสตีอังกฤษได้ ก็เอามาใช้ในอังกฤษ ให้ทุกบ้านดับไฟและห้ามออกจากบ้าน Curfew ก็จึงพัฒนามาเป็นคำที่หมายถึง มาตรการห้ามออกนอกเคหสถานในเวลากำหนด | have a go (at) | พยายาม, พยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น You have a go at designing a synthesis of it. | rizz up | (vi, colloq) พยายามดึงดูดผู้อื่นหรือเพศตรงข้าม, เข้าไปจีบ เช่น I'm about to rizz up Jane. คำว่า rizz เป็นคำศัพท์แห่งปี 2023 ของ Oxford University Press (Oxford Word of the Year 2023) |
| accommodating | (adj) ที่ช่วยเหลือ, See also: ที่พยายามทำให้สะดวกสบาย, ที่พยายามทำให้พอใจ, Syn. obliging, helpful, neighborly | accommodation | (n) การตกลงกัน, See also: การยินยอม, การพยายามประนีประนอมกัน | afternoon | (n) ตอนบ่าย, See also: บ่าย, ยามบ่าย, จวนเย็น, หลังบ่าย, Syn. post meridian, teatime, evening | ambitious | (adj) ยาก, See also: ลำบาก, ที่ต้องใช้ความพยายามสูง | amphetamine | (n) แอมเฟตามีน, See also: ยาขยัน, ยาบ้า, ยาม้า | assiduity | (n) ความเพียร, See also: ความขยัน, ความพยายาม, ความบากบั่น, ความตั้งใจ, Syn. diligence | assiduously | (adv) เพียรพยายาม, See also: ก้มหน้าก้มตา, Syn. industriously, laboriously | attempt | (n) ความพยายาม, See also: ความมานะ, ความอุตสาหะ, Syn. try, endeavor | attempt | (vt) พยายาม, See also: หาทาง, ขวนขวาย, Syn. try, endeavor | aurora | (n) แสงสว่างยามเช้า, Syn. dawn, dawning, morning | aim for | (phrv) พยายามเพื่อ, See also: มุ่งมั่นเพื่อ | all out effort | (idm) พยายามอย่างยิ่ง, See also: อุตสาหะมาก | angle for | (phrv) ล่อหลอก, See also: ล่อ, พยายามใช้วิธีการต่างๆเพื่อให้สิ่งที่ต้องการ, Syn. fish for | apply to | (phrv) ทำให้ทำงานหนัก, See also: ทำให้ต้องใช้ความพยายามอย่างมากกับ | backslide | (vt) ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นหลังพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม, Syn. relapse | belittle | (vt) ดูถูก, See also: ดูแคลน, เหยียดหยาม | bender | (n) ช่วงของการดื่มอัลกอฮอล์หรือกินยามาก | bid | (vi) พยายามที่จะทำให้สำเร็จ, Syn. try, attempt | bid | (n) ความพยายามที่จะทำบางสิ่ง, Syn. attempt | blasphemous | (adj) เกี่ยวกับการดูหมิ่นเหยียดหยาม, See also: อันหยาบคาย, Syn. profane, irreligious, Ant. religious, pious | blasphemously | (adv) ที่ดูหมิ่นเหยียดหยาม, See also: ที่หยาบคาย, Syn. profanely | blitz | (n) ความพยายามอย่างมุ่งมั่นที่จะทำบางสิ่งให้สำเร็จ (ภาษาไม่เป็นทางการ) | blitz | (vt) พยายามที่จะครอบงำผู้อื่นเพื่อให้เห็นพ้อง | bargain with | (phrv) พยายามต่อรองราคา, See also: ตกลงกันเรื่องราคา, Syn. dicker with, haggle with | barter for | (phrv) พยายามตกลงในเรื่อง, See also: ทำสัญญาเรื่อง | be hell-bent on | (phrv) พยายามให้ได้ (บางสิ่ง) มาอย่างไม่ย่อท้อหรือไม่หยุดหย่อน (คำไม่เป็นทางการ) | be out for | (phrv) มุ่งมั่นเพื่อ, See also: พยายามเพื่อ, Syn. go out | bear down | (phrv) ใช้ความพยายาม | bear up | (phrv) ช่วยให้ดำเนินชีวิตในยามที่มีปัญหา | bend over backwards | (phrv) พยายามอย่างมาก (คำไม่เป็นทางการ), Syn. lean over backwards | bid for | (phrv) พยายามไปให้ถึงหรือได้รับ(บางสิ่ง) | blow open | (phrv) ทำให้ (บางสิ่งที่พยายามพิสูจน์) เสีย | break in | (phrv) บังคับ, See also: ควบคุม, ฝึกให้เชื่อง ม้า, พยายามทำให้เคยชินกับ | buckle to | (phrv) ร่วมกันทำงาน, See also: พยายามร่วมกัน, Syn. buckle down, knuckle down | by the sweat of one's brow | (idm) ด้วยความพยายาม, See also: ด้วยความมุ่งมั่น | catch up with | (phrv) พยายามที่จะเข้าใจ, See also: พยายามที่จะเรียนให้ทัน | cavil | (vi) หาข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ, See also: พยายามจับผิด, Syn. carp, quibble | caviling | (adj) ที่หาข้อผิดพลาด, See also: ที่พยายามจับผิด | censorious | (adj) ที่พยายามมองหาข้อผิดพลาดอยู่เสมอ, Syn. faultfinding, carping | clutch | (vi) พยายามยึดไว้, Syn. hold | coast guard | (n) ยามชายฝั่ง | contemptibility | (n) การเหยียดหยาม, See also: การดูถูก, Syn. scorn, disdain | contemptible | (adj) น่าเหยียดหยาม, See also: ซึ่งสมควรแก่การดูถูกดูหมิ่น, Syn. despicable, worthless | contemptuous | (adj) ซึ่งดูหมิ่นหรือเหยียดหยามผู้อื่น, See also: ซึ่งแสดงการดูหมิ่น, ซึ่งสบประมาท, Syn. disdainful, insulting, scornful | contumely | (n) การสบประมาท, See also: การดูหมิ่น, การเหยียดหยาม, Syn. abuse, insult, revilement | costly | (adj) ซึ่งใช้เวลาหรือความพยายาม | coy | (adj) ซึ่งหลบเลี่ยง, See also: ที่พยายามบอกปัด, Syn. evasive | curfew | (n) การห้ามออกนอกบ้านยามวิกาล, See also: เคอร์ฟิว | curfew | (n) เวลาห้ามออกนอกบ้านยามวิกาล, See also: เวลาเคอร์ฟิว | carve out | (phrv) พยายามอย่างมากเพื่อประสบความสำเร็จ, See also: ทำ บางสิ่ง ด้วยความพยายามอย่างมาก |
| agonise | (แอก' โกไนซ) vi., vt. ทนทุกข์ทรมานอย่างที่สุดด้วยความเจ็บปวด, ทรมาน, ทำให้เจ็บปวด, ต่อสู้ดิ้นรนอย่างสุดขีด, พยายามมาก. -agonising adj. -agonisingly adv., Syn. torture, suffer, worry | ai | (เอไอ) abbr. 1. ย่อมาจากคำว่า aortic insufficiency 2. ย่อมาจากคำว่า artificial intelligence แปลว่า ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึงแขนงการศึกษาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แขนงหนึ่งที่พยายามจะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ | ansi c | (แอนซี ซี) หมายถึงข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี (C language) ที่สถาบันแอนซี (ANSI) เป็นผู้กำหนดไว้ บริษัทที่ผลิตตัวแปลภาษาซี (C compiler) ก็ พยายามที่จะทำทุกอย่างตามมาตรฐานนี้ แต่ก็ได้เพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ เข้าไป เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีก จนบางครั้งเหมือนกับลืมจุดประสงค์ดั้งเดิมไปเลยดู ANSI ประกอบ | artificial intelligence | ปัญญาประดิษฐ์ใช้ตัวย่อว่า AI หมายถึง แขนงการศึกษาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แขนงหนึ่งที่พยายามจะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ | assay | (อะเซ') vt. ตรวจสอบ, ทดสอบ, วิเคราะห์, ประเมินค่า, พยายาม. -n. การหาปริมาณของโลหะ (โดยเฉพาะเงินหรือทอง) ในแร่หรือโลหะผสม, สารที่ได้รับวิเคราะห์, รายงานการวิเคราะห์, ความพยายาม -assayer n., Syn. test, analyze, examination | assiduity | (แอสซิดู'อิที) n. ความพยายาม, ความเพียร, ความขยัน. -assiduous adj., Syn. industry, diligence, Ant. laziness | attack | (อะแทค') vt., vi., n. โจมตี, เข้าตี, ทำร้าย, เล่นงาน, ลงมือทำ, (โรค) เป็น, (ไข้) จับ, ลงมือทำ, เริ่มขึ้น, เริ่มต้น, ข่มขืน, พยายามข่มขืน | attempt | (อะเทมพฺทฺ') vt., n. พยายาม, ทดลอง | backbreaking | adj. ต้องใช้ความพยายามมาก, เหน็ดเหนื่อยมาก, See also: backbreaker n. | belabor | (บิเล'เบอะ) { belabored, belaboured, belaboring, belabouring, belabors, belabours } vt. ถกเถียง, พูดมากเกินไปเกี่ยวกับ, กล่าวหา, เหยียดหยาม, ตีแรง | belabour | (บิเล'เบอะ) { belabored, belaboured, belaboring, belabouring, belabors, belabours } vt. ถกเถียง, พูดมากเกินไปเกี่ยวกับ, กล่าวหา, เหยียดหยาม, ตีแรง | bid | (บิด) { bade/bid, bidden/bid, bidding, bids } vt., n. (การ) ออกคำสั่ง, สั่ง, กล่าว, บอก, ให้ราคา, ประมูลราคา, เชื้อเชิญ, ประกาศอย่างเปิดเผย, รับเป็นสมาชิก, ความพยายามเพื่อให้ได้มา vi. ออกคำสั่ง, กริยาช่อง 3 ของ bide, See also: bidder n. ดู bid -Conf. bade | blighter | (ไบล'เทอะ) คนไร้ค่า, คนน่าเหยียดหยาม, คนวายร้าย, อ้ายหมอ, เจ้าหมอนั่น | boatswain | (โบ'เซิน) n. สรั่งเรือ, พันจ่าเรือที่มีหน้าที่ดูแลเรือ, หัวหน้ากะลาสีเรือ, จ่ายามเรือ | bob | (บอบ) { bobbed, bobbing, bobs } n. การผงกศีรษะ, ผมบ๊อบ, ทรงผมสั้นของสตรี, ผมมวย, หางม้าที่ตัดสั้น, ทุ่นตกปลา, ลูกตุ้ม, ลูกดิ่ง, การตีเบา vt., vt. ผงกศีรษะ, ผลุบโผล่, ลอย, แกว่ง, โดดขึ้นโดดลง, ลอยขึ้นมาอีก, ตัดให้สั้น, ตัดผมบ๊อบ, พยายามงับสิ่งที่แขวนอยู่, ตกปลาด้วยเหยื่อและทุ่น | boo | (บู) { booed, booing, boos } interj., n. (การ) คำอุทานแสดงการเหยียดหยามการไม่เห็นด้วย, โห่ฮิ้ว vt. ร้องเสียงอุทานดังกล่าว | buckeen | n. หนุ่มคนจนที่พยายามแต่งตัว และทำท่าเหมือนคนรวย | byway | n. ถนนส่วนตัว, ถนนลี้ภัย, ถนนสายเปลี่ยว, การวิจัยที่ปิดบัง, ความพยายามที่ปิดบัง | circumscription | (เซอคัมสคริพ'เชิน) n. การเขียนวงกลมรอบ, การจำกัดเขต, ขอบเขต, โครงร่าง, เส้นรอบวง, คำนิยาม, คำจำกัดความ, ลายริม, See also: circumscriptive adj. | clutch | (คลัทชฺ) { clutched, clutching, clutches } v. คว้า, กำ, เกาะ, ฉวย, ยึด, พยายามคว้า n. ก้ามปู, คลัตช์ (เครื่องเกาะเพลาในรถยนต์) , อุปกรณ์กำ, การกำ, การเกาะ, การคว้า -clutchy adj. ดูclutch, Syn. grasp | comport | (คัมพอร์ท', -โพร์ท') { comported, comporting, comports } vt . ประพฤติ, แสดงออก. vi. เข้าได้กับ n. ความประพฤติ, พฤติการณ์, กิริยามารยาท, See also: comportment n. ดูcomport, Syn. conduct, act | conatus | (โคเน'ทัส) n. ความพยายาม, ความเพียร -pl. conatus | contemptible | (คันเทมพฺ'ทะเบิล) adj. น่าดูถูก, น่าเหยียดหยาม, น่าชัง, น่ารังเกียจ., See also: contemptibility n. ดูcontemptible -Conf. contemptuous | contingent | (คันทิน'เจินทฺ) adj. บังเอิญ, ซึ่งไม่คาดหมายมาก่อน, ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้, ไม่แน่นอน, ซึ่งใช้ในยามฉุกเฉิน, Syn. fortutious | copy protection | การป้องกันการคัดลอกหมายถึง วิธีการป้องกันไม่ให้ผู้ใดสามารถคัดลอกได้ ผู้เขียนโปรแกรมมักพยายามทำทุกวิถีทางที่จะกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใด มาคัดลอกโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่เขาสร้างขึ้นไว้ เช่นใช้อุปกรณ์ปิดกั้น หรือซ่อนแฟ้มข้อมูลบางแฟ้มไม่ให้มองเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกฎหมายในเรื่องของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ออกมาแล้ว ผู้ที่จะคัดลอกก็จะต้องระมัดระวังในเรื่องการคัดลอกนี้มากขึ้น | cordon | (คอร์'เดิน) n. สายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์, วงล้อมทหารยาม, เส้นเขตเตรียมพร้อม vt. ล้อมรอบ, Syn. circle, line, girdle | crepuscule | (คริพัส'คิว) n. สายัณห์, ยามโพล้เพล | despicable | (เดส'พิคะเบิล) adj. น่ารังเกียจที่สุด, เลวทราม, น่าเหยียดหยาม, น่าดูหมิ่น, See also: despicableness n. ดูdespicable, Syn. mean, Ant. admirable | despise | (ดิสไพซ') vt. ดูหมิ่น, เหยียดหยาม, ดูถูก, ชัง., Syn. condemn | despite | (ดิสไพทฺ') prep. ถึงอย่างไรก็ตาม, โดยไม่คำนึงถึง. n. ความเกลียดชัง, การดูหมิ่น, การเหยียดหยาม-Phr. (in despite of ถึงแม้ว่า) | disdain | (ดิสเดน') { disdained, disdaining, disdains } vt. ดูถูก, ดูหมิ่น, เหยียดหยาม, รังเกียจ. n. การดูถูก, การดูหมิ่น, ความรู้สึกที่รังเกียจ, Syn. scorn, contempt | disdainful | (ดิสเดน'ฟูล) adj. เป็นการดูถูก (ดูหมิ่น, เหยียดหยาม, รังเกียจ) ., Syn. contemptuous, aloof | dope | (โดพ) { doped, doping, dopes } n. สารทำให้เกิดอาการง่วงหลับ, กาว, ยากระตุ้น, ยาม้า, ข่าวสาร, ข้อมูล, คนโง่เง่า, เครื่องดื่มคาร์บอเนต (โดยเฉพาะโคคาโคล่า) . vt. กระตุ้นด้วยยากระตุ้น. -Phr. (dope out คำนวณ, คาดการณ์, ร่างโครงการ), See also: dope fiend n. คนติดยาเสพ | dusk | (ดัสคฺ) n. ยามสายัณห์, ยามค่ำ, ยามโพล้เพล้, เงา, ความสลัว | effort | (เอฟ'เฟิร์ท) n. ความพยายาม, ความมานะ, ความอุตสาหะ, การทดลองที่ยากลำบาก, กำลังของเครื่องจักร, ผลของความพยายาม, Syn. exertion, attempt | emulate | (เอม'มิวเลท) vt. เอาอย่าง, พยายามเลียนแบบ, พยายามจะให้เท่าเทียมหรือดีกว่า., See also: emulation n. ดูemulate emulative adj. ดูemulate, Syn. imitate | endeavor | (เอนเดฟ'เวอะ) vi., vt. พยายาม, บากบั่น. -n. ความพยายาม, ความบากบั่น., See also: endeavorer n. ดูendeavor endeavourer n. ดูendeavor, Syn. try | endeavour | (เอนเดฟ'เวอะ) vi., vt. พยายาม, บากบั่น. -n. ความพยายาม, ความบากบั่น., See also: endeavorer n. ดูendeavor endeavourer n. ดูendeavor, Syn. try | essay | (เอส'เส) n. เรียงความร้อยแก้ว, ข้อเขียนสั้น ๆ , ปกิณกะ, ความพยายาม, การทดลอง vt. (เอสเซ') พยายาม, ทดสอบ., See also: essayer n. ดูessay essayistic adj. ดูessay | eventide | (อี'เวินไทดฺ) n. ตอนเย็น, ยามราตรี, ยามสายัณห์ | exert | (เอคเซิร์ท') { exerted, exerting, exerts } vt. ออกแรง, ออกกำลังกาย, พยายาม, ใช้อำนาจหน้าที่., See also: exertive adj., Syn. put | exertion | (เอคเซอ'เชิน) n. การออกแรง, การสำแดง, การออกกำลังกาย, ความพยายาม | fend | (เฟนดฺ) { fended, fending, fends } vt. ป้องกัน, พิทักษ์, ปัดเป่า, ผลักออกไป, ปัดออกไป. vi. ต้าน, ต่อต้าน, หลบหลีก, ล้อมรั้ว, พยายามต่อสู้เพื่อให้ได้มา, Syn. ward off | flaunt | (ฟลอนทฺ) vt. โอ้อวด, เดินโอ้อวด, ดูหมิ่น, เหยีดหยาม. vi. โอ้อวดด้วยตัวเอง, เดินโอ้อวด, แสดงโอ้อวด, โบก (ธง) สะบัดพลิ้ว n. การโอ้อวด, การโบก (ธง) ., See also: flaunter n., Syn. flourish, brandish | fleer | (เฟลียร์) vi., n. (การ) หัวเราะเยาะ, เยาะเย้ย, ยั่วเย้า, ดูถูก, เหยียดหยาม n. การพูดเยาะเย้ย, การแสดงสีหน้าที่ดูถูก, การดูถูกข่มเหงผู้หลบหนี, ผู้หนี, See also: fleeringly adv., Syn. mock | flout | (เฟลาทฺ) vt., n. (การ) เยาะเย้ย, ดูหมิ่น, หมิ่นประมาท, เหยียดหยาม, คำพูดที่เยาะเย้ยหรือดูหมิ่น., See also: flouter n. floutingly adv., Syn. mock | frame | (เฟรม) n. กรอบ, โครง, ร่าง, ร่างกาย, โครงสร้าง, องค์ประกอบ, ระบบ, สภาพของจิตใจ, รอบหนึ่ง (การตีเบสบอล) , ยกหนึ่ง ๆ (มวย) vt. ประกอบก่อ, สร้าง, ติดตั้ง, ร่าง, กำหนด, คิด, วางแผน, ประพันธ์, ใส่กรอบ, ใส่วงกบ, ใส่ความ, ใส่ร้าย vi. พยายาม, ให้ความหวัง, พาตัวไป. -framable, frameable ad | go | (โก) { went, gone, going, goes } vi. ไป, เคลื่อนไป, จากไป, กลายเป็น, กระทำ, บรรลุ, vt. อดทน, อดกลั้น, พนัน n. การไป, พลังงาน, กำลังวังชา, ความพยายาม, ความสำเร็จ, -Phr. (go on ต่อไป, อดทน, อดกลั้น), Syn. pass, move, proceed | guard | (การ์ด) n., vt. (ผู้) พิทักษ์, เฝ้า, ป้องกันรักษา, ดูแล, คุ้มครอง, ทหารยาม, องค์รักษ์., See also: guarder n., Syn. watch, oversee | guardhouse | (การ์ด'เฮาซฺ) n. ป้อมยาม, บ้านทหารยาม, ที่พักทหารยาม |
| abuse | (n) การปรามาส, การเหยียดหยาม, การดูถูก, การด่าว่า | abuse | (vt) ปรามาส, เหยียดหยาม, ดูถูก, ด่าว่า | abusive | (adj) ที่ถูกปรามาส, ที่ถูกเหยียดหยาม, ที่ถูกด่าว่า | afternoon | (n) ตอนบ่าย, ยามบ่าย | assay | (n) การพยายาม, การทดสอบ, การทดลอง, การวิเคราะห์ | assay | (vt) พยายาม, ทดสอบ, ตรวจสอบ, ทดลอง, วิเคราะห์ | assiduity | (n) ความเพียร, ความขยัน, ความพยายาม | assiduous | (adj) ขยันหมั่นเพียร, ขยัน, เพียร, พยายาม | assiduously | (adv) อย่างขยันหมั่นเพียร, อย่างเพียรพยายาม | assiduousness | (n) ความขยัน, ความเพียร, ความพยายาม | attempt | (n) ความพยายาม, การทดลอง | attempt | (vt) พยายาม, ทดลอง | auspicious | (adj) รุ่งเรือง, ฤกษ์งามยามดี, เป็นลางดี | belabour | (vt) ตี, เฆี่ยน, กล่าวหา, เหยียดหยาม | belittle | (vt) ดูถูก, ดูแคลน, เหยียดหยาม | bellman | (n) คนตีระฆัง, คนเดินประกาศข่าว, ยาม | blighter | (n) คนน่าเหยียดหยาม, คนไร้ค่า, คนวายร้าย | boatswain | (n) หัวหน้ากะลาสีเรือ, จ่ายามเรือ, สรั่งเรือ | circumscription | (n) เส้นรอบวง, การจำกัดเขต, ขอบเขต, คำนิยาม | coaster | (n) เรือยามฝั่ง, เรือค้าขายตามฝั่งทะเล, ถาดรองแก้ว | curfew | (n) การตีระฆัง, การห้ามออกนอกบ้านในยามวิกาล | cynic | (adj) ถากถาง, ดูถูก, เหยียดหยาม | cynic | (n) ผู้ถากถาง, ผู้เหยียดหยาม | cynical | (adj) ถากถาง, ดูถูก, เหยียดหยาม | definition | (n) คำนิยาม, คำจำกัดความ, คำอธิบาย, การบัญญัติศัพท์, ความชัดเจน | despicable | (adj) น่ารังเกียจ, น่าชัง, น่าเหยียดหยาม, น่าดูถูก | despise | (vt) หมิ่นประมาท, ดูถูก, ดูหมิ่น, เหยียดหยาม, ชั่ว | despite | (n) การดูหมิ่น, การดูถูก, การเหยียดหยาม, ความชั่ว, ความเกลียดชัง | diligence | (n) ความขยัน, ความมาดมั่น, ความมานะ, ความพยายาม | disdain | (n) การดูถูก, การรังเกียจ, การเหยียดหยาม, ความไม่ชอบ | disdain | (vt) ดูถูก, รังเกียจ, เหยียดหยาม, ไม่ชอบ | dose | (n) ยามื้อหนึ่ง | drive | (n) การขับรถ, แรงขับ, แรงกระตุ้น, ความพยายาม, พลังงาน | dusk | (n) เวลาโพล้เพล้, เวลาค่ำ, แสงขมุกขมัว, ความมืดสลัว, ยามตะวันตกดิน | effort | (n) ความพยายาม, ความมุมานะ, ความพากเพียร, ความอุตสาหะ | endeavour | (n) ความพยายาม, ความอุตสาหะ, ความมุมานะ, ความบากบั่น | endeavour | (vi) พยายาม, อุตสาหะ, บากบั่น, มุมานะ | essay | (n) เรียงความ, การทดลอง, ความพยายาม, ปกิณกะ | essay | (vt) ทดสอบ, ลอง, ทดลอง, พยายาม | evening | (n) เวลาเย็น, ตอนเย็น, ยามเย็น, ยามสายัณห์, ตอนค่ำ, เวลาพลบค่ำ | exert | (vt) ใช้, ออกแรง, สำแดง, พยายาม, ใช้อำนาจ | exertion | (n) การใช้, ความพยายาม, การใช้อำนาจหน้าที่ | flout | (vt) เหยียดหยาม, เยาะเย้ย, ดูหมิ่น, ดูถูก | flow | (n) การเหยียดหยาม, การเยาะเย้ย, การดูถูก, การหมิ่นประมาท | gatekeeper | (n) คนเฝ้าประตู, ยาม | gloaming | (n) เวลาโพล้เพล้, เวลาพลบค่ำ, ยามสายัณห์ | guard | (n) การเฝ้า, ยาม, มหาดเล็ก, เครื่องป้องกัน, พนักงานเดินรถ, คนอารักขา | guardhouse | (n) คุก, ป้อมยาม | guardsman | (n) ยาม, ทหารยาม, มหาดเล็ก, ทหารรักษาพระองค์ | hoot | (vi) ร้องอย่างเหยียดหยาม, ร้องเหมือนนกเค้าแมว |
| Beltane | (uniq) เทศกาลเฉลิมฉลอง หนึ่งใน เทศกาลแห่งเปลวเพลิง ซึ่งรับทอดมาจากศาสตร์เซลติกโบราณ ซึ่งนิยมจะเฉลิมฉลองกันในยามค่ำคืน เพแกนจะขี่เหล่าปศุสัตว์ระหว่างกองไฟซึ่งก่อ ณ กลางแจ้ง ทั้งสองกอง เป็นความเชื่อว่าจะปกป้องพวกเขาจากโรคร้าย ส่วนคู่หนุ่มสาวที่ปราถณาจะมีชีวิตคู่ที่ชุ่มชื่นก็จะ "กระโดดเหนือกองไฟ" ในคืน Beltane | ben over backward | (vi, phrase) พยายามอย่างมาก | bend over backwards | (phrase) พยายามอย่างมากเพื่อที่จะทำให้คนอื่นพอใจ | collegiality | (n) วิทยามิตร | fashion victim | (slang) คนที่พยายามแต่งตัวตามแฟชั่นแต่ไม่ประสบความสำเร็จ | hang in there you gonna be alright | พยายามต่อไป แล้วคุณจะดีขึ้นแน่นอน | intricate | (adj) พยายาม, อย่างประณีต เช่น intricate work งานที่ต้องการความประณีต หรืองานที่ต้องใช้ความพยายาม, See also: elaborate, Syn. complex | Leave no stone unturned | (idioms) พยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ The police left no stone unturned in search for the missing pupil.= ตำรวจพยายามทุกอย่างที่จะค้นหาเด็กนักเรียนที่หายไป ; | lifeguard | [คำอ่าน :: ชีบ-พะ-บาน] (n) lifeguard [ 1 ] - (N) - ชีพบาล คำอ่าน :: ชีบ-พะ-บาน คำหมาย :: ผู้ประกอบวิชาชีพดูแลความปลอดภัยทางน้ำ ให้แก่ผู้ทำกิจกรรมนันทนาการทางน้ำ เช่น สระว่ายน้ำ , สวนน้ำ, ชายหาด, ชายทะเล ที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างเข็มข้น ทั้งทักษะการว่ายน้ำ ปฐมพยาบาล การกู้ชีพ กู้ภัยทางน้ำ รวมทั้งการใช้อุปกรณ์หลากหลายที่เกี่ยวข้องการทำงาน บางพื้นที่ในต่างประเทศ ยังต้องทำงานเกี่ยวข้องกับการงานฉุกเฉิน เช่น การกู้ภัยบนภูเขา การนำส่งผู้ประสพภัยฉุกเฉิน จากภัยพิบัติต่างๆ อ้างอิง :: life = ชีวิต, ชีพ guard = ยาม, ผู้ดูแล ในที่นี้ ขอใช้คำว่า บาล ซึ่งหมายถึงผู้ดูแล เช่น รัฐบาล, คชบาล, โคบาล, ทวารบาล, พยาบาล, อภิบาล, อนุบาล lifeguard [ 2 ] - (N) – ทหารรักษาพระองค์ (ทหารมหาดเล็ก) ในกองทัพ สหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ), See also: Lifesaving, Lifesaver | looksmaxxing | (n) กระบวนการที่บุคคลพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดูดีและน่าดึงดูดยิ่งขึ้น | meta | (n) นิยามข้อมูล | metadata | (n) นิยามข้อมูล | nightclub | [nite-cub] (n) สถานเริงรมย์ยามค่ำคืน | pursue | [เพอร์ซู] (vt) ความพยายามในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จลุล่วงลงไป โดยเฉพาะสิ่งที่ต้องใช้เวลา | temptation | (n) ความพยายาม, Syn. a tempting or being tempted | Tran Guard | ยามรักษาความปลอดภัยรถไฟ | try | (n, vi, vt, modal, ver) พยายาม | XSoEz | [ล๊อกเส็ด] เด็กหลงยามเที่ยงคืน |
| 〜方 | [〜かた, ~ kata] (n) เมื่อนำกริยามาเติมข้างหน้าจะหมายถึง วิธีการ เช่น 読み方(よみかた) วิธีอ่าน หรือ 使い方(つかいかた) วิธีการใช้งาน | 中国 | [ちゅうごく, chuugoku] (n) ภูมิภาคหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น บริเวณใต้หรือตะวันตกสุดของเกาะฮอนชู ประกอบด้วยจังหวัดโอกายามา ฮิโรชิมา ทดโทริ ชิมะเนะ และยะมะกูจิ | 努力 | [どりょく, doryoku] (n) ความพยายาม, See also: Related: effort | 夜景 | [やけい, yakei] (n) บรรยากาศ แสงสี ยามค่ำคืน |
| 暁 | [あかつき, akatsuki] (n) รุ่งอรุณ, รุ่งสาง, ยามเช้า (ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้น), See also: S. 夜明け, A. 黄昏 | 定義 | [ていぎ, teigi] (n) คำนิยาม, คำจำกัดความ | 朝日 | [あさひ, asahi] (n) อาทิตย์ในยามเช้า | 心配 | [しんぱい, shinpai] (n) (เวอ'รี) vi., vt., n. (ทำให้) (ความ) เป็นห่วง, กังวล, หนักใจ, เป็นทุกข์, รบกวน, กัด, ฉีก, ทำให้เปลี่ยนตำแหน่ง, ลาก, ดึง, สาเหตุที่ทำให้ลำบากใจหรือกังวล -Phr. (worry along, worry through ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จด้วยความพยายามแม้จะลำบาก), S. . worrier n. | 暹羅 | [しゃむ、シャム, shamu , shamu] (n) สยาม (ชื่อเดิมของประเทศไทย) |
| がんばる | [がんばる, ganbaru] TH: พยายามอย่างเต็มที่ EN: to try one's best | 頑張る | [がんばる, ganbaru] TH: พยายาม EN: to persist | 努める | [つとめる, tsutomeru] TH: พยายาม EN: to make great effort | 山崎 | [やまざき, yamazaki] TH: ยามาซากิ ชื่อเฉพาะ EN: Yamazaki (pn, pl) |
| genau | (adj, adv) ใช่เลย, ถูกต้อง, แน่นอน, โป๊ะเชะ เช่น die genaue Uhrzeit เวลาโมงยามที่แน่นอน, Syn. korrekt
| helfen | (vt) |hilft, half, hat geholfen| ช่วยเหลือ เช่น Heutzutage helfen Männer seiner Frau mehr bei Haushaltaufgaben. สมัยนี้ผู้ชายช่วยเหลืองานบ้านของภรรยามากขึ้น | versuchen | ทดลอง, พยายาม |versuchte, versucht| | umständlich | (adj, adv) ซับซ้อน, ยุ่งยาก, (งาน)ที่หนัก ต้องใช้ความกำลังและความพยายามเยอะ | Wächter | (n) |der, pl. Wächter| ยาม, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย, Syn. Wärter | die Ellbogen einsetzen | (phrase) ไม่คำนึงถึงบุคคลอื่นในยามที่ต้องการจะทำอะไรให้บรรลุจุดมุ่งหมาย, Syn. die Ellbogen gebrauchen | die Ellbogen gebrauchen | (phrase) ไม่คำนึงถึงบุคคลอื่นในยามที่ต้องการจะทำอะไรให้บรรลุจุดมุ่งหมาย, Syn. die Ellbogen einsetzen | forschen | (vi) |forschte, hat geforscht| (nach etw./jmdm.) พยายามเพื่อหาที่มาหรือสาเหตุของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น Wissenschaftler forschen seit langem nach der Ursache des Aussterbens von Dinosaurier. นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาหาสาเหตุของการสูญพันธ์ของไดโนเสาร์มานานแล้ว, See also: Related: erforschen | Mühe | (n) |die, pl. Mühen, ส่วนใหญ่เป็นเอกพจน์| ความอุตสาหะ ความพยายาม เช่น Er hat das Diplom mit viel Mühe erreicht. เขาสำเร็จดิโพลม(ปริญญาโทในเยอรมนี)ด้วยความพากเพียร | sich(D) große Mühe geben | อุตสาหะ, พากเพียรอย่างมาก, ใช้ความพยายามอย่างมาก เช่น Sie hat sich große Mühe gegeben, um die beste Note zu bekommen. เธอพยายามอย่างมากเพื่อให้ได้คะแนนที่ดีที่สุด | schießen | (vt) |schoß, hat geschossen, auf jmdn./etw.| ยิงปืนใส่คนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น Der Bankräuber hat auf den Wächter geschossen. โจรปล้นธนาคารยิงยามรักษาการ, See also: anschießen, erschießen | Parkplatz | (n) |der, pl. Parkplätze| ที่จอดรถ เช่น bewachter Parkplatz ที่จอดรถที่มียามเฝ้า | Versuch | (n) |der, pl. Versuche| การทดลอง, การทดสอบ เช่น der chemische Versuch การทดลองเคมี, Der Versuch, aus dem Gefängnis zu entfliehen, mißlang. ความพยายามที่จะหนีออกจากคุกนั้นล้มเหลว | mißlingen | (vi) |mißlang, ist mißlungen, + jmdm.| ล้มเหลว, ไม่เป็นผลสำเร็จ เช่น Der Versuch, sie zum Lachen zu bringen, ist ihm völlig mißlungen. ความพยายามของเขาที่จะทำให้เธอหัวเราะล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง, See also: A. gelingen | beleidigt | (adv) |über etw.(A)| รู้สึกถูกดูถูกเหยียดหยาม เช่น Er ist beleidigt darüber, dass ich ihm die Meinung gesagt habe. เขารู้สึกถูกดูถูกที่ฉันได้พูดความคิดเห็นออกไป | Definition | (n) |die, pl. Definitionen| คำนิยาม, คำจำกัดความ, See also: Related: definieren | definieren | (vt) |definierte, hat definiert, etw.(A)| ให้คำจำกัดความ, นิยาม, กำหนด, จำกัดวง |
| | loisir | (n) |m| งานอดิเรก, กิจกรรมยามว่าง | acquérir | (vt) 1)ได้มา 2) พยายามให้ได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดมา 3)การเป็นเจ้าของโดยการซื้อ (เช่น ที่ดิน) |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |