มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ |
| | กฎ | ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง | กฎหมาย | น. กฎเกณฑ์ที่ผู้มีอำนาจตราขึ้นเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามเป็นการทั่วไป ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับผลร้าย กฎหมายอาจตราขึ้นเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ กฎหมายอาจเกิดจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือกันก็ได้. | เก | ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ | เกลี้ยกล่อม | ก. ชักชวนจูงใจให้ร่วมพวก, พูดจูงใจให้คล้อยตามหรือปฏิบัติตาม. | คำขาด | น. คำบอกกล่าวอย่างเด็ดขาดครั้งที่สุดให้ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่มีการผ่อนผัน เช่น ยื่นคำขาดให้ผู้เช่าออกไปจากบ้านเช่าภายใน ๓ วัน, ข้อเสนอเด็ดขาด, ข้อเสนอที่ยื่นให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามโดยเด็ดขาด เช่น เขายื่นคำขาดให้เธอปฏิบัติตาม. | คำบังคับ | น. คำสั่งของศาลซึ่งออกเพื่อสั่งให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง. | เคร่ง | (เคฺร่ง) ก. ถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ เช่น พระเคร่งวินัย. | เคร่งครัด | ถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด | โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาทดลองงานทางด้านการเกษตร ภายในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนำมาเป็นแบบอย่างสำหรับปฏิบัติตามหรือปรับปรุงแก้ไขในการประกอบอาชีพของราษฎร แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ โครงการไม่ใช่ธุรกิจ เช่น บ่อเพาะเลี้ยงปลานิล ป่าไม้สาธิต นาข้าวทดลอง และโครงการกึ่งธุรกิจ เช่น โรงงานผลิตและแปรรูปนมสดครบวงจร โรงสีข้าว. | จง | เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือบอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ. | เจ้าพนักงานบังคับคดี | น. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล. | ดื้อแพ่ง | ก. ขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตาม, ขัดขืนไม่ยอมให้ความร่วมมือ. | ตาม | ไม่ขัด, ไม่ฝ่าฝืน, ไม่ฝืน, เช่น ทำตามคำสั่ง ปฏิบัติตามกฎหมาย ตามสมัยนิยม. | แตกคอก | ก. ไม่ปฏิบัติตามที่เคยทำกันมา. | โทษทางวินัย | น. โทษที่ลงแก่บุคลากรขององค์กรซึ่งปฏิบัติฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางวินัยขององค์กรที่กำหนดไว้ เช่น โทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้กำหนดไว้ ๕ สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก และไล่ออก. | บิดพลิ้ว | ก. หลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือปฏิบัติไม่ตรงตามข้อตกลง. | เบี้ยปรับ | เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้. | ใบสั่ง | น. หนังสือสั่งให้ปฏิบัติตามที่แจ้งไว้ เช่น ใบสั่งยา ใบสั่งจ่าย ใบสั่งให้ไปเสียค่าปรับ. | ปฏิบัติ | กระทำตาม เช่น ปฏิบัติตามสัญญา | ปฏิบัติบูชา | น. การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน, คู่กับ อามิสบูชา ซึ่งเป็นการบูชาด้วยสิ่งของ. | ผู้ตรวจการแผ่นดิน | น. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ในการเสนอเรื่องต่อศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเห็นว่ากฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำใดของบุคคลใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ. | ผู้ตรวจสอบภายใน | น. เจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการเป็นการภายในขององค์กร เช่น ตรวจสอบการปฏิบัติงาน การใช้จ่าย การปฏิบัติตามคำสั่ง. | ผูกพัน | ก่อให้เกิดพันธะที่จะต้องปฏิบัติตาม | มัดจำ | น. เงินที่มอบไว้แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทำตามสัญญา ให้รับเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางมัดจำ, ประจำ ก็ว่า, (กฎ) สิ่งที่ให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา และเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว. | ยักท่า | ก. ไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ เป็นการเล่นแง่เพื่อดูท่วงทีของอีกฝ่ายหนึ่ง. | โยคี | น. นักบวชผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ, ฤษีพวกหนึ่ง. | ระเบียบ | น. แบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดำเนินการ เช่น ระเบียบวินัย ระเบียบข้อบังคับ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ. | รับสนองพระบรมราชโองการ | ก. ลงนามที่จะปฏิบัติตามพระบรมราชโองการเพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ. | ร่ำรวยผิดปกติ | น. การมีทรัพย์สินมากผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติหรือการมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่. | ลัทธิ | น. คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการ ที่มีผู้นิยมนับถือและปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา เช่น ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิทุนนิยม. | วัตรปฏิบัติ | (วัดตฺระ-, วัด-) น. การปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามศีล. | วิธีการ | น. วิธีปฏิบัติตามหลักการเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ เช่น วิธีการที่รัฐให้สวัสดิการแก่ประชาชน วิธีการสอนวิทยาศาสตร์มีหลายวิธี. | ศาสนธรรม | น. คำสั่งสอนในศาสนา เช่น ศาสนิกชนควรปฏิบัติตามศาสนธรรมในศาสนาของตน. | สบถ | (สะบด) ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติตามหรือไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. | สหประชาชาติ | น. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจากสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การสหประชาชาติ (United Nations Organization). | สัญญาณจราจร | น. สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น. | สัตยาเคราะห์ | น. การยึดความจริงเป็นหลักการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม โดยใช้วิธีดื้อแพ่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งที่ไม่ยุติธรรม แต่ไม่ใช้วิธีรุนแรง. | สัมมนา | น. การประชุมแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และหาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลสรุปที่ได้ถือว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ผู้เกี่ยวข้องจะนำไปปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้ เช่น สัมมนาการศึกษาประชาบาล. | หลักเกณฑ์ | น. หลักที่กำหนดไว้เพื่อใช้วินิจฉัยและปฏิบัติตาม. | เห่ | คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้ายบทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และนักแสดงปฏิบัติตาม. | อนุวัต | ก. ทำตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม, เขียนเป็น อนุวรรตน์ อนุวัตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี. | อามิสบูชา | น. การบูชาด้วยสิ่งของ, คู่กับ ปฏิบัติบูชา ซึ่งเป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน. |
| performance bond | หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | pacta sunt servanda (L.) | สัญญาเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | pacta sunt servanda (L.) | สัญญาเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | lex loci solutionis (L.) | กฎหมายแห่งถิ่นที่พึงปฏิบัติตามสัญญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | rule application | การใช้กฎ, การปฏิบัติตามกฎ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | sex discrimination | การเลือกปฏิบัติตามเพศ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | observation | ๑. การสังเกต, ข้อสังเกต๒. การปฏิบัติตาม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | application, rule | การใช้กฎ, การปฏิบัติตามกฎ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | agreement, executory | ข้อตกลงที่จะต้องปฏิบัติตาม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | mandamus; mandamus, writ of | หมายบังคับของศาลสูงให้ปฏิบัติตามหน้าที่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | mandamus, writ of; mandamus | หมายบังคับของศาลสูงให้ปฏิบัติตามหน้าที่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | carence (Fr.) | ๑. การที่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์ให้ยึด (ก. แพ่งฝรั่งเศส)๒. การละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ (ก. ปกครองฝรั่งเศส) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | consideration | ค่าตอบแทน (การปฏิบัติตามสัญญา), สินจ้าง [ ดู causa ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | del credere (L.) | การเข้ารับประกันของตัวแทนค้าต่าง (ในการปฏิบัติตามสัญญา) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | follow the fortunes | การปฏิบัติตาม [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | executory agreement | ข้อตกลงที่จะต้องปฏิบัติตาม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | execution | ๑. การปฏิบัติตาม (ก. แพ่ง)๒. การบังคับคดี (ก. วิ.)๓. การประหารชีวิต (ก. อาญา) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | execution of a contract | การปฏิบัติตามสัญญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | vicarious performance of contract | การปฏิบัติตามสัญญาโดยให้ผู้อื่นกระทำการแทน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | non-observance | การไม่ปฏิบัติตาม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | non-performance | ๑. การไม่ชำระหนี้๒. การไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | wilful refusal to consummate | การจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่คู่สมรส, การจงใจไม่ยอมอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | writ of mandamus | หมายบังคับของศาลสูงให้ปฏิบัติตามหน้าที่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | wilfully disobey | จงใจไม่ปฏิบัติตาม, จงใจขัดคำสั่ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
| Escape clause action | การปฏิบัติตามข้อกำหนดงดเว้น [เศรษฐศาสตร์] | กฎหมาย | กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ กฏหมาย [คำที่มักเขียนผิด] | Conscientious objection | การปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎหมายที่ขัดต่อมโนธรรม [TU Subject Heading] | Accession | การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต] | Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] | Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] | Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] | Declaration | คำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต] | Economic and Social Council | คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (แห่งสหประชาชาติ) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำแนะนำเสนอต่อสมัชชา สมาชิกของสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพของมวลมนุษย์ ทั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติ 54 ประเทศ [การทูต] | Exequatur | คำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต] | Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] | International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] | marginalisation (marginalization) | การถูกเบียดตกขอบ สภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่ออนาคตการพัฒนาและเศรษฐกิจของประเทศใด ประเทศหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกที่มีบูรณาการ (integration) เพิ่มขึ้น สภาพการณ์ดังกล่าวมักถูกมองว่าเกิดขึ้นควบคู่ไปกับโลกาภิวัตน์ และประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดมีโอกาสเสี่ยงที่จะตกอยู่ใน สภาวการณ์นี้ เนื่องจากประสบความยากลำบากในการปฏิบัติตามพันธกรณีการเปิดเสรีทางการค้า กอปรกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ประเทศเหล่านี้พึ่งพาตกต่ำลง [การทูต] | Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] | Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] | peace keeping | การรักษาสันติภาพ " หมายถึง การส่งคณะเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนในนามของสหประชาชาติเข้าไปใน พื้นที่ที่มีความขัดแย้งโดยความยินยอมของ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิง หรือความตกลงสันติภาพ หรือกระบวนการแก้ไขปัญหาโดยวิถีทาง การเมือง " [การทูต] | Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] | Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunities | บุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต] | Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] | sanction | การคว่ำบาตร (ในกรอบสหประชาชาติ) " หมายถึง มาตรการลงโทษที่คณะมนตรีความมั่นคง ใช้ต่อประเทศสมาชิกที่มีการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยการจำกัด หรือห้ามประเทศสมาชิกอื่น ๆ ติดต่อในด้านต่าง ๆ (เช่น ด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง) อย่างเป็นทางการกับประเทศนั้น ๆ เพื่อบีบบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง มาตรการห้ามการ ติดต่อเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า ปิดล้อม (embargo) เช่น ปิดล้อมด้านอาวุธ ปิดล้อมด้านการค้า เป็นต้น " [การทูต] | Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] | Special and Differential Treatment (S and D) | การประติบัติแบบพิเศษและแตกต่าง " ในความตกลงต่าง ๆ ของ WTO จะมีข้อบทเกี่ยวกับการให้การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่สมาชิกที่เป็น ประเทศกำลังพัฒนา ข้อบท ดังกล่าวอาจแบ่งกว้าง ๆ ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (1) ข้อบทที่กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องดำเนินมาตรการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ทางการค้าแก่ประเทศเหล่านี้ (2) ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติตามพันธะกรณีในความตกลงต่าง ๆ อาทิ ระยะเวลาปรับตัวที่นานกว่าหรือระดับการเปิดตลาดที่น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว (3) การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะแก่ประเทศเหล่านี้ " [การทูต] | United Nations Security Council | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ " ประกอบด้วยสมาชิกสหประชาชาติ 15 ประเทศ แบ่งออกเป็นสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา (กำหนดในกฎบัตรสหประชาชาติ) และสมาชิกไม่ถาวรที่มาจากการเลือกตั้งจากสมัชชาฯ อีก 10 ประเทศ มีกำหนดคราวละ 2 ปี คณะมนตรีความมั่นคงฯ ทำหน้าที่หลักในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยกระทำในนามของสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด และสมาชิกสหประชาชาติมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำวินิจ- ฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงฯ " [การทูต] | Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] | Compliance audit | การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด [การบัญชี] | Compliance | คอมไพลอันซ์, การเชื่อฟังและปฏิบัติตาม, การทำตามคำแนะนำของแพทย์, ความร่วมมือ, การได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ [การแพทย์] | Cooperative Behavior | การผ่อนตาม, การทำตามคำแนะนำของแพทย์, การเชื่อฟังและปฏิบัติตาม, ความยอมตาม, การได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ, ความร่วมมือ, ความยืดหยุ่น, คอมไพลอันซ์ [การแพทย์] | Milestones | ตารางการปฏิบัติตามกิจกรรมต่างๆ [การแพทย์] |
| การเลือกปฏิบัติตามเชื้อชาติ | [kān leūak patibat tām cheūachāt] (n, exp) EN: racial discrimination FR: discrimination raciale [ f ] | การไม่ปฏิบัติตาม | [kān mai patibattām] (n, exp) EN: non-observance | การไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน | [kān mai patibattām khøphūkphan] (n, exp) EN: non-performance | การปฏิบัติตามสัญญา | [kān patibat tām sanyā] (n, exp) EN: execution of a contract | การปฏิบัติตามกลยุทธ์ | [kān patibat tām konlayut] (n, exp) EN: strategy implementation | การปฏิบัติตามวินัย | [kān patibat tām winai] (n, exp) EN: disciplinary action | ปฏิบัติตาม | [patibat tām] (v) EN: abide by ; follow ; observe the precepts ; act accordingly ; comply with ; execute ; behave ; track ; trace FR: se conformer ; obéir (à) ; suivre ; respecter ; observer | ปฏิบัติตามกบิลเมือง | [patibat tām kabin meūang] (v, exp) EN: observe the law and discipline | ปฏิบัติตามคำสั่ง | [patibat tām khamsang] (v, exp) EN: obey an order ; follow an order FR: se conformer aux ordres | ปฏิบัติตามกฎ | [patibat tām kot] (v, exp) EN: go by the book | ปฏิบัติตามกฎหมาย | [patibat tām kotmāi] (v, exp) EN: abide by law ; obey the law FR: respecter la loi | ปฏิบัติตามสัญญา | [patibattām sanyā] (v, exp) EN: execute a contract ; perform a contract ; keep to a contract ; observe an agreement FR: respecter un accord | ปฏิบัติตามตารางเวลา | [patibat tām tārāng wēlā] (v, exp) EN: adhere to the schedule |
| civil disobedience | (n) ลัทธิดื้อแพ่ง/อารยะขัดขืน, เป็นการปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎหมายบางมาตรา ด้วยเหตุผลที่ว่ากฎหมายนั้นๆ ไม่ชอบธรรม | adherence | การปฏิบัติตาม |
| allopath | (n) ผู้ที่เชื่อหรือปฏิบัติตามหลัก | act on | (phrv) ทำตาม, See also: ปฏิบัติตาม, เชื่อฟัง | act up to | (phrv) ทำตาม, See also: ปฏิบัติตาม, Syn. live up to | act upon | (phrv) ทำตาม, See also: ปฏิบัติตาม, เชื่อฟัง, Syn. act on | bind over | (phrv) ให้สัญญาว่าจะปฏิบัติตาม (ทางกฎหมาย), See also: สัญญาที่จะปฏิบัติตาม | bring someone into line with | (idm) ทำให้ปฏิบัติตาม | bring something into line | (idm) ทำให้ปฏิบัติตาม | conventioneer | (n) ผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมเนียม | enforce | (vt) ใช้กำลังบังคับให้ปฏิบัติตาม, See also: บังคับให้ทำ, Syn. coerce, compel, force | executor | (n) ผู้ปฏิบัติการ, See also: ผู้ปฏิบัติตามคำสั่ง, Syn. doer, enforcer | follow | (vt) ปฏิบัติตาม, See also: เชื่อฟัง, ทำตาม, Syn. obey, conform, observe, Ant. disregard | get within | (phrv) ปฏิบัติตามกฎหมาย, Syn. fall within | go by | (phrv) ปฏิบัติตาม | hew to | (phrv) ทำตาม (เช่น กฎ, ข้อบังคับ), See also: ปฏิบัติตาม | take a hint | (idm) เข้าใจความหมายแฝงและปฏิบัติตาม, See also: รู้เรื่อง | take one's cue from | (idm) ปฏิบัติตาม, See also: ดูบางคนเป็นตัวอย่าง | intrapreneur | (n) ลูกจ้างบริษัทที่ไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของบริษัท | nonfeasance | (n) การเพิกเฉย (ทางกฎหมาย), See also: การละเลย, การละเว้นไม่ยอมปฏิบัติตาม, ความล้มเหลว, Syn. failure, lack, omission | nonobservance | (n) การไม่ยอมปฏิบัติตาม, See also: การไม่เชื่อถือ, Syn. infidelity, inattention | obligatory | (adj) ที่ควรปฏิบัติตามหลักกฎหมาย, See also: ที่ควรปฏิบัติตามหลักศาสนา, ที่ควรปฏิบัติตามหลักศีลธรรม, Syn. compulsory | observance | (n) การปฏิบัติตาม, Syn. compliance, obedience, Ant. non-observance | outlawry | (n) การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย | piety | (n) การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา, See also: ธรรมจริยา | scrub round | (phrv) ไม่ปฏิบัติตาม, See also: ไม่เชื่อฟัง, Syn. get round, skate round, slide round | subject to | (phrv) ทำให้เชื่อฟัง, See also: ทำให้ปฏิบัติตาม, ทำให้ถูกครอบงำด้วย |
| abide | (อะไบดฺ') vi. รักษาหรือ ปฏิบัติตาม, อาศัยอยู่, ทน, ยืดถือ, รอคอย. -abidance n., Syn. stay, bear, live, Ant. evade | antipope | (แอน' ทิโพพ) n. ผู้ที่อ้างเป็นสันตะปาปา, การเลือกสันตะปาปาที่ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ | aristotelian | (อะริสโทเทล'เยิน) adj. เกี่ยวอริสโตเติลหรือคำสอนของเขา. -n. ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของอริสโตเติล (of, Aristotle) | assemble | (อะเซม'เบิล) vt. รวบรวม, ประชุม, รวมเข้า. -assembler n., Syn. combine, collect, Ant. disperse, separate แปล ภาษาแอสเซมบลี หมายถึงแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง machine language เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ได้ | assembler | แอสเซมเบลอร์ตัวแปลภาษาแอสเซมบลีหมายถึง โปรแกรมที่ใช้เพื่อทำหน้าที่แปลโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีเป็นภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์อ่านแล้วเข้าใจ และปฏิบัติตามคำสั่งได้ ดู assembly language | breach | (บรีช) { breached, breaching, breaches } n. การทำให้แตก, การแตกแยก, การทำลาย, การฝ่าฝืน, การไม่ปฏิบัติตาม, บาดแผล vt. ทำให้แตกออก, ฝ่าฝืน (กฎหมาย, สัญญา) vt. กระโดดข้ามผิวน้ำ | compile | (คัมไพล์') { compiled, compiling, compiles } vt. รวบรวม, เรียบเรียง แปลโปรแกรมหมายถึง แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษา โคบอล (COBOL) ซึ่งเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ ให้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ การแปลนั้น คอมพิวเตอร์จะอ่านโปรแกรมทั้งหมดเข้าไปแล้วจึงจะลงมือแปล เมื่อเข้าใจแล้ว คอมพิวเตอร์จึงจะปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมได้ | computer language | ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล | computer programmer | นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หมายถึง คนที่เขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ และควรจะมีความชำนาญด้วย (สำหรับคนที่หัดเขียนใหม่ ๆ ไม่ควรจะใช้คำ ๆ นี้) นักเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น จะต้องรู้วิธีแก้ปัญหา และรู้ด้วยว่า จะแก้อย่างไร รวมทั้งต้องเข้าใจหลักและกฎเกณฑ์ของภาษาต่าง ๆ ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ | control unit | หน่วยควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หน่วยควบคุม มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมด กล่าวคือ ควบคุมการทำงานของหน่วยคำนวณและตรรกะ ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก (main memory) กับหน่วยความจำในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ติตต่อและควบคุมการทำงานของหน่วยรับข้อมูลและแสดงผล (input/output unit) เป็นต้นว่า รับข้อมูลเข้ามาเก็บในหน่วยความจำ ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง รวมทั้งจัดการให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน และแสดงผลตามคำสั่งด้วยดู central processing unit ประกอบ | cop-out | (คอพ'เอาท) n. การไม่ยอมรับผิดชอบ, การไม่ยอมปฏิบัติตามคำมั่นหรือสัญญา, ผู้ที่ชองละทิ้ง | covenanted | (คัฟ'วะเนินทิด) adj. ซึ่งได้ทำสัญญาหรือ ตกลงไว้แล้ว, ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา | cycle time | เวลาครบรอบหมายถึงเวลาที่หน่วยประมวลผลกลางใช้ในการปฏิบัติตามคำสั่ง โดยเริ่มตั้งแต่ไปดึงคำสั่งมา (fetch) และลงมือกระทำการ (execute) มีหน่วยวัดเป็น นาโนวินาที (nano second) หรือหนึ่งในพันล้านวินาที และพิโกวินาที (picosecond) หรือหนึ่งในล้านล้านวินาที | decretory | (เดค'ริโทรี) adj. เกี่ยวกับหรือปฏิบัติตามคำสั่ง | default | (ดิฟอลทฺ') v., n. (การ) ไม่ยอมชำระหนี้, ไม่เข้าร่วมแข่ง, แพ้การแข่งขันเนื่องจากไม่มาแข่ง, ไม่ปฏิบัติตามสัญญา, แพ้คดีเพราะไม่ยอมมาศาล, ทางเลือกก่อนเมื่อไร้ทางเลือก, Syn. failure ค่าโดยปริยายค่าเริ่มต้นหมายถึง ค่าค่าหนึ่งที่กำหนดไว้ในโปรแกรมสำเร็จ ทุกโปรแกรม ให้เป็นค่าที่ใช้ในตอนเริ่มต้นโปรแกรม ทุกครั้งที่เรียกโปรแกรมนี้ใช้ คอมพิวเตอร์ก็จะใช้ค่าที่ตั้งไว้นี้ เช่น ในโปรแกรม Page Maker กำหนดค่าเริ่มต้นไว้ว่า ให้ขนาดของหน้าเป็น A4 ทุกครั้งที่มีการเรียกใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ก็จะกำหนดขนาดของหน้ามาเป็น A4 ก่อนเสมอ หากต้องการเปลี่ยนแปลงภายหลัง ก็ย่อมทำได้ | defection | (ดีเฟค'เชิน) n. การละทิ้ง, การเอาใจออกห่าง, การไม่ปฏิบัติตาม, การหลบหนีออกนอกประเทศ, Syn. desertion | execution time | เวลากระทำการหมายถึงช่วงเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรม เริ่มตั้งแต่ต้นจนได้รับคำตอบตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรม ไม่นับรวมเวลาที่ใช้ในการแปลจากภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม เป็นภาษาเครื่อง (machine language) | fulfil | (ฟลู'ฟิล') { fulfilled, fulfilling, fulfills } vt. ทำให้บรรลุผล, กระทำหน้าที่, ปฏิบัติตามหน้าที่, ทำให้พอใจ, ทำให้สมบูรณ์, บรรจุ., See also: fulfiler, fulfiller n., Syn. effect | fulfill | (ฟลู'ฟิล') { fulfilled, fulfilling, fulfills } vt. ทำให้บรรลุผล, กระทำหน้าที่, ปฏิบัติตามหน้าที่, ทำให้พอใจ, ทำให้สมบูรณ์, บรรจุ., See also: fulfiler, fulfiller n., Syn. effect | functional | adj. เกี่ยวกับหน้าที่, ซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่, ซึ่งสามารถปฏิบัติการได้, ซึ่งไม่ทราบสาเหตุทางกายหรือการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง., Syn. suitable, practical | high level language | ภาษาระดับสูงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างภายในของเครื่องแต่อย่างใด ภาษาระดับสูงมีอยู่ด้วยกันหลายภาษา เช่น ภาษาซี (C) ภาษาเบสิก (BASIC) และภาษาปาสกาล (PASCAL) เป็นต้น ตรงข้ามกับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ซึ่งเรียกกันว่าเป็นภาษาระดับต่ำ ผู้เขียนจะต้องรู้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เสียก่อน จึงจะเขียนโปรแกรมเป็นภาษานั้นได้ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์จะยังไม่สามารถเข้าใจภาษาระดับสูงนี้ได้ แต่จะต้องใช้ตัวแปล (compiler) จัดการแปลเสียก่อน จึงจะปฏิบัติตามคำสั่งได้ดู computer language ประกอบ | imperative statement | หมายถึง คำสั่งในภาษาระดับสูง (high level language) ที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ลงมือทำการ คำสั่งเหล่านี้ ตัวแปลโปรแกรม จะแปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) ก่อน แล้วเครื่องจึงจะปฏิบัติตาม เช่น ข้อความสั่งทำการกำหนดให้ A = 2 ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์พบคำสั่งนี้ ก็จะลงมือทำหาร ด้วยการนำ 2 ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำช่องหนึ่งที่มีอยู่ (address) แล้วกำหนดชื่อที่เก็บนั้นว่า A เป็นต้นมีความหมายเหมือน excutable statement | instruction time | เวลาทำคำสั่งเครื่องหมายถึงช่วงเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งดำเนินการแล้วเสร็จ หรือได้รับคำตอบที่ต้องการจากชุดคำสั่งหนึ่ง ๆ โดยปกติ การทำงานของคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ1. ช่วงการแปล (compilation time) 2. ช่วงการกระทำการ (execution time) มีความหมายเหมือน execution time | interpreted language | ภาษาที่แปลด้วยตัวแปลภาษาหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์จะอ่านคำสั่งทีละคำสั่ง จัดการแปลให้แล้วปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ทันที ก่อนที่จะไปอ่านคำสั่งใหม่ เช่น ภาษา BASIC, LISP, PROLOG และ LOGO เป็นต้น การใช้ภาษาประเภทนี้ ที่ใช้จะรู้สึกทันใจกว่า เพราะรายงานผลได้ทันที ถ้ามีที่ผิด ก็จะได้แก้ไขได้เลย ภาษาเหล่านี้เป็นภาษาที่ใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่า Interpreter เป็นตัวแปล | interpreter | ตัวแปลภาษาเป็นโปรแกรมตัวแปลที่อ่านคำสั่งในโปรแกรมทีละคำสั่ง (ไม่รอจนจบโปรแกรมเหมือนตัวแปลอื่น) แปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้วปฏิบัติตามคำสั่งนั้นเลย เช่น ตัวแปลที่ใช้แปลโปรแกรมภาษาเบสิก (BASIC) การเรียนวิธีเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวแปลประเภทนี้ ผู้เรียนจะรู้สึกว่าง่ายและทันใจ เพราะพอใส่คำสั่งเข้าไป เครื่องก็จะรายงานได้ทันทีว่า คำสั่งนั้นถูกหรือผิด ถ้าสั่งให้ทำอะไร ก็จะทำให้เลย ข้อเสียของตัวแปลประเภทนี้ ก็คือ คอมพิวเตอร์จะไม่เก็บคำแปลไว้ หากจะต้องย้อนกลับไปทำคำสั่งนั้นอีก ก็จะต้องแปลใหม่อีกทุกครั้ง ดู compiler ประกอบ | keyboard buffer | ที่พักข้อมูล (ที่ส่งเข้าไปทางแป้นพิมพ์) หมายถึง เขตพื้นที่ของหน่วยความจำส่วนหนึ่ง ที่แบ่งเอาไว้เพื่อรองรับสัญญาณ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราพิมพ์สัมผัสเร็วกว่าที่เครื่องจะรับปฏิบัติตามคำสั่งได้ทัน คอมพิวเตอร์ จะนำข้อมูลที่เรากดแป้นพิมพ์แล้ว ไปเก็บไว้ยัง "ที่พักข้อมูล" นี้ก่อน จะเห็นได้ว่า ในบางครั้ง แม้เราจะหยุดพิมพ์แล้ว ที่พักข้อมูลส่วนนี้ก็ยังทะยอยส่งข้อมูลที่เรากดแป้นไว้เข้าไปยังหน่วยความจำมีความหมายเหมือน keystroke buffer | keystroke buffer | หมายถึง เขตพื้นที่ของหน่วยความจำส่วนหนึ่ง ที่แบ่งเอาไว้เพื่อรองรับสัญญาณ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราพิมพ์สัมผัสเร็วกว่าที่เครื่องจะรับปฏิบัติตามคำสั่งได้ทัน คอมพิวเตอร์ จะนำข้อมูลที่เรากดแป้นพิมพ์แล้ว ไปเก็บไว้ยัง "ที่พักข้อมูล" นี้ก่อน จะเห็นได้ว่า ในบางครั้ง แม้เราจะหยุดพิมพ์แล้ว ที่พักข้อมูลส่วนนี้ก็ยังทะยอยส่งข้อมูลที่เรากดแป้นไว้เข้าไปยังหน่วยความจำมีความหมายเหมือน keyboard buffer | law-abiding | (ลอ'อะไบ'ดิง) adj. ปฏิบัติตามกฎหมาย., See also: law-abidingness n. ผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย. | lawful | (ลอ'ฟูล) adj. ถูกต้องตามกฎหมาย, ปฏิบัติตามกฎหมาย, เคารพกฎหมาย, See also: lawfulness n. ดูlawful | legality | (ลิแกล'ลิที) n. ความถูกต้องตามกฎหมาย, การปฏิบัติตามกฎหมาย, หน้าที่หรือความรับผิดชอบด้วยกฎหมาย | live 1 | (ลิฟว) { lived, living, lives } vi. มีชีวิตอยู่, ดำเนินชีวิต, อยู่, อาศัย, อยู่ในความทรงจำ, อยู่ได้ด้วย, กิน, เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง, มีอายุ, ผ่านชีวิต, ผ่านพ้นอันตราย -Phr. (live up to ปฏิบัติตามหลักการที่ยึดถือ), Syn. exist, be, dwell | liveware | หมายถึง บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้นว่า1. วิศวกรคอมพิวเตอร์ (computer engineer) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องการบำรุงรักษาตัวเครื่อง หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับส่วนตัวเครื่อง (hardware) 2. นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst) คือ ผู้ที่จะวิเคราะห์ระบบงานที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล3. นักเขียนชุดคำสั่งหรือผู้ทำโปรแกรม (programmer) คือผู้ที่จะเขียนคำสั่งต่าง ๆ ให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม4. ผู้ควบคุมเครื่อง (operator) คือผู้ที่จะบังคับควบคุมคอมพิวเตอร์ ด้วยการกดปุ่มบนแผงหน้าปัด ให้ทำงานตามคำสั่ง5. ผู้เตรียมข้อมูล (data entry operator) หมายถึงผู้ที่นำข้อมูลลงในสื่อชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แถบบันทึก จานบันทึกมีความหมายเหมือน peopleware | macer | (เม'เซอะ) n. คนถือคฑาในพิธี, ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล | machine language | ภาษาเครื่องหมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ไม่ควรเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้เลย เพราะอาจจะทำให้หมดกำลังใจไปเลย อาจจะพอเปรียบได้ว่า เลขฐานสองนั้นก็เหมือน ๆ กับตัวโน้ต เพลง (ภาษาดนตรีก็เข้าใจยากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาเครื่องนี้สักเท่าใดดอก) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่ว่าเราจะสั่งให้เครื่องทำงานด้วยโปรแกรมภาษาอะไรก็ตาม ตัวแปลโปรแกรม (compiler) ก็จะต้องทำหน้าที่แปลภาษาที่เราใช้ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง (execute) นั้น ๆ ได้ | memory unit | หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่ | modifier keys | แป้นดัดแปรหมายถึง แป้นอักขระบางแป้นที่ไม่ใช้ตามลำพังตัวเอง หรือถ้าใช้ ก็จะไม่มีผลอย่างใดเลย เช่น แป้น Ctrl, Shift, Alt แต่เมื่อกำหนดใช้ร่วมกับแป้นอักขระอื่นแล้ว จะก่อให้เกิดเป็นคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติตามได้ เช่น ถ้ากดแป้น ALT+F จะเป็นการเรียกเมนู File ในระบบวินโดว์ ส่วนเครื่องแมคอินทอชจะมีแป้น Option ที่ทำหน้าที่คล้ายแป้น ALT เช่น ถ้ากดแป้น Option+C ก็จะเป็นการสั่งคัดลอก (copy) | natural language processi | การประมวลผลภาษาธรรมชาติหมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำการประมวลผลได้โดยใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาธรรมชาติ พูดง่าย ๆ ก็คือ สามารถใช้ภาษาธรรมดา ๆ สั่งการให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามได้ ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์จะใช้ภาษาเฉพาะที่มีกฎเกณฑ์ ไวยากรณ์ และศัพท์ของตนเอง ที่เรียกว่า ภาษาเชิงมนุษย์ (human oriented language) เช่น ภาษา C ภาษา BASIC ภาษา COBOL ฯ ส่วนภาษาธรรมชาตินั้น หมายถึง ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีการ พัฒนาด้านนี้กันไปไกลมาแล้ว แต่ก็สรุปได้ว่า ยังใช้การไม่ได้ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะภาษานั้นมีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก ยากที่จะแปลหรือตีความให้ตาย ตัวได้ | obeisance | (โอเบ'เซินซฺ) n. การก้มคำนับ, การปฏิบัติตาม, การเคารพ., See also: obeisant adj., Syn. fealty | object language | ภาษาจุดหมายหมายถึง ชุดคำสั่งที่เป็นภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามได้ทันที่ถ้าผ่านการเชื่อมโยง (link) โดยปกติ ในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เรามักจะเขียนคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติตามเป็นภาษาระดับสูง (high level language) หรือที่เรียกว่าภาษาต้นฉบับ (source language) ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจและจะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่องหรือภาษาจุดหมายก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะทำงานตามคำสั่งที่ต้องการได้ | object program | โปรแกรมจุดหมายโปรแกรมภาษาเครื่องหมายถึงโปรแกรมที่แปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้ว การแปลนี้จะใช้ตัวแปลที่เรียกว่า compiler ทั้งนี้ เพราะการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องนั้นยากเกินความสามารถของมนุษย์ธรรมดา เราจึงเขียนกันด้วยภาษาที่เรียกว่าภาษาเชิงมนุษย์ (human-oriented language) ซึ่งง่ายกว่า แล้วเรียกโปรแกรมเหล่านี้ว่า "โปรแกรมต้นฉบับ" (source program) เมื่อตัวแปลทำการแปลโปรแกรมต้นฉบับนี้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่องแล้ว คอมพิวเตอร์จึงจะปฏิบัติตามได้ดู compiler, ประกอบดู source program เปรียบเทียบ | observable | (อับเซิร์ฟ'วะเบิล) adj. น่าสังเกต, มองเห็นได้, เด่นชัด, น่าปฏิบัติตาม, น่าสนใจ, น่าฉลอง, See also: observability n. observably adv. | observance | (อับเซิร์ฟ'เวินซฺ) n. การสังเกต, การปฏิบัติตาม, การฉลอง, พิธี, พิธีการ, ขบวนการ, ธรรมเนียมปฏิบัติ, กฎ, วินัยศาสนา (ของนิกายโรมันคาทอลิก) | observant | (อับเซอ'เวินทฺ) adj. ระวัง, เอาใจใส่เคร่งครัด, ตาไว, คอยดู, ช่างสังเกต, ซึ่งรักษาวินัย, ซึ่งปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบหรือหน้าที่.n. ผู้ปฏิบัติตาม, ผู้รักษาวินัย, Syn. attentive | observation | (ออบเซอเว'เชิน) n. การสังเกต, การปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบหรือหน้าที่, ข้อสังเกต, ความเห็น, ข้อเตือนใจ, ข้อมูล, ข้อความ, ข่าว, สิ่งที่ได้จากการสังเกต, Syn. perception | observe | (อับเซอฟว') vt. สังเกต, มองดู, คอยดู, สังเกตการณ์, ปฏิบัติตาม, ปฏิบัติหน้าที่, รักษาวินัย, รักษากฎหมาย, ประกอบพิธี, ฉลอง, เชื่อฟัง. | ok button | ปุ่มตกลงหมายถึง ช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ มีตัวอักษร OK อยู่ข้างใน มักจะปรากฏให้เห็นในกรอบสนทนา (dialog box) ในระบบวินโดว์ ถ้ากดปุ่มนี้ ก็เท่ากับเป็นคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ลงมือปฏิบัติตามคำสั่งที่กำหนดไว้ในกรอบสนทนา หลังจากที่เลือกหรือกำหนดตัวเลขบางตัวตามที่ต้องการได้แล้ว ปุ่มนี้มักจะมีคู่มากับปุ่ม Cancel เพราะถ้าไม่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติ ก็กดปุ่ม Cancel แทน OK (ใช้ในแมคอินทอชด้วย) | proceeding | (พระซี'ดิง) n. การดำเนินการ, ขั้นตอน, วิธีการ, ขบวนการ, แนวทาง, , See also: proceedings กิจกรรมที่ดำเนินต่อเนื่องในระยะหนึ่ง, การปฏิบัติตามกฎหมาย, วิธีการทางกฎหมาย | programmer | นักเขียนโปรแกรมนักเขียนชุดคำสั่งหมายถึง คนที่เขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ และควรจะมีความชำนาญด้วย (สำหรับคนที่หัดเขียนใหม่ ๆ ไม่ควรจะใช้คำ ๆ นี้) นักเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น จะต้องรู้วิธีแก้ปัญหา และรู้ด้วยว่า จะแก้อย่างไร รวมทั้งต้องเข้าใจหลักและกฎเกณฑ์ของภาษาต่าง ๆ ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ | pursue | (เพอซู') vt., vi. ติดตาม, ไล่ตาม, ตามจับ, ดำเนินตาม, ปฏิบัติตาม, ดำเนินการต่อไป., See also: pursuer n., Syn. chase, proceed | redeem | (รีดีม') vt. ซื้อคืน, ไถ่ถอน, ชำระหนี้, กู้คืน, ใช้คืน, ได้มาคืน, แลกเปลี่ยน (พันธบัตร, หลักทรัพย์, ใบหุ้น, คูปอง) เป็นเงินสดหรือสินค้า, ชดเชย, ชดใช้, ปฏิบัติตามสัญญา, ไถ่บาป, See also: redeemable adj. redeemability n. redeemably adv. |
| default | (vt) ผิดสัญญา, ผิดนัด, ไม่ปฏิบัติตาม, ละเลย, เพิกเฉย, ขาดแคลน | deny | (vt) ปฏิเสธ, บอกปัด, ไม่ปฏิบัติตาม, ไม่ตกลง, ไม่ยอมรับ | enforce | (vt) บังคับให้กระทำ, ใช้กำลังบังคับ, ทำให้ปฏิบัติตาม | fulfil | (vt) ทำให้สำเร็จ, ทำให้บรรลุผล, ทำให้สมปรารถนา, ปฏิบัติตาม, สนอง | fulfill | (vt) ทำให้สำเร็จ, ทำให้บรรลุผล, ทำให้สมปรารถนา, ปฏิบัติตาม, สนอง | observance | (n) การปฏิบัติตาม, การสังเกต, ธรรมเนียมปฏิบัติ | observe | (vt) สังเกต, ปฏิบัติตาม, กล่าว, ประกอบพิธี |
| *dress code* | [ดฺ แร็ดสฺ โขดฺ - เน้นเสียงที่คำแรก] dress code คือ กฎระเบียบการแต่งกายตามจารึตประเพณีนิมยมของสังคมหนึ่งๆ เช่น การใส่ชุดฟอร์มนักเรียนนักศึกษาไทย ชุดข้าราชการไทย การแต่งกายเวลาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ไทย การแต่งกายไปร่วมพระราชพิธีต่างๆ การแต่งกายแบบสากลนิยมตามงานราตรีสโมสร หรือตามที่เจ้าภาพได้กำหนดไว้ เป็นต้น ตัวอย่าง 1. To attend a gala dinner at the Oriental Hotel, the dress code is strict - black tie only. การไปรับประทานอาหารเย็นที่โรงแรมโอแรนเต็ลนั้น กฎระเบียบการแต่งตัวนั้นเข้มงวดมาก คือ ต้องชุดราตรีสโมสรเท่านั้น 2. Thai students have a very strict dress code when they go to school. นักเรียนไทยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการแต่งกายตอนไปเรียนอย่างเคร่งครัด | perform | (n) 1.กระทำ, ปฏิบัติ, ประกอบ, ปฏิบัติตาม(สัญญา) 2.แสดง(ละคร), การแสดง 3.(เครื่อง) เดิน, การเดินของเครื่อง 4.คุณสมบัติในการใช้ของเครื่องใดๆ |
| 通り | [とおり, toori] (n) ตาม เช่น その通りをして下さい (โปรดปฏิบัติตามนั้น) |
| 追従 | [ついじゅう, tsuijuu] (n) การปฏิบัติตาม, การประจบประแจง |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |