ขมิ้น ๑ | (ขะมิ่น) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Curcuma longa</i> L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทำยา ทำผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น. |
ขมิ้นกับปูน | ว. ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน, ไม่ถูกกัน. |
ขมิ้นขาว | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Curcuma mangga</i> Valeton et Zijp ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีขาวอมเหลืองอ่อน ใช้เป็นผัก. |
ขมิ้นอ้อย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Curcuma zedoaria</i> (Berg.) Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง บางส่วนโผล่พ้นดินขึ้นมา ใช้ปรุงอาหารและทำยา, ขมิ้นขึ้น หรือ ขมิ้นหัวขึ้น ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก กะตุมู. |
ขมิ้น ๒ | (ขะมิ่น) น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Oriolidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ขาว ตัวผู้และตัวเมียมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียสีหม่นไม่สวยงาม ทำรังเป็นรูปถ้วยตามง่ามไม้สูง ๆ กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำหรือขมิ้นเหลืองอ่อน (<i> Oriolus chinensis</i> Linn<i> </i>.) ขมิ้นแดง [ <i> O. traillii</i> (Vigors) ] ขมิ้นขาว (<i> O. mellianus</i>Stresemann)<i> </i>. |
ขมิ้นขึ้น | <i>ดู ขมิ้นอ้อย ที่ ขมิ้น ๑</i>. |
ขมิ้นเครือ | น. ชื่อไม้เถาหลายชนิด ในวงศ์ Combretaceae เช่น ชนิด <i> Combretum acuminatum</i> Roxb. และในวงศ์ Menispermaceae เช่น ชนิด <i> Arcangelisia flava</i> (L.) Merr., <i> Fibraurea tinctoria</i> Lour. ทั้ง ๓ ชนิดใช้ทำยาได้, ชนิดหลัง กำแพงเจ็ดชั้น ก็เรียก. |
ขมิ้นชัน | <i>ดู ขมิ้น ๑</i>. |
ขมิ้นน้อย | น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Irenidae ปากยาวแหลมตรง ขนตามลำตัวและปีกส่วนใหญ่สีเหลืองอมเขียว ขนคลุมตะโพกสีเหลืองและเขียวอ่อนนุ่มและหนาแน่น หางสั้นสีดำหรือสีเทาเข้ม ปลายหางตัด ในประเทศไทย มี ๓ ชนิด คือ ขมิ้นน้อยธรรมดา [ <i> Aegithina tiphia</i> (Linn.) ] ขมิ้นน้อยสีเขียว [ <i> A. viridissima</i> (Bonaparte) ] และขมิ้นน้อยปีกสีเรียบ [ <i> A. lafresnayei</i> (Hartlaub) ]. |
ขมิ้นนาง | <i>ดู กระดูกอึ่ง</i>. |
ขมิ้นลิง | <i>ดู กระดูกอึ่ง</i>. |
ขมิ้นหัวขึ้น | <i>ดู ขมิ้นอ้อย ที่ ขมิ้น ๑</i>. |
กระดูกอึ่ง | น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล <i> Dendrolobium</i> และ <i> Dicerma</i> วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด <i> D</i>.<i> triangulare</i> (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งตํ่าซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่วเป็นข้อ ๆ ใช้ทำยาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคำผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก |
กระบูนเลือด | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทำให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับนํ้าปูนใสหรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูกให้แห้งสนิท. |
กระสือ ๒ | ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตำรากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทำให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก. |
กะหรี่ ๑ | เรียกเครื่องแกงกะหรี่ซึ่งประกอบด้วยขมิ้นและเครื่องเทศอื่น ๆ บดเป็นผง ว่า ผงกะหรี่. |
กำแพงเจ็ดชั้น ๒ | <i>ดู ขมิ้นเครือ</i>. |
ขอ ๓ | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนขมิ้น แต่หัวเล็กสอดกันเป็นข้อ ๆ ต้นและใบเขียว เนื้อเหลือง มีสรรพคุณอยู่คงเขี้ยว เขา และงา. |
ขอทอง | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนขมิ้น แต่หัวเล็กสอดกันเป็นข้อ ๆ ต้นและใบเขียว เนื้อเหลือง ใช้แก้เบื่อเมา, ขอคำน้อย ก็เรียก. |
ข้าวปั้น | น. ข้าวปากหม้อ ปั้นเป็นก้อนขนาดพอมือ มี ๕ สี คือ สีขาวของข้าว สีครามจากครามย้อมผ้า สีดำจากเขม่าดำที่ติดก้นหม้อ สีเหลืองจากขมิ้น และสีแดงจากปูนแดง จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยนข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อพลีให้แม่ซื้อ, ข้าวเสียแม่ซื้อ ก็เรียก |
ข้าวเสียแม่ซื้อ | น. ข้าวปากหม้อ ปั้นเป็นก้อนขนาดพอมือ มี ๕ สี คือ สีขาวของข้าว สีครามจากครามย้อมผ้า สีดำจากเขม่าดำที่ติดก้นหม้อ สีเหลืองจากขมิ้น และสีแดงจากปูนแดง จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยนข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อพลีให้แม่ซื้อ, ข้าวปั้น ก็เรียก. |
ข้าวหมก | น. อาหารชนิดหนึ่งของมุสลิม ประกอบด้วยข้าวสวยปรุงด้วยเครื่องเทศและขมิ้น มีเนื้อไก่หรือเนื้อแพะหมกในข้าว. |
ข้าวมิ่น | น. ขมิ้น. |
ขี้มิ่น | น. ขมิ้น. <i> (ดู ขมิ้น ๑)</i>. |
เข้าไม้ ๒ | ก. เอาศพใส่หีบหรือโลง เช่น อาบน้ำศพแล้วทาขมิ้น ผ้าขาวหุ้มสิ้นตราสังมั่น เข้าไม้ไว้ในเรือนใหญ่นั้น ค่ำสวดทุกวันหลายคืนมา (ขุนช้างขุนแผน). |
เข้าหมิ้น | น. ขมิ้น. |
เครือ ๑ | (เคฺรือ) น. เถาไม้, เรียกพรรณไม้ที่เป็นเถา ว่า เครือ เช่น มะกลํ่าเครือ มะแว้งเครือ ขมิ้นเครือ |
งูเห่า | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวเหมือนขมิ้นอ้อย แต่เนื้อสีขาว กลิ่นฉุนเหมือนนํ้ามันดินอ่อน ๆ. |
ดำหัว | น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทำในวันสงกรานต์เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือ วิธีดำหัว คือ เอานํ้าสะอาด พร้อมดอกคำฝอย ฝักส้มป่อย และผงขมิ้น ใส่ขัน ไปเคารพและขอขมาผู้ใหญ่ โดยให้ท่านจุ่มน้ำลูบศีรษะตนเองเพื่อให้ท่านอยู่เย็นเป็นสุขและขอรับพรจากท่าน. |
ถ้ำ ๒ | น. ภาชนะทรงกระบอก มีฝาครอบปิดสนิท สำหรับใส่ใบชาหรือยาดมเป็นต้น เช่น ขมิ้นดินสอพองเอาไว้ไหน เมื่อวานกูใส่ไว้ในถํ้า (ขุนช้างขุนแผน). |
โถเครื่องแป้ง | น. โถแก้วเจียระไนเป็นต้น มีรูปและสีต่าง ๆ มีขนาดลดหลั่นกันเป็นเถา ใช้ใส่เครื่องสำอางเช่นแป้ง น้ำมันใส่ผม ขมิ้น. |
บ้าระบุ่น | น. นกปรอด เช่น เค้าโมงขมิ้นบ่าวขุน บ้าระบุ่นโกญจากระทาขัน (รามเกียรติ์ ร. ๑), โบราณเขียนเป็น บารบุน ก็มี เช่น จินโจ้กระจาบเวียน บารบุนและเบญจวรรณ (บุณโณวาท). |
ปูนแดง | น. ปูนสุกที่เมื่อผสมกับผงขมิ้นและนํ้าจะเป็นสีแดง สำหรับป้ายพลูกินกับหมาก. |
เพลงเดี่ยว | น. เพลงที่ประพันธ์ขึ้นเป็นทางพิเศษสำหรับบรรเลงเฉพาะเครื่องดนตรี ใช้บรรเลงในโอกาสพิเศษเพื่อเป็นการแสดงภูมิปัญญาของผู้คิดทางดนตรีให้เหมาะสมกับชนิดของเครื่องดนตรี และแสดงไหวพริบปฏิภาณฝีมือ และความแม่นยำของผู้บรรเลงด้วย เพลงที่นิยมนำมาทำ เช่น ลาวแพน นกขมิ้น พญาโศก. |
มะงั่ว | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด <i>Citrus ichangensis</i> Swingle ในวงศ์ Rutaceae ผลคล้ายส้มโอ รสเปรี้ยวจัด ใช้ประสมกับขมิ้นเพื่อย้อมผ้า, มะส้าน ก็เรียก. |
หริ | (หะริ) ว. สีขมิ้น, สีเหลืองอมแดง, สีเขียว. |
หริณะ | (หะรินะ) ว. สีขมิ้น, สีเหลืองอมแดง, สีเขียว. |
หลิท | (หะลิด) น. ขมิ้น. |
เหลือง ๑ | (เหฺลือง) ว. สีอย่างสีรงทองหรือขมิ้น. |