กระเย้อกระแหย่ง | (-แหฺย่ง) ก. ขะเย้อแขย่ง, เขย่งแล้วเขย่งอีก, โดยปริยายหมายความว่า พยายามจะให้ได้สิ่งที่สุดเอื้อม. |
ขะเย้อแขย่ง | (-ขะแหฺย่ง) ก. กระเย้อกระแหย่ง, เขียนเป็น เขย้อแขย่ง ก็มี. |
ชักเย่อ | (ชักกะ-) น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีจำนวนเท่า ๆ กันหรือกำลังพอ ๆ กัน มักใช้เชือกขนาดพอกำรอบ ยาวพอที่จะให้ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายเรียงแถวจับได้ โดยมีที่ว่างระหว่างกลางเหลือไว้ประมาณ ๒ เมตร กลางเชือกคาดด้วยผ้าหรือใช้สีป้ายเป็นเครื่องหมายไว้ วางกึ่งกลางเชือกไว้บนพื้นที่ที่มีเส้นขีดกลางเป็นเส้นแบ่งเขตแดน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็จะพยายามดึงเชือกให้กึ่งกลางของเชือกเข้ามาในแดนของตน ถ้าฝ่ายใดสามารถดึงกึ่งกลางเชือกเข้ามาในแดนของตนได้ ถือว่าชนะ ตามปรกติจะแข่งกัน ๓ ครั้ง ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ ครั้งถือว่าชนะเด็ดขาด. |
ชักเย่อ | (ชักกะ-) ก. ดึงหรือรั้งไปมา. |
เป้อเย้อ | ว. อวด, โอ้อวด |
เป้อเย้อ | เยิ่นเย้อ, ยืดยาด, มักใช้แก่การพูด เช่น พูดเป้อเย้อ. |
เย่อ | ก. เอามาด้วยแรงบังคับโดยการฉุดรั้งแย่งกัน, ใช้แรงฉุดรั้งดึงกันไปมา. |
เย่อหยิ่ง | ว. จองหองเกินฐานะ, แสดงอาการยโสโอ้อวด, ถือตัว, อวดดี. |
เยิ่นเย้อ | ว. ยืดยาด, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม, (โดยมากใช้แก่คำพูดหรือข้อความ) เช่น พูดจาเยิ่นเย้อ ข้อความเยิ่นเย้อ. |
เยิ่นเย้อกฐินบก | ว. ชักช้า, เรื่องมาก, ยืดเยื้อ, เพ้อเจ้อกฐินบก ก็ว่า. |
เขย้อแขย่ง | (ขะเย่อขะแหฺย่ง) ก. กระเย้อกระแหย่ง, ออกเสียงว่า ขะเย้อขะแหย่ง ก็มี. |
จองหอง | ว. เย่อหยิ่ง, ทะนงตัว, ถือดี, อวดดี. |
จองหองพองขน | ว. เย่อหยิ่งแสดงอาการลบหลู่. |
ทรรป | ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, เช่น แลมาให้แก่บาคค่อมขวลทรรป (ม. คำหลวง ชูชก). |
ปั้นปึ่ง | ว. ทำท่าเย่อหยิ่งไม่พูดจากับใคร. |
โป้งโหยง | (-โหฺยง) ว. จองหอง, เย่อหยิ่ง. |
ผยอง | ลำพอง, เย่อหยิ่ง, ฮึกเหิม. |
เพ้อเจ้อกฐินบก | ว. ชักช้า, เรื่องมาก, ยืดเยื้อ, เยิ่นเย้อกฐินบก ก็ว่า. |
ยโส | ก. เย่อหยิ่งเพราะถือตัวว่ามียศ มีปัญญา มีความรู้ มีกำลัง มีทรัพย์ ฯลฯ. |
รัดกุม | ว. ไม่รุ่มร่าม, กระชับ, ไม่ยาวเยิ่นเย้อ, เช่น แต่งตัวรัดกุม สำนวนรัดกุม. |
สตัพธ์ | (สะตับ) ว. แข็งกระด้าง, เย่อหยิ่ง. |
หน้าเชิด | ว. อาการที่คอตั้งเงยหน้าแสดงความเย่อหยิ่งหรือภาคภูมิใจเป็นต้น เช่น เขานั่งรถยนต์คันใหญ่ทำหน้าเชิด. |
หัวสูง | เย่อหยิ่ง. |
อติมานะ | น. ความเย่อหยิ่ง, ความจองหอง. |
อภิมานะ | น. ความเย่อหยิ่ง, ความถือตัว. |
อหังการ | ความเย่อหยิ่งจองหอง, ความทะนงตัว, ความก้าวร้าวด้วยการถือว่าตนเองสำคัญ. |