กระจุ๋งกระจิ๋ง | ก. พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า. |
กระจุ๋งกระจิ๋ง | ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า. |
เขียวหัวจิ้งจก | <i>ดู ปากจิ้งจก ๒</i>. |
ไข่จิ้งจก | น. ถั่วลิสงเคลือบนํ้าตาลหรือลูกกวาดสีต่าง ๆ ทำเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่จิ้งจก. |
ไข่จิ้งหรีด | น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยข้าวตากคั่วจนพองเหลืองกวนกับนํ้าตาลปีบที่เคี่ยวเหนียว บางทีโรยมะพร้าวขูดด้วย. |
จิ่ง | สัน. จึง. |
จิ้งโกร่ง | น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด <i> Brachytrypes</i> <i> portentosus</i> (Lichtenstein) เป็นจิ้งหรีดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว, อ้ายโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก, พายัพเรียก จี้กุ่ง หรือ ขี้กุ่ง, อีสานเรียก จิโป่ม จี่นายโม้ จี่ป่ม หรือ จี่โป่ง. |
จิ้งจก | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กในวงศ์ Gekkonidae และ Eublephoridae เป็นสัตว์จำพวกตุ๊กแก หัวโต ตัวยาว หางยาว ปรกติเคลื่อนที่โดยการไต่สี่ขาตามผนังหรือต้นไม้ กระโดดได้ในระยะสั้น ๆ วิ่งได้เร็ว สลัดหางง่ายและงอกขึ้นใหม่ได้ ปรับสีตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น จิ้งจกบ้านหรือจิ้งจกบ้านหางแบน [ <i> Cosymbotus</i> <i> platyurus</i> (Schneider) ] ตีนเกาะติดผนังได้, จิ้งจกดินลายหินอ่อน [ <i> Cyrtodactylus</i> <i> peguensis</i> (Kuhl) ] ตีนเกาะติดผนังไม่ได้, จิ้งจกบิน [ <i> Platyurus</i> <i> craspedotus</i> (Mocguard) ] สามารถร่อนตัวไปในอากาศได้, พายัพเรียก จั๊กกิ้ม. |
จิ้งจอก | <i>ดู หมาจิ้งจอก ที่ หมา</i>. |
จิงจัง, จิ้งจัง | น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จุ้งจัง ก็ว่า. |
จิ้งหรีด | น. ชื่อแมลงในวงศ์ Gryllidae หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน หนวดยาว ปากเป็นชนิดกัดกิน ลำตัวยาว ๑-๓ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ ปีกคู่หน้าหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้างของลำตัว ปีกคู่หลังบางพับเก็บอยู่ใต้ปีกคู่หน้า เพศผู้ปีกคู่หน้ามีลวดลายเป็นสัน ทำเสียงได้โดยใช้ปีกคู่หน้าสีกัน กินใบพืช เช่น ทองดำ [ <i> Gryllus</i> <i> bimaculatus</i> (De Geer) ] ทองแดง [ <i> Teleogryllus mitratus</i> (Burmeister) ], จังหรีด ก็เรียก. |
จิ้งหรีดผี | <i>ดู อ้ายแอ้ด</i>. |
จิ้งเหลน | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scincidae หัวค่อนข้างโต ลำตัวยาว เกล็ดเรียบเป็นมันซ้อนกันตั้งแต่คอตลอดลำตัวไปจนถึงขาและหาง หางยาว พวกที่มี ๔ ขา เช่น จิ้งเหลนบ้าน [ <i> Mabuya multifasciata</i> (Kuhl) ] จิ้งเหลนลาย [ <i> Lipinia vittigera</i> (Boulenger) ] พวกที่ไม่มีขา เรียก จิ้งเหลนด้วง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก หากินตามพื้นดินที่มีกิ่งไม้และใบไม้ปกคลุม กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน ชนิดที่อยู่ใต้ผิวดินมีขาเล็กมาก เช่น จิ้งเหลนเรียวขาเล็กหรือเมียงู [ <i> Lygosoma quadrupes</i> (Linn.) ], พายัพเรียก จั๊กเล้อ. |
จิ้งเหลนด้วง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลนที่ไม่มีขาหรืออาจมีร่องรอยของขาคู่หลังเหลืออยู่เล็กน้อย ในวงศ์ Dibamidae และวงศ์ Scincidae ลำตัวเรียวยาว ขนาดยาวตั้งแต่ ๗-๒๕ เซนติเมตร เกล็ดลำตัวเรียบ อาศัยอยู่ใต้ผิวดินที่ร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายซึ่งมีซากผุพังของพืชปกคลุม, ในวงศ์ Dibamidae เฉพาะเพศผู้มีร่องรอยของขาคู่หลังเป็นแผ่นแบนให้เห็นเล็กน้อย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ จิ้งเหลนด้วงสีม่วง (<i> Dibamus alfredi</i>Taylor) ซึ่งพบทางภาคใต้ และจิ้งเหลนด้วงสมศักดิ์ (<i> D. somsaki</i>Honda, Nabhitabhata, Ota & Hikida) ซึ่งพบที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ส่วนในวงศ์ Scincidae ไม่มีขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด <i>Isopachys anguinoides</i> (Boulenger) พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชนิด <i>I. roulei</i> (Angel) พบที่จังหวัดชลบุรี, ชนิด <i>I. gydenstolpei</i>Lönnberg และ <i>I. borealis</i>Lang & Bohme พบทางภาคตะวันตก ชนิด <i> Davewakeum miriamae</i>Heyer พบที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. |
จิ้งเหลนด้วงหางลาย | <i>ดู ปากจอบ</i>. |
จิ้งเหลนหางยาว | <i>ดู สางห่า</i>. |
จุ๋งจิ๋ง | ก. พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า. |
จุ๋งจิ๋ง | ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า. |
เจิ่ง | ก. แผ่ไปมากกว่าปรกติ (ใช้แก่นํ้า). |
ปากจิ้งจก ๑ | น. ชื่อคีมชนิดหนึ่ง ปากแหลมคล้ายปากจิ้งจก ใช้คีบของเล็ก ๆ ที่อยู่ในที่แคบ ๆ เรียกว่า คีมปากจิ้งจก. |
ปากจิ้งจก ๑ | <i>ดูใน ปาก</i>. |
ปากจิ้งจก ๒ | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด <i> Ahaetulla prasina</i> (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๓ เมตร หัวและลำตัวเรียวยาว มีหลายสี ส่วนมากสีเขียวปลายหางสีนํ้าตาลแดง มักพบอาศัยบนต้นไม้ หากินเวลากลางวัน ส่วนใหญ่กินกิ้งก่า พบทั่วประเทศไทย มีพิษอ่อนมาก, บางครั้งเรียกชื่อตามสี เช่น ตัวสีส้มเรียก งูง่วงกลางดง ตัวสีเทาเรียก งูกล่อมนางนอน, เขียวหัวจิ้งจก เชือกกล้วย รากกล้วย หรือ แห้ว ก็เรียก. |
หมาจิ้งจอก | น. ชื่อหมาชนิด <i>Canis aureus</i> Linn. ในวงศ์ Canidae ขนตามลำตัวสีเทาอมนํ้าตาล มีขนลักษณะคล้ายอานม้าบริเวณไหล่ ปากแหลม หูตั้งแหลมตรง หางเป็นพวง เขี้ยวและฟันคมมาก กลางวันมักนอนอยู่ในโพรงดิน ออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์. |
หางจิ้งเหลน | (-เหฺลน) น. ผมของเด็กที่เอาไว้ที่ท้ายทอยเล็กกว่าผมเปีย. |
เหลิงเจิ้ง | (เหฺลิง-) ว. พล่าม, เพ้อเจ้อ, อาการที่พูดมากไม่มีสาระ. |
โกร่ง ๓ | (โกฺร่ง) น. เรียกจิ้งหรีดชนิด <i> Brachytrypes portentosus</i> (Lichtenstein) ว่า อ้ายโกร่ง, จิ้งโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก. <i> (ดู จิ้งโกร่ง)</i>. |
ขี้กุ่ง | น. จิ้งโกร่ง. <i> (ดู จิ้งโกร่ง)</i>. |
เขี้ยวแก้ว | เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก |
งอด | น. ชื่องูขนาดเล็กในสกุล <i> Oligodon</i>วงศ์ Colubridae ลำตัวขนาดไล่เลี่ยกับดินสอดำ ยาว ๓๐-๘๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลอมเทา มีลายรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น ลายเส้น ลายประ หรือลายจุดสีดำกระจายทั่วตัว ท้องบริเวณหางสีแดง ส่วนใหญ่หากินเวลากลางคืน อาศัยตามพื้นดิน กินแมลง แมงมุม จิ้งจก เขียด ไส้เดือน ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลาน ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งอดท้องแดงหรืองอดไทย [ <i> O. taeniatus</i> (Günther) ] งอดด่างหรือปี่แก้วลายกระ [ <i> O. cinereus</i> (Günther) ]. |
จั๊กกิ้ม | น. จิ้งจก. <i> (ดู จิ้งจก)</i>. |
จั๊กเล้อ | น. จิ้งเหลน. <i> (ดู จิ้งเหลน)</i>. |
จังหรีด | น. จิ้งหรีด. <i> (ดู จิ้งหรีด)</i>. |
จิโป่ม | น. จิ้งโกร่ง. <i> (ดู จิ้งโกร่ง)</i>. |
จี้กุ่ง | น. จิ้งโกร่ง. <i> (ดู จิ้งโกร่ง)</i>. |
จี่นายโม้ | น. จิ้งโกร่ง. <i> (ดู จิ้งโกร่ง)</i>. |
จี่ป่ม | น. จิ้งโกร่ง. <i> (ดู จิ้งโกร่ง)</i>. |
จี่โป่ง | น. จิ้งโกร่ง. <i> (ดู จิ้งโกร่ง)</i>. |
จุ้งจัง | น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จิงจัง หรือ จิ้งจัง ก็ว่า. |
เชือกกล้วย | <i>ดู ปากจิ้งจก ๒</i>. |
ดิ้น ๑ | ก. อาการที่สะบัดหรือฟาดตัวไปมาอย่างแรง เช่น ดิ้นให้หลุด นอนดิ้น ชักดิ้นชักงอ, สั่นไหวกระดุกกระดิก เช่น หางจิ้งจกขาดยังดิ้นได้, ไม่ตายตัว เช่น คำพูดดิ้นได้ |
ตวัด | (ตะหฺวัด) ก. วัดให้ม้วนเข้ามาโดยเร็ว เช่น ตวัดผ้าที่ห้อยอยู่ขึ้นบ่า ตวัดชายกระเบน, แกว่งไม้หรือเชือกให้ปลายม้วนเข้ามา เช่น ตวัดแส้ ตวัดไม้เรียว, แลบออกมาแล้วม้วนเข้าไปโดยเร็ว เช่น จิ้งจกตวัดลิ้นกินยุง. |
ตายซาก | ก. ตายทิ้งร่างแห้งอยู่ (ใช้แก่สัตว์บางอย่าง เช่น คางคก จิ้งจก). |
ทองดำ ๓ | น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด <i> Gryllus bimaculatus</i> (De Geer) ในวงศ์ Gryllidae ลำตัวยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร โดยทั่วไปสีดำตลอดทั้งตัว โคนปีกคู่หน้ามีแต้มสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน ๒ แต้ม. |
ทองแดง ๒ | น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด <i> Teleogryllus mitratus</i> (Burmeister) ในวงศ์ Gryllidae ตัวยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร โดยทั่วไปสีนํ้าตาลทั้งตัว โดยเฉพาะด้านล่างของหัว อก ท้อง และขา ส่วนทางด้านหลังสีนํ้าตาลอมแดง. |
ทัก ๑ | ก. กล่าวเป็นเชิงเตือน, พูดโอภาปราศรัยด้วยอัธยาศัยไมตรีเมื่อพบหน้ากัน, กล่าวหรือออกเสียงให้ระวังหรือสังเกตว่าจะเป็นภัยตามลัทธิที่ถือกัน เช่น จิ้งจกทัก. |
น้ำคัน | น. นํ้าสกปรกที่เจิ่งนอง เมื่อย่ำหรือแช่เท้าอยู่นาน ๆ จะทำให้เป็นโรคคันที่ง่ามเท้า. |
ปล้องฉนวน | น. ชื่องูขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ลำตัวเล็กเรียว ยาว ๔๐-๑๑๐ เซนติเมตร มักมีลายเป็นปล้องสีนํ้าตาลหรือดำสลับขาว หากินตามพื้นดินในเวลากลางคืน กินสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เช่น จิ้งจก กิ้งก่า เป็นงูไม่มีพิษ มีหลายชนิด เช่น ปล้องฉนวนหลังเหลือง [ <i> Lycodon laoensis</i> (Günther) ] ปล้องฉนวนบ้าน (<i> L. subcinctus</i> Boie) ปล้องฉนวนอินเดีย [ <i> Dryocalamus davisonii</i> (Blandford) ]. |
ปั่นหัว | ก. ทำให้งง (มาจากการกัดจิ้งหรีด โดยจับตัวที่แพ้มาปั่นหัวให้งง เพื่อจะได้สู้ต่อไป) เช่น ปั่นหัวจิ้งหรีด |
ปากจอบ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลน ชนิด <i>Isopachys gyldenstolpei</i> Lönnberg ในวงศ์ Scincidae ปลายปากบนยื่นยาวกว่าปากล่าง ลักษณะแบนกว้างคล้ายจอบ ตัวกลมเป็นมัน สีนํ้าตาลเหลืองลายดำ ไม่มีขา หางสั้น ปลายตัด อาศัยตามดินร่วนหรือดินปนทราย กินตัวอ่อนแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก, จิ้งเหลนด้วงหางลาย ก็เรียก. |
รากกล้วย ๒ | <i>ดู ปากจิ้งจก ๒</i>. |