คล่องแคล่ว | ว. ว่องไว, สามารถทำได้รวดเร็ว, แคล่วคล่อง ก็ว่า. |
คลาดแคล้ว | (-แคฺล้ว) ก. รอดไป, พ้นไป, แคล้วคลาด ก็ว่า. |
แคล้ว | (แคฺล้ว) ก. รอดไป, พ้นไป, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น เป็นเนื้อคู่กันแล้วไม่แคล้วกัน ไม่แคล้วไม้เรียว. |
แคล้วคลาด | ก. รอดไป, พ้นไป, คลาดแคล้ว ก็ว่า. |
แคล่วคล่อง | (แคฺล่วคฺล่อง) ว. ว่องไว, สามารถทำได้รวดเร็ว, คล่องแคล่ว ก็ว่า. |
สอดแคล้ว | ว. สงสัย, กินแหนง. |
กระฉับกระเฉง | ว. คล่องแคล่ว, ทะมัดทะแมง. |
กระบั้วกระเบี้ย | ว. กระปั้วกระเปี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, เดินไม่คล่องแคล่ว (อย่างผู้รื้อไข้). |
กระปรี้กระเปร่า | ว. แคล่วคล่องว่องไว เพราะมีกำลังวังชา, กระฉับกระเฉง, ไม่เนิบนาบ. |
กระปั้วกระเปี้ย | ว. กระบั้วกระเบี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, ไม่คล่องแคล่ว, ไม่แข็งแรง. |
กะล่อยกะหลิบ | ว. คล่องแคล่วว่องไวในการใช้มืออย่างแนบเนียนน่าดู เช่น เด็กคนนี้รู้จักเปิบข้าวดูกะล่อยกะหลิบ |
เคล่าคล่อง | (เคฺล่าคฺล่อง) ก. แคล่วคล่อง เช่น หลบหลีกเคล่าคล่องทำนองยุทธ (รามเกียรติ์ ร. ๒). |
งุ่มง่าม | ว. ชักช้า, ไม่คล่องแคล่วว่องไว. |
ฉุย | คล่องแคล่ว เช่น เดินฉุย. |
ชำนิ ๒ | ก. รู้ชัดเจน, เชี่ยวชาญ, คล่องแคล่ว. |
ดลบันดาล | ก. ให้มีให้เป็นหรือไม่ให้มีไม่ให้เป็น เช่น ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์จงดลบันดาลให้ประสบความสำเร็จ หรือให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย. |
ด้วมเดี้ยม | ว. กระด้วมกระเดี้ยม, ต้วม ๆ เตี้ยม ๆ, ค่อย ๆ ไป, ไม่คล่องแคล่ว. |
เดียะ | ว. คล่องแคล่ว, ว่องไว, เช่น ไต่เดียะ ว่าวปักเป้าส่ายเดียะ, อย่างกระชั้นชิดไม่ให้คลาดสายตา เช่น ตามเดียะ. |
ถนัดขวา | ว. ที่ทำได้คล่องแคล่วด้วยมือขวา. |
ถนัดซ้าย | ว. ที่ทำได้คล่องแคล่วด้วยมือซ้าย. |
ถวัดถวัน | (-ถะหฺวัน) ว. ว่องไว, คล่องแคล่ว. |
ทะมัดทะแมง | ว. คล่องแคล่ว, กระฉับกระเฉง, ไม่เก้งก้าง, เช่น ทำงานทะมัดทะแมง ท่าทางทะมัดทะแมง |
ทักข์ ๑ | ว. สามารถ, เหมาะ, ขยัน, หมั่น, คล่องแคล่ว, แข็งแรง. |
ทักษ- | (-สะ-) ว. สามารถ, เหมาะ, ขยัน, หมั่น, คล่องแคล่ว, แข็งแรง. |
นิรภัย | (-ระไพ) ว. ไม่มีภัย, แคล้วคลาดจากภัยอันตราย. |
ปร๋อ | (ปฺร๋อ) ว. แคล่วคล่อง, ว่องไว, ไม่ติดขัด, เช่น พอกรงเปิด นกก็บินปร๋อออกไป วิ่งปร๋อ พูดภาษาอังกฤษได้ปร๋อ. |
ประคัลภ์ | ว. คล่องแคล่ว, ประเปรียว. |
ประคุณ | ก. คล่องแคล่ว, ชำนาญ. |
ประทักษ์ | ว. ขยัน, ฉลาด, คล่องแคล่ว, สามารถ. |
ประเปรียว | (-เปฺรียว) ว. มีรูปร่างหรือท่าทางปราดเปรียว, มีลักษณะแคล่วคล่องว่องไว. |
ปราดเปรียว | (-เปฺรียว) ว. ว่องไว, คล่องแคล่ว. |
ปราดเปรื่อง | (-เปฺรื่อง) ว. มีความคิดแคล่วคล่องว่องไว, เปรื่องปราด ก็ว่า. |
ปัดตลอด | เรียก “นะ” ที่เขียนเป็นอักษรขอม สำหรับลงและปลุกเสกให้แคล้วคลาดตลอดปลอดภัยว่า “นะปัดตลอด”. |
เปรื่องปราด | (-ปฺราด) ว. มีความคิดแคล่วคล่องว่องไว, ปราดเปรื่อง ก็ว่า. |
เฟื่อง ๒ | คล่องแคล่ว, แม่นยำ, เช่น จบปริญญาเอกมาใหม่ ๆ ความรู้กำลังเฟื่อง. |
มุจนะ | (มุดจะนะ) น. ความพ้นไป, ความรอด, ความหลุด, ความแคล้ว. |
ระวาดระไว | ว. กระวีกระวาด, คล่องแคล่ว, รีบเร่ง. |
ลับปาก, ลับฝีปาก | ก. เตรียมตัวพูดหรือโต้เถียงเต็มที่ เช่น ลับปากไว้คอยท่า(ไชยเชฐ), พูดจาโต้ตอบคารมบ่อย ๆ จนคล่องแคล่ว. |
ลิ้นทอง | ว. ที่พูดจาคล่องแคล่วไพเราะน่าฟัง. |
ลิ้นทอง | ว. ที่พูดจาคล่องแคล่ว ไพเราะน่าฟัง. |
ว่องไว | ก. รวดเร็ว, คล่องแคล่ว, ปราดเปรียว, ปราดเปรื่อง, เช่น ทำงานว่องไว มีปฏิภาณว่องไว. |
แว่นไว | ก. ว่องไว, คล่องแคล่ว. |
ไว, ไว ๆ | ว. ลักษณะที่เคลื่อนไหว หรือสามารถคิด หรือกระทำสิ่งใดได้คล่องแคล่วรวดเร็วหรือฉับพลันทันที เช่น เด็กคนนั้นเดินไว วิ่งไว ๆ เข้า เดี๋ยวไปไม่ทัน. |
ไว, ไว ๆ | ก. เคลื่อนไหว คิด หรือกระทำสิ่งใดได้คล่องแคล่วรวดเร็วหรือฉับพลันทันที เช่น ไวเข้ารถจะออกแล้ว. |
สะบัดย่าง | ว. อาการที่ม้าวิ่งหรือเดินสะบัดขาอย่างสง่างาม เช่น ว่าพลางทางขับม้าสีหมอก ให้ออกสะบัดย่างวางใหญ่ (ขุนช้างขุนแผน), ฝ่ายสมิงพระรามขึ้นม้าควบไปแต่เวลาเช้าจนสามโมงบ่ายฝึกหัดม้านั้นให้รู้จักทำนองรบรับได้คล่องแคล่วสันทัดแล้ว ก็ชักม้าสะบัดย่างน้องเป็นเพลงทวนกลับมา (ราชาธิราช). |
สุปาณี | ว. ฝีมือเก่ง, คล่องแคล่ว. |
อุ้ยอ้าย | ว. ไม่คล่องแคล่ว, เคลื่อนตัวยากอย่างคนอ้วน. |