เป็นอันว่า | ก. รวมความว่า, แสดงว่า, เช่น เป็นอันว่ายุติ, เป็นอัน ก็ใช้. |
อันว่า | ว. ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อัน ก็มี เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า). |
กรรกศ | (กันกด) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษ ก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไปกรรกษ บารนีฯ (ม. คำหลวง ทศพร). |
กรรมขัย | (กำมะไข) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล (ไตรภูมิ). |
กระไทชาย | น. กระทาชาย, คนผู้ชาย, เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง (ม. คำหลวง กุมาร; มหาราช). |
กฤดีกา, กฤตยฎีกา | (กฺริ-, กฺริดตะยะ-) แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต (ม. คำหลวง กุมาร), ชำระกฤตยฎีกา (ไวพจน์พิจารณ์). |
กฤษฎาญชลี | (กฺริดสะดานชะลี) ก. มีอัญชลีอันกระทำแล้ว, กระทำอัญชลี, เช่น กฤษฎาญชลียะยุ่งแล (ม. คำหลวง ทศพร), ในวรรณคดีแผลงไปเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤษฎาญชลิต เช่น กฤษฎาญชลิตไหว้ (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชวลิตวา เช่น อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชวลิศ เช่น อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), กฤษฎาญชวเลศ เช่น ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์ (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลี เช่น กฤษฎาญชุลีน้อม (ฉันทลักษณ์). |
กลหาย | (กะละ-) ก. กระหาย เช่น อันว่าทวยท่ววทงงหลายหื่นกลหายสาหัส (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กลิ่ง | (กฺลิ่ง) ก. เลือกสรร เช่น อันว่าพระพรใดทงงผองสิบสิ่ง แลพี่แกล้งกลิ่งให้แล้ว (ม. คำหลวง ทศพร). |
กษัตรีย์ | เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์ (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
กษีณาศรพ | (กะสีนาสบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษิณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กันแสง ๒ | น. ผ้า, ผ้าสไบ, โบราณเขียนเป็น กนนแสง ก็มี เช่น อันว่ายกผ้าสรลอนยอกรสรไสว ไกวกนนแสงแคลงยยาบ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กัปนก | (กับปะหฺนก) ว. กำพร้า, น่าสงสาร, เช่น อันว่าพราหมณชรา ชีณกัปนก (ม. คำหลวง ชูชก). |
กัมปี | ก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กานน | (-นน) น. ป่า, ดง, เช่น อันว่าท้องเขาวงกฏกานน (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
โกษ ๒ | (โกด) น. โลก เช่น อันว่าโกลาหลแต่ผืนแผ่น ดลเท้าแท่นพรหมโกษ (ม. คำหลวง กุมาร). |
จรรจา | (จัน-) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี (ม. คำหลวง กุมาร). |
ฉวาง | (ฉะหฺวาง) ก. ขวาง เช่น อันว่าพยัคฆราช อันฉวางมรรคาพระมัทรี (ม. คำหลวง มัทรี). |
ชิ่น | ก. สิ้น, หมด, เช่น อันว่าพระญาติท้งงชิ่น สทิ่นท้ยนจินดา (ม. คำหลวง ทศพร). |
เชอ | ก. เป็นคำใช้เข้าคู่กับคำ บำเรอ เช่น อันว่าอมิตดาก็อยู่บำเรอเชอภักดิ์ (ม. คำหลวง ชูชก), จำนำบำเรอเชอถนอม (สรรพสิทธิ์). |
ซวด | ก. เกินขนาด, นูนขึ้นสูงขึ้น, เช่น อันว่าสวภาพท้องบมิซวดเสมออก (ม. คำหลวง ทศพร). |
ด้าม | ต้น, ทาง, เช่น รยกคันธมาทน์ โดยด้ามอาทิสวคนธ์ (ม. คำหลวง จุลพน), อันว่าพระสรรเพชญ์ ผู้เผด็จด้ามตัณหา ลุปรมาภิสมพุทธ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์), บพิตร ข้าอยู่ศุขเสวอยราช โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), ดูกรเจ้าอำเภอใด แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม ทำโทษน้นน (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
ตระง่อง | (ตฺระหฺง่อง) ก. จ้อง, คอยดู, เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี. |
ตระดก | (ตฺระ-) ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ, เขียนเป็น ตรดก ก็มี เช่น อันว่าพระพิศวกรรม ก็ยงงไปศาจผีเสื้อเนื้อแลนก อันมีเสียงตรดกพึงภีต บมิให้กีดให้ก้อง บมิให้ร้องระงี่มี่รงม (ม. คำหลวง วนประเวศน์). |
ตระหง่อง, ตระหน่อง | (ตฺระ-) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้. |
ตู ๑ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑ พหูพจน์, เช่น อันว่าพวกตูผู้เถ้า ก็จะน่งงเฝ้าแฝงหลัง (ม. คำหลวง ทศพร). |
ไตรโลกย์ | น. ไตรโลก เช่น อันว่าพระไตรโลกย์ครู สวยมภูญาณนายก (ม. คำหลวง สักบรรพ). |
ถัทธ | (ถัด) ว. แน่น, แข็ง, กระด้าง, เช่น อันว่าชูชกใจถัทธ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
ทรวด | (ซวด) ก. นูนขึ้น เช่น อันว่าสวภาพท้องบมิทรวดเสมออก (ม. คำหลวง ทศพร). |
ทวย ๒ | ว. ระทวย, อ่อน, งอน, เช่น อันว่าไม้มีผลค่าค้อม ก็น้อมนวยทวยทอดมาเอง (ม. คำหลวง วนประเวศน์). |
ทวัย | (ทะไว) น. หมวด ๒, ทั้ง ๒ เช่น แม้อันว่าทวัยราชาคือองค์บิดุราธิราชมาดุรงค์ วิสญฺ หุตฺวา ทรงกรรแสงสาหศรทดรทาย (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
ทัน ๒ | เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทันพระศรีสรรเพชญ์ เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร). |
ท้าง | ว. ทั้ง, ทั่ว, ตลอด, เช่น อันว่าแผ่นดินกว้างท้างทุกแดน อนนหนาได้หยิบแสนสี่หมื่นโยชนประมาณ (ม. คำหลวง กุมาร). |
ทำนูล | ก. บอก, กล่าว, เช่น อันว่าพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ทำนายโดยทำนูล (ม. คำหลวง มหาราช) |
เทง, เท้ง ๑ | ก. ทุบ, เคาะ, เช่น อันว่าพระมหาสัตว์ก็ถามเพื่อว่าดึกดื่น ตื่นนอนใครแลมาเทงทรวารพระกุฎีกูดังนี้ (ม. คำหลวง กุมาร), ตระบัดก็ให้เท้ง กระทุ่มเภรียครืนเครง กึกก้องบันลือเลวง (อนิรุทธ์). |
นาโครคินทระ | (นาโคระคินทฺระ) น. พญานาค เช่น อันว่าพระญานาโครคินทรกคำนึง (นันโท). |
นามไธย | (นามมะไท) น. ชื่อ เช่น อันว่านามไธยทั้งหลาย หมายแห่งราชธิดาทงงเจ็ดองค์ (ม. คำหลวง ทศพร). |
บันทึก | ย่นย่อ, ทำให้สั้น, เช่น อันว่าเทพยดาก็ปรานีกระษัตรท้งงสี่ ก็บันทึกที่หนทางน้นนเข้ามา (ม. คำหลวง วนประเวศน์). |
บารนี | ดั่งนี้ เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไปกรรกษ บารนี (ม. คำหลวง ทศพร). |
บำเรอเชอภักดิ์ | ก. ตั้งใจรับใช้ เช่น อันว่าอมิดดาก็อยู่บำเรอเชอภักดิ์ (ม. คำหลวง ชูชก). |
ปโยธร | น. “ผู้ทรงไว้ซึ่งนํ้า” คือ เมฆ เช่น อันว่าปโยธรอัศจรรย์ ก็ให้โบษขรพรรษธารา (ม. คำหลวง ทศพร) |
เป็นอัน | ก. รวมความว่า, แสดงว่า, เช่น เป็นอันยุติ, เป็นอันว่า ก็ใช้ |
เพณี | น. เวณิ, ผมซึ่งเกล้าไว้, สายที่ถัก เช่น อันว่าสร้อยสังวาลเพณี (ม. คำหลวง ทศพร). |
วิภัตติ | ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. |
วิลาสินี | ว. งามอย่างสดใส, งามมีเสน่ห์ เช่น อันว่าเจ้ามัทรีวิลาสินีนงราม (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
สัตยวาที | น. ผู้พูดแต่ความจริง เช่น อันว่าพระมหาบุรุษรัตน ผู้อยู่ในสัตยวาที (ม. คำหลวง กุมาร). |
หือรือโหด | ก. หฤโหด, ชั่วร้าย, เลวทราม, เช่น แม้อันว่าเฒ่าหือรือโหดหีนชาติทาสเมถุน (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
อัน | ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า). |