กระสับกระส่าย | ว. เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปรกติไม่ได้, กระวนกระวาย, ทุรนทุราย. |
สอดส่าย | ก. ส่ายตาค้นหา ในคำว่า สอดส่ายสายตา เช่น สอดส่ายสายตาหาเพื่อนที่นัดไว้ ตำรวจสอดส่ายสายตาหาคนร้าย, โดยปริยายหมายถึงส่ายตามองหาช่องทางหรือโอกาสที่จะลักขโมยเป็นต้น. |
ส่าย ๑ | ก. แกว่งไปมา เช่น ส่ายผ้าอ้อมในน้ำ, ย้ายไปมา เช่น ส่ายหัว ส่ายสะโพก ว่าวส่าย. |
ส่าย ๑ | น. กระโปรงยาวที่ผู้หญิงนุ่ง. |
ส่ายตา | ก. กวาดตามองทั่ว ๆ เช่น เขาส่ายตามองหาคนรู้จัก. |
ส่ายศึก, ส่ายเศิก | ก. กวาดล้างให้หมดสิ้นข้าศึกศัตรู เช่น ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้าเภริน (นิ. นรินทร์). |
ส่ายหน้า | ก. อาการที่ทำหน้าหันไปมาช้า ๆ แสดงถึงความหมดหวัง หมดศรัทธา หมดปัญญาเป็นต้น เช่น หมอเห็นผลการตรวจคนไข้แล้วส่ายหน้า. |
ส่าย ๒ | ว. เสียงอย่างเสียงที่เกิดจากผ้าแพรเนื้อหนาแข็งเสียดสีกัน เช่น ได้ยินเสียงแพรส่าย. |
ส้าย | ก. กำจัด, สู้. |
กระวาย | ว. ส่าย, ดิ้น, เช่น ทอดตนตีทรวงกระวาย (อุเทน), ใช้เข้าคู่กับคำ กระเวย และ กระโวย เป็น กระเวยกระวาย และ กระโวยกระวาย. |
กราด ๕ | ตากอยู่กลางแดดกลางลม. ว. ซัดส่ายไปโดยไม่เจาะจง เช่น ยิงกราด, สาดไป เช่น ด่ากราด. |
กวาดตา | ก. ส่ายตาดูทั่วไป. |
จาบัล, จาบัลย์ | (-บัน) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์ (ดุษฎีสังเวย) |
เดียะ | ว. คล่องแคล่ว, ว่องไว, เช่น ไต่เดียะ ว่าวปักเป้าส่ายเดียะ, อย่างกระชั้นชิดไม่ให้คลาดสายตา เช่น ตามเดียะ. |
แดดิ้น | ก. ใจกระสับกระส่าย, ใจทุรนทุราย. |
ทุรนทุราย | ก. กระวนกระวาย, กระสับกระส่าย, ดิ้นรนจะให้พ้นจากทรมาน. |
เท่อ | ไม่ส่าย (ใช้แก่ว่าว). |
โทงเทง ๒ | ว. อาการที่เคลื่อนไปมีลักษณะโย่งเย่งส่ายไปมา เช่น เดินโทงเทง. |
โบกมือ | ก. ชูมือขึ้นแล้วกวักมือทำสัญญาณเรียก, ชูมือขึ้นแล้วส่ายมือไปมาทำสัญญาณทักทาย ลา หรือปฏิเสธ เป็นต้น. |
ปริทัยหัคคี | (ปะริไทหักคี) น. ไฟธาตุที่ทำกายให้กระสับกระส่าย. |
ฝีกาฬ | น. ฝีพิษร้ายที่ทำให้ปวดร้อน กระสับกระส่าย มีสีดำ เป็นแล้วมักตาย. |
ฟุ้งซ่าน | ก. ไม่สงบ, พล่านไป, ส่ายไป, (ใช้แก่จิต). |
ลุกลน | กระสับกระส่าย, กระวนกระวาย, เช่น วันนี้เป็นอะไรท่าทางลุกลนผิดปรกติ. |
ว่าวเหลิง, ว่าวเหลิงลม | (-เหฺลิง) น. ว่าวติดลมส่ายไปมาบังคับไม่อยู่. |
วิจล | (วิจน) ว. อาการที่เคลื่อนไปมา, อาการที่หวั่นไหว, อาการที่ส่ายไปมา |
เหลิงลม | ว. อาการที่ว่าวติดลมส่ายไปมาบังคับไม่อยู่ ในคำว่า ว่าวเหลิงลม. |
อาด, อาด ๆ | ว. อย่างผึ่งผาย (ใช้แก่กริยาเดิน) เช่น เดินส่ายอาด เดินอาด ๆ. |