สีชมพูดง | ดู กระติ๊ด. |
สีชมพูสวน | น. ชื่อนกขนาดเล็กมากชนิด Dicaeumcruentatum (Linn.) ในวงศ์ Dicaeidae ปากสั้น หางสั้น ตัวผู้มีสีขาวที่ด้านล่างลำตัว มีแถบสีแดงเด่นตั้งแต่กระหม่อมไปยังท้ายทอยถึงกลางหลังและโคนขนหาง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเทา มีแถบสีแดงที่ตะโพกและโคนขนหาง ทำรังเป็นรูปถ้วยด้วยดอกหญ้าและใยแมงมุมบนกิ่งไม้ กินน้ำต้อยและแมลง. |
กระติ๊ด ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Estrildidae ปากสั้นหนารูปกรวยปลายแหลม หัวกลม ลำตัวอ้วนป้อม มีหลายสี ปลายหางแหลม ใช้หญ้าทำรังเป็นรูปกลมอยู่บนพุ่มไม้เตี้ย ๆ หรือกอหญ้า ปากรังอยู่ทางด้านข้าง กินเมล็ดพืช มีหลายชนิด ที่พบมาก คือ กระติ๊ดขี้หมู [ Lonchura punctulata (Linn.) ] ชนิดอื่น ๆ เช่น กระติ๊ดเขียวหรือไผ่ [ Erythrura prasina (Sparrman) ] กระติ๊ดแดงหรือสีชมพูดง [ Amandava amandava (Linn.) ] กระติ๊ดท้องขาว[ Lonchura leucogastra (Blyth) ], กะทิ ก็เรียก. |
กระทุ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk. ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พรวดใหญ่ หรือ พรวดกินลูก ก็เรียก. |
กะลา ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Etlingera elatior (Jack) R. M. Sm. ในวงศ์ Zingiberaceae ต้นคล้ายข่า สูง ๓-๔ เมตร ช่อดอกคล้ายบัวตูมแต่กลีบแข็ง สีชมพูหรือแดง มีดอกเล็ก ๆ แน่นเป็นกระจุกอยู่ภายใน ก้านช่อดอกผุดขึ้นจากดินและยาวได้ถึง ๑ เมตร หน่อและดอกอ่อนใช้เป็นอาหาร, กาหลา หรือ ดาหลา ก็เรียก, ปักษ์ใต้บางจังหวัดเรียก ปุดกะลา. |
กัลปพฤกษ์ ๒ | (กันละปะพฺรึก) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่ม. |
กาบบัว | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Mycteria leucocephala (Pennant) ในวงศ์ Ciconiidae คอและขายาว ปากยาวสีเหลือง หัว คอ และลำตัวสีขาว มีแถบดำคาดขวางอก ขนคลุมขนปีกตอนปลายสีชมพู อาศัยอยู่ตามบึงและหนองนํ้า กินปลาและสัตว์น้ำ. |
กาฝาก ๒ | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Dicaeidae ปากสั้น หางสั้น แต่ละชนิดมีสีตามลำตัวหลายสี ตัวผู้สีสดกว่าตัวเมีย ยกเว้นบางชนิดที่มีสีคล้ายคลึงกันทั้ง ๒ เพศ กินน้ำต้อยโดยเฉพาะดอกกาฝากและผลไม้ เช่น กาฝากอกเหลือง [ Prionochilus maculates (Temminck & Laugier) ] กาฝากปากหนา [ Dicaeum agile (Tickell) ] กาฝากอกเพลิง [ D. ignipectus (Blyth) ] สีชมพูสวน [ D. cruentatum (L.) ]. |
ก้ามปู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Samanea saman (Jacq.) Merr. ในวงศ์ Leguminosae เรือนยอดทึบแบนแผ่สาขากว้างใหญ่จึงให้ร่มเงาได้ดี ช่อดอกเป็นพู่สีชมพูแก่ ฝักแก่สีนํ้าตาลไหม้ ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร รสหวาน เป็นไม้ที่นำเข้ามาปลูก, เดิมเรียก จามจุรีแดง แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า จามจุรี, พายัพเรียก ฉำฉา หรือ สำสา. |
ก้ามปูหลุด | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tradescantia zebrina Hort ex Bosse ในวงศ์ Commelinaceae ลำต้นเรียว และเป็นปล้อง ๆ เลื้อยไปตามดิน ใบสีเขียวหม่น ใบด้านบนมีแถบสีเทาคาดตามยาว ด้านล่างสีม่วงแดง ดอกสีชมพู. |
กาฬพฤกษ์ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia grandis L. f. ในวงศ์ Leguminosae ลำต้นดำ ใบอ่อนสีแดง ดอกเล็ก สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ฝักใหญ่อ้วนสั้น ผิวขรุขระ ด้านข้างมีสัน เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาปลูก. |
เกาลัด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Sterculia monospermaVent . ในวงศ์ Sterculiaceae ขอบใบเรียบ ดอกเล็ก สีชมพูอมเขียว เปลือกผลหนา ไม่มีหนาม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง สีนํ้าตาลแกมแดง เปลือกไม่แข็ง เนื้อในสีขาว กินได้. |
แก้มแหม่ม | น. ชื่อชมพู่พันธุ์หนึ่งของชนิด Syzygium samarangense (Blume) Merr. et L. M. Perry var. samarangense ผลกลมแป้น สีชมพูเรื่อ ๆ. |
ไก่เตี้ย ๒ | น. ชื่อไม้เถาชนิด Canavalia rosea (Sw.) DC. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามหาดทรายชายทะเล ดอกสีชมพู ขาว หรือ ม่วง, กำพร้า หรือ ถั่วคร้า ก็เรียก. |
ไกร ๑ | (ไกฺร) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae ลักษณะคล้ายต้นไทร มี ๒ ชนิด คือ ชนิด F. concinna (Miq.) Miq. เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบ ใบเล็ก ช่อดอกรูปคล้ายผล ออกเป็นคู่ตามง่ามใบ ผลสีชมพู มีกระสีจาง ๆ, ไฮฮี ก็เรียก และชนิด F. superba (Miq.) Miq. เปลือกสีเทาเรียบ ใบใหญ่ ช่อดอกคล้ายชนิดแรก ผลสีชมพู, ไทรเลียบ ก็เรียก. |
ขี้ครอก ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Urena lobata L. ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีชมพู ผลมีขนปลายเงี่ยงคลุม. |
ขี้มอด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็ก ๒ ชนิด ในวงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dalbergia lanceolariaL.f. var. lakhonensis (Gagnep.)Niyomdham ดอกสีขาวหรือขาวแกมม่วงน้ำเงิน และชนิด Derris robusta (DC.) Benth. ดอกสีชมพูถึงม่วงอ่อน เนื้อไม้ฟ่าม ใช้ทำหีบหรือลัง. |
เขยตาย | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลมขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทำยา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก ส้มชื่น. |
เขา ๓ | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Columbidae ปากสั้นตรงปลายโค้งเล็กน้อย ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมน้ำตาล ขนปีกมีลาย ขาสีชมพู มักอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง กินเมล็ดพืชบนพื้นดิน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขาใหญ่หรือเขาหลวง [ Streptopelia chinensis (Scopoli) ] เขาลายเล็ก [ Macropygia ruficeps (Temminck) ] เขาเขียว [ Chalcophaps indica (Linn.) ] เขาชวาหรือเขาเล็ก [ Geopelia striata (Linn.) ] . |
เขี้ยวเนื้อ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Lagerstroemia undulata Koehne var. subangulata Craib ในวงศ์ Lythraceae ช่อดอกเรียวแหลม ดอกเล็ก สีชมพูคล้ำ, สมอร่อง ก็เรียก. |
เขือ ๑ | น. ชื่อปลาในสกุล Taenioides และ Brachyamblyopus วงศ์ Gobioididae ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง และเป็นสีชมพูโดยตลอด ยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ตาเล็กมาก เกล็ดเล็กมากหลุดร่วงง่าย อาศัยอยู่ในรูบริเวณปากแม่น้ำที่มีพื้นเป็นเลน. |
ควีนสิริกิติ์ | ชื่อไม้พุ่มพันธุ์ Mussaenda ‘Queen Sirikit’ ในวงศ์ Rubiaceae เป็นลูกผสม กำเนิดในฟิลิปปินส์ กลีบเลี้ยงใหญ่สีชมพูอ่อนขอบสีชมพูเข้ม หลอดกลีบดอกสีแดง กลีบดอกสีเหลือง. |
โคลงเคลง ๒ | (โคฺลงเคฺลง) น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Melastoma วงศ์ Melastomataceae ดอกสีชมพูหรือม่วงแดง เช่น ชนิด M. malathricum L. |
งัวซัง | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Capparis thorelii Gagnep. ในวงศ์ Capparaceae ลำต้นมีหนามโค้ง ดอกสีชมพู. |
ชงโค | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Bauhinia purpurea L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูอมแดงหรือม่วงแดง. |
ชัยพฤกษ์ ๑ | (ไชยะพฺรึก) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia javanica L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝักเกลี้ยง ใช้ทำยาได้. |
ถั่วแปบช้าง | น. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia sericea Craib ในวงศ์ Leguminosae พบทางภาคอีสาน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีขาวเป็นมันเลื่อม ดอกเป็นช่อตั้ง สีชมพู ฝักสั้นป้อม แบน ปลูกเป็นไม้ประดับ. |
ถั่วลันเตา | น. ชื่อถั่วชนิด Pisum sativum L. ในวงศ์ Leguminosae เป็นไม้เถา มีมือเกาะ ยอดและฝักอ่อนใช้กินเป็นผัก พันธุ์ฝักเล็กดอกสีขาว พันธุ์ฝักใหญ่ดอกสีชมพูอมม่วงหรือสีอื่น ๆ, ถั่วน้อย ก็เรียก. |
ทองพันดุล | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Decaschistia parviflora Kurz ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีชมพูอมส้ม. |
นวลจันทร์ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cirrhinus microlepis Sauvage ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ตํ่าที่ปลายหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะในแนวเส้นข้างตัวมีประมาณ ๖๐ เกล็ด ลำตัวด้านหลังสีนํ้าตาลเทา ข้างท้องสีขาว ปลายครีบหลังและครีบท้องสีชมพู อาศัยตามลำนํ้าในเขตที่ลุ่มภาคกลางไปจนถึงแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, นวลจันทร์น้ำจืด ก็เรียก, อีสานเรียก โพง, เขมรเรียก พรวน. |
โนรี ๒ | น. ชื่อไม้เถาชนิด Hiptage lucida Pierre ในวงศ์ Malpighiaceae ดอกสีชมพู กลิ่นหอม. |
บัว | น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ ในสกุล Nelumbo วงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม, ปัทม์ ก็เรียก, พันธุ์ดอกป้อมสีขาว เรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกป้อมสีชมพู เรียก สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, ในสกุล Nymphaea วงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบหรือจัก อยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาว เรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchaliBurm.f.) ขอบใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน, ในสกุล Victoria วงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบกระด้งหรือบัววิกตอเรีย [ V. amazonica (Poeppig) Sowerby ] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก |
บัวสวรรค์ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Gustavia gracillima Miers ในวงศ์ Lecythidaceae ดอกสีชมพู กลีบดอกซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เหมือนดอกบัว. |
บุ้งฝรั่ง | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Ipomoea carneaJacq. subsp. fistulosa (Mart. ex Choisy) D.F. Austin ในวงศ์ Convolvulaceae ดอกสีชมพูอ่อน ใบมีขนอ่อน เรียก ผักบุ้งฝรั่ง, ผักบุ้งรั้ว ก็เรียก. |
ใบเงิน | และชนิด P. atropurpureumRadlk. สีใบและช่อดอกเหมือนชนิดที่ ๒ แต่ดอกสีชมพูอมม่วง. |
ปูนแห้ง | น. เรียกสีชมพูอย่างหนึ่งคล้ายสีปูนกินกับหมากเมื่อแห้ง ว่า สีปูนแห้ง. |
ผกากรอง | น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Lantana วงศ์ Verbenaceae เช่น ชนิด L. camara L. ลำต้นตรง กิ่งสี่เหลี่ยมมีหนามเล็กห่าง ๆ ช่อดอกเป็นกระจุกสีชมพู หรือ แดงอมเหลือง ปลูกเป็นไม้ประดับ และแพร่พันธุ์จนเป็นวัชพืชในบางท้องที่, ก้ามกุ้ง ก็เรียก, ชนิด L. sellowiana Link et Otto ลำต้นเลื้อย กิ่งไม่มีหนาม ดอกสีม่วง, ผกากรองเลื้อย ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นไม้ต่างประเทศ |
ฝนแสนห่า ๒ | น. ชื่อไม้เถาชนิด Argyreia capitiformis (Poir.) Ooststr. ในวงศ์ Convolvulaceae เถามียางขาว ใบออกสลับกัน โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกใหญ่ สีม่วงแดงหรือสีชมพูลักษณะคล้ายดอกผักบุ้ง. |
พวงชมพู | น. ชื่อไม้เถาขนาดเล็กชนิด Antigonon leptopusHook. et Arn. ในวงศ์ Polygonaceae ดอกสีชมพูรูปหัวใจเล็ก ๆ ออกเป็นช่อยาว ออกดอกตลอดปี. |
พุดตาน | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Hibiscus mutabilis L. ในวงศ์ Malvaceae ใบมีขน ขอบใบหยักเว้า ดอกสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู. |
เม็ก | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra ในวงศ์ Myrtaceae ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบหนา ใบอ่อนสีชมพูอมแดง กินเป็นผักได้ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ, เสม็ดชุน ก็เรียก. |
ยาอุทัย | น. ยาสำหรับหยดลงน้ำ มีสีชมพูทำให้น้ำมีกลิ่นหอมชื่นใจ. |
ยี่โถ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Nerium oleander L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีชมพู ขาว แดง หรือเหลือง มีทั้งกลิ่นหอมและไม่มีกลิ่นหอม ยางเป็นพิษ. |
โยทะกา ๒ | น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในวงศ์ Leguminosae ปลายใบเว้าลึกเป็น ๒ แฉก คือ ชนิด Bauhiniamonandra Kurz เป็นไม้ต้น ดอกสีขาวนวล มีลายสีชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆ และชนิด B. tomentosa L. เป็นไม้พุ่ม ดอกสีเหลือง ห้อยลง, ชงโคดอกเหลือง ก็เรียก. |
ระย่อม | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz ในวงศ์ Apocynaceae ทุกส่วนมียางขาว ดอกเล็กสีชมพู ออกเป็นช่อตามยอด รากใช้ทำยาได้, กระย่อม ก็เรียก. |
เล็บมือนาง ๒ | น. ชื่อไม้เถาชนิด Quisqualis indica L. ในวงศ์ Combretaceae ดอกแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดง กลิ่นหอม ออกเป็นช่อ เมล็ดใช้ทำยาได้. |
ว่านมหาเมฆ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma aeruginosa Roxb. ในวงศ์ Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย ขณะออกดอกไม่มีใบ ช่อดอกตั้ง ดอกสีเหลือง อยู่ระหว่างใบประดับสีขาวซึ่งมีปลายสีชมพู ใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก ดอกอาว. |
สร้อยระย้า ๒ | ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Medinilla magnifica Lindl. ในวงศ์ Melastomataceae ใบรูปไข่เป็นมัน เส้นกลางใบสีขาวนวล ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อห้อยลง. |
สายรุ้ง | น. ชื่องูน้ำขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ยาว ๕๐-๑๑๕ เซนติเมตร เช่น สายรุ้งธรรมดา [ Enhydris enhydris (Schneider) ] ด้านข้างลำตัวมีเส้นสีชมพูอมเทาสลับม่วงตามความยาวลำตัวสะท้อนแสงคล้ายสายรุ้ง ลำตัวกลมป้อม แยกจากส่วนหางซึ่งเรียวเล็กกว่าลำตัวเห็นได้ชัด มักหากินตามแหล่งน้ำ กินปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีพิษอ่อน ชนิดอื่น เช่น สายรุ้งลาย [ E. jagorii (Peters) ] สายรุ้งดำ [ E. smithii (Boulenger) ]. |
สาแหรก ๒ | น. ชื่อชมพู่ชนิด Syzygium malaccense (L.) Merr. et L. M. Perry ในวงศ์ Myrtaceae ผลใหญ่ สีชมพู เนื้อหนา มีลายสีแดงเข้มเป็นเส้น ๆ ตามยาวถ้าเป็นสีแดงเข้มล้วน เรียก ม่าเหมี่ยว. |