สีชมพูดง | <i>ดู กระติ๊ด</i>. |
สีชมพูสวน | น. ชื่อนกขนาดเล็กมากชนิด <i>Dicaeum</i><i>cruentatum</i> (Linn.) ในวงศ์ Dicaeidae ปากสั้น หางสั้น ตัวผู้มีสีขาวที่ด้านล่างลำตัว มีแถบสีแดงเด่นตั้งแต่กระหม่อมไปยังท้ายทอยถึงกลางหลังและโคนขนหาง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเทา มีแถบสีแดงที่ตะโพกและโคนขนหาง ทำรังเป็นรูปถ้วยด้วยดอกหญ้าและใยแมงมุมบนกิ่งไม้ กินน้ำต้อยและแมลง. |
กระติ๊ด ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Estrildidae ปากสั้นหนารูปกรวยปลายแหลม หัวกลม ลำตัวอ้วนป้อม มีหลายสี ปลายหางแหลม ใช้หญ้าทำรังเป็นรูปกลมอยู่บนพุ่มไม้เตี้ย ๆ หรือกอหญ้า ปากรังอยู่ทางด้านข้าง กินเมล็ดพืช มีหลายชนิด ที่พบมาก คือ กระติ๊ดขี้หมู [ <i> Lonchura punctulata</i> (Linn.) ] ชนิดอื่น ๆ เช่น กระติ๊ดเขียวหรือไผ่ [ <i> Erythrura prasina</i> (Sparrman) ] กระติ๊ดแดงหรือสีชมพูดง [ <i> Amandava amandava</i> (Linn.) ] กระติ๊ดท้องขาว[ <i> Lonchura leucogastra</i> (Blyth) ], กะทิ ก็เรียก. |
กระทุ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Rhodomyrtus tomentosa</i> (Aiton) Hassk. ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พรวดใหญ่ หรือ พรวดกินลูก ก็เรียก. |
กะลา ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Etlingera elatior</i> (Jack) R. M. Sm. ในวงศ์ Zingiberaceae ต้นคล้ายข่า สูง ๓-๔ เมตร ช่อดอกคล้ายบัวตูมแต่กลีบแข็ง สีชมพูหรือแดง มีดอกเล็ก ๆ แน่นเป็นกระจุกอยู่ภายใน ก้านช่อดอกผุดขึ้นจากดินและยาวได้ถึง ๑ เมตร หน่อและดอกอ่อนใช้เป็นอาหาร, กาหลา หรือ ดาหลา ก็เรียก, ปักษ์ใต้บางจังหวัดเรียก ปุดกะลา. |
กัลปพฤกษ์ ๒ | (กันละปะพฺรึก) น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Cassia</i> <i> bakeriana</i> Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่ม. |
กาบบัว | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด <i> Mycteria</i><i> leucocephala</i> (Pennant) ในวงศ์ Ciconiidae คอและขายาว ปากยาวสีเหลือง หัว คอ และลำตัวสีขาว มีแถบดำคาดขวางอก ขนคลุมขนปีกตอนปลายสีชมพู อาศัยอยู่ตามบึงและหนองนํ้า กินปลาและสัตว์น้ำ. |
กาฝาก ๒ | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Dicaeidae ปากสั้น หางสั้น แต่ละชนิดมีสีตามลำตัวหลายสี ตัวผู้สีสดกว่าตัวเมีย ยกเว้นบางชนิดที่มีสีคล้ายคลึงกันทั้ง ๒ เพศ กินน้ำต้อยโดยเฉพาะดอกกาฝากและผลไม้ เช่น กาฝากอกเหลือง [ <i> Prionochilus maculates</i> (Temminck & Laugier) ] กาฝากปากหนา [ <i> Dicaeum agile</i> (Tickell) ] กาฝากอกเพลิง [ <i> D. ignipectus</i> (Blyth) ] สีชมพูสวน [ <i> D. cruentatum</i> (L.) ]. |
ก้ามปู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด <i> Samanea saman</i> (Jacq.) Merr. ในวงศ์ Leguminosae เรือนยอดทึบแบนแผ่สาขากว้างใหญ่จึงให้ร่มเงาได้ดี ช่อดอกเป็นพู่สีชมพูแก่ ฝักแก่สีนํ้าตาลไหม้ ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร รสหวาน เป็นไม้ที่นำเข้ามาปลูก, เดิมเรียก จามจุรีแดง แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า จามจุรี, พายัพเรียก ฉำฉา หรือ สำสา. |
ก้ามปูหลุด | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Tradescantia</i><i> zebrina</i> Hort ex Bosse ในวงศ์ Commelinaceae ลำต้นเรียว และเป็นปล้อง ๆ เลื้อยไปตามดิน ใบสีเขียวหม่น ใบด้านบนมีแถบสีเทาคาดตามยาว ด้านล่างสีม่วงแดง ดอกสีชมพู. |
กาฬพฤกษ์ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Cassia grandis</i> L. f. ในวงศ์ Leguminosae ลำต้นดำ ใบอ่อนสีแดง ดอกเล็ก สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ฝักใหญ่อ้วนสั้น ผิวขรุขระ ด้านข้างมีสัน เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาปลูก. |
เกาลัด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด<i> Sterculia</i><i> monosperma</i>Vent<i> </i>. ในวงศ์ Sterculiaceae ขอบใบเรียบ ดอกเล็ก สีชมพูอมเขียว เปลือกผลหนา ไม่มีหนาม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง สีนํ้าตาลแกมแดง เปลือกไม่แข็ง เนื้อในสีขาว กินได้. |
แก้มแหม่ม | น. ชื่อชมพู่พันธุ์หนึ่งของชนิด <i> Syzygium samarangense</i> (Blume) Merr. et L. M. Perry var. <i> samarangense</i> ผลกลมแป้น สีชมพูเรื่อ ๆ. |
ไก่เตี้ย ๒ | น. ชื่อไม้เถาชนิด <i> Canavalia rosea</i> (Sw.) DC. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามหาดทรายชายทะเล ดอกสีชมพู ขาว หรือ ม่วง, กำพร้า หรือ ถั่วคร้า ก็เรียก. |
ไกร ๑ | (ไกฺร) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ในสกุล <i> Ficus</i> วงศ์ Moraceae ลักษณะคล้ายต้นไทร มี ๒ ชนิด คือ ชนิด <i> F. concinna</i> (Miq.) Miq. เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบ ใบเล็ก ช่อดอกรูปคล้ายผล ออกเป็นคู่ตามง่ามใบ ผลสีชมพู มีกระสีจาง ๆ, ไฮฮี ก็เรียก และชนิด <i> F. superba</i> (Miq.) Miq. เปลือกสีเทาเรียบ ใบใหญ่ ช่อดอกคล้ายชนิดแรก ผลสีชมพู, ไทรเลียบ ก็เรียก. |
ขี้ครอก ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Urena lobata</i> L. ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีชมพู ผลมีขนปลายเงี่ยงคลุม. |
ขี้มอด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็ก ๒ ชนิด ในวงศ์ Leguminosae คือ ชนิด <i> Dalbergia lanceolaria</i>L.f. var.<i> lakhonensis</i> (Gagnep.)Niyomdham ดอกสีขาวหรือขาวแกมม่วงน้ำเงิน และชนิด <i> Derris robusta</i> (DC.) Benth. ดอกสีชมพูถึงม่วงอ่อน เนื้อไม้ฟ่าม ใช้ทำหีบหรือลัง. |
เขยตาย | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Glycosmis pentaphylla</i> (Retz.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลมขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทำยา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก ส้มชื่น. |
เขา ๓ | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Columbidae ปากสั้นตรงปลายโค้งเล็กน้อย ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมน้ำตาล ขนปีกมีลาย ขาสีชมพู มักอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง กินเมล็ดพืชบนพื้นดิน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขาใหญ่หรือเขาหลวง [ <i> Streptopelia chinensis</i> (Scopoli) ] เขาลายเล็ก [ <i> Macropygia ruficeps</i> (Temminck) ] เขาเขียว [ <i> Chalcophaps indica</i> (Linn.) ] เขาชวาหรือเขาเล็ก [ <i> Geopelia striata</i> (Linn.) ]<i> </i>. |
เขี้ยวเนื้อ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด <i> Lagerstroemia undulata</i> Koehne var. <i> subangulata</i> Craib ในวงศ์ Lythraceae ช่อดอกเรียวแหลม ดอกเล็ก สีชมพูคล้ำ, สมอร่อง ก็เรียก. |
เขือ ๑ | น. ชื่อปลาในสกุล <i> Taenioides</i> และ <i> Brachyamblyopus</i> วงศ์ Gobioididae ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง และเป็นสีชมพูโดยตลอด ยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ตาเล็กมาก เกล็ดเล็กมากหลุดร่วงง่าย อาศัยอยู่ในรูบริเวณปากแม่น้ำที่มีพื้นเป็นเลน. |
ควีนสิริกิติ์ | ชื่อไม้พุ่มพันธุ์ <i> Mussaenda</i> ‘Queen Sirikit’ ในวงศ์ Rubiaceae เป็นลูกผสม กำเนิดในฟิลิปปินส์ กลีบเลี้ยงใหญ่สีชมพูอ่อนขอบสีชมพูเข้ม หลอดกลีบดอกสีแดง กลีบดอกสีเหลือง. |
โคลงเคลง ๒ | (โคฺลงเคฺลง) น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล <i> Melastoma</i> วงศ์ Melastomataceae ดอกสีชมพูหรือม่วงแดง เช่น ชนิด <i> M. malathricum</i> L. |
งัวซัง | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Capparis thorelii</i> Gagnep. ในวงศ์ Capparaceae ลำต้นมีหนามโค้ง ดอกสีชมพู. |
ชงโค | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด <i> Bauhinia purpurea</i> L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูอมแดงหรือม่วงแดง. |
ชัยพฤกษ์ ๑ | (ไชยะพฺรึก) น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Cassia javanica</i> L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝักเกลี้ยง ใช้ทำยาได้. |
ถั่วแปบช้าง | น. ชื่อไม้เถาชนิด <i> Afgekia</i> <i> sericea</i> Craib ในวงศ์ Leguminosae พบทางภาคอีสาน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีขาวเป็นมันเลื่อม ดอกเป็นช่อตั้ง สีชมพู ฝักสั้นป้อม แบน ปลูกเป็นไม้ประดับ. |
ถั่วลันเตา | น. ชื่อถั่วชนิด <i> Pisum</i> <i> sativum</i> L. ในวงศ์ Leguminosae เป็นไม้เถา มีมือเกาะ ยอดและฝักอ่อนใช้กินเป็นผัก พันธุ์ฝักเล็กดอกสีขาว พันธุ์ฝักใหญ่ดอกสีชมพูอมม่วงหรือสีอื่น ๆ, ถั่วน้อย ก็เรียก. |
ทองพันดุล | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Decaschistia parviflora</i> Kurz ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีชมพูอมส้ม. |
นวลจันทร์ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i>Cirrhinus</i> <i>microlepis</i> Sauvage ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ตํ่าที่ปลายหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะในแนวเส้นข้างตัวมีประมาณ ๖๐ เกล็ด ลำตัวด้านหลังสีนํ้าตาลเทา ข้างท้องสีขาว ปลายครีบหลังและครีบท้องสีชมพู อาศัยตามลำนํ้าในเขตที่ลุ่มภาคกลางไปจนถึงแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, นวลจันทร์น้ำจืด ก็เรียก, อีสานเรียก โพง, เขมรเรียก พรวน. |
โนรี ๒ | น. ชื่อไม้เถาชนิด <i>Hiptage</i> <i>lucida</i> Pierre ในวงศ์ Malpighiaceae ดอกสีชมพู กลิ่นหอม. |
บัว | น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ ในสกุล <i>Nelumbo</i> วงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (<i>N. nucifera</i> Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม, ปัทม์ ก็เรียก, พันธุ์ดอกป้อมสีขาว เรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกป้อมสีชมพู เรียก สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, ในสกุล <i>Nymphaea</i> วงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบหรือจัก อยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (<i>N. lotus</i> L. var. <i>pubescens</i> Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาว เรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (<i>N</i>. <i>nouchali</i>Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน, ในสกุล <i>Victoria</i> วงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบกระด้งหรือบัววิกตอเรีย [ <i>V. amazonica</i> (Poeppig) Sowerby ] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก |
บัวสวรรค์ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด <i>Gustavia gracillima</i> Miers ในวงศ์ Lecythidaceae ดอกสีชมพู กลีบดอกซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เหมือนดอกบัว. |
บุ้งฝรั่ง | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i>I</i><i>pomoea carnea</i>Jacq. subsp. <i>fistulosa</i> (Mart. ex Choisy) D.F. Austin ในวงศ์ Convolvulaceae ดอกสีชมพูอ่อน ใบมีขนอ่อน เรียก ผักบุ้งฝรั่ง, ผักบุ้งรั้ว ก็เรียก. |
ใบเงิน | และชนิด <i>P. atropurpureum</i>Radlk. สีใบและช่อดอกเหมือนชนิดที่ ๒ แต่ดอกสีชมพูอมม่วง. |
ปูนแห้ง | น. เรียกสีชมพูอย่างหนึ่งคล้ายสีปูนกินกับหมากเมื่อแห้ง ว่า สีปูนแห้ง. |
ผกากรอง | น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล <i> Lantana</i> วงศ์ Verbenaceae เช่น ชนิด <i> L</i>. <i> camara</i> L. ลำต้นตรง กิ่งสี่เหลี่ยมมีหนามเล็กห่าง ๆ ช่อดอกเป็นกระจุกสีชมพู หรือ แดงอมเหลือง ปลูกเป็นไม้ประดับ และแพร่พันธุ์จนเป็นวัชพืชในบางท้องที่, ก้ามกุ้ง ก็เรียก, ชนิด <i> L. sellowiana</i> Link et Otto ลำต้นเลื้อย กิ่งไม่มีหนาม ดอกสีม่วง, ผกากรองเลื้อย ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นไม้ต่างประเทศ |
ฝนแสนห่า ๒ | น. ชื่อไม้เถาชนิด <i> Argyreia capitiformis</i> (Poir.) Ooststr. ในวงศ์ Convolvulaceae เถามียางขาว ใบออกสลับกัน โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกใหญ่ สีม่วงแดงหรือสีชมพูลักษณะคล้ายดอกผักบุ้ง. |
พวงชมพู | น. ชื่อไม้เถาขนาดเล็กชนิด <i> Antigonon leptopus</i>Hook. et Arn. ในวงศ์ Polygonaceae ดอกสีชมพูรูปหัวใจเล็ก ๆ ออกเป็นช่อยาว ออกดอกตลอดปี. |
พุดตาน | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Hibiscus mutabilis</i> L. ในวงศ์ Malvaceae ใบมีขน ขอบใบหยักเว้า ดอกสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู. |
เม็ก | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Syzygium gratum</i> (Wight) S.N. Mitra ในวงศ์ Myrtaceae ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบหนา ใบอ่อนสีชมพูอมแดง กินเป็นผักได้ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ, เสม็ดชุน ก็เรียก. |
ยาอุทัย | น. ยาสำหรับหยดลงน้ำ มีสีชมพูทำให้น้ำมีกลิ่นหอมชื่นใจ. |
ยี่โถ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i>Nerium</i> <i>oleander</i> L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีชมพู ขาว แดง หรือเหลือง มีทั้งกลิ่นหอมและไม่มีกลิ่นหอม ยางเป็นพิษ. |
โยทะกา ๒ | น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในวงศ์ Leguminosae ปลายใบเว้าลึกเป็น ๒ แฉก คือ ชนิด <i>Bauhinia</i><i>monandra</i> Kurz เป็นไม้ต้น ดอกสีขาวนวล มีลายสีชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆ และชนิด <i>B. tomentosa</i> L. เป็นไม้พุ่ม ดอกสีเหลือง ห้อยลง, ชงโคดอกเหลือง ก็เรียก. |
ระย่อม | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i>Rauvolfia serpentina</i> (L.) Benth. ex Kurz ในวงศ์ Apocynaceae ทุกส่วนมียางขาว ดอกเล็กสีชมพู ออกเป็นช่อตามยอด รากใช้ทำยาได้, กระย่อม ก็เรียก. |
เล็บมือนาง ๒ | น. ชื่อไม้เถาชนิด <i>Quisqualis</i> <i>indica</i> L. ในวงศ์ Combretaceae ดอกแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดง กลิ่นหอม ออกเป็นช่อ เมล็ดใช้ทำยาได้. |
ว่านมหาเมฆ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma aeruginosa Roxb. ในวงศ์ Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย ขณะออกดอกไม่มีใบ ช่อดอกตั้ง ดอกสีเหลือง อยู่ระหว่างใบประดับสีขาวซึ่งมีปลายสีชมพู ใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก ดอกอาว. |
สร้อยระย้า ๒ | ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด <i>Medinilla magnifica</i> Lindl. ในวงศ์ Melastomataceae ใบรูปไข่เป็นมัน เส้นกลางใบสีขาวนวล ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อห้อยลง. |
สายรุ้ง | น. ชื่องูน้ำขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ยาว ๕๐-๑๑๕ เซนติเมตร เช่น สายรุ้งธรรมดา [ <i>Enhydris enhydris</i> (Schneider) ] ด้านข้างลำตัวมีเส้นสีชมพูอมเทาสลับม่วงตามความยาวลำตัวสะท้อนแสงคล้ายสายรุ้ง ลำตัวกลมป้อม แยกจากส่วนหางซึ่งเรียวเล็กกว่าลำตัวเห็นได้ชัด มักหากินตามแหล่งน้ำ กินปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีพิษอ่อน ชนิดอื่น เช่น สายรุ้งลาย [ <i>E. jagorii</i> (Peters) ] สายรุ้งดำ [ <i>E. smithii</i> (Boulenger) ]. |
สาแหรก ๒ | น. ชื่อชมพู่ชนิด <i>Syzygium malaccense</i> (L.) Merr. et L. M. Perry ในวงศ์ Myrtaceae ผลใหญ่ สีชมพู เนื้อหนา มีลายสีแดงเข้มเป็นเส้น ๆ ตามยาวถ้าเป็นสีแดงเข้มล้วน เรียก ม่าเหมี่ยว. |