กระดี๊กระด๊า | ก. ระริกระรี้, ตื่นเต้นแสดงความสนใจเพศตรงข้าม, เช่น พอเห็นหนุ่มหล่อ ๆ มาร่วมงาน สาว ๆ ก็กระดี๊กระด๊ากันเป็นแถว, แสดงท่าทางอย่างเห็นได้ชัดว่าดีใจหรือพอใจมาก เช่น แค่รู้ว่าผู้ชายจะมาสู่ขอลูกสาว ว่าที่แม่ยายก็กระดี๊กระด๊าจนเก็บอาการไม่อยู่, ตื่นเต้นแสดงความดีใจจนเกินงาม เช่น พอรู้ว่าหัวหน้าจะพาไปเที่ยวทะเลก็กระดี๊กระด๊ากันไปทั้งแผนก, กะดี๊กะด๊า หรือ ดี๊ด๊า ก็ว่า. |
กำด้น | น. ท้ายทอย, ส่วนที่คอกับศีรษะต่อกัน, เช่น เหมือนกดคอยอกำด้นลูกสาวศรี (มณีพิชัย). |
ขายไม่ออก | ก. ไม่มีใครมาขอแต่งงาน เช่น ลูกสาวคนเล็กอายุ ๓๐ ปีแล้ว ยังขายไม่ออกเลย. |
เขย | น. ชายที่มาแต่งงานกับญาติผู้หญิง, ผัวของญาติ, เช่น ถ้าเป็นผัวของลูกสาว เรียก ลูกเขย ถ้าเป็นผัวของป้า เรียก ลุงเขย. |
ตบแต่ง ๒ | ก. จัดให้ลูกสาวมีเรือนตามประเพณี เช่น ตบแต่งลูกสาวให้เป็นฝั่งเป็นฝา. |
ต๊อกต๋อย | (ต๊อก-, ต๊อกกะ-) ว. ต่ำต้อย เช่น ลูกสาวเศรษฐีแต่งงานกับคนต๊อกต๋อย. |
นัดดา | น. หลาน (ลูกของลูกชายหรือลูกสาว). |
นัวเนีย | ก. เข้าไปใกล้ชิด เช่น เขามานัวเนียกับลูกสาวบ้านนี้, เกี่ยวพันกันยุ่ง เช่น สองตระกูลนี้ลำดับญาติกันไม่ถูก เพราะนัวเนียกันไปหมด. |
บุญทาย | ว. ควรเป็นเนื้อคู่กัน เช่น ไปสู่ขอลูกสาวหลานสาวท่าน บุญทายต้องกัน. |
ปราชาปัตยวิวาหะ | (ปฺราชาปัดตะยะ-) น. การสมรสวิธีหนึ่งที่บิดายกลูกสาวให้เจ้าบ่าวโดยปราศจากการเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่งจากเจ้าบ่าว. |
ยก ๑ | มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้ |
ยกยอปอปั้น | ก. ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขาไป |
ร้อยชั่ง | น. จำนวนเงิน ๘, ๐๐๐ บาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากในสมัยหนึ่ง, โดยปริยายหมายถึงลูกสาวที่พ่อแม่สงวนอย่างมีค่าเท่ากับเงิน ๑๐๐ ชั่ง. |
ลูกเขย | น. ชายซึ่งเป็นผัวของลูกสาว. |
วอแว | เกาะแกะ เช่น อย่าไปวอแวลูกสาวเขา. |
ษมายุมแปลง | น. เครื่องขมาโทษที่ชายนำไปคำนับพ่อแม่หญิงเพื่อขอโทษในการที่ลักพาลูกสาวท่านไป. |
สมหน้าสมตา | ว. เหมาะแก่เกียรติและฐานะ เช่น ลูกสาวบ้านนั้นเขาแต่งงานไปอย่างสมหน้าสมตา. |
สมรัก | ก. ร่วมประเวณี เช่น ชายลอบลักสมรักทำชู้ด้วยลูกสาวท่านก็ดี… สองลอบสมรักด้วยกัน มิได้สู่ขอมีขันหมากเปนคำนับ (สามดวง). |
สะพรั่ง | ว. อาการที่สิ่งอย่างเดียวกันจำนวนมากปรากฏพร้อม ๆ กัน เช่น ดอกไม้ในสวนบานสะพรั่ง มะม่วงออกช่อสะพรั่ง เขามีลูกสาว ๓ คน กำลังเป็นสาวสะพรั่ง. |
สุดา | น. ลูกสาว. (ป., ส. สุตา) |
สู่ขอ | ก. เจรจาขอหญิงจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองเพื่อการแต่งงาน เช่น เขาขอให้พ่อแม่ไปสู่ขอลูกสาวกำนัน. |
หัวกระไดไม่แห้ง | ว. มีแขกมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ (มักใช้หมายถึงบ้านที่มีลูกสาวสวย หรือบ้านผู้มีอำนาจวาสนา). |
อาม ๒ | น. เรียกลูกสาวคนที่ ๓ ว่า ลูกอาม. |
อี่ | น. สอง, เรียกลูกสาวคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๒ ว่า ลูกญี่. |
เอื้อย | น. หนึ่ง, เรียกลูกสาวคนที่ ๑ ว่า ลูกเอื้อย. (สามดวง) |