assemble | (อะเซม'เบิล) vt. รวบรวม, ประชุม, รวมเข้า. -assembler n., Syn. combine, collect, Ant. disperse, separate แปล ภาษาแอสเซมบลี หมายถึงแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง machine language เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ได้ |
assembler | แอสเซมเบลอร์ตัวแปลภาษาแอสเซมบลีหมายถึง โปรแกรมที่ใช้เพื่อทำหน้าที่แปลโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีเป็นภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์อ่านแล้วเข้าใจ และปฏิบัติตามคำสั่งได้ ดู assembly language |
characteristic | (แคริคเทอริส'ทิค) adj. เป็นลักษณะเฉพาะ -n. ลักษณะเฉพาะ การรู้จำอักขระหมายถึง เทคโนโลยีในการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับรู้ความแตกต่างของรูปลักษณะตัวอักษร ต่าง ๆ ที่มนุษย์เขียนหรือพิมพ์ขึ้น โดยใช้แสงหรือสนามแม่เหล็ก แล้วถอดรหัสเป็นภาษาเครื่อง (machine language) เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปได้ดู pattern recognition ประกอบ |
compile | (คัมไพล์') { compiled, compiling, compiles } vt. รวบรวม, เรียบเรียง แปลโปรแกรมหมายถึง แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษา โคบอล (COBOL) ซึ่งเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ ให้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ การแปลนั้น คอมพิวเตอร์จะอ่านโปรแกรมทั้งหมดเข้าไปแล้วจึงจะลงมือแปล เมื่อเข้าใจแล้ว คอมพิวเตอร์จึงจะปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมได้ |
compiler | (คัมไพ'เลอะ) n. ผู้รวบรวม, ผู้เรียบเรียง ตัวแปลโปรแกรมคอมไพเลอร์หมายถึง โปรแกรมที่แปลโปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่นภาษา FORTRAN, COBOL ฯ เป็นภาษาเครื่อง (machine language) การแปลโดยใช้โปรแกรมแปลนี้ จะใช้วิธีแปลทั้งโปรแกรม นำคำแปลเก็บไว้ในหน่วยความจำ แล้วจึงลงมือปฏิบัติการ (execute) ไปทีละคำสั่ง ถ้ามีการสั่งให้ทำบางคำสั่งซ้ำ ก็ไม่จำเป็นต้องแปลใหม่ดู translator ประกอบดู interpreter เปรียบเทียบ |
computer language | ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล |
executable statement | ข้อความสั่งทำการหมายถึง คำสั่งในภาษาระดับสูงที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ลงมือทำการ คำสั่งเหล่านี้ ตัวแปลโปรแกรม (compiler) จะแปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้วเครื่องจะปฏิบัติการตามคำสั่งนั้น เช่น คำสั่งกำหนดค่า A = 2 ถ้าเครื่องเจอคำสั่งนี้ ก็จะลงมือกระทำการ (execute) ด้วยการนำค่า 2 ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำช่องหนึ่งที่มีอยู่ (address) ชื่อ A เป็นต้นดู non executable statement เปรียบเทียบ |
execute | (เอค'ซะคิวทฺ) vt. ปฎิบัติ, บริหาร, ประหารชีวิต, บังคับตามกฎหมาย., See also: executable adj. executer n. กระทำการหมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ลงมือกระทำการตามคำสั่งในโปรแกรม หลังจากที่มีการแปลโปรแกรมนั้น compile ออกเป็นภาษาเครื่อง machine language แล้วดู compile และ machine language ประกอบ |
execution time | เวลากระทำการหมายถึงช่วงเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรม เริ่มตั้งแต่ต้นจนได้รับคำตอบตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรม ไม่นับรวมเวลาที่ใช้ในการแปลจากภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม เป็นภาษาเครื่อง (machine language) |
human oriented language | ภาษาแนวมนุษย์หมายถึงภาษาที่ใกล้เคียงภาษามนุษย์ เขียนได้ง่าย เข้าใจง่าย และกระทัดรัด สะดวกในการใช้งาน ภาษานี้มีลักษณะเหมือนภาษาหนังสือ ใช้เขียนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน แต่คอมพิวเตอร์จะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) ก่อนจึงจะเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ1. ภาษาระดับสูง (high level language) 2. ภาษาระดับต่ำ (low level language) การใช้ภาษามนุษย์เขียนชุดคำสั่งนี้มีข้อดีคือ ทำได้ง่าย มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่าย เขียนได้สั้น เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลายคำสั่งในภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดีตรงที่สามารถใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่าเพราะไม่เสียเวลาในการแปลดู computer language ประกอบดู machine language เปรียบเทียบ |
imperative statement | หมายถึง คำสั่งในภาษาระดับสูง (high level language) ที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ลงมือทำการ คำสั่งเหล่านี้ ตัวแปลโปรแกรม จะแปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) ก่อน แล้วเครื่องจึงจะปฏิบัติตาม เช่น ข้อความสั่งทำการกำหนดให้ A = 2 ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์พบคำสั่งนี้ ก็จะลงมือทำหาร ด้วยการนำ 2 ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำช่องหนึ่งที่มีอยู่ (address) แล้วกำหนดชื่อที่เก็บนั้นว่า A เป็นต้นมีความหมายเหมือน excutable statement |
incremental compiler | ตัวแปลโปรแกรมส่วนเพิ่มหมายถึง โปรแกรมพิเศษที่ทำหน้าที่เป็นตัวแปลคำสั่งในโปรแกรมให้เป็นรหัสภาษาเครื่องในทันทีที่พิมพ์ข้อความที่เป็นคำสั่งเต็มบรรทัด ตัวแปลโปรแกรมส่วนเพิ่มตัวนี้จะทำหน้าที่แปลในขณะที่เราพิมพ์คำสั่งแต่ละคำสั่ง ผิดกับตัวแปลอื่นที่จะรอจนพิมพ์โปรแกรมเสร็จหมดจึงจะลงมือแปล การแปลแบบหลังนี้ เราจะต้องรอสักนิดหนึ่ง เมื่อการแปลเสร็จสิ้นแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะลงมือทำงาน ดู interpreter ประกอบ |
interpreter | ตัวแปลภาษาเป็นโปรแกรมตัวแปลที่อ่านคำสั่งในโปรแกรมทีละคำสั่ง (ไม่รอจนจบโปรแกรมเหมือนตัวแปลอื่น) แปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้วปฏิบัติตามคำสั่งนั้นเลย เช่น ตัวแปลที่ใช้แปลโปรแกรมภาษาเบสิก (BASIC) การเรียนวิธีเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวแปลประเภทนี้ ผู้เรียนจะรู้สึกว่าง่ายและทันใจ เพราะพอใส่คำสั่งเข้าไป เครื่องก็จะรายงานได้ทันทีว่า คำสั่งนั้นถูกหรือผิด ถ้าสั่งให้ทำอะไร ก็จะทำให้เลย ข้อเสียของตัวแปลประเภทนี้ ก็คือ คอมพิวเตอร์จะไม่เก็บคำแปลไว้ หากจะต้องย้อนกลับไปทำคำสั่งนั้นอีก ก็จะต้องแปลใหม่อีกทุกครั้ง ดู compiler ประกอบ |
low level language | ภาษาระดับต่ำเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง (machine language) ฉะนั้น คอมพิวเตอร์จะแปลได้ง่ายกว่าภาษาระดับสูงอย่างภาษา FORTRAN, COBOL หรือ C แต่ผู้เขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับนี้ จะพบว่าเขียนยากกว่าใช้ภาษาระดับสูง ซึ่งมีลักษณะเหมือนภาษามนุษย์มากกว่า ตัวอย่างของภาษานี้มี ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) อยู่เพียงภาษาเดียว ดู high level language เปรียบเทียบ |
machine language | ภาษาเครื่องหมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ไม่ควรเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้เลย เพราะอาจจะทำให้หมดกำลังใจไปเลย อาจจะพอเปรียบได้ว่า เลขฐานสองนั้นก็เหมือน ๆ กับตัวโน้ต เพลง (ภาษาดนตรีก็เข้าใจยากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาเครื่องนี้สักเท่าใดดอก) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่ว่าเราจะสั่งให้เครื่องทำงานด้วยโปรแกรมภาษาอะไรก็ตาม ตัวแปลโปรแกรม (compiler) ก็จะต้องทำหน้าที่แปลภาษาที่เราใช้ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง (execute) นั้น ๆ ได้ |
macro assembler | ตัวแปลแมโครหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมหนึ่งที่ใช้งานในการสร้างโปรแกรมแมโครและมีหน้าที่แปลภาษาที่ใช้ในแมโครให้เป็นภาษาแอสเซมบลี (assembly language) แต่ละข้อคำสั่งในโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีนั้นใช้แทนคำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) หลายคำสั่งได้ ฉะนั้นถ้าเขียนแมโครเก็บไว้ เมื่อเรียกมาใช้ก็จะทำให้สะดวก ไม่ต้องพิมพ์คำสั่งยาว ๆ ดู macro ประกอบ |
object language | ภาษาจุดหมายหมายถึง ชุดคำสั่งที่เป็นภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามได้ทันที่ถ้าผ่านการเชื่อมโยง (link) โดยปกติ ในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เรามักจะเขียนคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติตามเป็นภาษาระดับสูง (high level language) หรือที่เรียกว่าภาษาต้นฉบับ (source language) ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจและจะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่องหรือภาษาจุดหมายก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะทำงานตามคำสั่งที่ต้องการได้ |
object program | โปรแกรมจุดหมายโปรแกรมภาษาเครื่องหมายถึงโปรแกรมที่แปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้ว การแปลนี้จะใช้ตัวแปลที่เรียกว่า compiler ทั้งนี้ เพราะการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องนั้นยากเกินความสามารถของมนุษย์ธรรมดา เราจึงเขียนกันด้วยภาษาที่เรียกว่าภาษาเชิงมนุษย์ (human-oriented language) ซึ่งง่ายกว่า แล้วเรียกโปรแกรมเหล่านี้ว่า "โปรแกรมต้นฉบับ" (source program) เมื่อตัวแปลทำการแปลโปรแกรมต้นฉบับนี้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่องแล้ว คอมพิวเตอร์จึงจะปฏิบัติตามได้ดู compiler, ประกอบดู source program เปรียบเทียบ |
op code | รหัสดำเนินการย่อมาจาก operation code (แปลว่า รหัสดำเนินการ) หมายถึงส่วนของคำสั่งในภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาแอสเซมบลี (assembly language) ที่เป็นคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติ เช่น คำสั่งให้เครื่องบวกหรือลบ เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งของคำสั่งซึ่งเป็นตัวถูกดำเนินการ เรียกว่า operandดู operand เปรียบเทียบ |
operation code | ใช้ตัวย่อว่า op code (อ่านว่า ออป โคด) หมายถึงส่วนของคำสั่งในภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาแอสเซมบลี (assembly language) ที่เป็นคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติ เช่น คำสั่งให้เครื่องบวกหรือลบ เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งของคำสั่งซึ่งเป็นตัวถูกดำเนินการ เรียกว่า operandดู operand เปรียบเทียบ |
pattern recognition | การรู้จำแบบหมายถึงเทคนิคในการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับรู้ความแตกต่างของรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้แสงหรือสนามแม่เหล็ก แล้วถอดรหัสเป็นภาษาเครื่อง (machine language) เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปได้ |
private library | คลังชุดคำสั่งส่วนตัวหมายถึง ที่เก็บรวบรวมชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งแปลไว้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้ว อาจเรียกใช้ได้ทันที มักเป็นชุดคำสั่งที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน program library |
privileged instruction | คำสั่งเอกสิทธิ์หมายถึง คำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งจำกัดโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ให้ทำงานผิดแนวทาง โดยปกติ คำสั่งเอกสิทธิ์จะประกอบด้วย คำสั่งข้อจำกัดการใช้ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยรับข้อมูลเข้า หน่วยแสดงผล การป้องกันหน่วยความจำ การหยุดชะงักการทำงานของเครื่อง และปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุม และการกำหนดเวลา คำสั่งนี้ผู้ใช้เครื่องธรรมดาไม่มีสิทธิใช้ และจะทำงานได้เฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะการใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system mode) |
program library | คลังโปรแกรมหมายถึง ที่เก็บรวบรวมชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งแปลไว้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้ว อาจเรียกใช้ได้ทันที มักเป็นชุดคำสั่งที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน private library |
programming language | ภาษาโปรแกรมหมายถึง ภาษาที่ออกแบบโครงสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ทำนองเดียวกับตัวโน้ตของภาษาดนตรี ภาษาโปรแกรมมีตั้งแต่ระดับต่ำสุด คือใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง (machine language) มากที่สุด ไปจนถึงภาษาระดับสูง คือใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ (ภาษาอังกฤษธรรมดา ๆ) มากที่สุดดู language ประกอบ |
pseudo instruction | คำสั่งเทียมคำสั่งลำลองหมายถึง คำสั่งในภาษาแอสเซมบลี (assembly) ที่บอกข้อมูลให้แอสเซมเบลอร์ว่า จะแปลเป็นภาษาเครื่องอย่างไร คำสั่งเทียมนี้จะไม่แปลเป็นภาษาเครื่องก่อน แต่จะกำหนดให้แอสเซมเบลอร์แปลโปรแกรมโดยตรง ตัวอย่างของคำสั่งเทียมที่ใช้มาก เช่น END เป็นสัญญาณให้รู้ว่า สิ้นสุดคำสั่งที่จะต้องแปลแล้ว |
source code | รหัสต้นฉบับรหัสต้นทางหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวต้นฉบับของโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นโปรแกรมที่เครื่องแปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) เรียบร้อยแล้ว |
symbolic language | ภาษาสัญลักษณ์เป็นภาษาที่ใช้เป็นรหัส กำหนดตำแหน่งที่อยู่ และการปฏิบัติการของคำสั่งต่าง ๆ ในรูปของสัญลักษณ์ ซึ่งมนุษย์คุ้นเคยมากกว่าภาษาเครื่อง เช่น ใช้คำว่า sub แทน ลบ (มาจากคำ subtract) |
target language | ภาษาเป้าหมายหมายถึง ภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ และปฏิบัติตามได้ทันที โดยปกติในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เรามักจะเขียนคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติตามเป็นภาษาต้นฉบับ (source language) หรือภาษาระดับสูง (high level language) ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ และจะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่องก่อนคอมพิวเตอร์จึงจะทำงานตามคำสั่งที่ต้องการได้ ภาษาเป้าหมายก็คือภาษาเครื่องนั่นเองมีความหมายเหมือน object language หรือ machine languageดู source language เปรียบเทียบ |