ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ภาษาเครื่อง*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ภาษาเครื่อง, -ภาษาเครื่อง-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ภาษาเครื่อง(n) machine language, Example: ข้อเสียของภาษาเครื่องคือ ภาษาของแต่ละเครื่องจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้แล้วแต่การออกแบบระบบเครื่องว่าจะเป็นแบบใด, Thai Definition: ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านและขึ้นบนจอภาพได้โดยตรง
โปรแกรมภาษาเครื่อง(n) object program, See also: target program, Example: โปรแกรมภาษาเครื่องไม่ได้จัดในรูปแบบที่ปฏิบัติการได้, Count Unit: โปรแกรม, Thai Definition: โปรแกรมที่ผ่านคอมไพเลอร์หรือแอสเซมเบลอร์แล้ว

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
machine languageภาษาเครื่อง [ มีความหมายเหมือนกับ computer language ] [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
computer languageภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์ [ มีความหมายเหมือนกับ machine language ] [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
syntax errorผิดไวยากรณ์, ความผิดพลาดในโปรแกรมอันเกิดจากการสะกดคำสั่งผิดบ้าง หรือใช้รูปแบบคำสั่งผิดบ้าง โปรแกรมทีเขียนด้วยภาษาระดับสูงนั้นจะต้องนำไปแปลเป็นภาษาเครื่องก่อนจึงจะนำไปใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ ในการแปลนั้นตัวแปลภาษาจะตรวจสอบการใช้ไวยากรณ์ในโปรแกรมนั้นไปด้วย ถ้าหากมีที่ผิดตัวแปลภาษาก็จะรายงานความผิดพลาดให้ทราบ เพื่อที่เราจะได้นำไปพิจารณาแก้ไข [คอมพิวเตอร์]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
ภาษาเครื่อง[phāsā khreūang] (n, exp) EN: machine language  FR: langage machine [ m ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
machine language(n) ภาษาคอมพิวเตอร์, See also: ภาษาเครื่อง, รหัสคำสั่งของคอมพิวเตอร์, Syn. machine code

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
assemble(อะเซม'เบิล) vt. รวบรวม, ประชุม, รวมเข้า. -assembler n., Syn. combine, collect, Ant. disperse, separate แปล ภาษาแอสเซมบลี หมายถึงแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง machine language เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ได้
assemblerแอสเซมเบลอร์ตัวแปลภาษาแอสเซมบลีหมายถึง โปรแกรมที่ใช้เพื่อทำหน้าที่แปลโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีเป็นภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์อ่านแล้วเข้าใจ และปฏิบัติตามคำสั่งได้ ดู assembly language
characteristic(แคริคเทอริส'ทิค) adj. เป็นลักษณะเฉพาะ -n. ลักษณะเฉพาะ การรู้จำอักขระหมายถึง เทคโนโลยีในการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับรู้ความแตกต่างของรูปลักษณะตัวอักษร ต่าง ๆ ที่มนุษย์เขียนหรือพิมพ์ขึ้น โดยใช้แสงหรือสนามแม่เหล็ก แล้วถอดรหัสเป็นภาษาเครื่อง (machine language) เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปได้ดู pattern recognition ประกอบ
compile(คัมไพล์') { compiled, compiling, compiles } vt. รวบรวม, เรียบเรียง แปลโปรแกรมหมายถึง แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษา โคบอล (COBOL) ซึ่งเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ ให้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ การแปลนั้น คอมพิวเตอร์จะอ่านโปรแกรมทั้งหมดเข้าไปแล้วจึงจะลงมือแปล เมื่อเข้าใจแล้ว คอมพิวเตอร์จึงจะปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมได้
compiler(คัมไพ'เลอะ) n. ผู้รวบรวม, ผู้เรียบเรียง ตัวแปลโปรแกรมคอมไพเลอร์หมายถึง โปรแกรมที่แปลโปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่นภาษา FORTRAN, COBOL ฯ เป็นภาษาเครื่อง (machine language) การแปลโดยใช้โปรแกรมแปลนี้ จะใช้วิธีแปลทั้งโปรแกรม นำคำแปลเก็บไว้ในหน่วยความจำ แล้วจึงลงมือปฏิบัติการ (execute) ไปทีละคำสั่ง ถ้ามีการสั่งให้ทำบางคำสั่งซ้ำ ก็ไม่จำเป็นต้องแปลใหม่ดู translator ประกอบดู interpreter เปรียบเทียบ
computer languageภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล
executable statementข้อความสั่งทำการหมายถึง คำสั่งในภาษาระดับสูงที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ลงมือทำการ คำสั่งเหล่านี้ ตัวแปลโปรแกรม (compiler) จะแปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้วเครื่องจะปฏิบัติการตามคำสั่งนั้น เช่น คำสั่งกำหนดค่า A = 2 ถ้าเครื่องเจอคำสั่งนี้ ก็จะลงมือกระทำการ (execute) ด้วยการนำค่า 2 ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำช่องหนึ่งที่มีอยู่ (address) ชื่อ A เป็นต้นดู non executable statement เปรียบเทียบ
execute(เอค'ซะคิวทฺ) vt. ปฎิบัติ, บริหาร, ประหารชีวิต, บังคับตามกฎหมาย., See also: executable adj. executer n. กระทำการหมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ลงมือกระทำการตามคำสั่งในโปรแกรม หลังจากที่มีการแปลโปรแกรมนั้น compile ออกเป็นภาษาเครื่อง machine language แล้วดู compile และ machine language ประกอบ
execution timeเวลากระทำการหมายถึงช่วงเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรม เริ่มตั้งแต่ต้นจนได้รับคำตอบตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรม ไม่นับรวมเวลาที่ใช้ในการแปลจากภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม เป็นภาษาเครื่อง (machine language)
human oriented languageภาษาแนวมนุษย์หมายถึงภาษาที่ใกล้เคียงภาษามนุษย์ เขียนได้ง่าย เข้าใจง่าย และกระทัดรัด สะดวกในการใช้งาน ภาษานี้มีลักษณะเหมือนภาษาหนังสือ ใช้เขียนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน แต่คอมพิวเตอร์จะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) ก่อนจึงจะเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ1. ภาษาระดับสูง (high level language) 2. ภาษาระดับต่ำ (low level language) การใช้ภาษามนุษย์เขียนชุดคำสั่งนี้มีข้อดีคือ ทำได้ง่าย มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่าย เขียนได้สั้น เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลายคำสั่งในภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดีตรงที่สามารถใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่าเพราะไม่เสียเวลาในการแปลดู computer language ประกอบดู machine language เปรียบเทียบ
imperative statementหมายถึง คำสั่งในภาษาระดับสูง (high level language) ที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ลงมือทำการ คำสั่งเหล่านี้ ตัวแปลโปรแกรม จะแปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) ก่อน แล้วเครื่องจึงจะปฏิบัติตาม เช่น ข้อความสั่งทำการกำหนดให้ A = 2 ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์พบคำสั่งนี้ ก็จะลงมือทำหาร ด้วยการนำ 2 ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำช่องหนึ่งที่มีอยู่ (address) แล้วกำหนดชื่อที่เก็บนั้นว่า A เป็นต้นมีความหมายเหมือน excutable statement
incremental compilerตัวแปลโปรแกรมส่วนเพิ่มหมายถึง โปรแกรมพิเศษที่ทำหน้าที่เป็นตัวแปลคำสั่งในโปรแกรมให้เป็นรหัสภาษาเครื่องในทันทีที่พิมพ์ข้อความที่เป็นคำสั่งเต็มบรรทัด ตัวแปลโปรแกรมส่วนเพิ่มตัวนี้จะทำหน้าที่แปลในขณะที่เราพิมพ์คำสั่งแต่ละคำสั่ง ผิดกับตัวแปลอื่นที่จะรอจนพิมพ์โปรแกรมเสร็จหมดจึงจะลงมือแปล การแปลแบบหลังนี้ เราจะต้องรอสักนิดหนึ่ง เมื่อการแปลเสร็จสิ้นแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะลงมือทำงาน ดู interpreter ประกอบ
interpreterตัวแปลภาษาเป็นโปรแกรมตัวแปลที่อ่านคำสั่งในโปรแกรมทีละคำสั่ง (ไม่รอจนจบโปรแกรมเหมือนตัวแปลอื่น) แปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้วปฏิบัติตามคำสั่งนั้นเลย เช่น ตัวแปลที่ใช้แปลโปรแกรมภาษาเบสิก (BASIC) การเรียนวิธีเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวแปลประเภทนี้ ผู้เรียนจะรู้สึกว่าง่ายและทันใจ เพราะพอใส่คำสั่งเข้าไป เครื่องก็จะรายงานได้ทันทีว่า คำสั่งนั้นถูกหรือผิด ถ้าสั่งให้ทำอะไร ก็จะทำให้เลย ข้อเสียของตัวแปลประเภทนี้ ก็คือ คอมพิวเตอร์จะไม่เก็บคำแปลไว้ หากจะต้องย้อนกลับไปทำคำสั่งนั้นอีก ก็จะต้องแปลใหม่อีกทุกครั้ง ดู compiler ประกอบ
low level languageภาษาระดับต่ำเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง (machine language) ฉะนั้น คอมพิวเตอร์จะแปลได้ง่ายกว่าภาษาระดับสูงอย่างภาษา FORTRAN, COBOL หรือ C แต่ผู้เขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับนี้ จะพบว่าเขียนยากกว่าใช้ภาษาระดับสูง ซึ่งมีลักษณะเหมือนภาษามนุษย์มากกว่า ตัวอย่างของภาษานี้มี ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) อยู่เพียงภาษาเดียว ดู high level language เปรียบเทียบ
machine languageภาษาเครื่องหมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ไม่ควรเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้เลย เพราะอาจจะทำให้หมดกำลังใจไปเลย อาจจะพอเปรียบได้ว่า เลขฐานสองนั้นก็เหมือน ๆ กับตัวโน้ต เพลง (ภาษาดนตรีก็เข้าใจยากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาเครื่องนี้สักเท่าใดดอก) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่ว่าเราจะสั่งให้เครื่องทำงานด้วยโปรแกรมภาษาอะไรก็ตาม ตัวแปลโปรแกรม (compiler) ก็จะต้องทำหน้าที่แปลภาษาที่เราใช้ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง (execute) นั้น ๆ ได้
macro assemblerตัวแปลแมโครหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมหนึ่งที่ใช้งานในการสร้างโปรแกรมแมโครและมีหน้าที่แปลภาษาที่ใช้ในแมโครให้เป็นภาษาแอสเซมบลี (assembly language) แต่ละข้อคำสั่งในโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีนั้นใช้แทนคำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) หลายคำสั่งได้ ฉะนั้นถ้าเขียนแมโครเก็บไว้ เมื่อเรียกมาใช้ก็จะทำให้สะดวก ไม่ต้องพิมพ์คำสั่งยาว ๆ ดู macro ประกอบ
object languageภาษาจุดหมายหมายถึง ชุดคำสั่งที่เป็นภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามได้ทันที่ถ้าผ่านการเชื่อมโยง (link) โดยปกติ ในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เรามักจะเขียนคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติตามเป็นภาษาระดับสูง (high level language) หรือที่เรียกว่าภาษาต้นฉบับ (source language) ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจและจะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่องหรือภาษาจุดหมายก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะทำงานตามคำสั่งที่ต้องการได้
object programโปรแกรมจุดหมายโปรแกรมภาษาเครื่องหมายถึงโปรแกรมที่แปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้ว การแปลนี้จะใช้ตัวแปลที่เรียกว่า compiler ทั้งนี้ เพราะการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องนั้นยากเกินความสามารถของมนุษย์ธรรมดา เราจึงเขียนกันด้วยภาษาที่เรียกว่าภาษาเชิงมนุษย์ (human-oriented language) ซึ่งง่ายกว่า แล้วเรียกโปรแกรมเหล่านี้ว่า "โปรแกรมต้นฉบับ" (source program) เมื่อตัวแปลทำการแปลโปรแกรมต้นฉบับนี้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่องแล้ว คอมพิวเตอร์จึงจะปฏิบัติตามได้ดู compiler, ประกอบดู source program เปรียบเทียบ
op codeรหัสดำเนินการย่อมาจาก operation code (แปลว่า รหัสดำเนินการ) หมายถึงส่วนของคำสั่งในภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาแอสเซมบลี (assembly language) ที่เป็นคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติ เช่น คำสั่งให้เครื่องบวกหรือลบ เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งของคำสั่งซึ่งเป็นตัวถูกดำเนินการ เรียกว่า operandดู operand เปรียบเทียบ
operation codeใช้ตัวย่อว่า op code (อ่านว่า ออป โคด) หมายถึงส่วนของคำสั่งในภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาแอสเซมบลี (assembly language) ที่เป็นคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติ เช่น คำสั่งให้เครื่องบวกหรือลบ เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งของคำสั่งซึ่งเป็นตัวถูกดำเนินการ เรียกว่า operandดู operand เปรียบเทียบ
pattern recognitionการรู้จำแบบหมายถึงเทคนิคในการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับรู้ความแตกต่างของรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้แสงหรือสนามแม่เหล็ก แล้วถอดรหัสเป็นภาษาเครื่อง (machine language) เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปได้
private libraryคลังชุดคำสั่งส่วนตัวหมายถึง ที่เก็บรวบรวมชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งแปลไว้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้ว อาจเรียกใช้ได้ทันที มักเป็นชุดคำสั่งที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน program library
privileged instructionคำสั่งเอกสิทธิ์หมายถึง คำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งจำกัดโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ให้ทำงานผิดแนวทาง โดยปกติ คำสั่งเอกสิทธิ์จะประกอบด้วย คำสั่งข้อจำกัดการใช้ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยรับข้อมูลเข้า หน่วยแสดงผล การป้องกันหน่วยความจำ การหยุดชะงักการทำงานของเครื่อง และปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุม และการกำหนดเวลา คำสั่งนี้ผู้ใช้เครื่องธรรมดาไม่มีสิทธิใช้ และจะทำงานได้เฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะการใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system mode)
program libraryคลังโปรแกรมหมายถึง ที่เก็บรวบรวมชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งแปลไว้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้ว อาจเรียกใช้ได้ทันที มักเป็นชุดคำสั่งที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน private library
programming languageภาษาโปรแกรมหมายถึง ภาษาที่ออกแบบโครงสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ทำนองเดียวกับตัวโน้ตของภาษาดนตรี ภาษาโปรแกรมมีตั้งแต่ระดับต่ำสุด คือใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง (machine language) มากที่สุด ไปจนถึงภาษาระดับสูง คือใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ (ภาษาอังกฤษธรรมดา ๆ) มากที่สุดดู language ประกอบ
pseudo instructionคำสั่งเทียมคำสั่งลำลองหมายถึง คำสั่งในภาษาแอสเซมบลี (assembly) ที่บอกข้อมูลให้แอสเซมเบลอร์ว่า จะแปลเป็นภาษาเครื่องอย่างไร คำสั่งเทียมนี้จะไม่แปลเป็นภาษาเครื่องก่อน แต่จะกำหนดให้แอสเซมเบลอร์แปลโปรแกรมโดยตรง ตัวอย่างของคำสั่งเทียมที่ใช้มาก เช่น END เป็นสัญญาณให้รู้ว่า สิ้นสุดคำสั่งที่จะต้องแปลแล้ว
source codeรหัสต้นฉบับรหัสต้นทางหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวต้นฉบับของโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นโปรแกรมที่เครื่องแปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) เรียบร้อยแล้ว
symbolic languageภาษาสัญลักษณ์เป็นภาษาที่ใช้เป็นรหัส กำหนดตำแหน่งที่อยู่ และการปฏิบัติการของคำสั่งต่าง ๆ ในรูปของสัญลักษณ์ ซึ่งมนุษย์คุ้นเคยมากกว่าภาษาเครื่อง เช่น ใช้คำว่า sub แทน ลบ (มาจากคำ subtract)
target languageภาษาเป้าหมายหมายถึง ภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ และปฏิบัติตามได้ทันที โดยปกติในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เรามักจะเขียนคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติตามเป็นภาษาต้นฉบับ (source language) หรือภาษาระดับสูง (high level language) ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ และจะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่องก่อนคอมพิวเตอร์จึงจะทำงานตามคำสั่งที่ต้องการได้ ภาษาเป้าหมายก็คือภาษาเครื่องนั่นเองมีความหมายเหมือน object language หรือ machine languageดู source language เปรียบเทียบ

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top