ทั้งที่, ทั้ง ๆ ที่ | ว. ในขณะที่ เช่น เขาออกจากบ้านไปทั้งที่ฝนกำลังตก เขาลาออกทั้ง ๆ ที่หน้าที่การงานกำลังเจริญก้าวหน้า. |
โง่แกมหยิ่ง | ว. โง่แล้วยังอวดฉลาด, อวดดีทั้ง ๆ ที่โง่. |
เดนตาย | ว. ที่รอดตายมาได้ทั้ง ๆ ที่น่าจะตาย. |
เตี้ยอุ้มค่อม | น. คนที่ช่วยเหลือคนที่มีฐานะตํ่าต้อยหรือยากจน ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็มีฐานะตํ่าต้อยหรือยากจนเหมือนกัน. |
เถรส่องบาตร | น. คนที่ทำอะไรตามเขาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว. |
ทอดอาลัย | ก. ปล่อยไปตามบุญตามกรรมทั้ง ๆ ที่ยังมีใจผูกพันหรือมีความเสียดายอยู่. |
ทะร่อทะแร่, ทะร่อท่อแร่ | ก. เข้าไปทั้ง ๆ ที่ไม่มีหน้าที่. |
ทั้งอย่างนั้น | ว. ทั้ง ๆ ที่เป็นอยู่ในลักษณะอาการเช่นนั้น เช่น เพิ่งตื่นนอนมาก็รีบออกไปทั้งอย่างนั้น. |
ปลาติดหลังแห | น. คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย, ปลาติดร่างแห ก็ว่า. |
ไม่เห็นน้ำตัดกระบอกไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ | ว. ด่วนทำไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร. |
ยัง | คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. |
ยัดปาก | ก. อ้างว่าเป็นคำพูดของผู้ใดผู้หนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่. |
รู้ไม่จริง | ก. รู้ไม่ถ่องแท้, รู้ไม่มากพอ, เช่น เขาชอบเล่าเรื่องส่วนตัวของเพื่อน ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ไม่จริง. |
ว่ายน้ำหาจระเข้ | ก. เสี่ยงเข้าพบทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย. |
เสแสร้ง | (-แส้ง) ก. แกล้งทำให้เข้าใจเป็นอื่น, แกล้งทำไม่ตรงกับใจ, เช่น เขาเสแสร้งทำดีด้วยทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบคนคนนั้น. |
เสนอหน้า | ก. แสดงตัวให้ผู้มีอำนาจเหนือเห็นอยู่เสมอทั้ง ๆ ที่ตนเองมิได้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลประโยชน์ตอบแทน, พยายามแสดงตัวให้ปรากฏต่อสาธารณชนอยู่เสมอ เช่น เวลาเขาถ่ายรูปกันจะต้องเสนอหน้าเข้าไปร่วมถ่ายรูปด้วย. |
หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย | ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย. |
หน้าใหญ่ใจโต | ว. มีใจกว้างใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัวเพื่ออวดมั่งมี เช่น เขาชอบทำหน้าใหญ่ใจโตทั้ง ๆ ที่มีเงินน้อย. |
หลงเหลือ | ก. มีเหลืออยู่บ้างทั้ง ๆ ที่เข้าใจหรือรู้สึกว่าหมดแล้ว เช่น ยังมีเศษสตางค์หลงเหลืออยู่ในกระเป๋า. |
หาเศษหาเลย | ก. หาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบียดบังเอาส่วนที่เหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้, เช่น แม่ครัวมักหาเศษหาเลยจากเงินที่นายมอบให้ไปจ่ายตลาด, บางทีก็ใช้ในทางชู้สาว เช่น ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้ว เขาก็ยังไปหาเศษหาเลยนอกบ้านอีก. |
เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น, เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานรัดก้น | ก. ทำเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกำลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง. |
เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง | ก. ทำเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกำลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานรัดก้น. |
อมภูมิ | (-พูม) ก. ไม่ยอมแสดงความรู้ทั้ง ๆ ที่มีความรู้ บางทีใช้หมายถึงทำท่าทางคล้าย ๆ รู้ แต่ความจริงไม่รู้ เช่น ทำเป็นอมภูมิ. |
อวด | ก. สำแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นำออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่องต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ. |