ต่อต้าน | ก. ปะทะไว้, ต้านทานไว้, สู้รบป้องกันไว้. |
ต่าน | ก. ชิดขวา (บอกวัวควายเวลาไถนา พร้อมกระตุกเชือก), ถัด ก็ว่า. |
ต้าน | ก. ยันหรือรับไว้เพื่อไม่ให้ลํ้าแนวเข้ามา เช่น ต้านข้าศึก, รับแรงปะทะ เช่น เรือต้านลม. |
ต้านทาน | ก. ขัดขวาง, ยับยั้ง, ต่อสู้ยันไว้. |
ตุ่นต่าน | ก. ข่มขี่ เช่น พรรณหญิงมีโอมอ่าน ตุ่นต่านให้ชายกลัว (ม. คำหลวง กุมาร). |
เต่านา | น. ชื่อเต่านํ้าจืดขนาดกลาง ชนิด <i> Malayemis subtrijuga</i> (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Emydidae หัวโตสีดำมีลายสีขาวเป็นทางยาวมาถึงคอ กระดองสีน้ำตาล แผ่นเกล็ดขอบกระดองสีน้ำตาลเข้ม อาศัยกินสัตว์ขนาดเล็กตามท้องนาและหนองบึงทั่วไป. |
เรือต่อต้านทุ่นระเบิด | น. เรือรบที่มีหน้าที่หลักในการกวาดและทำลายทุ่นระเบิด มีหลายขนาดตามภารกิจที่ต่างกัน เช่น เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำลึก เรือกวาดทุ่นระเบิดชายฝั่ง เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น และเรือล่าทำลายทุ่นระเบิด. |
สุลต่าน | (สุนละ-) น. ประมุขของบางประเทศหรือเจ้าครองนครบางรัฐที่นับถือศาสนาอิสลาม. |
กมัณฑลุ | (กะมันทะ-) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ ว่า ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง (เสือโค). |
กระอาน | น. ชื่อเต่านํ้ากร่อยขนาดใหญ่ชนิด <i> Batagur baska</i> (Gray) ในวงศ์ Emydidae จมูกแหลมงอนคล้ายตะพาบ เมื่อยังเล็กกระดองค่อนข้างแบน เมื่อโตขึ้นกระดองโค้งรี เพศเมียหัวและกระดองสีน้ำตาล เพศผู้หัวและกระดองสีดำตาสีขาว ตีนมีพังผืดเต็ม สามารถปรับตัวอยู่ในนํ้าจืดได้ พบในบริเวณที่มีน้ำไหลทางภาคใต้โดยเฉพาะแถบจังหวัดสตูล, กะอาน ก็เรียก. |
กลองแขก | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปยาวทรงกระบอก มี ๒ หน้า หน้าหนึ่งใหญ่ เรียกว่า หน้ารุ่ย อีกหน้าหนึ่งเล็ก เรียกว่า หน้าต่าน เดิมใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็นสายโยงเร่งเสียง แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายหนังเหมือนกลองมลายู ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียกว่า ตัวเมีย, กลองชวา ก็เรียก. |
กอก ๑ | ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกาย หรือดูดเอานํ้านมออกจากเต้านม โดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. |
กินลม | ก. ต้านลม, รับลม, เช่น ว่าวกินลม ใบเรือกินลม. |
กุณฑี | (-ที) น. คนที, หม้อนํ้า, หม้อนํ้ามีหู, เต้านํ้า, เช่น พลูกัดชลกุณฑี ลูกไม้ (โลกนิติ). |
คนที ๑ | (คน-) น. กุณฑี, หม้อนํ้า, หม้อนํ้ามีหู, เต้านํ้า. |
ครัดเคร่ง | (คฺรัดเคฺร่ง) ก. แน่น, ตึง, เช่น แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง เต้านมทั้งสองก็ครัดเคร่ง (ขุนช้างขุนแผน), เคร่งครัด ก็ว่า. |
เคลื่อนไหว | แสดงกิริยาหรือปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นักศึกษาเคลื่อนไหวต่อต้านสินค้าต่างประเทศ. |
ซุง ๓ | น. เชือกที่ยาวประมาณ ๓ เท่าของอกว่าว ผูกปลายทั้ง ๒ กับอกว่าวให้ห่างกันพอสมควรสำหรับต่อกับสายป่าน เพื่อให้ว่าวทรงตัวตรงเมื่อต้านลม. |
เซรุ่ม | น. น้ำเลือดสีเหลืองใส มีภูมิต้านทานต่อชีวพิษหรือต่อเชื้อโรค แยกได้จากเลือดที่แข็งตัวแล้วของสัตว์เช่นม้าหรือกระต่ายที่ได้รับการกระตุ้นด้วยชีวพิษเช่นพิษงู หรือเชื้อโรคเพื่อให้เกิดภูมิต้านทาน ใช้ฉีดรักษาผู้ป่วยที่ได้รับชีวพิษหรือเชื้อโรคดังกล่าวเพื่อลดพิษหรือทำลายเชื้อโรค. |
ดำนาณ | น. เครื่องห้าม, เครื่องป้องกัน, เครื่องต้านทาน, ที่พึ่ง, ที่อาศัย. |
ดื้อยา | ก. ต้านทานฤทธิ์ยา (ใช้แก่เชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส). |
ตะพาบ ๑, ตะพาบน้ำ | น. ชื่อเต่านํ้าจืดกระดองอ่อนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Trionychidae กระดองไม่มีเกล็ดเป็นแผ่นหนังอ่อนนิ่มมีเชิงแผ่กว้าง หลายชนิดมีจมูกยื่นยาว บางชนิดจมูกสั้น ตีนเป็นแผ่นแบนคล้ายพาย ชนิดที่พบมาก ได้แก่ ตะพาบสวน [ <i> Amyda cartilageneus</i> (Boddaert) ] ชนิดที่พบน้อย ได้แก่ ม่านลาย (<i> Chitra chitra</i> Nutphand), กริว กราว หรือ ปลาฝา ก็เรียก, ปักษ์ใต้ เรียก จมูกหลอด. |
เต่า ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายวงศ์ ในอันดับ Testudines คอยาว ลำตัวสั้น มีกระดองหุ้ม กระดองมีทั้งที่เป็นแผ่นเกล็ดแข็งและที่เป็นแผ่นหนัง ขาและหางสั้นส่วนใหญ่หดเข้าไปในกระดองได้ มีถิ่นอาศัยต่าง ๆ กัน ที่อยู่บนบก เช่น เต่าเหลือง ที่อยู่ในนํ้าจืด เช่น เต่านา ที่อยู่ในทะเล เช่น เต่าตนุ พวกที่มีหนังหุ้มกระดองเรียก ตะพาบ เช่น ตะพาบสวน. |
เต่าดำ | น. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด <i> Siebenrockiella crassicollis</i> (Gray)ในวงศ์ Emydidae หัวสีดำมีแต้มสีขาวที่ขมับ กระดองหลังสีดำกว่าเต่าชนิดอื่น ๆ อาศัยตามโคลนเลนบนพื้นท้องน้ำ, ดำแก้มขาว ก็เรียก. |
เต่าปูลู | น. ชื่อเต่าน้ำจืดชนิด <i> Platysternon megacephalum</i> Gray วงศ์ Platysternidae หัวโตมากและแข็งหดเข้ากระดองไม่ได้อย่างเต่าชนิดอื่น ปลายปากเป็นจะงอย กระดองหลังยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร หางยาวเท่ากับหรือยาวกว่ากระดองหลังเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขาสูง ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้เตี้ย ๆ ได้ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยอาจพบถึง ๓ ชนิดย่อย คือ ปูลูเหนือ <i> (P. m. megacephalum</i> Gray), ปูลูพม่า <i> (P. m. peguens</i> Gray) และปูลูไทย (<i> P. m. vogeli</i> Wermuth) พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันตก. |
เต่าหวาย | น. ชื่อเต่านํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด <i> Heosemys grandis</i> (Gray) ในวงศ์ Emydidae หัวสีน้ำตาลมีลายจุดสีส้ม กระดองสีนํ้าตาลแดงอาศัยอยู่บนบกใกล้บึงและแม่นํ้าลำคลอง ผสมพันธุ์ในน้ำ ปัจจุบันพบน้อยในถิ่นธรรมชาติ. |
เต่าหับ ๑ | น. ชื่อเต่านํ้าจืดขนาดกลางชนิด <i> Cuora amboinensis</i> (Daudin) ในวงศ์ Emydidae หัวสีดำมีลายสีเหลืองตามขอบหัวด้านบน ที่พบในประเทศไทยกระดองหลังโค้งนูนมาก ที่พบในต่างประเทศกระดองหลังแบน กระดองท้องเป็นบานพับแบ่งออกเป็น ๒ ตอน และสามารถหับปิดหัว ขา และหางได้สนิท จึงเรียกว่า เต่าหับ อาศัยอยู่บนบกที่มีความชื้นมากกว่าอยู่ในน้ำ. |
เต้า ๒ | เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะฐานนูนขึ้นอย่างเต้านม |
เต้า ๒ | เรียกภาชนะที่มีรูปคล้ายนํ้าเต้า เช่น เต้าปูน เต้านํ้า |
เต้า ๒ | นม, เต้านม, เรียกว่า พระเต้า. |
โต้ ๒ | ก. ต้าน เช่น โต้คลื่น โต้ลม, ตอบกลับไป เช่น เขาตีลูกเทนนิสมา ก็ตีโต้กลับไป. |
ถนะ | น. ถัน, นม, เต้านม. |
ถัด ๒ | ก. ชิดขวา (บอกวัวควายเวลาไถนา พร้อมกระตุกเชือก), ต่าน ก็ว่า. |
ถัน | น. เต้านม, นม. |
ทรุด | (ซุด) ก. จมลงหรือลดลงกว่าระดับเดิมเพราะสิ่งรองรับมีกำลังต้านทานไม่พอ เช่น กำแพงทรุด สะพานทรุด, ยุบลง เช่น ดั้งจมูกทรุด, มีฐานะตกตํ่ากว่าเดิม เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจกำลังทรุดหนัก, เรียกอาการไข้ที่หนักลงไปกว่าเดิม ว่า ไข้ทรุด. |
ทัด ๔ | ก. ต้านไว้, ทานไว้. |
ทาน ๒ | ก. ยันหรือรับไว้ เช่น ทานน้ำหนักไม่ไหว, มักใช้เข้าคู่กับคำ ต้าน เป็น ต้านทาน. |
ทุ่นระเบิด | น. เครื่องกีดขวางที่มีอำนาจระเบิด ผูกโซ่ถ่วงให้ลอยประจำอยู่ใต้นํ้าเพื่อทำลายหรือต่อต้านการบุกรุกของฝ่ายศัตรูทางทะเล, ถ้าใช้ฝังพรางไว้บนบก เรียกว่า ทุ่นระเบิดบก, เรียกอาณาบริเวณที่วางทุ่นระเบิดไว้เพื่อป้องกันปิดล้อม หรือจำกัดการเคลื่อนไหวของฝ่ายศัตรูทั้งทางทะเลและทางบก ว่า สนามทุ่นระเบิด, เรียกลักษณะการทำลายทุ่นระเบิดที่ศัตรูวางไว้ในทะเล ว่า กวาดทุ่นระเบิด. |
นา ๑ | น. พื้นที่ราบทำเป็นคันกั้นนํ้าเป็นแปลง ๆ สำหรับปลูกข้าวเป็นต้น, พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสำหรับทำประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทำ เช่น นาเกลือ นากุ้ง, ใช้ประกอบกับคำอื่นที่เกิดหรือเกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา. |
นิโครม | (-โคฺรม) น. โลหะเจือชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยโครเมียมและนิกเกิล ใช้ประโยชน์นำไปทำเป็นเส้นลวดในอุปกรณ์ไฟฟ้าเพราะมีความต้านทานสูง และทนทานต่อความร้อนได้ดีมาก. |
เบญจครรภ, เบญจคัพภ์ | น. เต้าน้ำ เป็นเครื่องราชูปโภค ตามราชประเพณีของไทยใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงรับนํ้าอภิเษกหรือบรรจุน้ำพระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์. |
ปฏิกิริยา | การกระทำต่อต้าน |
ประจญ | (ปฺระจน) ก. ต่อสู้, สู้รบ, ต้านทาน, ผจญ ก็ว่า. |
ปริตร ๑ | (ปะริด, ปะหฺริด) น. ความต้านทาน, เครื่องป้องกัน |
ป้องกัน | ก. กั้นไว้เพื่อต้านทานหรือคุ้มครอง. |
ปะทะ | ก. โดนกัน, กระทบกัน, เช่น เรือปะทะกัน ข้างเรือปะทะกัน, ประจัญกัน เช่น กองทัพปะทะกัน, ต้านไว้ เช่น ยกทัพไปปะทะข้าศึก. |
ฝืด | ว. เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่คล่องเพราะแรงต้านทานมีการเสียดสีเป็นต้น เช่น ประตูฝืด กินข้าวฝืดคอ, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น การค้าฝืด |
พาน ๓ | น. ฐานของนมหรือเต้านมเกิดเป็นไตแข็งขึ้นเริ่มอาการแห่งความเป็นหนุ่มสาว, เรียกอาการของนมหรือเต้านมที่มีลักษณะเช่นนั้น ว่า นมขึ้นพาน หรือ นมแตกพาน. |
ฟันฝ่า | ก. บุกตะลุยสิ่งที่ต้านทานเข้าไป, ผจญสิ่งที่ขัดขวาง. |
ภฤงคาร | (พฺริง-) น. หม้อนํ้า, เต้านํ้า. |