ตาตุ่ม ๑ | น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. |
ตาตุ่ม ๑ | ดูใน ตา ๒. |
ตาตุ่ม ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Excoecaria agallocha L. ในวงศ์ Euphorbiaceae ยางมีพิษ กินทำให้ท้องเดิน เข้าตาทำให้ตาบอด, ตาตุ่มทะเล ก็เรียก. |
ตาตุ่มทะเล | ดู ตาตุ่ม ๒. |
ตุ่ม ๑ | น. ภาชนะสำหรับขังหรือใส่นํ้า ก้นสอบ ปากแคบกว่าโอ่ง, คำเปรียบผู้หญิงที่อ้วนมาก ว่า อ้วนเป็นตุ่ม. |
ตุ่ม ๒ | น. เม็ดที่ขึ้นตามผิวหนัง, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ดอกไม้ออกเป็นตุ่ม. |
ตุ่ม ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius bulu (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ไม่มีหนวด กระโดงครีบหลังแข็งและหยักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวมีลายพาดสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร เคยพบชุกชุมมากในเขตทะเลสาบสงขลาตอนในที่เรียกทะเลน้อย. |
ตุ้ม ๑ | ว. ป้อม ๆ, กลม ๆ. |
ตุ้ม ๑ | น. ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อยลงมา, ลูกตุ้ม ก็ว่า. |
ตุ้มมะพร้าว | น. เรียกลูกมะพร้าวเล็ก ๆ ที่เสียหล่นลงมา ว่า ลูกตุ้มมะพร้าว. |
ตุ้มหู | น. เครื่องประดับหู, ต่างหู. |
ตุ้ม ๒ | ดู แมลงช้าง ที่ แมลง. |
ตุ๋ม | ว. เสียงอย่างของหนักขนาดเล็กตกลงไปในนํ้า. |
ตุ้มกว้าว | ดู กระท่อมขี้หมู ที่ กระท่อม ๒. |
ตุ้มแซะ | ดู กระท่อมขี้หมู ที่ กระท่อม ๒. |
ตุ้มเต๋น | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Duabanga grandiflora (Roxb. ex DC.) Walp. ในวงศ์ Sonneratiaceae ไม้ใช้ทำหีบใส่ของเป็นต้น, ลำพูป่า ก็เรียก. |
ตุ้มปี่ | น. หมวกชนิดหนึ่งมีสัณฐานเหมือนดอกทับทิมควํ่า. |
มะรุมมะตุ้ม | ว. กลุ้มรุมทำให้เกิดรำคาญ เช่น เจ้าหนี้มามะรุมมะตุ้มทวงหนี้กัน, มารุมมาตุ้ม ก็ว่า. |
มารุมมาตุ้ม | ว. มะรุมมะตุ้ม, กลุ้มรุมทำให้เกิดรำคาญ, เช่น เจ้าหนี้มามารุมมาตุ้มทวงหนี้กันใหญ่. |
ลิ้นยาวถึงตาตุ่ม | ว. ประจบสอพลอ. |
ลูกตุ้ม | น. ไม้หรือเหล็กยาว ๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สำหรับเป็นอาวุธ หรือสายเชือกมีตุ้มเหล็กหรือทองเหลืองถ่วงสำหรับชั่งของเพื่อคิดนํ้าหนัก, ตุ้มนาฬิกาที่ถ่วงให้จักรนาฬิกาเดินพอเหมาะกับเวลา |
ลูกตุ้ม | ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อยลงมา, ตุ้ม ก็ว่า |
ลูกตุ้ม | โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกตุ้มสายสร้อย |
ลูกตุ้ม | ผู้ถ่วงความเจริญ เช่น ไม่ทำการงานแล้วยังทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วงความเจริญเสียอีก. |
ลูกตุ้มมะพร้าว | น. ลูกมะพร้าวเล็ก ๆ ที่เสียหล่นลงมา. |
ลูกตุ้มเหล็ก | น. อาวุธที่คนจีนโบราณใช้ในการรบ, ชนิดที่มีหนามอย่างหนามทุเรียนโดยรอบ เรียกว่า ลูกตุ้มหนามทุเรียน. |
กระจอนหู | น. ตุ้มหู. |
กระเจา | น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorusวงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม ( C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และปอกระเจาฝักยาว ( C. olitorius L.) ฝักยาวเรียวมีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิดนี้มีพิษ ปอใช้ทำกระสอบ. |
กระดิ่ง | น. เครื่องทำเสียงสัญญาณทำด้วยโลหะ มีรูปคล้ายระฆัง แต่ขนาดเล็กกว่า มีตุ้มเล็ก ๆ อยู่ข้างใน สำหรับทำให้เกิดเสียง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระดิ่งจักรยาน. |
กระดึง | น. ระฆังเล็ก ๆ ทำด้วยโลหะ ที่ปลายตุ้มมีใบพานซึ่งนิยมทำเป็นรูปใบโพ เมื่อลมพัดปลายตุ้มจะกระทบตัวกระดึงทำให้เกิดเสียง ใช้แขวนที่ชายคาโบสถ์และวิหารเป็นต้น, เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก เพื่อให้เกิดเสียงดัง มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย. |
กระท่อมขี้หมู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก |
กระท่อมขี้หมู | ชนิด M. rotundifolia (Roxb.) Kuntze ใบกลม โคนใบเว้า ขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก, กระทุ่มขี้หมู กระทุ่มหมู หรือ ตุ้มกว้าว ก็เรียก. |
กระปุ่มกระป่ำ, กระปุ่มกระปิ่ม | ว. มีปุ่มป่ำมาก เช่น ดูกระปุ่มกระปิ่มตุ่มติ่มเต็ม (นิ. เพชร). |
กระเปาะ ๑ | เบ้าที่ฝังเพชรพลอยเป็นหัวแหวนหรือตุ้มหูเป็นต้น |
กระลำพัก | น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดำ ๆ เกิดในต้นสลัดไดป่า ( Euphorbia antiquorum L.) และต้นตาตุ่มทะเล ( Excoecaria agallocha L.) ในวงศ์ Euphorbiaceae กลิ่นหอมอ่อน รสขม ใช้ทำยาได้. |
กลอน ๓ | (กฺลอน) น. ลูกตุ้ม, ขลุบ, เช่น แกว่งกลอนยรรยงยุทธ์ (อนิรุทธ์). |
ก้าน ๑ | น. ส่วนที่ต่อดอก หรือใบ หรือผล กับกิ่งไม้, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้านตุ้มหู ก้านไม้ขีด |
กำแพงขาว | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใบคล้ายหมากผู้หมากเมีย ต้นและใบเขียว มีลายดั่งว่านเสือ แต่ลายเบา มีพรายปรอท หัวเหมือนกระชาย ตุ้มรากกลมทอดไปยาว หัวมีกลิ่นหอม ใช้อยู่คงเขี้ยวเขานองา, อีกชนิดหนึ่งเรียก มายาประสาน เป็นว่านประสานบาดแผล. |
กุณฑล | (-ทน) น. ตุ้มหู. |
ไข้ทรพิษ | น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงแล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็นรอยบุ๋ม, ฝีดาษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว. |
คันไฟ | น. ชื่อมดชนิด Solenopsis geminata (Fabricius) ในวงศ์ Formicidae ลำตัวยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร สีน้ำตาลแดง หัวค่อนข้างโต ทำรังอยู่ตามพื้นดิน โดยเฉพาะดินร่วนหรือดินทราย รังอาจอยู่ลึกลงไปใต้ดินถึง ๐.๕ เมตร มีอวัยวะสำหรับต่อยปล่อยกรดทำให้คัน ปวดแสบปวดร้อน และเป็นตุ่มแดงใหญ่. |
คางคก ๑ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Bufo วงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ ภายในตุ่มมียางเหนียวซึ่งมีพิษต่อเนื้อเยื่ออ่อน เรียกว่า ยางขาว เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน ( B. melanostictus Schneider) คางคกป่า ( B. macrotisBoulenger) . |
แค้ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล Bagarius วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด B. bagarius (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ B. yarrelli Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก. |
โคปผกะ | (โคบผะกะ) น. ตาตุ่ม, ข้อเท้า, ราชาศัพท์ว่า พระโคปผกะ. |
งวงช้าง ๒ | น. ชื่องูนํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Acrochordus javanicus Hornstedt ในวงศ์ Colubridae หัวโต ตาเล็ก ลำตัวอ้วนใหญ่นุ่มนิ่มคล้ายงวงช้าง ผิวหนังหยาบ เกล็ดเป็นตุ่ม ๆ หางเรียวเล็ก อาศัยตามแหล่งนํ้าจืดทั่วไป หากินปลาในนํ้า แต่มักขดนอนตามโพรงตลิ่งที่แฉะ ๆ ไม่มีพิษ. |
จงโคร่ง, โจงโคร่ง | (-โคฺร่ง) น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper Gravenhorst ในวงศ์ Bufonidae เป็นคางคกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระทั่วตัว ตุ่มที่หลังมีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลดำและน้ำตาลเหลือง ท้องสีขาวหม่นบางตัวมีจุดสีแดงเล็ก ๆ ยางขาวมีฤทธิ์ทำให้มึนเมา อาศัยในป่าบริเวณริมลำธารหรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก. |
จุดหลัง | ก. เอาเล็บจิกหรือกดตุ่มหรือผื่นที่หลังเพื่อแก้คันเป็นต้น. |
ตราชู | (ตฺรา-) น. เครื่องชั่งชนิดที่มีถาดชั่งห้อยอยู่ ๒ ข้างคันชั่งหรืออยู่ที่ปลายคาน ๒ ข้างของคันชั่ง ถาดหนึ่งสำหรับใส่ของที่จะชั่ง อีกถาดหนึ่งใส่ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน จนตุ้มน้ำหนักสมดุลกับของที่ชั่ง และคานอยู่ในระนาบ. |
ตัวจี๊ด | น. ชื่อพยาธิตัวกลมชนิด Gnathostoma spinigerum Owen ในวงศ์ Gnathostomatidae ลำตัวสีแดง ยาว ๑๐-๕๐ มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยพบในกระเพาะของสุนัข แมว และเสือ ตัวอ่อนพบในปลา ไก่ กบ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ติดต่อถึงคนได้ เมื่อกินเนื้อสัตว์เหล่านี้ที่ยังดิบซึ่งมีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้อยู่ ตัวอ่อนเมื่ออยู่ในคนสามารถเคลื่อนตัวไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้ อาจเป็นตุ่มนูนขึ้นมาตามผิวหนัง ทำให้บวมและปวด, หนอนด้น ก็เรียก. |
ตาเต็ง | น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคันที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สำหรับชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. |