กรัม | (กฺรำ) น. หน่วยมาตราชั่งนํ้าหนัก ตามมาตราเมตริก มีอัตรา = ๑๐๐ เซนติกรัม หรือ ๑ ใน ๑, ๐๐๐ แห่งกิโลกรัม, อักษรย่อว่า ก. |
กล่อม ๑ | (กฺล่อม) น. ชื่อมาตราชั่งของไทยโบราณ ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ กล่อม ๒ กล่อม เป็น ๑ กลํ่า. |
กล่ำ ๑ | (กฺลํ่า) น. ชื่อมาตราชั่งของโทยโบราณ ๒ กล่อม เป็น ๑ กลํ่า ๒ กลํ่า เป็น ๑ ไพ. |
กะรัต ๑ | (-หฺรัด) น. หน่วยมาตราชั่งเพชรพลอย ๑ กะรัต เท่ากับ ๒๐ เซนติกรัม หรือ ๓.๐๘๖๕ เกรน เช่น เพชรเม็ดนี้หนัก ๕ กะรัต. |
กิโลกรัม | น. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนัก เท่ากับ ๑, ๐๐๐ กรัม, อักษรย่อว่า กก., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า กิโล หรือ โล. |
เกรน | (เกฺรน) น. มาตราชั่งอย่างหนึ่งของอังกฤษ ๑ เกรน เท่ากับ ๖๔.๗๙๙ มิลลิกรัม. |
คืบ ๑ | น. ช่วงระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วก้อยเมื่อกางมือออกเต็มที่ เท่ากับ ๙ นิ้ว (มาตราชั่ง ตวง วัด), ช่วงระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วกลางเมื่อกางมือออกเต็มที่ เท่ากับ ๙-๑๐ นิ้ว (ปรัดเล, แมคฟาแลนด์) |
ชั่งหลวง | น. ชื่อมาตราชั่งของหลวง มีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม. |
เซนติกรัม | (-กฺรำ) น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑ กรัม, อักษรย่อว่า ซก. |
ดุล, ดุล- | (ดุน, ดุนละ-) น. ตราชู, คันชั่ง, มาตราชั่งนํ้าหนักโบราณ เช่น ทองคำหนัก ๒๐ ชั่ง เรียกว่า ดุลหนึ่ง |
เดคากรัม | (-กฺรำ) น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑๐ กรัม, อักษรย่อว่า ดคก. |
เดซิกรัม | (-กฺรำ) น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของกรัม, อักษรย่อว่า ดก. |
ต่อ ๕ | เทียบส่วนกันในอัตราชั่งตวงวัด เช่น ๓ ต่อ ๑. |
ตัน ๒ | น. มาตรานํ้าหนักและมาตราวัด มีหลายอัตราแล้วแต่วัตถุที่ใช้ คือ ๑. เมตริกตัน มาตราชั่งเท่ากับนํ้าหนัก ๑, ๐๐๐ กิโลกรัม หรือ หาบหลวง หรือเป็นมาตราวัดเท่ากับ ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต. ๒.ตันระวางเรือ ถ้าคำนวณระวางบรรทุกสินค้าและห้องทั่วไป เรียก ตันกรอส, ถ้าคำนวณเฉพาะบรรทุกสินค้า เรียก ตันเน็ต, และถ้าคำนวณนํ้าหนักทั้งลำเรือเช่นเรือรบ เรียก ตันระวางขับน้ำ, ทั้ง ๓ นี้วัด ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่งเช่นเดียวกัน. ๓. ตันระวางบรรทุกอื่น ๆ ถ้าของหนักคิด ๑, ๐๑๖.๐๔๗ กิโลกรัม เป็นตันหนึ่ง ถ้าเป็นของเบาคิดวัด ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่ง. |
ตำลึง ๒ | ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนด นํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัม. (ข. ฎํฬึง, ตมฺลึง). |
ตีนกา ๒, ตีนครุ | (-คฺรุ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สําหรับบอกจํานวนเงิน ปลายเส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตําลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง ปลายเส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตําลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะ จํานวนตําลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตําลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น. |
บาท ๒ | ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงิน ทอง หรือนากหนัก ๑๕ กรัม. |
ปอนด์ | ชื่อหน่วยมาตราชั่งของอังกฤษ เท่ากับ ๔๕๔ กรัม หรือ ๑๖ ออนซ์ |
ภาระ ๒, ภารา ๑ | น. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนักมคธ ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. |
มาตรา | (มาดตฺรา) น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก |
มิลลิกรัม | น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑, ๐๐๐ ของ ๑ กรัม, อักษรย่อว่า มก. |
เมตริกตัน | น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑, ๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๖๐ หาบ, อักษรย่อว่า ต. |
วิธีประเพณี | น. มาตราชั่ง ตวง วัด หรือมาตราเงินที่ถือกันมาแต่โบราณ เช่น มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง. |
สตางค์ | ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๐.๑๕ กรัม |
สลึง | (สะหฺลึง) ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑ ใน ๔ บาท หรือ ๓.๗๕ กรัม. |
หาบ | น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ = ๖๐ กิโลกรัม, หาบหลวง ก็เรียก, ถ้าตามวิธีประเพณีแบบจีน ๑๐๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ. |
หาบหลวง | น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ, หาบ ก็เรียก. |
หุน | น. ชื่อมาตราวัดหรือชั่งของจีน ในมาตราวัด ๑ หุน หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ ใน ๑๖ ของนิ้ว ในมาตราชั่ง ๕ หุน เท่ากับ ๑ เฟื้อง. |
เฮกโตกรัม | น. หน่วยมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑๐๐ กรัม, อักษรย่อว่า ฮก. |