วิธีประเพณี | น. มาตราชั่ง ตวง วัด หรือมาตราเงินที่ถือกันมาแต่โบราณ เช่น มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง. |
ก๊ง | น. หน่วยตวงเหล้าโรงเป็นต้นตามวิธีประเพณี ๑ ก๊ง เท่ากับ ๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร. |
กระเบียด | น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ กระเบียด เท่ากับ ๑ ใน ๔ ส่วนของนิ้ว. |
กะรัตหลวง | น. มาตรานํ้าหนักตามวิธีประเพณี ใช้สำหรับชั่งเพชรพลอยเท่านั้น เป็นเมตริกกะรัต เท่ากับ ๒๐ เซนติกรัม, อักษรย่อว่า กต. |
กำมือ | มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๔ หยิบมือ = ๑ กำมือ ๔ กำมือ = ๑ ฟายมือ และอีกแบบหนึ่ง ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ ๘ กำมือ = ๑ จังออน. |
คืบ ๑ | มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ คืบ เท่ากับ ๑๒ นิ้ว, อักษรย่อว่า ค. |
งาน ๒ | น. มาตราวัดเนื้อที่ตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๑๐๐ ตารางวา หรือ ๔๐๐ ตารางเมตร, ลักษณนามเรียกเนื้อที่ ๑๐๐ ตารางวา หรือ ๔๐๐ ตารางเมตรว่า งานหนึ่ง หรือ ๑ งาน, อักษรย่อว่า ง. |
จังออน | น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๘ กำมือ = ๑ จังออน และ ๒ จังออน = ๑ แล่ง. |
ใจมือ | น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๑๕๐ เมล็ดข้าว = ๑ ใจมือ ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ และ ๘ กำมือ = ๑ จังออน |
ชั่ง | น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตำลึงหรือ ๘๐ บาท เป็น ๑ ชั่ง |
ชั่ง | ชื่อมาตราวัดน้ำหนักตามวิธีประเพณีแบบไทย ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง หรือมีน้ำหนักเท่ากับ ๑, ๒๐๐ กรัม, ถ้าเป็นชั่งจีนมีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม คือเป็นครึ่งหนึ่งของชั่งไทย. |
ตำลึง ๒ | น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตําลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ <img src="picture/13976.jpg"> หมายความว่า ๔ ตําลึง |
ตำลึง ๒ | ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนด นํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัม. (ข. ฎํฬึง, ตมฺลึง). |
เท | น. ชื่อมาตราตวงเหล้าตามวิธีประเพณี ๑ เท เท่ากับ ๒๐ ทะนาน. |
นิ้ว | มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ นิ้ว เท่ากับ ๔ กระเบียด, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ |
บั้นหลวง | น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑, ๐๐๐ ลิตร. |
บาท ๒ | น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท, อักษรย่อว่า บ. |
บาท ๒ | ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงิน ทอง หรือนากหนัก ๑๕ กรัม. |
ไพ | น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒ อัฐ เท่ากับ ๑ ไพ. |
เฟื้อง | น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ <img src="picture/24345.png"> หมายความว่า ๑ เฟื้อง. |
ลิตร | น. ชื่อหน่วยมาตราตวงตามวิธีเมตริก เท่ากับ ๑, ๐๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร เทียบกับอัตราวิธีประเพณีเท่ากับ ๑ ทะนานหลวง. |
แล่ง ๑ | น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๒ จังออน = ๑ แล่ง และ ๒ แล่ง = ๑ ทะนาน. |
วา ๑ | น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๔ ศอก มีอัตราเท่ากับ ๒ เมตร, อักษรย่อว่า ว. |
วาตารางเหลี่ยม | น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๔ ตารางเมตร, ตารางวา ก็ว่า, อักษรย่อว่า ตร.ว. หรือ ว<i> ๒</i>. |
ศอก | มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ ศอก เท่ากับ ๒ คืบ. |
สตางค์ | ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๐.๑๕ กรัม |
สลึง | (สะหฺลึง) น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๕ สตางค์ เท่ากับ ๑ สลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ <img src="picture/34867.png"> หมายความว่า ๒ สลึง |
สลึง | (สะหฺลึง) ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑ ใน ๔ บาท หรือ ๓.๗๕ กรัม. |
หาบ | น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ = ๖๐ กิโลกรัม, หาบหลวง ก็เรียก, ถ้าตามวิธีประเพณีแบบจีน ๑๐๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ. |
หาบหลวง | น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ, หาบ ก็เรียก. |