ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ข้างต้น*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ข้างต้น, -ข้างต้น-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ข้างต้น(det) above, See also: above mentioned, Example: สิ่งที่กล่าวข้างต้นต้องนำไปปฏิบัติจึงจะสามารถได้ผลสำเร็จตามต้องการ, Thai Definition: ที่กล่าวถึงมาก่อน
ดังกล่าวข้างต้น(pron) abovementioned, Syn. ดังกล่าว, Example: หน่วยงานของเราสามารถรับบทบาทได้เป็นอย่างดี ตามสภาพความพร้อมด้านต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น
ที่กล่าวมาข้างต้น(adj) above-mentioned, Example: บุคคลที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นคนสนิทของนายสุขวิชทั้งสิ้น

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
ขุทกนิกายน. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมีธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.
โคน ๑น. ส่วนข้างต้นของสิ่งที่ยาวกลม เช่น โคนไม้ โคนเสา โคนขา.
ด้นถอยหลังก. เย็บผ้าวิธีหนึ่ง คล้ายวิธีด้น แต่เมื่อจะแทงลงต้องย้อนมาแทงข้างต้นอีกฝีเข็มหนึ่ง ทำให้แนวตะเข็บเหมือนฝีจักร.
นั้นว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมายฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่หมายถึงบุคคล หรือสิ่งที่อยู่ห่างออกไป เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคำอื่นคู่กับคำ ใด แสดงความแน่นอน เช่น คนใด…คนนั้น เมื่อใด…เมื่อนั้น.
ฟ้องโดยปริยายหมายความว่า ขัดกัน, ไม่ตรงกัน, เช่น ข้อความข้างต้นกับข้างปลายฟ้องกันเอง.
ย้อนต้นก. กลับถอยหลังไปที่ตอนต้น, หวนไปข้างต้น, เช่น อ่านหนังสือย้อนต้น.
สาบสูญน. เรียกบุคคลซึ่งได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา ๕ ปี และศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ว่า คนสาบสูญ ระยะเวลา ๕ ปี ดังกล่าว ลดลงเหลือ ๒ ปี นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว หรือนับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางไป ได้อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหาย หรือนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิต นอกจากที่ระบุไว้ใน ๒ กรณีดังกล่าวข้างต้นได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น.
หัว ๑ส่วนแห่งสิ่งของบางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่า หัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Radiation workerผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์]
Nuclear materialวัสดุนิวเคลียร์, วัสดุเฟอร์ไทล์ พลูโทเนียมที่มีพลูโทเนียม-238 น้อยกว่าร้อยละ 80 ยูเรเนียม-233 ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ ยูเรเนียมที่มีส่วนผสมของไอโซโทปต่างไปจากที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ ที่ไม่ใช่แร่หรือกากแร่ และวัสดุใดๆ ที่เป็นส่วนผสมวัสดุดังกล่าวข้างต้น, Example: [นิวเคลียร์]
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving Stateในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
Marshall Planแผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต]
Passportหนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต]
Plural Representationหมายถึง การที่รัฐหนึ่งแต่งตั้งผู้แทนทางการทูตถาวรของตนมากกว่าหนึ่งคนไปประจำรัฐ อีกแห่งหนึ่งนอกประเทศ ในกรณีเช่นนั้น ผู้แทนทางการทูตคนหนึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางทูต ส่วนผู้แทนทางการทูตที่เหลือจะเป็นตัวรองอยู่ใต้บังคับบัญชาของเขา เช่น ในสหประชาชาติมีคณะทูตถาวรประจำสหประชาชาติหลายแห่ง นิยมตั้งเอกอัครราชทูตของตนเป็นจำนวนมากถึง 3 หรือ 4 คนไปประจำอยู่ในคณะ ตัวหัวหน้าคณะทูตถาวรเช่นนั้น จะมีตำแหน่งเรียกว่า เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศของตนประจำสหประชาชาติ ส่วนเอกอัครราชทูตคนที่สองในคณะทูตถาวร มีตำแหน่งเรียกว่า รองผู้แทนถาวรการส่งเอกอัครราชทูตหลายคนไปประจำเป็นตัวแทนเช่นนี้ ไม่เป็นที่นิยมกระทำกันแพร่หลายเหมือนกับการส่งหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตคน เดียวไปประจำในหลายประเทศในเวลาเดียวกัน ดังที่กล่าวมาข้างต้น [การทูต]
Termination of Mission of Diplomatic Agentภารกิจของผู้แทนทางการทูตหรือหัวหน้าคณะทูตจะสิ้น สุดลง 1. ระยะเวลาที่ผู้แทนทางการทูตได้รับแต่งตั้งให้ประจำอยู่ในประเทศผู้รับได้ครบ กำหนดตามวาระ2. เมื่อวัตถุประสงค์ของภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติได้สัมฤทธิผลเรียบ ร้อยแล้ว3. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากต้องโยกย้ายไปที่อื่น หรือลาออก หรือเนื่องจากครบเกษียณอายุ4. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลของตน หรือกระทำตามคำขอร้องของรัฐบาลของประเทศผู้รับ ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่5. เนื่องจากการเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ของประเทศตน หรือประเทศที่ตนได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงาน6. หากตัวเขาเองได้กระทำการอันเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศบางอย่าง หรือเนื่องจากเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่คาดไม่ถึง และมีลักษณะร้ายแรงจริง ๆ ตัวเขาเองจะต้องรับผิดชอบในการตัดความสัมพันธ์7. เมื่อรัฐบาลผู้รับ ซึ่งตัวเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่นั้น แล้วจะด้วยเหตุผลอย่างใดก็ตาม ได้แจ้งให้เขาเดินทางออกไปจากประเทศในทันที โดยไม่ต้องระให้รัฐบาลของตนเรียกตัวกลับ8. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งของผู้แทนทางการทูต ดังเช่น ได้รับเลื่อนตำแหน่งจากอัครราชทูตขึ้นเป็นเอกอัครราชทูต9. เนื่องจากเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐทั้งสอง10. เนื่องจากถูกถอดจากตำแหน่ง หรือสละราชบัลลังก์ของประมุขของประเทศใดประเทศหนึ่ง 11. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในประเทศใดประเทศหนึ่ง จากระบบพระมหากษัตริย์เป็นระบบสาธารณรัฐ หรือเป็นระบบสาธารณรัฐอันมีประมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมาย12. เนื่องจากรัฐใดรัฐหนึ่งของทั้งสองรัฐต้องสูญสภาวะในการเป็นรัฐเหตุผลข้างต้น ทั้งหมดนี้ เป็นทรรศนะของเซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ซึ่งได้ให้ไว้ในหนังสือของท่าน ชื่อว่า ?A Guide to Diplomatic Practice? ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 4 โดยเซอร์เนวิลล์ แบลนด์ [การทูต]
Waiver of Immunityการสละความคุ้มกันทางการทูต ในเรื่องนี้บางประเทศออกกฎไว้ว่า ความคุ้มกันจากอำนาจทั้งทางแพ่งหรืออาญาของผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ใน ประเทศผู้รับ ตามที่กฎหมายระหว่างประเทศได้มอบให้ รวมทั้งคณะเจ้าหน้าที่ทางการทูตและบุคคลในครอบครัวของเขานั้น ย่อมสละมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศของผู้นั้น เหตุผลของการออกกฎข้อนี้เป็นเพราะเขาถือว่า ความคุ้มกันนั้นมิได้เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่โดยตรงหากแต่เกี่ยวกับตำแหน่ง หน้าที่ของเขามากกว่าเรื่องการสละความคุ้มกันข้างต้น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 32 ว่า?1. ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูตและของบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกัน ภายใต้ขอ้ 37 อาจสละได้โดรัฐผู้ส่ง 2. การสละต้องเป็นที่ชัดแจ้งเสมอ 3. การริเริ่มคดีโดยตัวแทนทางการทูต หรือโดยบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลภายใต้ข้อ 37 จะกันตัวแทนทางการทูตหรือบุคคลนั้นจากการอ้างความคุ้มกันของอำนาจศาล ในส่วนที่เกี่ยวกับการฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียกร้องสิทธิ สำคัญนั้น 4. การสละความคุ้มกันจากอำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีปกครอง ไม่ให้ถือว่ามีนัยเป็นการสละความคุ้มกันในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตาม คำพิพากษา ซึ่งจำเป็นต้องมีการสละต่างหากอีก? [การทูต]
น้ำมันเชื้อเพลิงน้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [พลังงาน]
Iliotibial Bandแผ่นเอ็นด้านข้างต้นขา [การแพทย์]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
ข้างต้น[khāngton] (x) EN: above ; above mentioned  FR: ci-dessus ; ci-avant ; plus haut

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
afore(prep) ก่อน, See also: แต่ก่อน, ข้างต้น, มาแล้ว, อยู่หน้า
afore(adv) ก่อน, See also: แต่ก่อน, ข้างต้น, มาแล้ว, อยู่หน้า, Syn. before
afore(conj) ก่อน, See also: แต่ก่อน, ข้างต้น, มาแล้ว, อยู่หน้า
aforementioned(adj) ดังที่กล่าวมาก่อนแล้ว, See also: ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น, ดังที่กล่าวมา

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
afore(อะฟอร์') adv., prep., conj. อยู่หน้า, แต่ก่อน, ข้างต้น, มาแล้ว, Syn. before
ut supra(อูทชู'พรา) Latin ดังข้างต้น, ดังที่ได้แสดงมาแล้ว

English-Thai: Nontri Dictionary
afore(adv) ก่อน, แต่ก่อน, ข้างต้น
afore(pre) ก่อน, อยู่หน้า, ข้างต้น

Japanese-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
上記[じょうき, jouki] การเขียนมาแล้วข้างต้น
命綱[いのちづな, inochizuna] (n) 1.เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เวลาทำงานในที่สูง หรือบนเรือ <BR>2.ฟางเส้นสุดท้าย (มีความหมายว่า เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวสุดท้าย ถ้าไม่มีสิ่งที่พูดมาข้างต้น จะไม่สามารถทำให้ลุล่วงสำเร็จไปได้ หรือว่าทำให้ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก หรืออันตรายถึงชีวิต)

Japanese-Thai-English: Saikam Dictionary
以上[いじょう, ijou] TH: (ที่กล่าวมา)ข้างต้น  EN: the above

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top