ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

laptospirosis

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -laptospirosis-, *laptospirosis*, laptospirosi
(เนื่องจากผลลัพธ์จากการค้นหา laptospirosis มีน้อย ระบบจึงเลือกคำใหม่ให้โดยอัตโนมัติ: leptospirosis)
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Laptospirosisเลปโตสไปโรซิส [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Leptospirosisเล็ปโตสไปโรซีส [TU Subject Heading]
Leptospirosisโรคฉี่หนู, Example: <p>โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีสัตว์เป็นพาหะ เช่น หนู กระรอก แมว สุนัข สุกร ควาย วัว กวาง พบโรคนี้ได้ทั่วโลก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสกุล (genus) เลปโทสไปรา (Leptospira) เป็นโรคที่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่เชื้ออาจผ่านไปยังทารกในครรภ์หรือติดเชื้อจากการที่ทารกได้รับน้ำนมจากแม่ที่เป็นโรค มักพบโรคนี้ในคนวัยทำงาน เพศชายจะป่วยได้มากกว่าเพศหญิง สาเหตุที่เรียกโรคนี้ว่าฉี่หนูเพราะส่วนใหญ่คนเกิดเป็นโรคนี้เนื่องจากไปสัมผัสเชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อนมากับปัสสาวะของหนู โรคนี้พบสูงสุดในฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมของทุกปีเพราะหนูอพยพหนีน้ำท่วมเข้ามาในนาข้าวหรือเข้ามาในเมืองจึงทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคในแหล่งน้ำต่างๆ <p> <p>การติดต่อของโรคมี 2 รูปแบบ คือ<br/> 1. การติดต่อโดยตรง คือ เกิดจากได้สัมผัสโดยตรงกับของเหลวที่เกิดจากสัตว์ที่เป็นพาหะ เช่น ปัสสาวะ เลือด น้ำลาย น้ำนม หรือถูกสัตว์ที่เป็นพาหะกัด<br/> 2. การติดต่อโดยอ้อม คือ เกิดจากได้สัมผัสกับแหล่งน้ำหรือดินที่เปียกชื้นที่มีการปนเปื้อนปัสสาวะและของเหลวที่มีเชื้อก่อโรค <p> <p>กลไกการเกิดโรค<br/> ขณะที่คนไปสัมผัสกับปัสสาวะ ของเหลว ดิน หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อก็จะผ่านเข้าไปตามผิวหนังหรือเยื่อบุที่มีแผล ต่อมาเชื้อจะเข้าสู่กระแสโลหิตและอวัยวะต่างๆ เมื่อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะทำปฏิกิริยากับร่างกาย ผลคือทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ และหลอดเลือด ถ้าปฏิกิริยาที่เกิดรุนแรงมากก็จะทำให้อวัยวะต่างๆ ทำหน้าที่บกพร่องจนล้มเหลวในที่สุด <p> <p>อาการของโรค<br/> หลังจากได้รับเชื้อบางคนไม่แสดงอาการ บางคนมีอาการไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง บางคนที่ป่วยรุนแรงจะมีอาการเกิดขึ้นกับระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร รวมถึงความผิดปกติในการทำงานของไต ตับ ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและได้รับการรักษาไม่ทันส่วนใหญ่จะเสียชีวิต โดยสาเหตุของการเสียชีวิต คือ ไตวายเฉียบพลัน ระบบการหายใจล้มเหลว การล้มเหลวของอวัยวะหลายอย่าง <p> <p>การรักษา<br/> มีทั้งการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อทำลายเชื้อและการรักษาตามอาการ การให้ยาปฏิชีวนะจะทำให้กำจัดเชื้อได้เร็ว ไข้ลดลงเร็วและมีภาวะแทรกซ้อนน้อย การรักษาตามอาการ เช่น เมื่อมีไข้สูงก็รักษาด้วยการเช็ดตัวหรือให้ยาลดไข้ ถ้ามีภาวะการหายใจล้มเหลวก็ใส่เครื่องช่วยหายใจ <p> <p>วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคมีดังนี้<br/> 1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค<br/> 2. หลีกเลี่ยงการลงเล่นในแหล่งน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อ<br/> 3. หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่าบนดินที่เปียกชื้น<br/> 4. สวมรองเท้าบูต ถุงมือยาง แว่นตา เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ<br/> 5. กำจัดเชื้อหรือสัตว์ที่เป็นพาหะ<br/> 6. ให้ยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ที่ต้องสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อเป็นครั้งคราว เช่น ผู้ที่เดินเที่ยวในป่า ผู้ที่เล่นน้ำในแหล่งน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อ<br/> 7. ควรรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการที่น่าสงสัยสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ<br/> 8. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ <br> <br>แหล่งข้อมูล<br> อมร ลีลารัศมี ยงค์ รงค์รุ่งเรือง และภิญโญ รัตนาอัมพวัลย์. (2553). โรคฉี่หนู. ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (เล่มที่ 34, หน้า 288-311). กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Leptospirosisเลปโตสไปโรซิส, โรค; เล็ปโตสไปโรซิส; เลปโตสไปโรสิส; โรคเล็บโตสไปโรสิส [การแพทย์]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Leptospirosisเล็ปโตสไปโรซีส [TU Subject Heading]
Leptospirosisโรคฉี่หนู, Example: <p>โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีสัตว์เป็นพาหะ เช่น หนู กระรอก แมว สุนัข สุกร ควาย วัว กวาง พบโรคนี้ได้ทั่วโลก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสกุล (genus) เลปโทสไปรา (Leptospira) เป็นโรคที่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่เชื้ออาจผ่านไปยังทารกในครรภ์หรือติดเชื้อจากการที่ทารกได้รับน้ำนมจากแม่ที่เป็นโรค มักพบโรคนี้ในคนวัยทำงาน เพศชายจะป่วยได้มากกว่าเพศหญิง สาเหตุที่เรียกโรคนี้ว่าฉี่หนูเพราะส่วนใหญ่คนเกิดเป็นโรคนี้เนื่องจากไปสัมผัสเชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อนมากับปัสสาวะของหนู โรคนี้พบสูงสุดในฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมของทุกปีเพราะหนูอพยพหนีน้ำท่วมเข้ามาในนาข้าวหรือเข้ามาในเมืองจึงทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคในแหล่งน้ำต่างๆ <p> <p>การติดต่อของโรคมี 2 รูปแบบ คือ<br/> 1. การติดต่อโดยตรง คือ เกิดจากได้สัมผัสโดยตรงกับของเหลวที่เกิดจากสัตว์ที่เป็นพาหะ เช่น ปัสสาวะ เลือด น้ำลาย น้ำนม หรือถูกสัตว์ที่เป็นพาหะกัด<br/> 2. การติดต่อโดยอ้อม คือ เกิดจากได้สัมผัสกับแหล่งน้ำหรือดินที่เปียกชื้นที่มีการปนเปื้อนปัสสาวะและของเหลวที่มีเชื้อก่อโรค <p> <p>กลไกการเกิดโรค<br/> ขณะที่คนไปสัมผัสกับปัสสาวะ ของเหลว ดิน หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อก็จะผ่านเข้าไปตามผิวหนังหรือเยื่อบุที่มีแผล ต่อมาเชื้อจะเข้าสู่กระแสโลหิตและอวัยวะต่างๆ เมื่อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะทำปฏิกิริยากับร่างกาย ผลคือทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ และหลอดเลือด ถ้าปฏิกิริยาที่เกิดรุนแรงมากก็จะทำให้อวัยวะต่างๆ ทำหน้าที่บกพร่องจนล้มเหลวในที่สุด <p> <p>อาการของโรค<br/> หลังจากได้รับเชื้อบางคนไม่แสดงอาการ บางคนมีอาการไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง บางคนที่ป่วยรุนแรงจะมีอาการเกิดขึ้นกับระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร รวมถึงความผิดปกติในการทำงานของไต ตับ ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและได้รับการรักษาไม่ทันส่วนใหญ่จะเสียชีวิต โดยสาเหตุของการเสียชีวิต คือ ไตวายเฉียบพลัน ระบบการหายใจล้มเหลว การล้มเหลวของอวัยวะหลายอย่าง <p> <p>การรักษา<br/> มีทั้งการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อทำลายเชื้อและการรักษาตามอาการ การให้ยาปฏิชีวนะจะทำให้กำจัดเชื้อได้เร็ว ไข้ลดลงเร็วและมีภาวะแทรกซ้อนน้อย การรักษาตามอาการ เช่น เมื่อมีไข้สูงก็รักษาด้วยการเช็ดตัวหรือให้ยาลดไข้ ถ้ามีภาวะการหายใจล้มเหลวก็ใส่เครื่องช่วยหายใจ <p> <p>วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคมีดังนี้<br/> 1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค<br/> 2. หลีกเลี่ยงการลงเล่นในแหล่งน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อ<br/> 3. หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่าบนดินที่เปียกชื้น<br/> 4. สวมรองเท้าบูต ถุงมือยาง แว่นตา เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ<br/> 5. กำจัดเชื้อหรือสัตว์ที่เป็นพาหะ<br/> 6. ให้ยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ที่ต้องสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อเป็นครั้งคราว เช่น ผู้ที่เดินเที่ยวในป่า ผู้ที่เล่นน้ำในแหล่งน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อ<br/> 7. ควรรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการที่น่าสงสัยสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ<br/> 8. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ <br> <br>แหล่งข้อมูล<br> อมร ลีลารัศมี ยงค์ รงค์รุ่งเรือง และภิญโญ รัตนาอัมพวัลย์. (2553). โรคฉี่หนู. ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (เล่มที่ 34, หน้า 288-311). กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Leptospirosisเลปโตสไปโรซิส, โรค; เล็ปโตสไปโรซิส; เลปโตสไปโรสิส; โรคเล็บโตสไปโรสิส [การแพทย์]

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Leptospirosis(n) โรคฉี่หนู

Chinese-English: CC-CEDICT Dictionary
钩端螺旋体病[gōu duān luó xuán tǐ bìng, ㄍㄡ ㄉㄨㄢ ㄌㄨㄛˊ ㄒㄩㄢˊ ㄊㄧˇ ㄅㄧㄥˋ,       /      ] leptospirosis [Add to Longdo]

Japanese-English: EDICT Dictionary
レプトスピラ症[レプトスピラしょう, reputosupira shou] (n) leptospirosis [Add to Longdo]
ワイル病[ワイルびょう, wairu byou] (n) (See レプトスピラ症) Weil's disease; Weil's syndrome; severe leptospirosis [Add to Longdo]

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top