ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*คำประพันธ์*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: คำประพันธ์, -คำประพันธ์-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
คำประพันธ์(n) verse, See also: poetry, rhyme, poem, Syn. โคลง, ฉันท์, กาพย์, กลอน, Example: การเล่าเรื่องด้วยคำประพันธ์อาจไม่ทันใจและขัดความรู้สึกของคนสมัยปัจจุบัน, Count Unit: บท

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
กรวด ๒(กฺรวด) ว. สูงชัน เช่น หลังคากรวด, คู่กับ หลังคาดาด, ในคำประพันธ์ใช้ว่า จรวด หรือ ตรวด ก็มี เช่น เฒ่าก็วิ่งตรวดตรงขึ้นต้นไม้ (ม. ร่ายยาว ชูชก).
กลบท(กนละ-) น. คำประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น เจ้าโศกแคนแค่นแค้นดั่งแสนศร มารานร่านร้านรอนให้ตักไษย ว่าโอโอ่โอ้กำม์มาจำไกล เวรุชื่อใดจองจ่องจ้องประจาน (กลบทตรีประดับ).
กลอน ๒(กฺลอน) น. คำประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคำเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย ก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตำรากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคำประพันธ์เฉพาะอย่างเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คำประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึงเรียกว่า กลอน เป็นลำนำสำหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสำหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
กวีนิพนธ์น. คำประพันธ์ที่กวีแต่งอาจเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้.
กาล ๒(กาน) น. คำประพันธ์.
ครรโลง(คันโลง) น. โคลง, คำประพันธ์ชนิดหนึ่ง.
คาถา ๑น. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง
คำร้อง ๒น. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, เนื้อร้อง หรือ บทร้อง ก็ว่า.
คำหลวงน. คำประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์ร่าย คือ มหาชาติคำหลวงและพระนลคำหลวง, คำประพันธ์ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคำหลวง คือ นันโทปนันท-สูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง.
โคลง ๑(โคฺลง) น. คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีจำนวนคำในวรรคสัมผัสและบังคับเอกโทตามตำราฉันทลักษณ์.
ฉันท- ๑, ฉันท์ ๑(ฉันทะ-) น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคำ ครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ.
ฉันทลักษณ์(ฉันทะลัก) น. ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยลักษณะของคำประพันธ์.
ฉีกคำก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ในคำประพันธ์.
ดอนคำประพันธ์โบราณเขียนเป็น ดร ก็มี.
เนื้อร้องน. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, คำร้อง หรือ บทร้อง ก็ว่า.
บท ๑, บท- ๑กำหนดคำประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท
บท ๑, บท- ๑คำประพันธ์ที่เขียนขึ้นสำหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท
บทกลอนน. คำประพันธ์ที่เป็นบทร้อยกรอง.
บทร้องน. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, คำร้อง หรือ เนื้อร้อง ก็ว่า.
บาท ๓น. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคำประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่งมี ๔ บาท.
บุกบั่นก. ฝ่าไปโดยไม่ท้อถอย, ในคำประพันธ์ใช้ว่า บุกบัน ก็มี เช่น เข้าโรมรุกบุกบันฟันแทง (อิเหนา).
ร้อยกรองน. คำประพันธ์, ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.
รับสัมผัสก. เรียกคำใดคำหนึ่งของวรรคหลังแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำส่งสัมผัสในวรรคหน้า ว่า คำรับสัมผัส.
ร่าย ๑น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ
เริ่มต้นก. ตั้งต้น, ขึ้นต้น, เช่น เขาเริ่มต้นถักเสื้อตัวใหม่แล้ว ครูเริ่มต้นแต่งคำประพันธ์.
ลิลิตน. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งซึ่งใช้โคลงและร่ายต่อสัมผัสกันเป็นเรื่องยาว.
แล ๒ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบหลายคราลำบากนักหนาแล (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล (ตะเลงพ่าย).
ศานตรสน. รสของคำประพันธ์ที่แสดงถึงความสงบจิต.
โศลก(สะโหฺลก) น. คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺม-นามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพาน คือพรหมโดยทั่วไป (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง
ส่งสัมผัสก. เรียกคำสุดท้ายของวรรคหน้าแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไป ว่า คำส่งสัมผัส.
สักวา(สักกะวา) น. ชื่อคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน ขึ้นต้นด้วยคำ “สักวา” และลงท้ายด้วยคำ “เอย”, ชื่อลำนำเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็นทำนองโต้ตอบกัน.
ห่อนว. เคย เช่น ไป่ห่อนเหลือคิดข้า คิดผิด แม่นา (ลอ), ในคำประพันธ์บางคราวใช้แทน ไม่ เช่น สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ (เห่ชมนก).
อ้า ๒ว. คำออกเสียงขึ้นต้นประโยคในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึงหรือพรรณนาวิงวอนอย่างเดียวกับคำ โอ้ หรือ โอ้ว่า.
โอ้ ๑อ. คำในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคยเลยจะห่างเหเสนหา (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต (อิเหนา).

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Poeticsการแต่งคำประพันธ์ [TU Subject Heading]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
คำประพันธ์[khampraphan] (n) EN: verse ; poetry ; rhyme ; poem  FR: poésie [ f ]
คำประพันธ์ไทย[khampraphan Thai] (n, exp) FR: poésie thaïe [ f ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
measure(n) จังหวะ (ของคำประพันธ์), Syn. rhythm, meter
verse(n) ร้อยกรอง, See also: โคลงกลอน, บทกวี, คำประพันธ์, Syn. poetry, poem, rhyme, Ant. prose
verse(vt) แสดงเป็นบทกวี, See also: เขียนเป็นคำประพันธ์
verse(adj) เกี่ยวกับบทกวี, See also: เกี่ยวกับคำประพันธ์

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
verse(เวิร์ส) n. โคลง, กลอนฉันท์หรือกาพย์, บทกวี, คำประพันธ์ที่เป็นจังหวะ, รูปแบบบทกวี, ตอนสั้น ๆ ในพระคัมภีร์ไบเบิล. adj. เกี่ยวกับบทกวี. vt. แสดงออกเป็นบทกวี. vi. ทำให้เป็นบทกว', Syn. stanza, poetry

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top