ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: โดยใช้, -โดยใช้- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ กงฉาก | น. เครื่องมือทางช่างชนิดหนึ่ง สำหรับหามฉากในการปักผังหรือกำหนดผังเสา โดยใช้ไม้แบนที่มีความยาวพอสมควรมาประกอบให้เป็นมุม ๙๐ องศา แล้วยึดปลายทั้ง ๒ ข้างด้วยไม้อีกชิ้นหนึ่ง. | กรรโชก | (กัน-) น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น. | กรอ ๕ | ก. บรรเลงดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง ที่ทำให้เกิดเสียงต่อเนื่องกันเป็นเสียงยาวสม่ำเสมอ โดยใช้ ๒ มือตีสลับกันถี่ ๆ ด้วยน้ำหนักมือที่เท่ากัน. | กระแตไต่ไม้ ๑ | ชื่อเพลงโหมโรงเสภา เดิมเป็นเพลงไทยภาคเหนือสำเนียงลาว ต่อมามีผู้นำมาแต่งขยายเป็นอัตรา ๓ ชั้น โดยใช้ชื่อเดิม. | กระบอก ๑ | รูปตันที่กำเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็นวงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้นจนปลาย. (อ. cylinder). | กระแหนะ | กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, แขนะ ก็ว่า. | กลองโมงครุ่ม | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะอย่างเดียวกับกลองทัด แต่ใหญ่กว่า ขึ้นหนัง ๒ หน้า ตีทั้งสองหน้าโดยใช้ไม้กำพดตี ใช้ตีในการละเล่นสมัยโบราณ. | ก่อสร้าง | ก. ก่อและสร้างโดยใช้อิฐและปูนเป็นส่วนใหญ่. | กอก ๑ | ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกาย หรือดูดเอานํ้านมออกจากเต้านม โดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. | กะไหล่ | น. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบนโลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. | กาลักน้ำ | น. เครื่องมืออย่างง่ายซึ่งอาศัยความดันของอากาศเพื่อใช้ถ่ายเทของเหลวออกจากภาชนะ โดยใช้หลอดหรือท่อที่ใช้ถ่ายเทของเหลวจากระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่ตํ่ากว่า โดยไหลผ่านระดับที่สูงกว่าระดับทั้ง ๒ นั้น. | กามโรค | น. โรคซึ่งติดต่อกันได้โดยการประกอบกามกิจหรือติดต่อกันโดยใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นกามโรคเป็นต้น, เรียกเป็นสามัญว่า โรคบุรุษ หรือ โรคผู้หญิง. | กำปั่น ๑ | น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า กำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอนํ้า เรียกว่า กำปั่นไฟ. | กุญแจกล | น. กุญแจที่เปิดโดยใช้รหัส. | แกล้งดิน | ก. กระบวนการแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้กรรมวิธีเร่งปฏิกิริยาเคมีในดิน ทำให้ดินเปรี้ยวอย่างรุนแรงแล้วใช้ระบบชลประทานนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวทำสลับไปมา จนเปลี่ยนสภาพดินให้สามารถเพาะปลูกได้. | ข่มขืนกระทำชำเรา | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำ ชำเราบุคคลอื่น ไม่ว่าผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำจะเป็นชายหรือหญิง และจะเป็นคู่สมรสของตนหรือไม่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้ถูกกระทำอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น. | ข่มขืนใจ | ก. บังคับจิตใจหรือฝืนใจให้ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน. | ขานรหัส | ก. ร้องเรียกโดยใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ที่กำหนดรู้กันโดยเฉพาะ. | ขิด | น. ชื่อผ้าทอชนิดหนึ่ง มีวิธีทำลวดลายโดยใช้ไม้แผ่นแบนบางปากโค้งให้ปลายหนึ่งแหลมเป็นเครื่องมือสำหรับสะกิดเส้นเครือหรือเส้นยืน เพื่อเก็บยกขึ้นตามรูปลักษณะลวดลายที่ต้องการในแต่ละแถวแต่ละลาย, เขียนเป็น ขิต ก็มี. | ขิม | น. ชื่อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู มี ๓ ขนาด ได้แบบอย่างมาจากประเทศจีน บรรเลงโดยใช้ไม้ตีบนเส้นลวด. | ขึ้นมึงขึ้นกู | ก. ด่าทอด้วยอารมณ์โกรธโดยใช้สรรพนามว่า มึงกู. | เข็น | ก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไปบนพื้น เช่น เข็นเรือที่เกยตลิ่งให้ลงน้ำ เข็นเกวียนขึ้นจากหล่ม, ดันให้เคลื่อนที่ไปบนพื้น เช่น เข็นรถ, บรรทุกไปโดยใช้เกวียน เลื่อน หรือเรือ เป็นต้น เช่น เข็นข้าว เข็นไม้ | แขนะ | (ขะแหฺนะ) น. กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า. | คลอโรฟิลล์ | (คฺลอ-) น. สารสีเขียว มีปรากฏในพืช ซึ่งสามารถดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้นํ้าและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมาผลิตคาร์โบไฮเดรตได้. | คว้านท้อง | ก. ฆ่าตัวตายแบบญี่ปุ่น โดยใช้มีดแทงที่ท้องแล้วคว้าน. | ค่าเผา | น. ค่าธรรมเนียมดูเงินโดยใช้วิธีเผาเงินตราเพื่อพิสูจน์. | คุกคลาน | ก. คลานด้วยกิริยาที่ยอบตัวลงให้เตี้ยโดยใช้เข่าเดิน. | ไคล ๓ | (ไคฺล) ก. ทำให้คลาย ให้อ่อน หรือให้หย่อน โดยใช้นิ้วมือหรือฝ่ามือเป็นต้นคลึงไปมา. | งัด | ก. ทำให้เผยอหรือเคลื่อนที่โดยใช้วัตถุยาวคัด เช่น งัดตะปู งัดซุง | เงินแดง | น. เงินปลอม เช่นปลอมเงินพดด้วงโดยใช้ทองแดงชุบด้วยเงิน หรือปลอมเงินเหรียญด้วยการผสมโลหะอื่นที่มีค่าน้อยกว่า, เงินเก๊ ก็เรียก, โดยปริยายหมายถึงคนที่ใช้งานใช้การไม่ได้. | จรวด ๒ | (จะหฺรวด) น. อาวุธหรือยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงมาก โดยใช้เชื้อเพลิงในตัวเองเผาไหม้เป็นแก๊สพุ่งออกมาจากส่วนท้าย มีทั้งชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งและชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว. | จ้องหน่อง | น. เครื่องทำให้เกิดเสียงเป็นเพลง โดยใช้ปากคาบแล้วกระตุกหรือชักด้วยเชือกให้สั่นดังเป็นเสียงดนตรี. | จำอวด | น. การแสดงโดยใช้ถ้อยคำ ท่าทาง ชวนให้ตลกขบขัน. | จิ้งหรีด | น. ชื่อแมลงในวงศ์ Gryllidae หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน หนวดยาว ปากเป็นชนิดกัดกิน ลำตัวยาว ๑-๓ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ ปีกคู่หน้าหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้างของลำตัว ปีกคู่หลังบางพับเก็บอยู่ใต้ปีกคู่หน้า เพศผู้ปีกคู่หน้ามีลวดลายเป็นสัน ทำเสียงได้โดยใช้ปีกคู่หน้าสีกัน กินใบพืช เช่น ทองดำ [ Gryllus bimaculatus (De Geer) ] ทองแดง [ Teleogryllus mitratus (Burmeister) ], จังหรีด ก็เรียก. | ชั่ง | ก. กระทำให้รู้นํ้าหนักโดยใช้เครื่องชั่งหรือตราชูเป็นต้น เช่น ชั่งเนื้อหมูให้สักครึ่งกิโลกรัม เมื่อเช้าชั่งน้ำหนัก ลดไป ๒ กิโลกรัม. | ชิงทรัพย์ | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำ ลักทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป (๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ (๔) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ (๕) ให้พ้นจากการจับกุม. | ชิงไหวชิงพริบ | ก. ฉวยโอกาสโดยใช้ไหวพริบ, คอยจ้องดูชั้นเชิงของอีกฝ่ายหนึ่ง. | เช็ด ๑ | ก. ทำให้แห้งหรือให้สะอาดโดยใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีผ้าหรือกระดาษเป็นต้น เช่น เช็ดนํ้าตา เช็ดพื้น เช็ดถ้วยชาม, ทำให้ข้าวสะเด็ดน้ำด้วยการรินน้ำออก เช่น ข้าวเช็ดให้สะเด็ดน้ำแล้วจึงดง. | ใช้กำลังประทุษร้าย | ก. ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และหมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน. | เซปักตะกร้อ | น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ลูกตะกร้อส่งข้ามตาข่ายโต้กันไปมา โดยใช้ขา เท้า เข่า ลำตัว และศีรษะ เพื่อรับส่งลูก มีผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน การเริ่มส่งลูกแต่ละครั้ง ฝ่ายส่งจะต้องยืนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ การเล่นแบ่งเป็น ๓ เซต ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ เซต คือ ฝ่ายชนะ. | โซลา | น. นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลชนิดหมุนเร็ว โดยใช้ความร้อนซึ่งเกิดจากกำลังอัดของลูกสูบจุดระเบิด, ทางการเรียกว่า นํ้ามันดีเซลหมุนเร็ว. | ดำอวด | ก. จำอวด, การแสดงโดยใช้ถ้อยคำ ท่าทาง ชวนให้ตลกขบขัน. | ดีด ๑ | เล่นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายโดยใช้ปลายนิ้วมือหรืออุปกรณ์สะกิดให้เกิดเสียง เช่น ดีดจะเข้ ดีดพิณ ดีดกีตาร์, เอานิ้วมือแตะแล้วเขี่ยให้เลื่อนไป เช่น ดีดลูกคิด, เอาปลายนิ้วกดแล้วปล่อย เช่น ดีดพิมพ์ดีด ดีดเปียโน, (โบ) ทำห่างเหินผู้ใหญ่ ไม่เข้าหน้า เช่น หมู่นี้ชักดีดไปไม่เข้าหน้า. | เดี่ยว ๑ | ก. แสดงฝีมือการบรรเลงดนตรีคนเดียวโดยใช้ทางบรรเลงพิเศษ เช่น เดี่ยวปี่ เดี่ยวซอ เดี่ยวระนาด เดี่ยวเปียโน. | ตอกลิ่ม | ก. ทำให้แยกหรือให้แน่นโดยใช้ลิ่ม, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้บุคคล ๒ ฝ่ายแตกแยกกันหรือบาดหมางกันยิ่งขึ้น เช่น ตอกลิ่มให้ทั้ง ๒ ฝ่ายทะเลาะกัน. | ตะไกร ๑ | (-ไกฺร) น. เครื่องมือสำหรับตัดโดยใช้หนีบ มี ๒ ขา, ลักษณนามว่า เล่ม, เขียนเป็น กรรไกร หรือ กรรไตร ก็มี. | ตะปู | น. สิ่งทำด้วยโลหะ มีปลายแหลม หัวมนแบน ขนาดต่าง ๆ กัน สำหรับตรึงสิ่งอื่นให้แน่น โดยใช้ค้อนเป็นต้นตอกลงไป, ตาปู ก็เรียก. | ตีนจก | น. ชื่อเชิงซิ่นที่ทอด้วยวิธีจกลายโดยใช้ขนเม่นควักด้ายเส้นยืน แล้วสอดไหมหรือด้ายทำเป็นลวดลาย แล้วนํามาเย็บติดกับตัวซิ่น, เรียกซิ่นที่มีเชิงเช่นนั้น ว่า ซิ่นตีนจก. | ถม ๑ | น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทำโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้าประสานทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับนั้น แล้วขัดผิวให้เป็นเงางาม ว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน. | ถ่อ ๑ | ก. ทำให้เรือหรือแพเคลื่อนที่ไปโดยใช้ไม้ถ่อยันดินใต้ท้องน้ำ |
|
| | Crude Basket Method | ราคาซื้อขายน้ำมันดิบโดยใช้วิธีอิงราคาน้ำมันดิบตลาดโลก, ราคาซื้อขายน้ำมันดิบโดยใช้วิธีอิงราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ที่มีคุณภาพใกล้เคียงกันหลายๆชนิด [ปิโตรเลี่ยม] | Computer aided design | การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย [เศรษฐศาสตร์] | Computer aided manufacture | การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย [เศรษฐศาสตร์] | ASCII art | ศิลปะแอสกี ศิลปะการวาดแผนภาพโดยใช้อักขระแอสกีซึ่งปกติจะใช้เพียงอักขระง่ายๆ เช่น ! - / เป็นต้น [คอมพิวเตอร์] | Accelerator | เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น <em>โปรตอน</em>หรือ<em>อิเล็กตรอน</em> โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น <em>ไซโคลทรอน</em> <em>ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น</em> และ<em>บีตาทรอน</em> [นิวเคลียร์] | Annual Limit on Intake | เอแอลไอ, ขีดจำกัดการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีรอบปี, ปริมาณสูงสุดของนิวไคลด์กัมมันตรังสีแต่ละชนิด ที่ร่างกายได้รับโดยการหายใจ การกิน หรือ ผ่านทางผิวหนังในเวลา 1 ปี ได้จากการคำนวณปริมาณรังสีผูกพันโดยใช้แบบจำลองมนุษย์อ้างอิง (Reference Man) จะเท่ากับขีดจำกัดปริมาณรังสี [นิวเคลียร์] | Brachytherapy | รังสีรักษาระยะใกล้, การรักษาโดยใช้สารกัมมันตรังสีที่เป็นของแข็ง ฝังไว้ในร่างกายใกล้ๆ กับบริเวณที่ต้องการรักษา, Example: [นิวเคลียร์] | Particle accelerator | เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น โปรตอนหรืออิเล็กตรอน โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น ไซโคลทรอน ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และบีตาทรอน [นิวเคลียร์] | x-ray fluorescence | การเรืองรังสีเอกซ์, ปรากฏการณ์การเกิดรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะของธาตุที่สนใจโดยใช้พลังงานที่เหมาะสมไปกระตุ้นอะตอมของธาตุนั้น [นิวเคลียร์] | X-ray diffraction analysis | การวิเคราะห์โดยการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์, การวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ เพื่อหาโครงสร้างของอะตอม หรือโมเลกุลในธาตุ หรือสารประกอบที่มีการเรียงตัวเป็นระเบียบซ้ำๆ กัน เช่น เพชร โซเดียมคลอไรด์ รวมทั้งชีวโมเลกุลที่มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น โปรตีน กรดนิวคลีอิก [นิวเคลียร์] | Thermoluminescence dosimeter | อุปกรณ์วัดปริมาณรังสีสะสมที่ได้รับ, อุปกรณ์วัดปริมาณรังสีสะสมที่ได้รับ โดยใช้หลักการเปล่งแสงของสารเมื่อได้รับความร้อน (ดู thermoluminescence ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] | Radiotherapy | รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์] | Radioimmunoassay | อาร์ไอเอ, เทคนิคการหาปริมาณสารต่างๆ ในสิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ โดยใช้สารประกอบติดฉลากรังสีเป็นตัวติดตามผลของปฏิกิริยาจำเพาะระหว่างสารก่อภูมิต้านทาน(antigen) และสารภูมิต้านทาน(antibody) [นิวเคลียร์] | Radioactive dating | การหาอายุจากสารกัมมันตรังสี, การหาอายุของวัตถุหรือตัวอย่างโดยใช้สัดส่วนของสารกัมมันตรังสีหรือผลผลิตจากการสลายกัมมันตรังสีที่มีในวัตถุนั้น เช่น ใช้สัดส่วนของคาร์บอน-14 ต่อคาร์บอนทั้งหมดบอกอายุของกระดูก ไม้ หรือตัวอย่างวัตถุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ หรือใช้สัดส่วนของโพแทสเซียม-40 ต่ออาร์กอน-41 บอกอายุของหินหรือแร่ที่มีโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบได้ <br>(ดู carbon-14 ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] | Radiation therapy | รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์] | Radiation induced F1-sterility | การชักนำให้เป็นหมันในรุ่นลูกด้วยรังสี, การใช้รังสีชักนำให้แมลงศัตรูพืชในกลุ่มผีเสื้อเป็นหมันแบบไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะถ่ายทอดความเป็นหมันแบบสมบูรณ์ในรุ่นลูก โดยไม่ทำให้พฤติกรรมและความสามารถในการผสมพันธุ์เสียไป ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมประชากรแมลงอีกวิธีหนึ่ง <br>วิธีการนี้ประสบความสำเร็จใน หนอนเจาะสมอฝ้ายสีชมพู (pink bollworm) และหนอนทำลายแอปเปิล (codling moth) โดยใช้รังสีแกมมาที่ปริมาณ 80-200 เกรย์ </br> <br> (ดู sterile insect technique ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์] | structural programming | การเขียนโปรแกรมโครงสร้าง, การเขียนโปรแกรมโดยใช้เฉพาะโครงสร้างควบมากเกินไปคุมที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้โปรแกรมซับซ้อนมากเกินไป วิธีนี้ช่วยช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจโปรแกรมได้ง่ายขึ้น อันจะทำให้แก้ไขดัดแปลงโปรแกรมได้ง่ายขึ้นด้วย [คอมพิวเตอร์] | Neutron Activation Analysis | การวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอน, เอ็นเอเอ, การจำแนกชนิดและปริมาณของธาตุในสารตัวอย่างโดยใช้อนุภาคนิวตรอนเป็นตัวกระทำให้เกิดกัมมันตภาพรังสีแก่สารตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ แล้ววัดรังสีแกมมาเฉพาะตัวที่ปลดปล่อยจากนิวไคลด์รังสีที่เกิดขึ้น <br>(ดู activation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] | Augmentative and Alternative Communication Program | ซอฟต์แวร์ช่วยในการสื่อสารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด, ซอฟต์แวร์ช่วยในการสื่อสารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด โดยใช้รูปภาพหรือข้อความเป็นรูปแทนการสื่อความหมาย เมื่อเลือกรูปแทนแล้ว โปรแกรมจะเล่นเสียงที่บันทึกไว้ของรูปแทนดังกล่าวออกมา โปรแกรมชนิดนี้พัฒนาขึ้นในประเทศไทย ชื่อ "ปราศรัย" ทำหน้าที่เป็นเสมือนกล่องที่บรรจุเสียงพูดที่ใช้ในการสนทนาไว้อย่างไม่จำกัดจำนวน โดยจัดเก็บเสียงเป็นแฟ้มเสียงไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ [Assistive Technology] | Digital Accessible Information System Book | หนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์ระบบเดซี, สื่อข้อมูลดิจิทัล เช่น แผ่นซีดี หรือ หน่วยความจำ ที่สามารถนำมาเล่นด้วยเครื่อเล่นหรือคอมพิวเตอร์แล้วได้เป็นเสียงอ่านที่เคยบันทึกเอาไว้ก่อน ทั้งนี้ โดยใช้วิธีการกำหนดตำแหน่ง (mark up) ระหว่างเสียง กับข้อความ (ป้ายกำกับข้อมูลเสียง) ตามมาตรฐานเปิด ของสมาคมเดซี (Daisy Consortium) [Assistive Technology] | Passive Artificial Leg | ขาเทียมแบบไม่ใช้อุปกรณ์เพิ่มกำลัง, ขาเทียมที่มีการปรับอัตราความหน่วงในการเดิน โดยใช้ประโยชน์จาก สปริง และแดมเปอร์ (damper) ไม่มีตัววัดค่าและและคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน [Assistive Technology] | Simulation | การจำลองแบบเสมือน, เป็นการจำลองสถานการณ์โดยใช้สูตรคณิตศาสตร์ สถิติและแคลคูลัส เพื่อให้การคำนวณในสิ่งที่ศึกษามีผลลัพท์ตรงกับหรือใกล้เคียงกับสภาพจริง [Assistive Technology] | CAD/CAM Systems | ระบบการออกแบบและการผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย [TU Subject Heading] | Computer-aided design | การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย [TU Subject Heading] | Computer-aided engineering | งานวิศวกรรมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย [TU Subject Heading] | Computer-assisted instruction | การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย [TU Subject Heading] | Electronic news gathering | การรายงานข่าวโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ [TU Subject Heading] | Insider trading in securities | การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน [TU Subject Heading] | Keystroke timing authentication | การพิสูจน์ตัวจริงโดยใช้เวลาระหว่างการกดแป้นพิมพ์ [TU Subject Heading] | Photography, Flash-light | การถ่ายภาพโดยใช้แฟลช [TU Subject Heading] | School-based management | การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน [TU Subject Heading] | Speech, Esophageal | การพูดโดยใช้หลอดอาหาร [TU Subject Heading] | Vaccuum extraction, Obstetrical | การทำคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ [TU Subject Heading] | Weight training | การฝึกโดยใช้น้ำหนัก [TU Subject Heading] | Bioassay | การวิเคราะห์โดยใช้สิ่งมีชีวิต, Example: การใช้สิ่งมีชีวิตเพื่อวัดผลหรือสภาวะ [สิ่งแวดล้อม] | ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] | Conference Diplomacy | กระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต] | Cultural Diplomacy | การทูตวัฒนธรรม หมายถึง กิจกรรมด้านวัฒนธรรมในกรอบกว้าง ทั้งภาษา ความคิด อุดมการณ์ ทัศนคติ ประเพณี วิทยาการความรู้ การกีฬาและวิถีชีวิต (ไม่เพียงแต่การส่งคณะนาฏศิลป์ไปแสดงในต่างประเทศเท่านั้น) ทั้งนี้ เพื่อ ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน โดยใช้แนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในลักษณะซึมลึกเพื่อให้เข้าถึงประชาชน [การทูต] | Excellency | เป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต] | Francophonie (International Organization of the Francophony) | องค์การระหว่างประเทศกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษา ฝรั่งเศส ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2513 ที่เมือง Niamey ประเทศ Niger เพื่อเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสานนโยบายความร่วมมือต่าง ๆ เน้นการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นสื่อกลาง และส่งเสริมความร่วมมือพหุพาคีเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีสมาชิก 53 ประเทศ (เบลเยียม บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก มอลโดวา โมนาโก โรมาเนีย สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา โดมินิกา เฮติ เซนต์ลูเซีย เบนิน บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี แคเมอรูน เคปเวิร์ด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด คอโมโรส สาธารณรัฐคองโก โกตดิวัวร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จิบูตี อียิปต์ อิเควทอเรียลกินี กาบอง กินี กินีบิสเซา มาดากัสการ์ มาลี มอริเตเนีย มอริเซียส โมร็อกโก ไนเจอร์ รวันดา เซาตูเมและปรินซิปี เซเนกัล เชเชลส์ โตโก ตูนีเซีย กัมพูชา ลาว เลบานอน เวียดนาม วานูอาตู แอลเบเนีย มาซิโดเนีย สาธารณรัฐเช็ก ลิทัวเนีย สาธารณรัฐสโลวัก สาธารณรัฐโลวีเนีย และโปแลนด์) และ 3 มลรัฐ [ แคนาดา-นิวบรันสวิก แคนาดา- ควิเบก และชุมชนฝรั่งเศสในเบลเยียม (French Community in Belgium) ] [การทูต] | International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] | Intellectual Property | ทรัพย์สินทางปัญญา " หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครอง และ/หรือเก็บเกี่ยวสิทธิประโยชน์ได้ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ - Patent สิทธิบัตร หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างใหม่ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประดิษฐ์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ - Copy Rights ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ - Neighboring Rights สิทธิข้างเคียง เป็นความคุ้มครองที่แตกแขนงมาจากลิขสิทธิ์ เนื่องจากงานที่สร้างขึ้นไม่สามารถถูกจัดเข้าเป็นงานลิขสิทธิ์ได้โดยตรง เพราะผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นสื่อกลาง และก่อให้เกิดผลงานโดยใช้ เครื่องมือในทางวิชาชีพสร้างงานขึ้นมา ดังนั้น บุคคลผู้ที่เข้ามาเป็น สื่อกลางเพื่อผลิตงานให้แก่ผู้สร้างงานจึงควรมีสิทธิในผลงานนั้นเหมือนกับ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ด้วย - Trade Marks เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปแยกแยะได้ว่าสินค้านั้นเป็นของ ผู้ใด ใครเป็นเจ้าของ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ยี่ห้อ สำหรับเครื่องหมายการค้านั้น จะเป็นภาพ เป็นคำ หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ Service Marks เครื่องหมายบริการ เป็นเรื่องที่เกิดใหม่เนื่องจากสินค้าบริการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการเงิน การโทรคมนาคม จึงทำให้ผู้ให้บริการต้องการที่จะใช้เครื่องหมาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการบริการของตน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องหมายการค้า " [การทูต] | Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] | accelerator (particle accelerator) | เครื่องเร่งอนุภาค, เป็นเครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น โปรตรอน หรืออิเล็กตรอน โดยใช้แรงแม่เหล็ก หรือแรงไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น ไซโคลตรอน ซินโครตรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และบีตาตรอน [พลังงาน] | betatron | เครื่องบีตาตรอน, เป็นเครื่องเร่งอิเล็กตรอนแบบหนึ่ง โดยที่อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นวงกลมที่มีรัศมีคงที่ โดยใช้แรงกระทำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก เครื่องเร่งที่มีลักษณะเป็นรูปโดนัท รัศมีวงจรประมาณ 0.75-1.00 เมตร เครื่องนี้สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 340 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ บีตาตรอนเครื่องแรกสร้างโดย Donald W. Kerst ในปี พ.ศ.2483 ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) ประเทศสหรัฐอเมริกา เร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงาน 2.5 ล้านอิเล็กตรอน [พลังงาน] | Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] | sterile insect technique | การควบคุมจำนวนแมลงด้วยแมลงที่เป็นหมัน, คือ วิธีการควบคุมประชากรแมลง โดยใช้แมลงชนิดเดียวกันที่เป็นหมันด้วยรังสี โดยมีหลักการคือ นำแมลงม ทำให้เป็นหมันด้วยรังสีชนิดก่อไอออน แล้วปล่อยไปในธรรมชาติ แมลงตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์กับแมลงตัวผู้ที่เป็นหมัน จะไม่สามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้ การควบคุมแมลงวิธีนี้ จะต้องปล่อยแมลงที่เป็นหมันจำนวนมากหลายรุ่นต่อเนื่องกัน จนกว่าประชากรแมลงลดลงหรือหมดไป ข้อดีของวิธีการนี้เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการใช้ยาฆ่าแมลง คือ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลิตผลการเกษตร และไม่ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ ประเทศไทยมีการใช้วิธีการนี้ควบคุมแมลงวันผลไม้ (Oriental fruit fly) ที่ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา [พลังงาน] | ผู้ขนส่งน้ำมัน | ผู้ขนส่งน้ำมัน, ผู้ที่รับจ้างทำการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมิใช่เป็นของตนเอง โดยใช้ยานพาหนะสำหรับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ [พลังงาน] | สถานีบริการ | สถานีบริการ, สถานที่สำหรับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนโดยวิธีเติมหรือใส่ลงในที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ที่ติดตั้งไว้เป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง [พลังงาน] | FDDI | FDDI, มาตรฐานของ LAN แบบหนึ่ง ใช้โทโพโลยีหรือวิธีการเชื่อมต่อแบบวงแหวน โดยใช้สายสัญญาณเป็นสายใยแก้วนำแสงมีอัตราการส่งข้อมูลถึง 100 Mbps [คอมพิวเตอร์] |
| | Give me your five! | เป็นสำนวน แปลว่า มาแปะมือกัน (โดยใช้ฝ่ามือ ใช้ในโอกาสที่ถูกใจหรือบางสิ่งประสบผลสำเร็จ) | imperial unit | (n) หน่วยวัดของอังกฤษแบบเก่า และยังใช้อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้หน่วยวัดเป็น นิ้ว ฟุด ปอนด์ แกลลอน หลา ไมล์ เป็นต้น, See also: Related: metric unit | skype | (vt) สนทนาด้วยเสียงโดยใช้คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นกริยาที่ผันมาจากชื่อโปรแกรม Skype ที่ใช้ในการสนทนา ดังปรากฏใน USA Today (17 ธันวาคม 2004) ว่า "To 'Skype' is to call someone over your computer." | conventional warfare | (phrase) การยุทธตามรูปแบบ, การทำสงครามโดยใช้อาวุธและยุทธวิธีทางการทหาร ซึ่งแต่ละชนชาติจะเผชิญหน้ากันอย่างเปิดเผย | mattify | ลดความมันของผิว (โดยใช้เครื่องสำอางค์) | leverage | (n) การลงทุนโดยใช้วิธียืมเงินผู้อื่นหรือใช้เทคนิค เช่น futures, options มาช่วย ทำให้ได้ผลตอบแทนมากกว่าปกติ เช่น เพิ่มเป็น 10 เท่าตัว (ซึ่งในกรณีที่ขาดทุนก็จะขาดทุนมากกว่าปกติเช่นกัน) | cyber crime | (n) [ cybercrime; cyber-crime; computer crime ] อาชญากรรมไซเบอร์, อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ๑. การกระทำผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือ เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูล ๒. การทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่าย ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปรกติได้ [ ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา ] | condescending | (adj) ประพฤติตนในลักษณะว่าตนเองสำคัญหรือฉลาดกว่าผู้อื่น เช่น His tone of voice was always so condescending. เขามักจะพูดโดยใช้นำเสียงในลักษณะเหมือนว่าตนเองสำคัญหรือฉลาดกว่าผู้อื่น |
| aerostat | (n) วัตถุเช่นบอลลูนที่ลอยในอากาศได้โดยใช้แก๊ส | allopathy | (n) วิธีการรักษาโรคโดยใช้สารที่ออกฤทธิ์ตรงข้ามกันไม่ได้กับภาวะของโรคที่กำลังรักษา | barbecue | (n) การย่างอาหารโดยใช้เหล็กเสียบเนื้อสัตว์, See also: บาร์บีคิว, Syn. barbeque, barbie | batik | (n) การพิมพ์ผ้าด้วยมือ, See also: เทคนิคการย้อมสีสิ่งทอด้วยมือโดยใช้ขี้ผึ้งเป็นตัวปกคลุมส่วนที่ไม่ต้องการย้อม, สิ่งทอท, Syn. tie-dyeing | beep | (vt) เรียกโดยใช้วิทยุติดตามตัว | buck | (vt) สู้โดยใช้หัวชน | calculate | (vt) คาดการณ์ว่า, See also: คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยใช้ข้อมูลเท่าที่มีอยู่, Syn. estimate, judge, gauge | carp | (n) การบ่นโดยใช้อารมณ์ | cart | (vt) บรรทุกเกวียน, See also: ขนส่งโดยใช้เกวียน, Syn. haul | chain saw | (n) เลื่อยที่มีใบเลื่อยหมุนต่อเนื่องกันโดยใช้มอเตอร์ ส่วนใหญ่ใช้ตัดต้นไม้ใหญ่ | charbroil | (vt) ต้ม (โดยใช้ไฟที่ได้จากถ่านหิน) | charge | (vi) จ่ายเงินโดยตัดจากบัญชี, See also: จ่ายเงินโดยใช้บัตรเครดิต | cheque | (vi) ถอนเงินโดยใช้เช็ค | congeal | (vt) ทำให้หนาขึ้น (โดยใช้ความเย็น) | congeal | (vi) ทำให้หนาขึ้น (โดยใช้ความเย็น) | coursing | (n) กีฬาล่าสัตว์ (โดยใช้สุนัขดมกลิ่น) | craft | (vt) ประดิษฐ์โดยใช้ฝีมือ | cross oneself | (idm) ทำเครื่องหมายกากบาทบนร่างกายโดยใช้มือ (ศาสนาคริสต์) | crush in | (phrv) บังคับให้หยุด, See also: ทำให้เลิกโดยใช้กำลัง, Syn. bash in, beat in, stave in | dice | (vt) เล่นพนันโดยใช้ลูกเต๋า, See also: โยนลูกเต๋า, เล่นไฮโล, Syn. bet, stake, throw | dice | (vi) เล่นพนันโดยใช้ลูกเต๋า, See also: โยนลูกเต๋า, เล่นไฮโล, Syn. bet, stake, throw | dicer | (n) คนเล่นพนันโดยใช้ลูกเต๋า, See also: คนเล่นไฮโล, Syn. gambler, gamester | dragoon | (vt) การปราบปรามโดยใช้กำลังทหาร | electronic publishing | (n) การพิมพ์ข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเก็บข้อมูลลงในแถบแม่เหล็กแผ่นดิสก์หรือซีดีรอม ซึ่งอ่านข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ | e-mail | (n) การสื่อสารที่ส่งผ่านคอมพิวเตอร์โดยใช้สายโทรศัพท์และโมเด็ม, Syn. electronic mail | e-mail | (vt) ส่งข่าวสารผ่านทางคอมพิวเตอร์โดยใช้สายโทรศัพท์และโมเด็ม | enema | (n) การสวนทวารหนักโดยใช้น้ำยา | enmesh | (vt) จับโดยใช้แห, See also: จับโดยใช้ตาข่าย, Syn. ensnare, entangle, net | estop | (vt) ขัดขวางโดยใช้กฎหมาย | etch | (vt) แกะสลักโดยใช้กรดให้กัดกร่อน, Syn. corrode, eat away | etch | (vi) แกะสลักโดยใช้กรดให้กัดกร่อน, Syn. corrode, eat away | etch | (vi) แกะสลักโดยใช้ของแหลมหรือแสงเลเซอร์, Syn. engrave | etch | (vt) แกะสลักโดยใช้ของแหลมหรือแสงเลเซอร์, Syn. engrave | Ethernet | (n) เครื่องหมายการค้าของระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายท้องถิ่นโดยใช้สายเคเบิล | express | (vt) แสดงออก (ทางความคิดหรือความรู้สึก) โดยใช้คำพูด, See also: พูดออกมา, Syn. manifest, reveal, show | finesse | (vt) ทำให้เกิดขึ้นโดยใช้กลอุบาย, See also: ใช้เพทุบาย | goad on | (phrv) บังคับหรือกระตุ้น (สัตว์) ให้เดินไปข้างหน้าโดยใช้ไม้แหลม | giro | (n) ระบบการโอนเงินไปอีกธนาคารโดยใช้คอมพิวเตอร์) | handspring | (n) การตีลังกาโดยใช้มือทั้งสองยันพื้น | handwritten | (adj) ที่เขียนด้วยมือ โดยใช้ปากกา ดินสอและอื่นๆ | hard | (adv) โดยใช้สมาธิ | heliograph | (vi) ส่งสัณญาณโดยใช้เครื่องส่งสัญญาณด้วยกระจกสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ | heliograph | (vt) ส่งสัณญาณโดยใช้เครื่องส่งสัญญาณด้วยกระจกสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ | herringbone | (vt) ประดับตกแต่งโดยใช้แบบรูปแฉกแนวขนานเป็นรูปตัว v | herringbone | (vi) ประดับตกแต่งโดยใช้แบบรูปแฉกแนวขนานเป็นรูปตัว v | high-pressure | (vt) ที่ชักชวนหรือกระตุ้นให้ซื้อของโดยใช้กลยุทธ์ที่ก้าวร้าวและไม่ยอมเลิกรา (คำไม่เป็นทางการ) | joust | (n) การต่อสู้บนหลังม้าระหว่างอัศวิน 2 คนโดยใช้ทวนเป็นอาวุธ (ยุคกลาง) | key | (vt) ใส่ข้อมูล, See also: พิมพ์ข้อมูลเข้าเครื่องโดยใช้แป้นพิมพ์, Syn. type | keyhole surgery | (n) การผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือสอดลงไปในรูเล็กๆ ที่เจาะไว้บนผิวหนัง | labial | (adj) ที่เปล่งเสียงโดยใช้ริมฝีปาก |
| algorism | (แอล' กะริสซึม) n. ระบบเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ของอาหรับ (โดยใช้ตัวเลข 1, 2, 3.......) วิธีการคำนวณด้วเลขอาหรับ, ลำดับขึ้นตอนที่แน่นอนซึ่งใช้ในการแก้ปัญหา, ขั้นตอนวิธี, ชุดของคำสั่งที่กำหนดไว้อย่างมีขั้นตอนเพื่อใช้แก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง -algorismic adj. | allopathy | (อะลอพ' พะธี) n. วิธีการรักษาโรคโดยใช้สารที่ออกฤทธิ์ตรงข้ามหรือเข้ากันไม่ได้กับภาวะของโรคที่กำลังรักษา. -allopathic adj. | answer mode | ภาวะตอบรับหมายถึง ภาวะที่โมเด็ม (modem) หรืออุปกรณ์ที่ใช้ติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้สายโทรศัพท์ส่งเสียงแสดงว่าพร้อมที่จะรับคำสั่ง (แปลว่าให้เริ่มส่งข้อมูลได้) | apomixis | (แอพพะมิค'ซิส) n., (pl. -mixes) วิธีการสืบพันธ์โดยใช้เพศ (apogamy) | aspirate | (แอส'พะเรท) -vt. ออกเสียงได้ยิน, ออกเสียงตัว h, ขจัดของเหลวจากโพรงร่างกาย โดยใช้เครื่องดูด, หายใจเอาของเหลวเข้าไปในปอด | at & t | (เอที แอนด์ ที) ย่อมาจาก American Telephone and Telegraph หมายถึง บริษัทโทรศัพท์และโทรเลขของอเมริกา งานของบริษัทนี้มาเกี่ยวกับวงการคอมพิวเตอร์ก็ตรงที่คอมพิวเตอร์สมัยนี้ส่งข้อมูลและข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน โดยใช้สายโทรศัพท์เป็นสื่อ (ส่วนใหญ่เป็นการเกี่ยวข้องทางด้านการสื่อสารข้อมูล) | batik | (บะทีค') n. เทคนิคการย้อมสีสิ่งทอด้วยมือโดยใช้ขี้ผึ้งเป็นตัวปกคลุมส่วนที่ไม่ต้องการย้อม, สิ่งทอที่ย้อมสีโดยวิธีดังกล่าว, Syn. battik | binary code | รหัสฐานสองหมายถึง การใช้รหัสเลขฐานสองแทนตัวอักษร ตัวเลข และตัวอักขระ พิเศษต่าง ๆ โดยใช้เพียงเลข 0 และ 1 รหัสที่นิยมใช้กันอยู่มีหลายรหัสเช่น เอ็บซีดิก (EBCDIC) , แอสกี (ASCII) , บีซีดี (BCD) คอมพิวเตอร์ของแต่ละบริษัทจะเลือกใช้รหัสหนึ่งในการแทนข้อมูล | binary search | การค้นหาแบบทวิภาคหมายถึง วิธีการค้นหาโดยใช้ระบบแบ่งครึ่งข้อมูลทั้งหมดออกเป็นสองส่วน การค้นหาตัวที่ต้องการจะต้องเลือกหาจากข้อมูลทีละส่วน โดยใช้วิธีเดิมคือแบ่งเป็นสองส่วนย่อย หากพบในส่วนที่หนึ่ง ก็ไม่ต้องเสียเวลาหาในอีกส่วนหนึ่งอีกต่อไป | cai | (ซีเอไอ) ย่อมาจาก computer-aided instruction หรือ computer assissted instruction (การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน | cat | 1. (แคท) n. แมว, สัตว์ในตระกูลแมว, หญิงที่มีใจอำมหิต, บุคคล 2. (ซีเอที) ย่อมาจาก computer-aided translation แปลว่า การแปลภาษาใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หมายถึงการแปลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เช่น แปลไทยเป็นอังกฤษ หรืออังกฤษเป็นไทย การแปลในลักษณะนี้ จะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจำศัพท์ ไวยากรณ์ รวมทั้งบริบท (context) ต่าง ๆ โปรแกรมที่ได้รับการพัฒนาไปมากแล้วคือโปรแกรมที่แปลจากอังกฤษเป็นฝรั่งเศส และฝรั่งเศสเป็นอังกฤษ (บางตำราว่า CAT ย่อมาจาก computer aided training แปลว่า การอบรมใช้คอมพิวเตอร์ช่วย) | characteristic | (แคริคเทอริส'ทิค) adj. เป็นลักษณะเฉพาะ -n. ลักษณะเฉพาะ การรู้จำอักขระหมายถึง เทคโนโลยีในการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับรู้ความแตกต่างของรูปลักษณะตัวอักษร ต่าง ๆ ที่มนุษย์เขียนหรือพิมพ์ขึ้น โดยใช้แสงหรือสนามแม่เหล็ก แล้วถอดรหัสเป็นภาษาเครื่อง (machine language) เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปได้ดู pattern recognition ประกอบ | cim | (ซีไอเอ็ม) 1. ย่อมาจาก computer input from microfilm (ไมโครฟิล์มสู่คอมพิวเตอร์) หมายถึง เทคโนโลยีในการอ่านข้อมูลต่าง ๆ ในไมโครฟิล์มเข้าไปเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (โดยต้องแปลงเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้) 2. ย่อมาจาก computer integrated manufacturing (การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์) หมายถึงการผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมด้วย | client | (ไคล'เอินทฺ) n. ลูกความ, คนไข้, ลูกค้า, คนซื้อของ, ผู้พึ่งคนอื่น, บุคคลหรือบริษัทที่จ่ายเงินสำหรับสินค้าหรือการบริการ adj. เป็นลูกค้าประจำ, See also: cliental adj. ดูclient ผู้รับบริการ1. ใช้ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ LAN หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่สามารถเรียกข้อมูลข่าวสารหรือโปรแกรมจากเครื่องบริการแฟ้ม file server มาใช้ได้ หรืออาจหมายถึงเครื่องที่ทำงานอย่างอิสระ โดยใช้โปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องนั้นเองก็ได้ ดู file server ประกอบ2. หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกับเครื่องอื่นได้ โดยใช้ระบบ DDE หรือ dynamic data exchange ดู dynamic data exchange ประกอบ | compiler | (คัมไพ'เลอะ) n. ผู้รวบรวม, ผู้เรียบเรียง ตัวแปลโปรแกรมคอมไพเลอร์หมายถึง โปรแกรมที่แปลโปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่นภาษา FORTRAN, COBOL ฯ เป็นภาษาเครื่อง (machine language) การแปลโดยใช้โปรแกรมแปลนี้ จะใช้วิธีแปลทั้งโปรแกรม นำคำแปลเก็บไว้ในหน่วยความจำ แล้วจึงลงมือปฏิบัติการ (execute) ไปทีละคำสั่ง ถ้ามีการสั่งให้ทำบางคำสั่งซ้ำ ก็ไม่จำเป็นต้องแปลใหม่ดู translator ประกอบดู interpreter เปรียบเทียบ | computer aided instructio | การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อมผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน | computer-aided instructio | ใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอนความหมายเดียวกับ computer assissted instruction | computer-aided translatio | การแปลใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAT (อ่านว่า ซีเอที) หมายถึงการแปลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยใช้คอม พิวเตอร์ช่วย เช่น แปลไทยเป็นอังกฤษ หรืออังกฤษเป็นไทย การแปลในลักษณะนี้ จะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจำศัพท์ ไวยากรณ์ และบริบท (context) ต่าง ๆ โปรแกรมที่ได้รับการพัฒนาไปมากแล้วคือโปรแกรมที่แปลจากอังกฤษเป็นฝรั่งเศส และฝรั่งเศสเป็นอังกฤษ | computer-assissted instru | ใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอนความหมายเดียวกับ computer aided instruction | desktop publishing | การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะใช้ตัวย่อว่า DTP (อ่านว่า ดีทีพี) หมายถึง การนำภาพและข้อความมาจัดวางไว้ด้วยกันบนจอภาพ ในตำแหน่งที่สวยงาม ดูแล้วสบายตา มักใช้เป็นต้นแบบ (ต้นฉบับที่จะนำไปผลิตต่อ) ของเอกสารสิ่งพิมพ์ อธิบายง่าย ๆ ก็คือ การจัดเตรียมต้นฉบับเอกสารสิ่งพิมพ์โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) แทนที่จะเป็นการ "ตัดปะ" อย่างสมัยก่อน อย่างไรก็ตาม ก็ต้องใช้โปรแกรมช่วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันมาก คือ PageMaker และ QuarkXpress การจัดเตรียมเอกสารสิ่งพิมพ์ด้วยวิธีนี้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน | direct access | การเข้าถึงโดยตรงหมายถึง การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ หมายความว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ส่วนใดของสื่อที่ใช้บันทึก หัวอ่าน (read head) ก็จะเจาะตรงลงไปอ่านได้เลย เช่น การอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ซึ่งผิดกับการอ่านข้อมูลจากแถบบันทึก (tape) ที่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นเทปไปจนกว่าจะถึงข้อมูลที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้ช้ากว่ากันมากดู indirect access เทียบ | doc | (ดอค) n. ดูdoctor, คำสั้น ๆ ที่ใช้เรียกนายแพทย์ ทันตแพทย์ หรือสัตวแพทย์ abbr. II-deoxycorticosterone ด็อก <คำอ่าน>ย่อมาจากคำว่า document มักใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลหรือ แฟ้มเอกสาร (.doc) ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรม Microsoft Word ซึ่งเป็นโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) แฟ้มเอกสารประเภทนี้จะประกอบด้วยข้อความที่เป็นตัวหนังสือ อาจมีภาพด้วยหรือไม่ก็ได้ | document file | แฟ้มเอกสารหมายถึง แฟ้มข้อมูลประเภทหนึ่ง ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) แฟ้มเอกสารประเภทนี้จะประกอบด้วยข้อความที่เป็นตัวหนังสือ อาจมีภาพด้วยหรือไม่ก็ได้ เป็นแฟ้มที่ต้องมีการจัดรูปหน้าไว้เรียบร้อย มักใช้นามสกุล (file type) ว่า .docดู non document file เปรียบเทียบ | dp | (ดีพี) ย่อมาจาก data processing (แปลว่า การประมวลผลข้อมูล) หมายถึงการนำข้อมูลดิบ (raw data) มาดำเนินการบางประการ เช่นจัดจำแนก คัดแยก คำนวณ บันทึก เปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดผลตามต้องการหรือผลที่จะนำไปใช้ต่อไปได้ โดยปกติจะหมายถึงการประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์เท่านั้น | dtp | (ดีทีพี) ย่อมาจาก desktop publishing ซึ่งแปลว่า การจัดพิมพ์ (หรือการจัดเตรียมต้นแบบของเอกสารสิ่งพิมพ์) ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ หมายถึง การนำภาพและข้อความมาจัดวางไว้ด้วยกันบนจอภาพ ในตำแหน่งที่สวยงาม ดูแล้วสบายตา มักใช้เป็นต้นแบบ (ต้นฉบับที่จะนำไปผลิตต่อ) ของเอกสารสิ่งพิมพ์ อธิบายง่าย ๆ ก็คือ การจัดเตรียมต้นฉบับเอกสารสิ่งพิมพ์โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) แทนที่จะเป็นการ "ตัดปะ" อย่างสมัยก่อน อย่างไรก็ตาม ก็ต้องใช้โปรแกรมช่วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันมาก คือ PageMaker และ QuarkXpress การจัดเตรียมเอกสารสิ่งพิมพ์ด้วยวิธีนี้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน | earom | (อีรอม) ย่อมาจาก electrically alterable read - only memory แปลว่า หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดแก้ไขได้) เป็นรอม (ROM) ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาลบและบันทึกใหม่ได้โดยไม่ต้องย้ายออกมาจากแผงวงจร การบรรจุโปรแกรมใหม่ทำได้โดยใช้กระแสไฟฟ้า และทำได้สะดวกกว่า อีพรอม (EPROM) มากดู ROM และ EPROM ประกอบ | eerom | ย่อมาจาก electrically erasable read only memory (แปลว่า หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดลบได้ด้วยกระแสไฟฟ้า) เป็นรอมชนิดหนึ่งซึ่งสามารถนำมาลบและบันทึกใหม่ได้โดยไม่ต้องย้าย ออกมาจากแผงวงจร การบรรจุโปรแกรมใหม่ทำได้โดยใช้กระแสไฟฟ้า และทำได้สะดวกกว่า อีพรอม (EPROM) มาก มีความหมายเหมือน EAROMดู ROM และ EPROM ประกอบ | electrically alterable re | หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดแก้ไขได้ใช้ตัวย่อว่า EAROM (อ่านว่าอีรอม) เป็นรอม (ROM) ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาลบและบันทึกใหม่ได้โดยไม่ต้องย้ายออกมาจากแผงวงจร การบรรจุโปรแกรมใหม่ทำได้โดยใช้กระแสไฟฟ้า และทำได้สะดวกกว่าอีพรอม (EPROM) มากดู ROM และ EPROM ประกอบ | error rate | อัตราความผิดพลาดหมายถึง มาตรฐานการวัดคุณภาพของวงจร หรือระบบถ่ายโอนข้อมูล การคำนวณโดยใช้วิธีการ นำจำนวนข้อผิดพลาดของข้อมูล หารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด หรืออาจจะคิดเป็น อัตราต่อหน่วยเวลาก็ได้ | ferret | (เฟอ'ริท) n. สัตว์คล้ายพังพอน มีสีขาว-ตาแดง-ใช้ไล่กระต่ายและหนูออกจากรู vt. ขับออก, ไล่ออก, ล่าสัตว์โดยใช้ferret, ค้นหา, สืบหา., See also: ferreter n. ferrety adj. | file conversion | การแปลงสภาพแฟ้มหมายถึง การแปลงรูปแบบ (format) การเก็บข้อมูลจาก แบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง เพื่อให้นำไปใช้กับโปรแกรม ต่างชนิดกันได้ เช่น ถ้าต้องการจะใช้โปรแกรม Word Perfect เรียกแฟ้มข้อมูลที่พิมพ์เก็บไว้โดยใช้โปรแกรม WordStar มาดูบนจอภาพ ก็จะต้องมีการแปลงสภาพแฟ้มจากแฟ้ม ข้อมูลของ Word Perfect เป็น WordStar ก่อน ดู import ประกอบ | french kiss | n. การจูบโดยใช้ลิ้นดุลกันในปากทั้งสอง, Syn. soul kiss | graphic display | การแสดงผลกราฟิกการแสดงผลของคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแสดงผลออกมาเป็นภาพได้ โดยใช้จุดมาเรียงกันเป็นเส้นตรง, เส้นโค้ง หรือแท่ง ฯ การป้อนข้อมูลอาจทำเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือก็ได้ และเราสามารถใช้คำสั่งบังคับให้แสดงภาพด้านตรง หมุน หรือเอียง รวมทั้งอาจมีปากกาไว้ให้เขียนบนจอภาพด้วยก็ได้ | gravure | (เกร'เวอะ) n. วิธีพิมพ์ภาพโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีหมึกหุ้มซึมเข้าไปในกระดาษ, แผ่นแม่พิมพ์หรือภาพพิมพ์ของวิธีการพิมพ์ดังกล่าว, Syn. intaglio process | hidden file | แฟ้มที่ซ่อนไว้ในระบบดอส และวินโดว์ จะมีแฟ้มข้อมูลบางประเภทที่ไม่ปรากฏขึ้นบนจอให้เห็นเมื่อใช้คำสั่ง DIR หรือ โปรแกรม File Manager ของวินโดว์ 3.1 หรือ Windows Explorer ของวินโดว์95 โปรแกรมสำเร็จหลายโปรแกรมจะมีแฟ้มข้อมูลประเภทนี้เพื่อกันมิให้มีการคัดลอก) อย่างไรก็ตาม การที่จะให้แฟ้มข้อมูลใดเป็นแฟ้มประเภทนี้ เราสามารถกำหนดได้โดยใช้คำสั่ง ตัวอย่างแฟ้มที่ซ่อนไว้ของโปรแกรมระบบดอส คือ IO.SYS และ MSDOS.SYS เป็นต้น | immediate access | หมายถึง การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ หมายความว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ส่วนใดของสื่อที่ใช้บันทึก หัวอ่าน (read head) ก็จะเจาะตรงลงไปอ่านได้เลย เช่น การอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ซึ่งผิดกับการอ่านข้อมูลจากแถบบันทึก (tape) ที่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นเทปไปจนกว่าจะถึงข้อมูลที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้ช้ากว่ากันมากมีความหมายเหมือน direct access | impact printer | เครื่องพิมพ์แบบกระทบเป็นเครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่งที่พิมพ์ข้อความลงบนกระดาษ โดยใช้ฆ้อนตอกผ่านผ้าหมึกพิมพ์ลงบนกระดาษ ทำให้เกิดเป็นรูปตัวอักขระต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น เครื่องพิมพ์แบบจาน (daisy wheel) เครื่องพิมพ์แบบดรัม (drum printer) และเครื่องพิมพ์แบบสายโซ่ (chain printer) การพิมพ์แบบนี้ อาจทำได้ทีละหลายชุดพร้อม ๆ กัน โดยใช้กระดาษก๊อปปี้ (เครื่องพิมพ์เลเซอร์ทำไม่ได้) | jujitsu | (จูจิท'ซู, จูจูท'ซู) n. ศิลปะป้องกันตัวแบบหนึ่งโดยใช้น้ำหนักและกำลังของคู่ต่อสู้ทำลายการรุกของคู่ต่อสู้เอง. -S.jiujitsu | jujutsu | (จูจิท'ซู, จูจูท'ซู) n. ศิลปะป้องกันตัวแบบหนึ่งโดยใช้น้ำหนักและกำลังของคู่ต่อสู้ทำลายการรุกของคู่ต่อสู้เอง. -S.jiujitsu | life kiss | n. การปฐมพยาบาลโดยใช้ปากดูดปากเพื่ออัดอากาศเข้าออก | machine language | ภาษาเครื่องหมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ไม่ควรเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้เลย เพราะอาจจะทำให้หมดกำลังใจไปเลย อาจจะพอเปรียบได้ว่า เลขฐานสองนั้นก็เหมือน ๆ กับตัวโน้ต เพลง (ภาษาดนตรีก็เข้าใจยากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาเครื่องนี้สักเท่าใดดอก) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่ว่าเราจะสั่งให้เครื่องทำงานด้วยโปรแกรมภาษาอะไรก็ตาม ตัวแปลโปรแกรม (compiler) ก็จะต้องทำหน้าที่แปลภาษาที่เราใช้ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง (execute) นั้น ๆ ได้ | magnetic ink | หมึกแม่เหล็กเป็นหมึกพิเศษชนิดหนึ่ง มีสารแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านตัวอักษรที่พิมพ์ด้วยหมึกชนิดนี้ได้ และจะแยกได้ว่ามีข้อความใดบ้าง โดยใช้คุณสมบัติของแม่เหล็ก หมึกแม่เหล็กชนิดนี้ มักใช้พิมพ์ในกิจการธนาคาร เช่น เลขที่บัญชีของลูกค้าในสมุดเช็ค หรือแบบฟอร์มเบิกเงิน เป็นต้น | mat | (แมท) n. พรมเช็ดเท้า, เสื่อ, ที่รองจานอาหาร (หรือตะเกียง แจกันหรืออื่น ๆ) , พรมปูพื้น. vt. ปูพรม, ปูเสื่อ, ทำเป็นเสื่อหรือพรม. vi. พัวพัน, ยุ่งเกี่ยว- adj. ด้าน, ไม่เป็นเงา, n. ผิวหน้าที่ด้าน เอ็มเอที <คำอ่าน>ย่อมาจาก machine aided translation (การแปลใช้คอมพิวเตอร์ช่วย) หมายถึงการแปลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เช่น แปลไทยเป็นอังกฤษ หรืออังกฤษเป็นไทย การแปลในลักษณะนี้ จะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจำศัพท์ ไวยากรณ์ รวมทั้งบริบท (context) ต่าง ๆ โปรแกรมที่ได้รับการพัฒนาไปมากแล้วคือโปรแกรมที่แปลจากอังกฤษเป็นฝรั่งเศส และฝรั่งเศสเป็นอังกฤษ | menu-driven system | ระบบทำงานด้วยเมนูหมายถึงระบบการทำงานของโปรแกรมที่ใช้เมนูเป็นหลัก กล่าวคือ มีรายการคำสั่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพให้เลือก ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งเลย เพียงแต่ใช้เมาส์เลื่อนไปที่คำสั่งที่ต้องการแล้วกด คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานให้ ระบบดังกล่าวนี้ทำให้การทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์นั้นง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก | midi | (มิด'ดิ) n. =midiskirt มิดอี <คำอ่าน>ย่อมาจาก musical instrument digital interface หมายถึง มาตรฐานสำหรับการใส่รหัสเสียงเพลงให้อยู่ในรูปของตัวเลข ความแตกต่างของเสียง (sound) และเสียง เพลง (musical voice) ก็สามารถวัดและนำไปเก็บได้โดยใช้มาตราฐานมิดอีนี้ | musical instrument digita | ตัวประสานระหว่างเสียงดนตรีกับตัวเลขใช้ตัวย่อว่า MIDI หมายถึง มาตรฐานสำหรับการใส่รหัสเสียงเพลงให้อยู่ในรูปของตัวเลข ความแตกต่างของเสียง (sound) และเสียง เพลง (musical voice) ก็สามารถวัดและนำไปเก็บได้โดยใช้มาตราฐานมิดอีนี้ | natural language processi | การประมวลผลภาษาธรรมชาติหมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำการประมวลผลได้โดยใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาธรรมชาติ พูดง่าย ๆ ก็คือ สามารถใช้ภาษาธรรมดา ๆ สั่งการให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามได้ ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์จะใช้ภาษาเฉพาะที่มีกฎเกณฑ์ ไวยากรณ์ และศัพท์ของตนเอง ที่เรียกว่า ภาษาเชิงมนุษย์ (human oriented language) เช่น ภาษา C ภาษา BASIC ภาษา COBOL ฯ ส่วนภาษาธรรมชาตินั้น หมายถึง ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีการ พัฒนาด้านนี้กันไปไกลมาแล้ว แต่ก็สรุปได้ว่า ยังใช้การไม่ได้ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะภาษานั้นมีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก ยากที่จะแปลหรือตีความให้ตาย ตัวได้ | non executable statement | ข้อความสั่งไม่ทำการหมายถึง คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ทำการใด ๆ แต่เป็นการแจ้งให้ตัวแปลชุดคำสั่ง (compiler) รับรู้ข้อความบางอย่างที่ต้องการแจ้งให้ทราบเท่านั้น เช่น คำสั่ง END เป็นต้น คำสั่งนี้เป็นเพียงต้องการแจ้งให้ทราบว่า จบโปรแกรมนั้น ๆ แล้วเท่านั้น นอกจากนั้น ก็อาจเป็นคำสั่งให้เตรียมที่ในหน่วยความจำบ้าง เตรียมจัดรูปแบบข้อมูลบ้าง ถ้าสั่งให้อ่านข้อมูลโดยใช้คำสั่ง Read คำสั่งนี้เป็นข้อความสั่งทำการ (excutable statement) เครื่องจะทำการทันทีที่พบคำสั่งนี้ แต่อ่านข้อมูลแล้วนำไปจัดเก็บในรูปแบบตามคำสั่ง FORMAT (ในภาษาฟอร์แทรน) คำสั่ง FORMAT ถือว่าเป็นข้อความสั่งไม่ทำการดู excutable statement เปรียบเทียบ | object-oriented programmi | การทำโปรแกรมเชิงวัตถุหมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ | oop | (โอโอพี, อุป) ย่อมาจาก object-oriented programming หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
| illustrate | (vt) อธิบายโดยใช้ภาพประกอบ, แสดง, ยกตัวอย่าง | illustrator | (n) ผู้อธิบายโดยใช้ภาพประกอบ, ผู้แสดง, ผู้วาดภาพประกอบ |
| absolute altimeter | (n) มาตราวัดความสูงสัมบูรณ์ม เครื่องวัดความสูงสัมบูรณ์--เครื่องวัดความสูงชนิดหนึ่ง ซึ่งวัดระยะตามแนวดิ่งไปยังผิวพื้นด้านล่าง โดยใช้เทคโนโลยีทางวิทยุ เรดาร์ เสียง เลเซอร์ หรือ คาแพซิทิฟ | blowjob | (n) (คำหยาบ) การที่ผู้หญิงสำเร็จความใคร่ให้ฝ่ายชายโดยใช้เพียงปากเท่านั้น, See also: Thumbnail gallery post | buffet | [บุเฟต์ (อังกฤษ) , เบอเฟต์ (อเมริกัน)] (n) บุฟเฟต์ (อาหารในงานเลี้ยงที่หรือโอกาสอื่นที่ผู้รับประทานบริการตนเอง), ร้านอาหารอย่างง่าย (ที่สถานที่รถไฟ, ชุมทางรถประจำทาง, หรือสนามบินที่สามารถซื้ออาหารและทานได้โดยใช้เวลสั้น ๆ) | compute | (vt) compute vt. คึ่มพิ้วท์ (พบบ่อย) 1. คำนวณ nc. ค็อมพิ้วเตอร์ (บังคับ) 1. (comp.) คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ประมวลผลที่มีความจำ ตามชุดคำสั่ง และสามารถบันทึกผลการประมวลได้ 2. (comp.) พนักงานคำนวณ ในแง่ที่ทำกันเป็นร้อยคน ในสมัยโบราณ ในงานดาราศาสตร์ (ความหมายโบราณ) nc. 1. (comp.) ศิลปะโดยคอมพิวเตอร์ คือ ศิลปที่สร้างหรือทำขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพ หรือระบายสี เป็นต้น nc. 1. (comp.) คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง คือ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเครือข่ายทำหน้าที่บริการด้านประมวลผลข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการในเครือข่าย nc. 1. (comp.) สกุลของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในกลุ่มที่สร้างขึ้นจาก microprocessor ชนิดเดียวกัน หรือ คล้ายกัน ตัวอย่างสกุลของคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็ม และแบบ PS /2 nc. 1. (comp.) เกมคอมพิวเตอร์ คือ การเล่นเกมโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ การเล่นเกมในคอมพิวเตอร์ มักควบคุมการเล่นโดยคันโยก (joystick)หรือ แป้นพิมพ์ (keyboard) ก็ได้ nc. 1. (comp.) ชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งเพื่อจะนำไปใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานตามคำสั่งนั้น ๆ nc. 1. (comp.) ระบบคอมพิวเตอร์ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยชุดฮาร์ดแวร์ และเครื่องอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ร่วมกันของระบบ เช่น ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยตัวเครื่อง ดิสก์ไดร้ว์ จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ และเมาส์ nc. 1. (comp.) ยุคพัฒนาการคอมพิวเตอร์ ในช่วงระหว่างกลางปี พ.ศ. 2503 - 2513 เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เปลี่ยนมาใช้ IC หรือวงจรรวม ชื่อเต็มว่า integrated circuit หรือ IC n. (ศัพท์คอม) 1. (comp.) ความสามารถที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ nc. 1. (comp.) การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสอน มีความหมาย เช่นเดียวกับ computer-assisted instruction สามารถดูคำอธิบายใน CAI n. (ไม่ต้องท่อง) 1. (comp.) ศัพท์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ v. (ไม่ต้องท่อง) 1. (comp.) ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงาน | DoggyStyle | (slang) การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ท่าคล้ายสุนัข ( * w *m iiiita) | dogstyle | (slang) การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ท่าคล้ายสุนัข ( * w *m iiiita) | fluoroscopy | (n) การตรวจดูอวัยวะภายในร่างกายโดยใช้รังสี ซึ่งภาพที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็น real time แสดงบนหน้าจอ monitor digital fluoroscopy | global positioning system | (n) GPS (global positioning system) จีพีเอส (ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก) เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลตำแหน่งโลก คือ จีพีเอส ที่ทำให้เราทราบค่าตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ของโลก โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณคือ อุปกรณ์จีพีเอส ดาวเทียมกำหนดตำแหน่งบนโลก มีอยู่สามค่ายคือ 1. NAVSTAR เป็นของประเทศอเมริกา 2. GLONASS เป็นของประเทศรัสเซีย 3. GALILEO เป็นของยุโรป แต่ที่เราใช้สัญญาณในปัจจุบันด้วย จีพีเอสที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดนั้นใช้ของ NAVSTAR แต่เรานิยมเรียกของค่ายนี้ว่า ดาวเทียมจีพีเอส | Hedge | (n, vi) [ Linguistics: Pragmatics ] n. คำบ่งชี้ความไม่แน่ใจ คำบ่งชี้การพูดออกตัว การพูดออกตัว โดยใช้ คำ วลี หรือประพจน์เพื่อป้องกันตัวของผู้พูดในกรณีที่พูดผิด ไม่มั่นใจ เช่น วันนี้ฝนอาจจะตก คำว่า อาจจะ คือ hedge ชนิดหนึ่งที่บ่งชี้ว่าผู้พูดมีความไม่มั่นใจ มีความกำกวม ซึ่งฝนจะตกหรือไม่ตกผู้พูดก็ไม่ได้พูดผิด เพราะคำว่า อาจจะ มีความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิด 50/50 v. พูดออกตัว พูดกำกวม พูดป้องกันตัว, See also: softener, downtoner, understatement, weakener, tentativeness, stance m, Syn. mitigator | hyperopia | (n) สายตายาว เกิดจากจุดรวมแสงของตาอยู่หลังจอประสาทตา แก้ไขโดยใช้เลนส์นูน | Offset printing | (n) การพิมพ์ระบบออฟเซต เป็นการพิมพ์พื้นราบ ที่มีความนิยมมากสุด มีหลักในการพิมพ์ที่ไม่สัมผัสวัสดุโดยตรง โดยใช้การพิมพ์ผ่านผ้ายางก่อนที่จะลงไปสู่วัสดุพิมพ์ | Pharmacopoeia | [ฟามาโคเปีย] (n, pharm) หนังสือตำรายาฉบับสากล ยอมรับและใช้กันทั่วโลก บอกข้อมูลเกี่ยวกับยาและวิธีการตรวจสอบยาในหัวข้อต่างๆ หัวข้อใน pharmacopoeia เช่น Description, Purity rubric, Identification, Assay เป็นต้น Pharmacopoeia ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น USP(pharmacopoeia ของUSA), BP(pharmacopoeia ของBritish) JP(pharmacopoeia ของ Japan) ปัจจุบันประเทศไทยมี pharmacopoeia เป็นของตัวเองแล้ว โดยใช้อักษรย่อว่า TP จัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ | telecommunications | (n) การสื่อสารทางไกลโดยใช้โทรศัพท์ เคเบิล โทรทัศน์ วิทยุและโทรเลข | tomography | (n) การสร้างภาพตัดขวางของรูปทรงโดยใช้เทคนิคต่างๆ ดังเช่น จากการสั่นพ้องของคลื่นสนามแม่เหล็ก หรือ จากรังสีเอกซ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารอยต่อเหล็กกล้าคาร์บอนและเหล็กกล้าไร้สนิม เนื่องจ | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารอยต่อเหล็กกล้าคาร์บอนและเหล็กกล้าไร้สนิม เนื่องจากมีความแตกต่างด้านสมบัติวัสดุทั้งสองชนิดทำให้เกิดจุดบกพร่องต่างๆทำให้การเชื่อมรอยต่อโลหะทั้งสองได้ค่อนข้างยาก งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยการเชื่อมที่มีผลต่อสมบัติเชิงกลความต้านแรงดึงและค่าความแข็งด้วยโปรแกรม ทางสถิติ โดยใช้กระบวนการเชื่อม มิกส์ ลวดเชื่อมสเตนเลสSpeedarc308 Lsi*1.2mm การทดสอบประกอบด้วยโครงสร้างจุลภาค ความแข็ง ความแข็งแรงดึง การดัดโค้ง และการใช้โปรแกรมทางสถิติ กระแสไฟเชื่อม 112A ความเร็วเชื่อ 2 m/s แก๊สปกคลุมแนวเชื่อม Ar 80% + CO2 20 % การทดสอบตามมาตรฐาน ASME BPVC IX ผลการทดสอบค่าความแข็งเฉลี่ย 166.23 HV ความแข็งแรงดึงเฉลี่ย 262.25 MPa การดัดโค้งพบว่าชิ้นงานที่ทำการทดสอบนั้นแตกหัก (Broken) ทั้งหมด จึงสรุปได้ว่าชิ้นงานที่ทำการทดสอบนั้นไม่สามารถรับแรงดัดโค้งได้ การวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติ เมื่อกำหนดค่า α มีค่าเท่ากับ 0.05 พิจารณาอันตรกิริยาจากค่า P-Value Strength เท่ากับ 0.884 และค่าความแข็ง Hardness เท่ากับ 0.227 การทดลองทั้งหมดมีระดับความเชื่อมั่นอยู่ที่ 95% ทำให้การทดลองครั้งนี้ไม่มีอิทธิพลต่อผลการทดลองอย่างนี้นัยสำคัญ คำสำคัญ: เหล็กคาร์บอน SS400 , เหล็กกล้าไร้สนิม SUS304 , การเชื่อมมิก , โปรแกรมทางสถิติ |
| 〜歳 | [〜さい, ~ sai] (n) ลักษณนามของอายุ เช่น 14歳 14ปีี บางครั้งอาจจะเขียนโดยใช้ตัว 才 แทน |
| 成形 | [せいけい, seikei] TH: การผ่าตัดทำศัลยกรรมหรือการสร้างรูปทรงโดยใช้เครื่อง EN: plastic surgery |
| ausbauen | (vt) |baute aus, hat ausgebaut| ถอดชิ้นส่วนโดยใช้อุปกรณ์ออก เช่น das Gerät ausbauen | Tomografie | (n) |die, pl. Tomografien| การสร้างภาพตัดขวางของรูปทรงโดยใช้เทคนิคต่างๆ ดังเช่น จากการสั่นพ้องของคลื่นสนามแม่เหล็ก หรือ จากรังสีเอกซ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |