มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ มนุษย์ป้า | คำที่ใช้เรียกผู้ที่มีพฤติกรรมที่มีลักษณะที่เห็นแก่ตัว ทำสิ่งต่างๆ โดยไม่สนใจว่าจะทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การแย่งที่นั่งว่างในรถโดยสาธารณะ, การแซงคิวไม่ยอมต่อแถวคอยเวลาขึ้นรถไฟฟ้า, โดยส่วนมากจะเป็นสุภาพสตรีในวัยกลางคนจนถึงสูงอายุ จึงเป็นที่มาถึงคำว่า "ป้า" เริ่มเป็นที่ใช้กันแพร่หลายในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในช่วงปี 2557 โดยล่าสุดมีลือกันถึงกรณีมีผู้เปิดประตูรถแท็กซี่มีผู้โดยสารอยู่ขณะที่กำลังจอดติดไฟแดง ขอขึ้นไปนั่งด้วยหน้าตาเฉยโดยอ้างว่าขอติดรถไปด้วยตามเส้นทางที่ผ่าน |
|
| ปิดประตู | (v) shut the door, Ant. เปิดประตู, Example: ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านนี้ต้องปิดประตูตลอดเวลา เพราะกลัวเกรงต่อพวกมิจฉาชีพที่จะเข้ามาเยี่ยมเยียน | ปิดประตู | (v) shut out, See also: refuse, not allow, cut off, shut off, Syn. ปฏิเสธ, Ant. เปิดประตู, ยอมรับ, Example: เมื่อเขามีปัญหา เขาจะปิดประตูไม่ให้ใครช่วยเหลือเขาเลย, Thai Definition: ไม่ยอมรับสิ่งใดๆ | ปิดประตูค้า | (v) monopolize, Example: ตลอดรัชสมัยของกษัตริย์องค์นี้ ไทยไม่ได้ปิดประตูค้ากับต่างชาติเลย, Thai Definition: ถืออำนาจค้าแต่ผู้เดียว |
| ปิดประตูค้า | ก. ถืออำนาจค้าแต่ผู้เดียว. | ปิดประตูตีแมว | ก. รังแกคนไม่มีทางสู้และไม่มีทางหนีรอดไปได้. | เขื่อน | รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง (ยวนพ่าย). | แขกไม่ได้รับเชิญ | น. คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำให้เกิดความเสียหาย หรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์บางชนิด เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูหน้าต่าง มิฉะนั้นแขกไม่ได้รับเชิญจะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญจะเข้ามา. | แชเชือน | ว. ไถล, เถลไถลไม่ตรงไปตรงมา, เช่น ปิดประตูรูแกลไม่แชเชือน (สาวเครือฟ้า), เชือนแช ก็ว่า. | เบิกโขลนทวาร | ก. ทำพิธีเปิดประตูป่าตามตำราพราหมณ์ คือทำเป็นประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบนร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพที่ยกไป. | เปิด | ก. ทำให้สิ่งที่ปิดอยู่เผยออก เช่น เปิดประตู, ทำให้เครื่องยนต์กลไกทำงาน เช่น เปิดวิทยุ เปิดพัดลม, ตรงข้ามกับ ปิด | ผลัวะ | (ผฺลัวะ) ว. อาการที่ผลุนผลันเข้าไปหรือออกมาอย่างรวดเร็ว เช่น เปิดประตูผลัวะเข้าไป | มิด | ว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิด จมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด | มิดชิด | ว. ลับตา, ไม่ให้ใครเห็น, เช่น ซ่อนให้มิดชิด, สนิทแนบเนียน เช่น ปิดประตูให้มิดชิด, เรียบร้อย เช่น ห่อให้มิดชิด. | มือจับ | น. ส่วนที่ทำไว้สำหรับจับเวลาเปิดปิดประตูหรือในการใช้งานอื่น ๆ เป็นต้น เช่น มือจับประตูรถยนต์ มือจับกบไสไม้ มือจับลิ้นชัก. | เม็ดมะยม | ปุ่มมีลักษณะเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยม สำหรับมือจับปิดเปิดประตูตู้หรือลิ้นชัก. | ลูกบิด | น. อุปกรณ์สำหรับจับบิดเพื่อปิดเปิดประตูหน้าต่าง เดิมทำเป็นลูกกลม ๆ | สั่งเสีย | ก. เตือน, กำชับ, บอกให้เข้าใจ, เช่น พอแม่จะออกจากบ้าน ก็สั่งเสียลูกให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย | อ๊อดแอ๊ด, อ๊อด ๆ แอ๊ด ๆ | ว. เสียงดังอย่างเสียงเปิดปิดประตูที่บานพับฝืดเป็นต้น. | อ้าซ่า | ว. อาการที่นั่งหรือนอนถ่างขาอย่างเปิดเผย ในความว่า นั่งถ่างขาอ้าซ่า นอนถ่างขาอ้าซ่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เปิดอกอ้าซ่า, ลักษณะที่ประตูหรือหน้าต่างเปิดแบะออกเต็มที่ เช่น เปิดประตูอ้าซ่า. | แอด, แอด ๆ, แอ๊ด, แอ๊ด ๆ | ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงเปิดหรือปิดประตูฝืด ๆ. |
| | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
| นโยบายเปิดประตูการค้า | [nayōbāi poēt pratū kānkhā] (n, exp) EN: open-door policy FR: politique de la porte ouverte [ f ] | ปิดประตู | [pit pratū] (v, exp) EN: close the door ; shut the door FR: fermer la porte | ปิดประตูใส่หน้า | [pit pratū sai nā] (v, exp) FR: fermer la porte au nez | เปิดประตู | [poēt pratū] (v, exp) FR: ouvrir la porte |
| concierge | (n) |ที่มา:ภาษาฝรั่งเศส| พนักงานต้อนรับในโรงแรมที่พูดได้หลายภาษา ทำหน้าที่หิ้วกระเป๋าและเปิดประตู |
| | closed architecture | สถาปัตยกรรมปิดหมายถึง การออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่ผลิตจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น (เรียกว่า ปิดประตูตาย ไม่ให้ผู้อื่นมาร่วมทำมาหากิน) | open sesame | n. วิธีการยอมเยี่ยมที่ได้ผล, คาถาที่ใช้เปิดประตูถ้ำโจรในนิยายอาหรับเรื่องAli Baba | parlormaid | n. สาวใช้ในบ้านที่ทำหน้าที่เปิดประตูและรับใช้แขก | parlourmaid | n. สาวใช้ในบ้านที่ทำหน้าที่เปิดประตูและรับใช้แขก | shut | (ชัท) vt., vt., n. (การ) ปิด, งับ, ปิดประตู, งับ, พับ, หุบ, หนีบ, เก็บ, หลับตา, หยุด, หยุดเปิด, ล้อมไว้, ใส่กลอน adj. ปิด ปิดไว้. | slam | (สแลม) vt., vi., n. (การ) ปิดประตูดังและแรง, วางดังโครม, ตีเสียงดัง, ต่อว่าอย่างรุนแรง, เสียงดังที่เกิดจากการกระทบดังกล่าว, Syn. clap, shut, push, bang | unbar | (อันบาร์) vt. ถอดกลอนประตูออก, เปิดสลัก, เปิดประตู, เอาออก, ขจัด, ทำให้สะดวก | unbolt | (อันโบลทฺ') vt. ถอดกลอน, เปิดประตู, คลายออก, แก้ออก -S.open, release |
| porte | (n) |f| ประตู เช่น Je vais ouvrir la porte. Je cherche la clé. ฉันจะเปิดประตู ฉันหาลูกกุญแจ |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |