ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ความพยายาม*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ความพยายาม, -ความพยายาม-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ความพยายาม(n) attempt, See also: try, endeavor, Syn. ความมานะบากบั่น, ความอุตสาหะ, ความพากเพียร, Example: ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
โค้งสุดท้ายน. ช่วงสุดท้ายของการแข่งขัน ซึ่งมีความพยายามที่จะเอาชนะกันอย่างเต็มที่.
ท้อถอยก. มีความพยายามลดน้อยถอยลง.
ทางสายกลางน. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางสายเดียวที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง
บรากรม(บะรากฺรม) น. ความเพียร, ความบากบั่น, ความพยายาม, ความแข็งขัน, ความก้าวไปเพื่อคุณในเบื้องหน้า.
มรรค, มรรค-, มรรคาในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ–ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ–ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา–การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ–การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ–การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ–ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ–ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ–ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง.
มานะ ๒น. ความพยายาม, ความตั้งใจจริง, ความพากเพียร, เช่น มีมานะอดทน มีมานะในการทำงาน
มิจฉาวายามะน. ความพยายามผิด.
ยิ่งยวดว. เยี่ยมที่สุด เช่น มีความสามารถอย่างยิ่งยวด, มากที่สุด เช่น ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด, ยวดยิ่ง ก็ว่า.
ลุก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสำเร็จ, ถึง เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง
ลุล่วงก. สำเร็จ (ในสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามบ้าง) เช่น โครงการนี้ลุล่วงไปด้วยดี.
วายามะน. ความพยายาม, ความหมั่น, ความบากบั่น.
วิถีทางน. ทาง เช่น ต้องใช้ความพยายามทุกวิถีทางกว่าจะประสบความสำเร็จ.
สัมมาวายามะน. ความพยายามชอบ.
เสาะแสวงก. ใช้ความพยายามมากเพื่อค้นหา เช่น ของชิ้นนี้เป็นของหายาก เขาอุตส่าห์ไปเสาะแสวงมาให้.
ออกแรงก. ใช้กำลัง, ใช้แรงงาน, ใช้ความพยายาม, โดยปริยายหมายความว่า วิ่งเต้นขอความช่วยเหลือในกิจที่ต้องประสงค์.
อัษฎางคิกมรรค(อัดสะดางคิกะมัก) น. ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ตามหลักพระพุทธ-ศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง.
อุตสาห-, อุตส่าห์, อุตสาหะน. ความบากบั่น, ความพยายาม, ความขยัน, ความอดทน, ใช้ว่า อุษาหะ อุสสาหะ หรือ อุสส่าห์ ก็มี.

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Commission on Human Rightsคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต]
Genocideการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
Government in Exileรัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง [การทูต]
North Atlanitc Treaty Organizationองค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต]
New World Orderระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต]
Pacific Charterคือกฎบัตรแปซิฟิค ซึ่งประกาศ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ในโอกาสที่มีการตกลงกันทำสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Defense Treaty-SEATO ) ประเทศที่ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาสาระสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SEATO (ซีโต้) นั้นคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตรฐานการครอง ชีพสูงขึ้น มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคามสนธิสัญญาคือ บรรดาประเทศภาคีตกลงที่จะป้องกันหรือตอบโต้ความพยายามใด ๆ ที่จะล้มล้างเสรีภาพที่มีอยู่ในเขตสนธิสัญญา หรือทำลายอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งเขตแดนของประเทศภาคี พูดอย่างสั้น ๆ ก็คือฝ่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ต้องการกีดกันมิให้ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไปมีอำนาจครอบงำดินแดนเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเย็น (Cold War ) โดยวิธีรุกรานหรือวิธีอื่นใดก็ตาม [การทูต]
Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treatyสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ลงนามในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2538 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาคและส่งเสริมความพยายามระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคใน การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่ง นอกจากเป็นส่วนประกอบสำคัญของแผนงานว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Zone of Peace, Freedom and Neutrality - ZOPFAN) แล้ว ยังเป็นการสนับ สนุนกระบวนการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในเวทีระดับโลกอีกด้วย " [การทูต]
Southeast Asia Collective Defense Treaty (Mahila Pact)สนธิสัญญาซีโต้ สนธิสัญญานี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญามีประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สนธิสัญญาได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะ ป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกันสำนักงานใหญ่ขององค์การซีโต้ตั้ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมากทำให้องค์การซีโต้หมดความ จำเป็น และได้ยุบเลิกไปนานแล้ว [การทูต]
ความคับข้องใจความคับข้องใจ, สภาพทางจิตใจหรือความรู้สึกที่เป็นผลสืบเนื่องอันได้แก่ ความหงุดหงิด กระวนกระวายใจ กลุ้มใจ สิ่งเหล่านี้มาจากความปรารถนาที่บุคคลมุ่งหวัง แต่ถูกขัดขวาง ทำให้ลดแรงจูงใจ บั่นทอนอิทธิพลความพยายาม ไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย ไม่ตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ด้วยอุปสรร [สุขภาพจิต]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
ความพยายาม[khwām phayāyām] (n) EN: attempt ; effort ; try ; endeavour = endeavor (Am.)  FR: effort [ m ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ambitious(adj) ยาก, See also: ลำบาก, ที่ต้องใช้ความพยายามสูง
assiduity(n) ความเพียร, See also: ความขยัน, ความพยายาม, ความบากบั่น, ความตั้งใจ, Syn. diligence
attempt(n) ความพยายาม, See also: ความมานะ, ความอุตสาหะ, Syn. try, endeavor
apply to(phrv) ทำให้ทำงานหนัก, See also: ทำให้ต้องใช้ความพยายามอย่างมากกับ
bid(n) ความพยายามที่จะทำบางสิ่ง, Syn. attempt
blitz(n) ความพยายามอย่างมุ่งมั่นที่จะทำบางสิ่งให้สำเร็จ (ภาษาไม่เป็นทางการ)
bear down(phrv) ใช้ความพยายาม
by the sweat of one's brow(idm) ด้วยความพยายาม, See also: ด้วยความมุ่งมั่น
costly(adj) ซึ่งใช้เวลาหรือความพยายาม
carve out(phrv) พยายามอย่างมากเพื่อประสบความสำเร็จ, See also: ทำ บางสิ่ง ด้วยความพยายามอย่างมาก
comb through(phrv) ค้นหา (ด้วยความพยายามอย่างมาก), Syn. comb out
dry run(idm) ความพยายาม
fling in(phrv) ล้มเลิก (ความพยายาม), Syn. give up
fling oneself into(idm) ใช้ (ความพยายาม, เวลา, ความกระตือรือร้น), Syn. hurl into, throw into
dint(n) อำนาจ, See also: แรงกำลัง, ความพยายาม, การออกแรง
effort(n) ความพยายาม, Syn. attempt, endeavor, exertion, Ant. ease, sloth
endeavor(n) ความพยายาม, See also: ความอุตสาหะ, ความบากบั่น, ความมานะ, Syn. attempt, effort, try
endeavour(n) ความพยายาม, See also: ความมานะ, ความอุตสาหะ, ความบากบั่น, Syn. attempt, effort, try
essay(n) ความพยายาม (คำทางการ), See also: การทำให้สำเร็จ, Syn. attempt, endeavor, trial
exert(vt) ใช้ความพยายามอย่างมาก (ทางร่างกายหรือจิตใจ)
exertion(n) การทุ่มเท, See also: การลงแรง, ความพยายาม, Syn. attempt, effort, endeavor
foray(n) ความพยายามเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานหรืออาชีพที่แตกต่างออกไป
hard(adj) ที่ต้องใช้ความพยายามมาก
hard(adv) อย่างใช้ความพยายามมาก, See also: อย่างทรหด
herculean(adj) ซึ่งต้องใช้กำลังและความพยายามอย่างมาก
last-ditch effort(idm) ความพยายามขั้นสุดท้าย
rise to the occasion(idm) ใช้ความพยายามอย่างมาก, See also: แสวงหาสิ่งที่ท้าทาย
industry(n) ความอุตสาหะ (คำทางการและทางวรรณคดี), See also: ความมานะ, ความพยายาม, Syn. diligence, industriousness, Ant. idleness, laziness, sloth
intensive(adj) เข้มข้น, See also: เข้มงวด, คร่ำเคร่ง, ขะมักเขม้น, ซึ่งต้องใช้ความพยายาม, Syn. arduous, laberious, oppressive, Ant. easy, simple
labour at(phrv) พยายามอย่างมากเกี่ยวกับ, See also: ใช้ความพยายามมาก, ทำ บางสิ่ง อย่างหนัก, Syn. toll at, work at, work on
labour over(phrv) พยายามอย่างมากเกี่ยวกับ, See also: ใช้ความพยายามมาก, ทำ บางสิ่ง อย่างหนัก, Syn. toll at, work at, work on
labor(vt) ใช้เวลาและความพยายามมาก
labored(adj) ที่ต้องกระทำด้วยความพยายามมาก, Syn. strained
labour(vt) ใช้เวลาและความพยายามมาก
make a meal of(idm) ไม่ต้องใช้ความพยายามมากในเรื่อง
onerous(adj) ยาก, See also: ที่ต้องใช้ความพยายามมาก, Syn. difficult, burdensome, heavy, Ant. easy, light
painstaking(n) ความอุตสาหะ, See also: ความเพียร, ความพยายาม
perseverance(n) ความพยายาม, See also: ความมานะอุตสาหะ, ความมุ่งมั่น, Syn. stamina, endurance, fortitude, Ant. weakness, frailness
pop(n) ความพยายาม
purchase(vt) ได้มา (ด้วยความพยายาม), See also: ได้รับ, Syn. obtain
purchase(n) การได้มาด้วยความพยายาม
push(n) ความพยายาม
push oneself(phrv) พยายามขายความสามารถ, See also: ทำให้เห็นความพยายาม, Syn. push forward, thrust forward
put in(phrv) ทำงาน, See also: ใช้ความพยายาม, Syn. put into
put out(phrv) ใช้กำลัง, See also: ใช้ความพยายาม, Syn. put forth
flog(sl) ทำด้วยความพยายาม
shot(n) ความพยายาม
siege(n) ความพยายามเอาชนะการต่อต้าน
stab(n) ความพยายาม, Syn. attempt, endeavour, try
strife(n) ความบากบั่น (คำโบราณ), See also: ความพยายามอย่างเต็มที่, Syn. striving, strong endeavor

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
assay(อะเซ') vt. ตรวจสอบ, ทดสอบ, วิเคราะห์, ประเมินค่า, พยายาม. -n. การหาปริมาณของโลหะ (โดยเฉพาะเงินหรือทอง) ในแร่หรือโลหะผสม, สารที่ได้รับวิเคราะห์, รายงานการวิเคราะห์, ความพยายาม -assayer n., Syn. test, analyze, examination
assiduity(แอสซิดู'อิที) n. ความพยายาม, ความเพียร, ความขยัน. -assiduous adj., Syn. industry, diligence, Ant. laziness
backbreakingadj. ต้องใช้ความพยายามมาก, เหน็ดเหนื่อยมาก, See also: backbreaker n.
bid(บิด) { bade/bid, bidden/bid, bidding, bids } vt., n. (การ) ออกคำสั่ง, สั่ง, กล่าว, บอก, ให้ราคา, ประมูลราคา, เชื้อเชิญ, ประกาศอย่างเปิดเผย, รับเป็นสมาชิก, ความพยายามเพื่อให้ได้มา vi. ออกคำสั่ง, กริยาช่อง 3 ของ bide, See also: bidder n. ดู bid -Conf. bade
bywayn. ถนนส่วนตัว, ถนนลี้ภัย, ถนนสายเปลี่ยว, การวิจัยที่ปิดบัง, ความพยายามที่ปิดบัง
conatus(โคเน'ทัส) n. ความพยายาม, ความเพียร -pl. conatus
effort(เอฟ'เฟิร์ท) n. ความพยายาม, ความมานะ, ความอุตสาหะ, การทดลองที่ยากลำบาก, กำลังของเครื่องจักร, ผลของความพยายาม, Syn. exertion, attempt
endeavor(เอนเดฟ'เวอะ) vi., vt. พยายาม, บากบั่น. -n. ความพยายาม, ความบากบั่น., See also: endeavorer n. ดูendeavor endeavourer n. ดูendeavor, Syn. try
endeavour(เอนเดฟ'เวอะ) vi., vt. พยายาม, บากบั่น. -n. ความพยายาม, ความบากบั่น., See also: endeavorer n. ดูendeavor endeavourer n. ดูendeavor, Syn. try
essay(เอส'เส) n. เรียงความร้อยแก้ว, ข้อเขียนสั้น ๆ , ปกิณกะ, ความพยายาม, การทดลอง vt. (เอสเซ') พยายาม, ทดสอบ., See also: essayer n. ดูessay essayistic adj. ดูessay
exertion(เอคเซอ'เชิน) n. การออกแรง, การสำแดง, การออกกำลังกาย, ความพยายาม
go(โก) { went, gone, going, goes } vi. ไป, เคลื่อนไป, จากไป, กลายเป็น, กระทำ, บรรลุ, vt. อดทน, อดกลั้น, พนัน n. การไป, พลังงาน, กำลังวังชา, ความพยายาม, ความสำเร็จ, -Phr. (go on ต่อไป, อดทน, อดกลั้น), Syn. pass, move, proceed
labor(เล'เบอะ) { labo (u) red, labo (u) ring, labo (u) rs } n. แรงงาน, ใช้แรงงาน, งาน, อาชีพ, ความอุตสาหะ, ความเจ็บปวดและความพยายามในการคลอดลูก, ระยะเวลาในการคลอดลูกดังกล่าว, กรรมกร, ฝ่ายกรรมกร. v. ทำงาน, พยายาม, กระทำด้วยความลำบาก, คลอดลูก, ไปข้างหน้าด้วยความลำบาก, พากเพียร. adj. เ
labour(เล'เบอะ) { labo (u) red, labo (u) ring, labo (u) rs } n. แรงงาน, ใช้แรงงาน, งาน, อาชีพ, ความอุตสาหะ, ความเจ็บปวดและความพยายามในการคลอดลูก, ระยะเวลาในการคลอดลูกดังกล่าว, กรรมกร, ฝ่ายกรรมกร. v. ทำงาน, พยายาม, กระทำด้วยความลำบาก, คลอดลูก, ไปข้างหน้าด้วยความลำบาก, พากเพียร. adj. เ
main(เมน) adj. ส่วนใหญ่, ชั้นนำ, สำคัญที่สุด, สำคัญ, ที่สุด, ใช้เดี่ยวได้ n. ท่อสำคัญ, ท่อหลัก, กำลัง, ความพยายามที่รุนแรง, มหาสมุทร, ทะเลหลวง, แผ่นดินใหญ่ -Phr. (in the main ส่วนใหญ่), Syn. chief
movement(มูฟว'เมินทฺ) n. การเคลื่อนไหว, การเคลื่อนที่, กิริยาท่าทาง, ขบวนการ, ความพยายาม, คณะบุคคล, การดำเนินงาน, คณะบุคคล, Syn. motion, Ant. rest
puzzle(พัส'เซิล) n. ปัญหา, ปัญหายุ่งยาก, ปริศนา, เรื่องฉงนสนเท่ห์, สภาวะที่ซับซ้อน vt. ทำให้ฉงนสนเท่ห์, ทำให้งงงวย, ทำให้ยุ่ง. vi. ครุ่นคิดหนัก, ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, See also: puzzle out แก้ปัญหาโดยความพยายามหรือไตร่ตรอง puzzledly adv. puzzlingly adv.
shot(ชอท) n. การยิง, การยิงปืน, เสียงยิง, ลูกกระสุนปืน, ระยะที่ยิง, การปล่อยขีปนาวุธ, วิถีกระสุน, วิถีจรวด, กระสุนกระจาย, ผู้ยิง, มือปืน, เสียงที่คล้ายเสียงปืน, การระเบิด, ดินระเบิด, การฉีดยา, ความพยายาม, การทดลอง, การเดา, จำนวนเล็กน้อย, ปริมาณเล็กน้อย, คำหนึ่ง, (ของเหลว) อีกหนึ่ง
sprawl(สพรอล) vi. นอนเหยียด, นั่งเหนียด, เหยียดเท้า, เหยียดแขน, เลื้อยคลาน vt. เหยีดดแขนขา. n. ความพยายาม, การเหยียดแขนขา, Syn. loll, lounge
strife(สไทรฟฺ) n. ความขัดแย้งอย่างรุนแรง, การต่อสู้กัน, การปะทะกัน, การดิ้นรน, การทะเลาะวิวาท, ความสับสนอลหม่าน, ความพยายามเต็มที่, การแข่งขัน, See also: strifeful adj., Syn. discord, conflict-A. peace, concord
stroke(สโทรค) การตี, การทุบ, การตอก, การเคาะ, การลูบ, การคลำ, การพายเรือ, ขีดหนังสือ, อาการปัจจุบันทันด่วนของโรค, การเป็นลม, การเต้นของหัวใจ, ชีพจร, การกระพือปีก, การลากปากกา ดินสอแปรงหรือมีดแกะสลัก, ระยะพุ่ง, ระยะวิ่ง, การดำเนินการ, ความพยายาม, เหตุการณ์หรือโอกาสที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน
vendetta(เวนเดท'ทะ) n. ความอาฆาตแค้นส่วนตัวหรือระหว่างตระกูล, ความพยายามอันยาวนาน, See also: vendettist n.
worry(เวอ'รี) vi., vt., n. (ทำให้) (ความ) เป็นห่วง, กังวล, หนักใจ, เป็นทุกข์, รบกวน, กัด, ฉีก, ทำให้เปลี่ยนตำแหน่ง, ลาก, ดึง, สาเหตุที่ทำให้ลำบากใจหรือกังวล -Phr. (worry along, worry through ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จด้วยความพยายามแม้จะลำบาก), See also: worrier n.
worth(เวิร์ธ) n., prep (มี) คุณค่า, ค่า, ประโยชน์, ความสำคัญ, ราคา, สมกับ, จำนวนมูลค่าเป็นเงินค่าเป็นเงิน, ทรัพย์สมบัติ, ทรัพย์สิน vi. ปรากฎ, เกิดขึ้น, มาสู่ -Phr. (for all one is worth ด้วยความพยายามที่สุด เต็มที่ สุดขีด), Syn. estimation, value

English-Thai: Nontri Dictionary
assiduity(n) ความเพียร, ความขยัน, ความพยายาม
assiduousness(n) ความขยัน, ความเพียร, ความพยายาม
attempt(n) ความพยายาม, การทดลอง
diligence(n) ความขยัน, ความมาดมั่น, ความมานะ, ความพยายาม
drive(n) การขับรถ, แรงขับ, แรงกระตุ้น, ความพยายาม, พลังงาน
effort(n) ความพยายาม, ความมุมานะ, ความพากเพียร, ความอุตสาหะ
endeavour(n) ความพยายาม, ความอุตสาหะ, ความมุมานะ, ความบากบั่น
essay(n) เรียงความ, การทดลอง, ความพยายาม, ปกิณกะ
exertion(n) การใช้, ความพยายาม, การใช้อำนาจหน้าที่
industry(n) อุตสาหกรรม, ความพยายาม, ความบากบั่น, ความอุตสาหะ
movement(n) การเคลื่อนไหว, ความพยายาม, ขบวนการ, คณะ, ความประสงค์
rancor(n) ความเคียดแค้น, ความพยายาม, ความเกลียดชัง, ความเจ็บใจ
strife(n) ความพยายาม, การวิวาท, การขัดแย้ง, การดิ้นรน
try(n) ความพยายาม, การไต่สวน, การทดลอง, การพิสูจน์, การทดสอบ

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
intricate(adj) พยายาม, อย่างประณีต เช่น intricate work งานที่ต้องการความประณีต หรืองานที่ต้องใช้ความพยายาม, See also: elaborate, Syn. complex
pursue[เพอร์ซู] (vt) ความพยายามในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จลุล่วงลงไป โดยเฉพาะสิ่งที่ต้องใช้เวลา
temptation(n) ความพยายาม, Syn. a tempting or being tempted

Japanese-Thai: Longdo Dictionary
努力[どりょく, doryoku] (n) ความพยายาม, See also: Related: effort

Japanese-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
心配[しんぱい, shinpai] (n) (เวอ'รี) vi., vt., n. (ทำให้) (ความ) เป็นห่วง, กังวล, หนักใจ, เป็นทุกข์, รบกวน, กัด, ฉีก, ทำให้เปลี่ยนตำแหน่ง, ลาก, ดึง, สาเหตุที่ทำให้ลำบากใจหรือกังวล -Phr. (worry along, worry through ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จด้วยความพยายามแม้จะลำบาก), S. . worrier n.

German-Thai: Longdo Dictionary
umständlich(adj, adv) ซับซ้อน, ยุ่งยาก, (งาน)ที่หนัก ต้องใช้ความกำลังและความพยายามเยอะ
Mühe(n) |die, pl. Mühen, ส่วนใหญ่เป็นเอกพจน์| ความอุตสาหะ ความพยายาม เช่น Er hat das Diplom mit viel Mühe erreicht. เขาสำเร็จดิโพลม(ปริญญาโทในเยอรมนี)ด้วยความพากเพียร
sich(D) große Mühe gebenอุตสาหะ, พากเพียรอย่างมาก, ใช้ความพยายามอย่างมาก เช่น Sie hat sich große Mühe gegeben, um die beste Note zu bekommen. เธอพยายามอย่างมากเพื่อให้ได้คะแนนที่ดีที่สุด
Versuch(n) |der, pl. Versuche| การทดลอง, การทดสอบ เช่น der chemische Versuch การทดลองเคมี, Der Versuch, aus dem Gefängnis zu entfliehen, mißlang. ความพยายามที่จะหนีออกจากคุกนั้นล้มเหลว
mißlingen(vi) |mißlang, ist mißlungen, + jmdm.| ล้มเหลว, ไม่เป็นผลสำเร็จ เช่น Der Versuch, sie zum Lachen zu bringen, ist ihm völlig mißlungen. ความพยายามของเขาที่จะทำให้เธอหัวเราะล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง, See also: A. gelingen

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top