Search result for

เรือพระที่นั่ง

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -เรือพระที่นั่ง-, *เรือพระที่นั่ง*
(Few results found for เรือพระที่นั่ง automatically try *เรือพระที่นั่ง*)
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
เรือพระที่นั่ง(n) royal yacht, Syn. เรือต้น, Example: เรือพระที่นั่งเป็นเรือที่สำคัญที่สุดในกระบวนพยุหยาตราชลมารค, Count Unit: ลำ, Thai Definition: เรือที่พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูงประทับ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เรือพระที่นั่งน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช.
เรือพระที่นั่งกราบน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จพระราชดำเนินหรือเสด็จไปอย่างลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับเพื่อสำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร.
เรือพระที่นั่งกิ่งน. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรมุข.
เรือพระที่นั่งชัยน. เรือพระที่นั่ง เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระชัยวัฒน์ประดิษฐานขึ้นเป็นประธานบนบุษบกกลางลำ เป็นเรือนำกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชสงคราม หรือการพระราชพิธีสำคัญ, เรียกย่อว่า เรือชัย.
เรือพระที่นั่งรองน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค.
เรือพระที่นั่งศรีน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ทอดบัลลังก์กัญญา ดาดหลังคาด้วยผ้าสักหลาดสอดสีอย่างพนักอินทรธนู ถ้าเป็นเรือพระที่นั่งเพิ่มผ้าเยียรบับลายทองกลางกรอบพนักอินทรธนู.
กัน ๓ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่ายในสิ่งที่จำเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและล้อมทัพ, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง ทำหน้าที่ถวายอารักขา ว่า เรือกัน.
คู่ชักน. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่ทรงพระบรรทม เรียกว่า เรือคู่.
แซง ๒น. เรียกม้าหลวงหรือช้างหลวงพวกหนึ่งที่จัดให้เดินเลียบไปข้าง ๆ กระบวนแห่หรือกองทัพ ว่า ม้าแซง ช้างแซง, เรียกเรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างกระบวน ว่า เรือแซง.
ดั้ง ๑เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือไชยและเรือพระที่นั่งลำทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง. ก. ป้องกัน.
ธงฉานน. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธงมีรูปจักร ๘ แฉก แฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือหลวง หรือเป็นธงสำหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้นไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล
นักสราช(นักสะราด) น. ตำแหน่งคนถือธงท้ายเรือพระที่นั่งพาย. (วชิรญาณ)
นักสราชตำแหน่งนายขมังธนูอยู่หน้าเรือพระที่นั่ง เพื่อยิงผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นอันตรายต่อพระเจ้าแผ่นดิน ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค.
ฝีพายน. คนที่มีความสามารถในการพายเรือ โดยเฉพาะในการพายเรือพระที่นั่งหรือเรือแข่งเป็นต้น.
ไม้หัวต้ายน. ไม้หลักสำหรับปักกำกับหัวและท้ายเรือพระที่นั่งเวลาเทียบท่า.
ร้องโยนยาวก. ออกเสียงร้องบอกลาก ๆ ช้า ๆ และยาวอย่างพวกฝีพายเรือพระที่นั่งบอกจังหวะ.
รายตีนตองน. พระแสงสำคัญที่เจ้าพนักงานเชิญไปในเรือพระที่นั่งในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยเชิญเป็นคู่อยู่หน้าและหลังเจ้าพนักงานเชิญพระแสงหอก เรียกพระแสงสำคัญองค์ต่าง ๆ เหล่านี้ ว่า พระแสงรายตีนตอง ปัจจุบันใช้ในขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคด้วย
รายตีนตองข้าราชการในกรมพระตำรวจและจมื่นมหาดเล็ก ผู้เชิญพระแสงสำคัญลงประจำเรือพระที่นั่งและเรือพระที่นั่งรอง.
เรือกลองน. เรือที่ใช้ในราชการแต่โบราณบรรทุกนักดนตรีและเครื่องประโคมตีและเป่านำกระบวนเรือพระที่นั่ง วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๒๐ คน.
เรือกันน. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้างและกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ.
เรือขนานเรือที่จอดเทียบท่าสำหรับรับเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง
เรือคู่ชักน. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่บรรทม.
เรือแซงน. เรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้ายกระบวน.
เรือดั้งน. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้.
เรือประตูน. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่ง กับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อนถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้ายกระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูใน กับหมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
เห่น. ทำนองที่ขับร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้เมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ในพระราชพิธีขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม
เห่เรือน. ทำนองที่ขับร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค.

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
เรือพระที่นั่ง(n) royal yacht, Syn. เรือต้น, Example: เรือพระที่นั่งเป็นเรือที่สำคัญที่สุดในกระบวนพยุหยาตราชลมารค, Count Unit: ลำ, Thai Definition: เรือที่พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูงประทับ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เรือพระที่นั่งน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช.
เรือพระที่นั่งกราบน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จพระราชดำเนินหรือเสด็จไปอย่างลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับเพื่อสำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร.
เรือพระที่นั่งกิ่งน. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรมุข.
เรือพระที่นั่งชัยน. เรือพระที่นั่ง เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระชัยวัฒน์ประดิษฐานขึ้นเป็นประธานบนบุษบกกลางลำ เป็นเรือนำกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชสงคราม หรือการพระราชพิธีสำคัญ, เรียกย่อว่า เรือชัย.
เรือพระที่นั่งรองน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค.
เรือพระที่นั่งศรีน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ทอดบัลลังก์กัญญา ดาดหลังคาด้วยผ้าสักหลาดสอดสีอย่างพนักอินทรธนู ถ้าเป็นเรือพระที่นั่งเพิ่มผ้าเยียรบับลายทองกลางกรอบพนักอินทรธนู.
กัน ๓ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่ายในสิ่งที่จำเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและล้อมทัพ, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง ทำหน้าที่ถวายอารักขา ว่า เรือกัน.
คู่ชักน. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่ทรงพระบรรทม เรียกว่า เรือคู่.
แซง ๒น. เรียกม้าหลวงหรือช้างหลวงพวกหนึ่งที่จัดให้เดินเลียบไปข้าง ๆ กระบวนแห่หรือกองทัพ ว่า ม้าแซง ช้างแซง, เรียกเรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างกระบวน ว่า เรือแซง.
ดั้ง ๑เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือไชยและเรือพระที่นั่งลำทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง. ก. ป้องกัน.
ธงฉานน. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธงมีรูปจักร ๘ แฉก แฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือหลวง หรือเป็นธงสำหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้นไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล
นักสราช(นักสะราด) น. ตำแหน่งคนถือธงท้ายเรือพระที่นั่งพาย. (วชิรญาณ)
นักสราชตำแหน่งนายขมังธนูอยู่หน้าเรือพระที่นั่ง เพื่อยิงผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นอันตรายต่อพระเจ้าแผ่นดิน ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค.
ฝีพายน. คนที่มีความสามารถในการพายเรือ โดยเฉพาะในการพายเรือพระที่นั่งหรือเรือแข่งเป็นต้น.
ไม้หัวต้ายน. ไม้หลักสำหรับปักกำกับหัวและท้ายเรือพระที่นั่งเวลาเทียบท่า.
ร้องโยนยาวก. ออกเสียงร้องบอกลาก ๆ ช้า ๆ และยาวอย่างพวกฝีพายเรือพระที่นั่งบอกจังหวะ.
รายตีนตองน. พระแสงสำคัญที่เจ้าพนักงานเชิญไปในเรือพระที่นั่งในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยเชิญเป็นคู่อยู่หน้าและหลังเจ้าพนักงานเชิญพระแสงหอก เรียกพระแสงสำคัญองค์ต่าง ๆ เหล่านี้ ว่า พระแสงรายตีนตอง ปัจจุบันใช้ในขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคด้วย
รายตีนตองข้าราชการในกรมพระตำรวจและจมื่นมหาดเล็ก ผู้เชิญพระแสงสำคัญลงประจำเรือพระที่นั่งและเรือพระที่นั่งรอง.
เรือกลองน. เรือที่ใช้ในราชการแต่โบราณบรรทุกนักดนตรีและเครื่องประโคมตีและเป่านำกระบวนเรือพระที่นั่ง วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๒๐ คน.
เรือกันน. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้างและกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ.
เรือขนานเรือที่จอดเทียบท่าสำหรับรับเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง
เรือคู่ชักน. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่บรรทม.
เรือแซงน. เรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้ายกระบวน.
เรือดั้งน. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้.
เรือประตูน. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่ง กับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อนถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้ายกระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูใน กับหมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
เห่น. ทำนองที่ขับร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้เมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ในพระราชพิธีขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม
เห่เรือน. ทำนองที่ขับร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค.

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top