ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

เรือพระที่นั่ง

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -เรือพระที่นั่ง-, *เรือพระที่นั่ง*
(เนื่องจากผลลัพธ์จากการค้นหา เรือพระที่นั่ง มีน้อย ระบบได้ทดลองค้นหาใหม่โดยใส่ดอกจันทน์ (wild-card) ให้โดยอัตโนมัติ: *เรือพระที่นั่ง*)
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
เรือพระที่นั่ง(n) royal yacht, Syn. เรือต้น, Example: เรือพระที่นั่งเป็นเรือที่สำคัญที่สุดในกระบวนพยุหยาตราชลมารค, Count Unit: ลำ, Thai Definition: เรือที่พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูงประทับ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
เรือพระที่นั่งน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช.
เรือพระที่นั่งกราบน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จพระราชดำเนินหรือเสด็จไปอย่างลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับเพื่อสำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร.
เรือพระที่นั่งกิ่งน. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรมุข.
เรือพระที่นั่งชัยน. เรือพระที่นั่ง เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระชัยวัฒน์ประดิษฐานขึ้นเป็นประธานบนบุษบกกลางลำ เป็นเรือนำกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชสงคราม หรือการพระราชพิธีสำคัญ, เรียกย่อว่า เรือชัย.
เรือพระที่นั่งรองน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค.
เรือพระที่นั่งศรีน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ทอดบัลลังก์กัญญา ดาดหลังคาด้วยผ้าสักหลาดสอดสีอย่างพนักอินทรธนู ถ้าเป็นเรือพระที่นั่งเพิ่มผ้าเยียรบับลายทองกลางกรอบพนักอินทรธนู.
กัน ๓ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่ายในสิ่งที่จำเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและล้อมทัพ, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง ทำหน้าที่ถวายอารักขา ว่า เรือกัน.
คู่ชักน. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่ทรงพระบรรทม เรียกว่า เรือคู่.
แซง ๒น. เรียกม้าหลวงหรือช้างหลวงพวกหนึ่งที่จัดให้เดินเลียบไปข้าง ๆ กระบวนแห่หรือกองทัพ ว่า ม้าแซง ช้างแซง, เรียกเรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างกระบวน ว่า เรือแซง.
ดั้ง ๑เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือไชยและเรือพระที่นั่งลำทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง. ก. ป้องกัน.
ธงฉานน. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธงมีรูปจักร ๘ แฉก แฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือหลวง หรือเป็นธงสำหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้นไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล
นักสราช(นักสะราด) น. ตำแหน่งคนถือธงท้ายเรือพระที่นั่งพาย. (วชิรญาณ)
นักสราชตำแหน่งนายขมังธนูอยู่หน้าเรือพระที่นั่ง เพื่อยิงผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นอันตรายต่อพระเจ้าแผ่นดิน ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค.
ฝีพายน. คนที่มีความสามารถในการพายเรือ โดยเฉพาะในการพายเรือพระที่นั่งหรือเรือแข่งเป็นต้น.
ไม้หัวต้ายน. ไม้หลักสำหรับปักกำกับหัวและท้ายเรือพระที่นั่งเวลาเทียบท่า.
ร้องโยนยาวก. ออกเสียงร้องบอกลาก ๆ ช้า ๆ และยาวอย่างพวกฝีพายเรือพระที่นั่งบอกจังหวะ.
รายตีนตองน. พระแสงสำคัญที่เจ้าพนักงานเชิญไปในเรือพระที่นั่งในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยเชิญเป็นคู่อยู่หน้าและหลังเจ้าพนักงานเชิญพระแสงหอก เรียกพระแสงสำคัญองค์ต่าง ๆ เหล่านี้ ว่า พระแสงรายตีนตอง ปัจจุบันใช้ในขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคด้วย
รายตีนตองข้าราชการในกรมพระตำรวจและจมื่นมหาดเล็ก ผู้เชิญพระแสงสำคัญลงประจำเรือพระที่นั่งและเรือพระที่นั่งรอง.
เรือกลองน. เรือที่ใช้ในราชการแต่โบราณบรรทุกนักดนตรีและเครื่องประโคมตีและเป่านำกระบวนเรือพระที่นั่ง วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๒๐ คน.
เรือกันน. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้างและกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ.
เรือขนานเรือที่จอดเทียบท่าสำหรับรับเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง
เรือคู่ชักน. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่บรรทม.
เรือแซงน. เรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้ายกระบวน.
เรือดั้งน. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้.
เรือประตูน. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่ง กับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อนถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้ายกระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูใน กับหมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
เห่น. ทำนองที่ขับร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้เมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ในพระราชพิธีขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม
เห่เรือน. ทำนองที่ขับร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค.

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
เรือพระที่นั่ง(n) royal yacht, Syn. เรือต้น, Example: เรือพระที่นั่งเป็นเรือที่สำคัญที่สุดในกระบวนพยุหยาตราชลมารค, Count Unit: ลำ, Thai Definition: เรือที่พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูงประทับ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
เรือพระที่นั่งน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช.
เรือพระที่นั่งกราบน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จพระราชดำเนินหรือเสด็จไปอย่างลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับเพื่อสำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร.
เรือพระที่นั่งกิ่งน. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรมุข.
เรือพระที่นั่งชัยน. เรือพระที่นั่ง เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระชัยวัฒน์ประดิษฐานขึ้นเป็นประธานบนบุษบกกลางลำ เป็นเรือนำกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชสงคราม หรือการพระราชพิธีสำคัญ, เรียกย่อว่า เรือชัย.
เรือพระที่นั่งรองน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค.
เรือพระที่นั่งศรีน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ทอดบัลลังก์กัญญา ดาดหลังคาด้วยผ้าสักหลาดสอดสีอย่างพนักอินทรธนู ถ้าเป็นเรือพระที่นั่งเพิ่มผ้าเยียรบับลายทองกลางกรอบพนักอินทรธนู.
กัน ๓ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่ายในสิ่งที่จำเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและล้อมทัพ, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง ทำหน้าที่ถวายอารักขา ว่า เรือกัน.
คู่ชักน. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่ทรงพระบรรทม เรียกว่า เรือคู่.
แซง ๒น. เรียกม้าหลวงหรือช้างหลวงพวกหนึ่งที่จัดให้เดินเลียบไปข้าง ๆ กระบวนแห่หรือกองทัพ ว่า ม้าแซง ช้างแซง, เรียกเรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างกระบวน ว่า เรือแซง.
ดั้ง ๑เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือไชยและเรือพระที่นั่งลำทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง. ก. ป้องกัน.
ธงฉานน. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธงมีรูปจักร ๘ แฉก แฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือหลวง หรือเป็นธงสำหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้นไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล
นักสราช(นักสะราด) น. ตำแหน่งคนถือธงท้ายเรือพระที่นั่งพาย. (วชิรญาณ)
นักสราชตำแหน่งนายขมังธนูอยู่หน้าเรือพระที่นั่ง เพื่อยิงผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นอันตรายต่อพระเจ้าแผ่นดิน ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค.
ฝีพายน. คนที่มีความสามารถในการพายเรือ โดยเฉพาะในการพายเรือพระที่นั่งหรือเรือแข่งเป็นต้น.
ไม้หัวต้ายน. ไม้หลักสำหรับปักกำกับหัวและท้ายเรือพระที่นั่งเวลาเทียบท่า.
ร้องโยนยาวก. ออกเสียงร้องบอกลาก ๆ ช้า ๆ และยาวอย่างพวกฝีพายเรือพระที่นั่งบอกจังหวะ.
รายตีนตองน. พระแสงสำคัญที่เจ้าพนักงานเชิญไปในเรือพระที่นั่งในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยเชิญเป็นคู่อยู่หน้าและหลังเจ้าพนักงานเชิญพระแสงหอก เรียกพระแสงสำคัญองค์ต่าง ๆ เหล่านี้ ว่า พระแสงรายตีนตอง ปัจจุบันใช้ในขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคด้วย
รายตีนตองข้าราชการในกรมพระตำรวจและจมื่นมหาดเล็ก ผู้เชิญพระแสงสำคัญลงประจำเรือพระที่นั่งและเรือพระที่นั่งรอง.
เรือกลองน. เรือที่ใช้ในราชการแต่โบราณบรรทุกนักดนตรีและเครื่องประโคมตีและเป่านำกระบวนเรือพระที่นั่ง วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๒๐ คน.
เรือกันน. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้างและกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ.
เรือขนานเรือที่จอดเทียบท่าสำหรับรับเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง
เรือคู่ชักน. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่บรรทม.
เรือแซงน. เรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้ายกระบวน.
เรือดั้งน. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้.
เรือประตูน. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่ง กับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อนถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้ายกระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูใน กับหมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
เห่น. ทำนองที่ขับร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้เมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ในพระราชพิธีขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม
เห่เรือน. ทำนองที่ขับร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค.

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top