allometry | (อะลิม' มิทรี) n. การเจริญเติบโตของส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตทั้งหมดหรือบางส่วนของสิ่งมีชีวิตนั้น, การวัดหรือสึกษาการเจริญเติบโตแบบนี้., Syn. alloimetry -allometric, alloiometric adj. |
batch processing | การประมวลผลเชิงกลุ่มหมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นตัวควบคุม ในการประมวลผลแบบนี้ เราจะต้องจัดรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกเป็นกลุ่มไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้วจึงจัดรวบรวมเป็นรายงาน หรือสรุปผลอีกทีหนึ่ง วิธีการประมวลผลแบบนี้ทำง่าย ประหยัด และตรงไปตรงมา แต่อาจจะช้าไปบ้าง เพราะต้องรอให้ข้อมูลเรียบร้อยก่อน ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (on line proessing) ซึ่งหมายถึงการที่เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูลดู on line processing ประกอบ |
circular shift | การเลื่อนเป็นวงหมายถึง การเลื่อนบิต (bit) ที่อยู่ปลายด้านหนึ่งไปอยู่ปลายอีกด้านหนึ่งในเรจิสเตอร์ (register) เดียวกัน ในการเลื่อนแบบนี้ บิตจะไม่หายไปไหน มีความหมายเหมือน cyclic shiftดู shift ประกอบ |
cyclic shift | หมายถึง การเลื่อนบิต (bit) ที่อยู่ปลายด้านหนึ่งไปอยู่ปลายอีกด้านหนึ่งในเรจิสเตอร์ (register) เดียวกัน ในการเลื่อนแบบนี้ บิตจะไม่หายไปไหน มีความหมายเหมือน circular shiftดู shift ประกอบ |
dram | (ดีแรม) ย่อมาจาก dynamic random access memory (แปลว่าแรมแบบพลวัต) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็น ระยะ ๆ มิฉะนั้น อาจจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ |
drum printer | เครื่องพิมพ์แบบดรัมเป็นอุปกรณ์แสดงผลชนิดเครื่องพิมพ์ ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์แบบกดตัวพิมพ์ผ่านผ้าหมึกพิมพ์ ตัวพิมพ์จัดเรียงเป็นแถวบนพื้นผิวทรงกระบอกหมุนวนอยู่ตลอดเวลา การพิมพ์แบบนี้ จะพิมพ์ไปทีละตัว เช่นพิมพ์ตัว A ทุกตัวที่มีอยู่ในบรรทัดหนึ่ง ๆ เมื่อกดพิมพ์ตัว A หมุนผ่านช่องพิมพ์เสร็จแล้ว ก็จะพิมพ์ตัว B ต่อไปตามลำดับจนหมดตัวอักษร ซึ่งหมายถึงกระบอกตัวพิมพ์หมุนรอบตัวมันเองครบหนึ่งรอบ |
dynamic ram | แรมแบบพลวัตย่อมาจาก Dynamic Random Access Memory ใช้ตัวย่อว่า DRAM (อ่านว่าดีแรม) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบ ดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็นระยะ ๆ มิฉะนั้น มันจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ |
expanded memory | หน่วยความจำส่วนขยายหมายถึง หน่วยความจำที่เพิ่มเข้ามาภายหลัง วิธีเพิ่มหน่วยความจำแบบนี้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบดอส นิยมใช้อยู่ก่อนจะมีการนำชิป (chip) 80286 มาใช้ หน่วยความจำนี้เป็นหน่วยความจำต่างหากที่บริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ทำเป็นรายการแถมให้ เพิ่มจากหน่วยความจำ 640 K ที่ใช้อยู่เดิม ไม่ใช่นำหน่วยความจำเดิมมาทำให้ใหญ่ขึ้น เป็นหน่วยความจำคนละหน่วย แต่คอมพิวเตอร์สามารถเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำนี้ได้รวดเร็ว จนทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนกับว่าเป็นหน่วยความจำเดียวกัน |
fuzzy logic | ตรรกศาสตร์คลุมเคลือหมายถึง แบบหนึ่งของตรรกะ ซึ่งใช้ในระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) ตรรกะ ประเภทนี้ไม่ใช่มีแต่ ผิด-ถูก (กล่าวคือ ถ้าไม่ถูก ก็ต้องผิด หรือถ้าไม่ผิด ก็ต้องถูก) แต่ตรรกะแบบนี้ มีขอบเขตกว้างขวาง |
halt | (ฮอลทฺ) vi., n.adj. (การ) หยุด, ชะงัก, เป็นง่อย, ขาเป๋, ลังเล, สองจิตสองใจ interj. หยุด, Syn. stand, check ชะงัก1. การที่เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดปฏิบัติงานตามชุดคำสั่ง ซึ่งอาจเกิดจากการขัดจังหวะหรือมีที่ผิดมีความหมายเหมือน hang2. มีคำสั่งใดคำสั่งหนึ่งในชุดคำสั่งนั้นเองที่สั่งให้หยุดคำสั่งในชุดคำสั่งหรือในโปรแกรมเพียงชั่วขณะใดขณะหนึ่ง เพื่อทำการตรวจสอบโปรแกรมเปลี่ยนแถบบันทึกหรือจานบันทึก การหยุดแบบนี้ ถ้าผู้คุมเครื่อง operator กดปุ่ม START โปรแกรมจะทำงานต่อได้ทันทีมีความหมายเหมือน pause |
hfs | (เอชเอฟเอส) ย่อมาจาก hierarchical file system (แปลว่า ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลตามลำดับชั้น) เป็นระบบที่ช่วยทำให้จัดเก็บแฟ้มข้อมูลเป็นกลุ่ม วิธีการเก็บแบบนี้ เป็นการเก็บแฟ้มข้อมูลไว้ในโฟลเดอร์ (folder) เราจะเห็นสัญรูป (icon) ของโฟลเดอร์ต่าง ๆ นี้บนจอภาพ และเมื่อเปิดเข้าไปในแต่ละโฟลเดอร์ ก็จะมองเห็นแฟ้มข้อมูล หรืออาจจะมีโฟลเดอร์ย่อย (subfolder) อยู่ภายในโฟลเดอร์อีกทีหนึ่ง การเก็บแฟ้มในระบบนี้ ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายกว่าเรื่อง สารบบ (directory) และสารบบย่อย (subdirectory) ของดอส เพราะเห็นภาพชัดเจนกว่า |
hierarchical file system | ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลตามลำดับชั้นใช้ตัวย่อว่า HFS เป็นระบบที่ช่วยทำให้จัดเก็บแฟ้มข้อมูลเป็นกลุ่ม วิธีการเก็บแบบนี้ เป็นการเก็บแฟ้มข้อมูลไว้ในโฟลเดอร์ (folder) เราจะเห็นสัญรูป (icon) ของโฟลเดอร์ต่าง ๆ นี้บนจอภาพ และเมื่อเปิดเข้าไปในแต่ละโฟลเดอร์ ก็จะมองเห็นแฟ้มข้อมูล หรืออาจจะมีโฟลเดอร์ย่อย (subfolder) อยู่ภายในโฟลเดอร์อีกทีหนึ่ง การเก็บแฟ้มในระบบนี้ ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายกว่าเรื่อง สารบบ (directory) และสารบบย่อย (subdirectory) ของดอส เพราะเห็นภาพชัดเจนกว่า |
impact printer | เครื่องพิมพ์แบบกระทบเป็นเครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่งที่พิมพ์ข้อความลงบนกระดาษ โดยใช้ฆ้อนตอกผ่านผ้าหมึกพิมพ์ลงบนกระดาษ ทำให้เกิดเป็นรูปตัวอักขระต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น เครื่องพิมพ์แบบจาน (daisy wheel) เครื่องพิมพ์แบบดรัม (drum printer) และเครื่องพิมพ์แบบสายโซ่ (chain printer) การพิมพ์แบบนี้ อาจทำได้ทีละหลายชุดพร้อม ๆ กัน โดยใช้กระดาษก๊อปปี้ (เครื่องพิมพ์เลเซอร์ทำไม่ได้) |
low-level format | จัดรูปแบบอย่างต่ำหมายถึง การจัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ของจานบันทึกว่าจะต้องจัดรูปแบบ การบันทึกแบบนี้เมื่อเราใช้จานแข็งเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น ก็ต้องใช้คำสั่งFORMAT ในระบบดอสเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับจานอ่อน (floppy disk) นั้น เราไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามกระบวนการนี้ |
magnetic tape | แถบบันทึกแม่เหล็กหมายถึง แถบที่ทำด้วยพลาสติกฉาบออกไซด์ของโลหะ มีลักษณะคล้ายเทปหรือแถบบันทึกเสียง ม้วนอยู่บนวงล้อ มีหลายขนาด เป็นต้นว่า ขนาดยาว 2, 400 ฟุต 1, 200 ฟุต และ 600 ฟุต ตัวเทปกว้าง ? นิ้ว บันทึกข้อมูลได้ประมาณ 800-1, 600 ตัวอักษรต่อความยาวของเนื้อเทป 1 นิ้ว เทปหรือแถบบันทึกนี้สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล คอมพิวเตอร์จะมีเครื่องมือที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูลลงในเทป เรียกว่า หน่วยขับเทป (tape drive) เราสามารถบันทึกข้อมูลใหม่ลงทับบนข้อมูลเก่าได้เหมือนการบันทึกเพลง ข้อมูลเดิมจะหายไปโดยอัตโนมัติ ข้อเสียของเทปก็คือ การค้นหาข้อมูลทำได้ช้า เพราะต้องเริ่มตั้งแต่ต้นเทปเสมอ ถ้าข้อมูลอยู่ปลายเทป ก็จะเสียเวลานาน การค้นหาแบบนี้เรียกว่าการเข้าถึงแบบเรียงลำดับ (sequential access) ซึ่งตรงข้ามกับการเข้าถึงแบบสุ่ม (direct access) ของจานบันทึก |
neural network | เครือข่ายเส้นประสาทหมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเลียนแบบเส้นใยประสาทของมนุษย์ ที่เรียกว่า นิวโรน ในสมองมนุษย์ ซึ่งมีนับจำนวนล้าน ๆ ตัว การประมวลผลกิจกรรมต่าง ๆ จะออกมาในลักษณะแบบขนาน (ไม่ใช่แบบอนุกรม) หมายถึง ทำงานพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ได้คำตอบอันเดียว ทั้งนี้หมายถึง การที่ต้องสามารถทำงานที่สลับซับซ้อนมาก ๆ โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ได้เอง ฉะนั้นการที่เครือข่ายแบบนิวโรนนี้จะให้คำตอบได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งปัญหาต่าง ๆ เข้าไปให้ลองทำมาก ๆ เครือข่ายแบบนี้จะเป็นประโยชน์ เฉพาะในงานประมวลผลงานบางประเภท เช่น เรื่องการประมวลผลเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นในตลาด หรือการหาความคล้ายคลึงระหว่างภาพหลาย ๆ ภาพ เช่น ลายนิ้วมือ เป็นต้น ดู artificial intelligence ประกอบ |
path name | เส้นบอกทางหมายถึง เส้นบอกทางไปยังที่ที่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูล โดยต้องเริ่มต้นด้วยหน่วยบันทึก (drive) คั่นด้วยเครื่องหมาย : ตามด้วยเครื่องหมาย \ หลังจากนั้นเป็นชื่อ สารบบ (directory) และอนุสารบน (subdirectory) ถ้ามี คั่นด้วย \ แล้วจึงถึงชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ เช่นตัวอย่างC:\PROGRAMS\GRAPHICSชA"ข้อความนี้ หมายความว่า แฟ้มข้อมูลชื่อ AAA อยู่ในอนุสารบนชื่อ GRAPHICS ในสารบบใหญ่ที่ชื่อ PROGRAM และอยู่ในหน่วยบันทึก C: อนึ่ง ในระบบวินโดว์ ทุกครั้งที่จะบันทึกแฟ้มข้อมูลลงในจานบันทึก หรือเรียกแฟ้มข้อมูลมาแสดงหรือสั่งพิมพ์ ฯ จะต้องแจ้งเส้นบอกทางไปยังแฟ้มข้อมูลนั้นให้ชัดเจน ถ้าเป็นแมคอินทอช จะไม่ใช้ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลแบบนี้ |
peer-to-peer | เพียทูเพียหมายถึง วิธีการจัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง ที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทุกเครื่องเหมือนกันหรือเท่าเทียมกัน หมายความว่า แต่ละเครื่องต่างมีโปรแกรมหรือมีแฟ้มข้อมูลเก็บไว้เอง การจัดแบบนี้ทำให้สามารถใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ แทนที่จะต้องใช้จากเครื่องบริการแฟ้ม (file server) เท่านั้น วิธีการจัดอีกลักษณะหนึ่ง ที่เรียกว่า client-server นั้น คือการกำหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องบริการแฟ้ม หรือเป็นที่เก็บโปรแกรมและแฟ้มทั้งหมด คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะเรียกใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลจากกันไม่ได้ ต้องเรียกจากเครื่องบริการแฟ้มเท่านั้น ดู file server ประกอบ |
punched card | บัตรเจาะรูหมายถึง บัตรที่นำมาเจาะเป็นรู เพื่อเป็นข้อมูลที่จะส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม การเจาะบัตรให้เป็นรูนี้ต้องเจาะด้วยเครื่องเจาะบัตร (keypunch) ซึ่งมีลักษณะคล้ายพิมพ์ดีด เช่น ถ้าเจาะตัวอักษร A ก็จะมีรูที่คอลัมน์ 1 และ 12 รูต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ (โดยใช้แปรงไฟฟ้าปัดผ่าน) แล้วนำไปเก็บในหน่วยความจำ วิธีส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แบบนี้ เกือบจะเป็นแบบแรกที่ใช้กัน เดี๋ยวนี้ถือว่าล้าสมัยไปเสียแล้วเพราะไม่สะดวกในการเก็บรักษา กับทั้งสิ้นเปลืองมาก จุข้อมูลน้อยถ้าเทียบกับจานบันทึก นอกจากนั้น ใช้แล้วนำมาใช้อีกไม่ได้ เจาะผิดก็แก้ไขไม่ได้ ต้องทิ้งไป แล้วทำใหม่ ทำให้สิ้นเปลืองดู card ประกอบ |
real time processing | การประมวลผลแบบทันทีหมายถึง ระบบการประมวลผลข้อมูลที่ทำในทันทีที่ข้อมูลถูกส่งเข้า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาทันทีเพื่อจะได้สั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือควบคุมได้ เช่น การประมวลผลของเครื่องถอนเงินด่วนตามธนาคารต่าง ๆ (ATM) ซึ่งให้บริการการฝากถอน ทำให้ผู้ใช้บริการทราบผลในทันที เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะตรวจสอบให้ในทันทีว่า รหัสถูกต้องหรือไม่ มีเงินพอหรือไม่ ฯ ถ้ามีพอ ก็สั่งปฏิบัติการ คือจ่ายเงินให้เลย การจองตั๋วเครื่องบิน ก็มีลักษณะเป็นแบบทันทีนี้เช่นกัน ส่วนการประมวลผลที่ไม่ต้องทำทันที เรียกว่า "การประมวลผลเชิงกลุ่ม" (batch processing) หมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับ มีระบบปฏิบัติการเป็นตัวควบคุม การประมวลผลแบบนี้ มักจะเป็นงานใหญ่ ๆ จะต้องมีการรวบรวมข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน จึงจะส่งเข้าประมวลผล คอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลให้ตามลำดับก่อนหลัง หรือลำดับความสำคัญ วิธีการนี้ประหยัดกว่า แต่ช้าและไม่ทันใจดู batch processing เปรียบเทียบ |
rich text format | รูปแบบการเก็บข้อมูลเป็นแอสกีใช้ตัวย่อว่า rtf (อ่านว่า อาร์ทีเอฟ) เป็นรูปแบบของการเก็บข้อมูลที่เป็นเอกสาร (text) ในรหัสแอสกี (ASCII) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) หลายโปรแกรมจะเรียกข้อมูลที่เก็บในรูปแบบนี้มาอ่านได้ใช้การได้ แต่ต้องกำหนดแบบตัวอักษรให้ก่อน มักใช้นามสกุล (file name) ว่า .RTF |
rtf | อาร์ทีเอฟ <คำอ่าน>ย่อมาจาก rich text format เป็นรูปแบบของการเก็บข้อมูลที่เป็นเอกสาร (text) ในรหัสแอสกี (ASCII) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) หลายโปรแกรมจะเรียกข้อมูลที่เก็บในรูปแบบนี้มาอ่านได้ใช้การได้ แต่ต้องกำหนดแบบตัวอักษรให้ก่อน มักใช้นามสกุล (file name) ว่า .RTF |
ss/dd | เอส-เอส/ดี-ดี <คำอ่าน>ย่อมาจาก single sided / double density เป็นจานบันทึกข้อมูลรุ่นเก่าซึ่งไม่เป็นที่นิยมใช้กันแล้วในปัจจุบัน จานแบบนี้จะบันทึกข้อมูลลงได้เพียงด้านเดียว (single sided) แม้จะอัดให้แน่นได้ถึงสองเท่าตัวของความอัดแน่นอย่างปรกติก็ตาม (double density) จานบันทึกขนาด 51/4 นิ้ว จุได้เพียง 180 เค (180, 000 ตัวอักขระ) ปัจจุบันจานบันทึกที่ใช้ทั่วไป จะเป็นประเภท DS/DD (double sided/double density) หรือ HD (high density) เพราะมีความจุมากกว่ามาก |
stack | (สแทคฺ) n. กองที่ซ้อนกัน, ซุ้มปืน, สุม, จำนวนมากมาย, กลุ่มปล่องไฟบนหลังคา vt., vi. กอง, ลุม, ก่ายขึ้น, จัดไพ่เพื่อโกง เรียงทับซ้อนใช้ในเรื่องโครงสร้างการเก็บข้อมูล หมายถึง การเก็บข้อมูลโดยเรียงทับซ้อนกันเป็นชั้น ๆ การเรียงทับแบบนี้จะทำให้เกิดภาวะเข้าก่อน ออกหลัง เพราะกว่าจะออกมาได้ ก็ต้องรื้อกองที่ทับซ้อนอยู่ ออกไปให้หมดเสียก่อน, Syn. bundle, pile, gather |
truetype font | หมายถึงตัวอักษรประเภทหนึ่งที่ในปัจจุบันใช้ทั้งในระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิลและพีซี (บริษัทแอปเปิลพัฒนาขึ้นใช้ก่อน) ลักษณะของตัวอักษรแบบนี้จะชัดเจน เป็นแบบอักษรที่จะปรับขนาดโดยขยายให้ใหญ่หรือลดขนาดให้เล็กได้ง่าย |
ulsi | ยูแอลเอสไอ <คำอ่าน>ย่อมาจาก ultra large scale integration (แปลว่า วงจรรวมความจุสูงยิ่ง) หมายถึงวงจรรวมที่สามารถนำประตู (gate) มารวมกันมากกว่า 100, 000 ประตูขึ้นไป แล้วนำมาใช้เป็นตัวประมวลผลขนาดเล็ก ที่เรียกว่าซิป (chip) ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงได้ วงจรรวมแบบนี้จะมีประตูมากกว่าวงจรรวมความจุสูง ที่เรียกว่า VLSI ที่สร้างกันได้ก่อนหน้านี้ |
ultra large scale integra | ultra large scale integration วงจรรวมความจุสูงยิ่งใช้ตัวย่อว่า ULSI (อ่านว่า ยูแอลเอสไอ) หมายถึงวงจรรวมที่สามารถนำประตู (gate) มารวมกันมากกว่า 100, 000 ประตูขึ้นไป แล้วนำมาใช้เป็นตัวประมวลผลขนาดเล็ก ที่เรียกว่าซิป (chip) ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงได้ วงจรรวมแบบนี้จะมีประตูมากกว่าวงจรรวมความจุสูง ที่เรียกว่า VLSI ที่สร้างกันได้ก่อนหน้านี้ ดู VLSI เปรียบเทียบ |