กระสับกระส่าย | ว. เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปรกติไม่ได้, กระวนกระวาย, ทุรนทุราย. |
กล่าว | แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คำนี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์. |
ขยัน ๑ | (ขะหฺยัน) ก. ทำการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทำหรือประพฤติเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, ไม่เกียจคร้าน |
ขัด ๓ | ก. ไม่ใคร่จะมี, ฝืดเคือง, ไม่คล่อง, ไม่เป็นปรกติ. |
คุมธาตุ | ก. ทำให้ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ในร่างกายเป็นปรกติสมํ่าเสมอกัน. |
จริต | (จะหฺริด) น. ความประพฤติ, กิริยาหรืออาการ, เช่น เสียจริต วิกลจริต, มักใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต, จริตจะก้าน ก็ว่า, ความประพฤติปรกติ, ความประพฤติที่หนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปรกติอยู่ในสันดาน, แนวโน้มของจิตใจ, มี ๖ อย่าง คือ ราคจริต โทสจริต โมหจริต สัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต. |
เฉย | ก. แสดงอาการเป็นปรกติไม่สนใจไยดีต่อสิ่งหรือเหตุการณ์ที่ประสบ เช่น ถูกด่าว่าก็เฉย. |
ดื่น | ว. มากทั่วไปจนเป็นปรกติธรรมดา. |
ตั้งธาตุ | ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. |
ตาบอดตาใส | น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. |
ถือศีล | ก. ปฏิบัติตนโดยไม่ฝ่าฝืนข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจาให้เป็นปรกติ. |
นัก ๑ | น. ใช้ประกอบหน้าคำอื่นหมายความว่า ผู้กระทำเป็นปรกติ เช่น นักเรียน นักดื่ม นักท่องเที่ยว, ผู้ชำนาญ เช่น นักเทศน์ นักดนตรี นักคำนวณ นักสืบ, ผู้มีอาชีพในทางนั้น ๆ เช่น นักกฎหมาย นักแสดง นักเขียน. |
นิจศีล | (นิดจะสีน) น. ศีลที่ควรรักษาเป็นปรกติ ได้แก่ ศีล ๕. |
นิจศีล | (นิดจะสีน) ว. เป็นปรกติเสมอไป, มักใช้ว่า เป็นนิจศีล. |
ปรวนแปร | (ปฺรวนแปฺร) ก. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่อยู่ที่เป็นปรกติ เช่น อากาศปรวนแปร, รวนเร เช่น ใจปรวนแปร, แปรปรวน ก็ว่า. |
ประจำ | ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจำ นั่งประจำ |
ประจำ | ที่กำหนดให้มีเป็นปรกติ เช่น งานประจำปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเป็นปรกติ ว่า รถประจำทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติ ว่า ครูหรืออาจารย์ประจำชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและจะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติ ว่า บัตรประจำตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้างไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราว ว่า ลูกจ้างประจำ, เรียกผู้ที่มาติดต่อหรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจำ ขาประจำ, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝากครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. |
ปังสุกูลิก- | (ปังสุกูลิกะ-) ว. เรียกภิกษุผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นปรกติ ว่า ปังสุกูลิกภิกษุ, เรียกชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่ชักมาจากซากศพหรือเก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทำเครื่องนุ่งห่ม ว่า ปังสุกูลิกังคธุดงค์. |
ปั๊ม | ใช้เครื่องสูบหรือดูดของเหลวหรือแก๊ส เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มลม, ใช้เครื่องช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติ เรียกว่า ปั๊มหัวใจ. |
ปั๊ม | น. เรียกเครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำ ว่า เครื่องปั๊มน้ำ, เรียกเครื่องยนต์สำหรับสูบลมหรือแก๊ส ว่า เครื่องปั๊มลม, เรียกเครื่องอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติว่า เครื่องปั๊มหัวใจ |
เป็นอัตรา | ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ขยันเป็นอัตรา ขี้เกียจเป็นอัตรา. |
แปรปรวน | (-ปฺรวน) ก. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่อยู่ที่เป็นปรกติ เช่น อากาศแปรปรวน, รวนเร เช่น ใจแปรปรวน, ปรวนแปร ก็ว่า. |
แปร่ง | (แปฺร่ง) ว. มีเสียงพูดผิดเพี้ยนไปจากเสียงที่พูดกันเป็นปรกติในถิ่นนั้น ๆ, ไม่สนิท. |
ผ้าป่า | น. ผ้า (พร้อมทั้งเครื่องบริวาร ถ้ามี) ที่นำเอาไปวางทอดไว้เสมือนว่าเป็นผ้าที่ทิ้งอยู่ในป่า เพื่อให้พระชักเอาไป เป็นทำนองผ้าบังสุกุล มักทำเป็นปรกติต่อท้ายทอดกฐิน เรียกว่า ทอดผ้าป่า. |
พักฟื้น | ก. พักผ่อนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเป็นปรกติ เมื่อหายเจ็บป่วย. |
ยาธาตุ | น. ยาคุมให้ท้องเป็นปรกติ. |
ยุ่ง | ก. เข้ามาเกี่ยวข้องพัวพันโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา อย่าไปยุ่งกับเขา, มีธุระพัวพันมาก เช่น กำลังยุ่งอย่ามากวนใจ, วุ่นวายไม่เป็นปรกติ เช่น ยุ่งกันไปทั้งบ้าน. |
รถประจำทาง | น. รถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเป็นปรกติ. |
ร้อนวิชา | ก. เกิดความเร่าร้อนเนื่องจากคาถาอาคมจนอยู่ไม่เป็นปรกติ |
โรค, โรค- | (โรก, โรคะ-) น. ภาวะที่ร่างกายทำงานได้ไม่เป็นปรกติเนื่องจากเชื้อโรคเป็นต้น. |
ลมไม่ดี | ก. ใจคอหงุดหงิดไม่เป็นปรกติ. |
ลองเครื่อง | ก. ทดสอบการทำงานของเครื่องยนต์ว่าทำงานเป็นปรกติหรือไม่. |
ลิ้นตก | น. ภาวะที่ลิ้นไม่สามารถทำงานได้เป็นปรกติเนื่องจากการหมดสติเป็นต้น. |
เลี้ยงไม่โต | ก. ได้รับบาดเจ็บถึงพิการ แม้จะไม่ตายแต่ก็รักษาให้หายเป็นปรกติไม่ได้. |
สงบ | (สะหฺงบ) ก. ระงับ เช่น สงบจิตสงบใจ สงบสติอารมณ์ สงบศึก, หยุดนิ่ง เช่น คลื่นลมสงบ พายุสงบ, กลับเป็นปรกติ เช่น เหตุการณ์สงบแล้ว, ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น จิตใจสงบ, ไม่กำเริบ เช่น อาการไข้สงบลง ภูเขาไฟสงบ, ไม่วุ่นวาย เช่น บ้านเมืองสงบปราศจากโจรผู้ร้าย. |
สถานการณ์ | น. เหตุการณ์ที่กำลังเป็นไป เช่น สถานการณ์บ้านเมืองเป็นปรกติดี. |
สมประกอบ | ว. มีอวัยวะสมบูรณ์เป็นปรกติ เช่น เขาเป็นคนมีร่างกายสมประกอบ. |
สม่ำเสมอ | (สะหฺมํ่าสะเหฺมอ) ว. เสมอเป็นปรกติ เช่น มาประชุมสม่ำเสมอ, เสมอตามกำหนด เช่น ส่งดอกเบี้ยสม่ำเสมอ |
เสียงแปร่ง | น. เสียงพูดที่ผิดเพี้ยนไปจากเสียงที่พูดกันเป็นปรกติในถิ่นนั้น ๆ. |
หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย | ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย. |
หน้าไม่รับแขก | น. หน้าตาที่เฉยเมยคล้ายกับว่าไม่ต้องการต้อนรับใคร อาจเป็นปรกติหรือเป็นบางโอกาสก็ได้. |
หมั่น | ก. ขยัน, ทำหรือประพฤติบ่อย ๆ อย่างเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, เช่น หมั่นทำการบ้าน หมั่นมาหา. |
อยู่อัตรา | ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ให้เพิ่มพูนปรนนิบัติอยู่อัตรา (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓), (ปาก) เป็นอัตรา. |
อาจิณ, อาจิณ- | (-จิน, -จินนะ-) ว. เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอ ๆ, เนือง ๆ. |