กินสำรับ | ก. กินอาหารที่เขาจัดมาเป็นสำรับ, (สำ) กินอาหารอย่างดี. |
ทอดสำรับ, ทอดสำรับกับข้าว | ก. จัดหาข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดู, ทอดข้าว ก็เรียก. |
สำรับ | น. ของหรือคนที่รวมกันเข้าได้ไม่ผิดหมู่ผิดพวกเป็นชุดเป็นวงเป็นต้น เช่น ไพ่ ๒ สำรับ พระพิธีธรรม ๑ สำรับ มี ๔ รูป นักสวดคฤหัสถ์ ๑ สำรับ มี ๔ คน, ภาชนะเช่นถาดเป็นต้นใส่ถ้วยชามพร้อมบรรจุอาหารคาวหรือหวานเป็นชุด เช่น สำรับคาว สำรับหวาน. |
กรรชิง | (กัน-) น. เครื่องประกอบยศของเจ้านาย ขุนนาง และราชพาหนะ มีรูปร่างคล้ายสัปทนขนาดเล็ก บุด้วยผ้าต่างสีต่างชนิดกันตามชั้นยศ ระบายรอบอย่างน้อย ๒ ชั้น ยาวปรกลงมามากกว่าสัปทน สำรับหนึ่งมี ๔ คัน ใช้ตั้งแต่งประจำมุมทั้ง ๔ ของผู้ครองยศ หรือถือเข้ากระบวนแห่ เช่น แห่พระยาแรกนา แห่ช้างสำคัญ, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก. |
กรรภิรมย์ | (กัน-) น. ฉัตร ๕ ชั้นและ ๗ ชั้น สำรับหนึ่งมี ๓ องค์ คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นเขียนทอง เป็นเครื่องสูงอันเป็นสิริมงคลยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่ และใช้เข้าพิธีคชกรรมนำช้างสำคัญขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี. |
กระบม | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุด รูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก, อีสานและพายัพว่า กะบมหรือกะโบม. |
กระโบม ๒ | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุด รูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก, อีสานและพายัพว่า กะบมหรือกะโบม. |
กระย่อง | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสำรับ, ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอกดอกไม้บูชาตามวัด, อีสานว่า กะย่อง. |
กะบม | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กะโบม ก็เรียก. <i> (ดู กระบม)</i>. |
กะโบม | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กะบม ก็เรียก. <i> (ดู กระโบม)</i>. |
กะย่อง | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสำรับ, ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอกดอกไม้บูชาตามวัด. |
กาษา, กาสา ๑ | น. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น คลังถวายผ้ากาษา (กฎ. ราชบุรี ๒/๑๐๗), และพระไตรภูวนาทิตยวงศ์ก็ให้ผ้าลายและเสื้อกาสาคนละสำรับ (พงศ. กรุงเก่า), ฝันว่าห่มผ้าขาวกาสา (ตำราทำนายฝัน). |
ของเลื่อน | น. สำรับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทำบุญนำไปให้ผู้ที่นับถือด้วยไมตรีจิต. |
ของเลื่อนเตือนขันหมาก | น. สำรับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่งฝ่ายเจ้าสาวนำไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้านเจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว. |
ขอน | ลักษณนามของสังข์ เช่น สังข์ขอนหนึ่ง สังข์ ๒ ขอน, ลักษณนามของไพ่ตองว่า สำรับหนึ่งหรือชุดหนึ่งมี ๒ ขอน. |
ข้าวพระ | น. อาหารคาวหวานที่จัดใส่สำรับสำหรับถวายพระพุทธ. |
คับค้อน | ใช้เข้าคู่กับคำ สำรับ เป็น สำรับคับค้อน. |
เครื่อง | (เคฺรื่อง) น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสำหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสำหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสำรับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสำรับกับแป้งเครื่องสำอาง, ของใช้ของกินสำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย. |
งาย | น. เวลาเช้า เช่น พ่อแผนจะไปแต่ในงาย สายแล้วสำรับไม่ยกมา (ขุนช้างขุนแผน). |
จับฉ่าย | ของต่าง ๆ ที่ปะปนกันไม่เป็นสำรับ ไม่เป็นชุด. |
ฉีก | ก. ขาดแยกออกจากกันหรือทำให้ขาดหรือแยกออกจากกัน เช่น ผ้าฉีก ฉีกผ้า ฉีกทุเรียน, โดยปริยายหมายความว่า แยกสิ่งที่เป็นคู่หรือเป็นสำรับออกจากกัน เช่น ฉีกตองไพ่. |
ชุด ๓ | น. ของที่จัดให้เข้ากันเป็นสำรับ เช่น ชุดนํ้าชา, สิ่งที่จัดไว้ให้ใช้ด้วยกัน เช่น ชุดรับแขก, คนที่เป็นพวกเดียวกันได้ |
ซอยไพ่ | ก. นำไพ่ทั้งสำรับมาสลับถี่ ๆ เพื่อให้ไพ่สับที่กัน. |
ตั้ง | วาง เช่น ตั้งสำรับ |
ถวายข้าวพระ | ก. ทำพิธีอย่างหนึ่ง เมื่อนำสำรับคาวหวานไปถวายพระพุทธรูปโดยยกมือประนม กล่าวคำว่า อุกาส สูปพฺยฺชนสมฺปนฺนํ สาลีนํ โภชนํ สอุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ. |
ถอน | ยกกลับคืนไป เช่น ถอนสำรับอาหาร ถอนชาม ถอนเครื่องสังเวย |
ทอดข้าว | ก. จัดหาข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดู, ทอดสำรับ หรือ ทอดสำรับกับข้าว ก็เรียก. |
เทียบ ๑ | จัด, แต่ง, เช่น เทียบสำรับ |
เบญจพรรณ | หลายอย่างคละกัน ไม่เป็นสำรับ ไม่เป็นชุด เช่น ของเบญจพรรณ, เรียกต้นไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ในที่แห่งเดียวกัน ว่า ไม้เบญจพรรณ, เรียกป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน ว่า ป่าเบญจพรรณ. |
ฝาชี | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปคล้ายกรวย สำหรับครอบสำรับคาวหวานเป็นต้น. |
ลักลั่น | ว. ขาดความเป็นระเบียบทำให้เกิดเหลื่อมลํ้าไม่เป็นไปตามกฎตามแบบตามลำดับเป็นต้น เช่น ทำงานลักลั่น เครื่องใช้ต่างชุดต่างสำรับใช้ปนกันดูลักลั่น. |
ลาข้าวพระ | ก. ทำพิธีอย่างหนึ่งเมื่อถอนสำรับพระพุทธ โดยยกมือประนมกล่าวคำว่า เสสํ มงฺคลํ ยาจามิ แล้วยกสำรับออกมา. |
เลื่อน | นำไปวาง (ใช้แก่อาหาร) เช่น เลื่อนแกง เลื่อนของหวาน เลื่อนสำรับ. |
สับไพ่ | ก. สลับไพ่ทั้งสำรับเพื่อให้กระจายทั่วกัน. |