ขอที, ขอเสียที | ก. ห้ามเชิงขอร้อง, ขอให้ละเว้นการกระทำ. |
เสียแต่, เสียที่ | สัน. เสียตรงที่, บกพร่องตรงที่, มีตำหนิตรงที่, เช่น หน้าตาก็สวยดี เสียแต่พูดไม่เพราะ. |
เสียที ๑ | ก. พลาดท่วงที เช่น คนซื่อเกินไปมักเสียทีคนปลิ้นปล้อน. |
เสียที ๑ | ว. เสียแรง, เสียโอกาส, เสียเที่ยว, เช่น เสียทีที่มาหาแล้วก็ไม่พบ. |
เสียที ๒ | คำประกอบท้ายกริยา แสดงความตั้งใจมั่นหมาย เช่น วันนี้มีเวลาว่าง จะได้จัดโต๊ะหนังสือเสียที, คำประกอบท้ายกริยา แสดงความโล่งใจ เช่น เขามานั่งคุยอยู่นานกลับไปเสียที เราจะได้ทำอย่างอื่นบ้าง. |
กระดิกหู | เข้าใจดี, รู้เรื่องดี, ใช้กับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ภาษาอังกฤษฉันกระดิกหูเสียที่ไหนถึงจะให้ไปทำงานบ้านฝรั่ง. |
กรีดกราย | (-กฺราย) ว. อาการที่เดินทอดแขนและจีบนิ้ว, มีท่าทางหยิบหย่ง, เช่น มัวแต่เดินกรีดกรายอยู่นั่นแหละ เมื่อไหร่จะทำงานเสร็จเสียที. |
ครำ | (คฺรำ) น. เรียกน้ำเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อระบายน้ำเสีย ว่า นํ้าครำ, ไขเสนียด ก็เรียก. |
ตกหมก | ก. อาการที่เลือดระดูเสียที่หมักหมมอยู่ข้างในไหลออกมา. |
ตำหนิ | น. รอยแผลเป็นหรือไฝปานเป็นต้นที่เป็นเครื่องหมายให้สังเกตเห็นได้, รอยเสียที่ผลไม้หรือสิ่งของ. |
ที ๒ | น. ท่าทาง, ชั้นเชิง, โอกาส, เช่น ท่าดีแต่ทีเหลว ได้ที เสียที. |
น้ำครำ | น. นํ้าเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อระบายน้ำเสีย, ไขเสนียด ก็เรียก. |
พลาดท่า | ก. เสียที, เสียรู้. |
เพลี่ยงพล้ำ | (-พฺล้ำ) ก. พลั้งพลาด, ผิดพลาด, เสียที. |
แพ้รู้ | ก. แพ้ความคิด, เสียที, เสียรู้. |
มืดค่ำ | น. เวลาพลบคํ่าขมุกขมัว เช่น มืดค่ำแล้วเข้าบ้านเสียที. |
ยักย้าย | ก. เปลี่ยนที่เสีย หรือนำไปไว้เสียที่อื่น, ยักย้ายถ่ายเท ก็ว่า, ใช้เพียง ยัก คำเดียว ก็มี. |
ย่ำเท้าอยู่กับที่, ย่ำอยู่กับท่ี่ | ก. ไม่ก้าวหน้า, ไม่รุดหน้า, เช่น ทำงานมาหลายปีแล้ว ยังย่ำเท้าอยู่กับที่ ไม่ได้เลื่อนตำแหน่งเสียที. |
รำรำ, ร่ำร่ำ | ก. คิดหรือตั้งใจซ้ำ ๆ อยู่ เช่น รำรำว่าจะไปเยี่ยมเพื่อนที่ต่างจังหวัดก็ไม่ได้ไปเสียที ร่ำร่ำจะไปเที่ยวภูกระดึงก็ไม่ได้ไปเสียที. |
รี ๆ รอ ๆ | ว. แสดงอาการลังเลใจ, ไม่แน่ใจที่จะทำลงไป, เช่น มัวรี ๆ รอ ๆ อยู่นั่นแหละ เมื่อไรจะตัดสินใจเสียที. |
รู้แล้วรู้รอด | ก. เสร็จสิ้นกันที เช่น เรื่องนี้จะว่าอย่างไรก็ว่ากัน จะได้รู้แล้วรู้รอดไปเสียที. |
เรียก | ก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม |
ลงเอย | ก. จบ, เลิก, สิ้นสุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ลงเอยเสียที. |
ลูบคลำ | ก. จับต้องด้วยความชอบใจหรือสนใจเป็นต้น เช่น ลูบคลำอยู่นานไม่ซื้อเสียที. |
สะใจ | ว. หนำใจ, สาแก่ใจ, สมใจอยาก, เช่น อยากกินหูฉลามมานานแล้ว วันนี้ต้องกินให้สะใจเสียที เขาโมโหน้องมาก เลยตีเสียสะใจ. |
สังคายนา, สังคายนาย | (-คายะ-, -คายยะ-) ก. สะสาง เช่น เรื่องนี้ต้องสังคายนากันเสียที. |
สาธยาย | (สาทะยาย, สาดทะยาย) น. การท่อง, การสวด, การทบทวน, เช่น สาธยายมนต์, (ปาก) การชี้แจงแสดงเรื่อง เช่น สาธยายอยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักจบเสียที. |
เสร็จ | เสียที, เสียรู้, เช่น ถ้าเราไว้ใจคนขี้โกง เราก็เสร็จเขาแน่ |
หมองูตายเพราะงู | น. ผู้ที่ชำนาญในการเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นอาชีพก็อาจถูกงูเห่ากัดตายเพราะความประมาทได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความรู้อาจตายหรือพลาดท่าเสียทีเพราะความรู้ของตนก็ได้. |
หมักหมม | ว. ที่ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วก็ทิ้งหมักหมมไว้ ไม่รู้จักเก็บไปซักเสียที. |
หย็องแหย็ง, หย็องแหย็ง ๆ | ว. ทำท่าเล่น ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เช่น นักมวยคู่นี้มัวแต่เต้นหย็องแหย็ง ๆ ไม่ชกกันเสียที |
หลับหูหลับตา | อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน |
หายหกตกหล่น | ก. หายไปบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น เอาสตางค์ใส่กระเป๋ามาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าหายหกตกหล่นเสียที่ไหน. |
เอ้อเร้อเอ้อเต่อ | ว. ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, ยืดยาด เช่น มัวแต่เอ้อเร้อเอ้อเต่ออยู่นั่นแหละ จะทำอะไรก็ไม่ทำเสียที |