ทำไม้ | ก. ตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่า หรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย. |
ทำไม้ทำมือ | ก. แสดงกิริยาโดยใช้มือเพื่อเป็นเครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง. |
กำลังภายใน | น. กำลังที่เร้นอยู่ภายใน, กำลังที่เกิดจากการฝึกจิต โดยเฉพาะในลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนาบางนิกาย เพื่อให้จิตใจกล้าแข็งจนสามารถทำสิ่งที่คนทั่วไปทำไม่ได้. |
เก่งแต่ปาก | ว. ดีแต่พูด ทำไม่ได้, ไม่เก่งจริง. |
เก้อ | ขัดเขินหรือค้างอยู่เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รำเก้อ เรือนหลังนี้ทำไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน. |
ขัดใจ | ก. โกรธเพราะทำไม่ถูกใจ, ไม่ยอมให้ทำตามใจ. |
เข้ารกเข้าพง | ก. พูดหรือทำไม่ถูกต้องกับเรื่อง เพราะขาดความชำนาญในเรื่องนั้น. |
เข้าเรื่อง | มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น พูดไม่เข้าเรื่อง ทำไม่เข้าเรื่อง. |
คนทา | (คน-) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Harrisonia perforata (Blanco) Merr. ในวงศ์ Simaroubaceae มักขึ้นเป็นหมู่ในป่าโปร่ง สูงได้ถึง ๘ เมตร มีหนามทั่วต้น ใบคล้ายมะขวิดแต่เขื่องกว่า ดอกสีขาว ผลกลมแป้นขนาดราวหัวแม่มือ ทุกส่วนมีรสขม ใช้ทำยาได้ กิ่งใช้ทำไม้สีฟัน, สีฟันคนทา หรือ กะลันทา ก็เรียก, พายัพเรียก จี้ หรือ หนามจี้. |
แค่น | ก. ฝืน เช่น แค่นกิน, คะยั้นคะยอ เช่น แค่นให้กิน, ทำไม่เป็นหรือไม่สันทัดแล้วยังอวดดีขืนทำ เช่น แค่นทำ, สะเออะ เช่น ไม่มีเงินยังแค่นแต่งตัวโก้. |
จับจด | ว. ลักษณะที่ทำไม่จริงจัง ชอบเปลี่ยนงานบ่อย ๆ. |
จุดไต้ตำตอ | ก. พูดหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัวหรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูดหรือผู้ทำไม่รู้ตัว. |
ชะวัง | น. ชื่อหวายชนิดหนึ่งผิวงาม โดยมากใช้ทำไม้ถือ. |
ชั้นแต่ | ว. เพียงแต่ เช่น ชั้นแต่จะหุงข้าวสักหม้อก็ทำไม่เป็น. |
ชาติ ๑, ชาติ- ๑ | (ชาด, ชาติ-, ชาดติ-) น. การเกิด, กำเนิด, มักใช้ว่า ชาติเกิด หรือ ชาติกำเนิด เช่น ถ้าทำไม่ดีก็เสียชาติเกิด, ความมีชีวิตอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น สบายทั้งชาติ |
ต่อว่า | ก. ตำหนิว่าทำไม่ถูกต้อง, ตำหนิว่าไม่เป็นไปตามที่พูดหรือที่ให้สัญญาไว้. |
ติเรือทั้งโกลน | ก. ตำหนิสิ่งที่ยังทำไม่เสร็จหรือที่ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร, ติพล่อย ๆ ไปเสียก่อนที่จะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร, มักใช้เข้าคู่กับ ติโขนยังไม่ได้แต่งตัว เป็น ติเรือทั้งโกลน ติโขนยังไม่ได้แต่งตัว. |
ไถ่บาป | ชดใช้สิ่งที่เคยทำไม่ดีไว้. |
น้ำหน้า | น. หน้า (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น เป็นต้น) เช่น นํ้าหน้าอย่างนี้ทำไม่สำเร็จดอก เกลียดนํ้าหน้า ชังนํ้าหน้า |
เบามือ, เบาไม้เบามือ | ก. ทำเบา ๆ หรือค่อย ๆ ด้วยความระมัดระวัง, ทำไม่ให้หนักมือหรือรุนแรง เช่น เบามือหน่อย อย่าตีแรงนัก |
แบกหน้า | ก. จำใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคยทำไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมมาก่อน, ทนอายทำสิ่งที่จำเป็นต้องทำ, เช่น แบกหน้าไปกู้เงินเขา. |
ประเด | ก. มอบให้หมด เช่น ประเดงานเข้ามาจนทำไม่ไหว, ทุ่มเทให้ เช่น ประเดให้จนเกินต้องการ. |
ประมาทหน้า | ก. ดูถูกว่าทำไม่ได้หรือไม่มีทางที่จะทำได้, หยามนํ้าหน้า, สบประมาท. |
ปาฏิหาริย์ | (-ติหาน) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. |
เป็นโล้เป็นพาย | ว. เอาการเอางาน, แข็งขัน, จริงจัง, ได้เรื่องได้ราว, เข้าท่าเข้าทางดี, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ทำไม่เป็นโล้เป็นพายเลย. |
พากเพียร | ก. บากบั่น, พยายาม, มุ่งทำไม่ท้อถอย. |
ไม้มือ | น. คำเข้าคู่กัน หมายความว่า มือที่เคลื่อนไหว เช่น ไม้มืออยู่ไม่สุข ทำไม้ทำมือ, ใช้ว่า มือไม้ ก็มี. |
ไม้หวงห้าม | น. ไม้ซึ่งการทำไม้และการเคลื่อนย้ายจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับสัมปทานตามกฎหมายป่าไม้. |
รำชั่วโทษพากย์ | ก. ทำไม่ดีหรือทำผิด แล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ก็ว่า. |
รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง | ก. ทำไม่ดีหรือทำผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รำชั่วโทษพากย์ ก็ว่า. |
ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก | ก. ดีแต่พูด แต่ทำไม่ได้. |
เล่นตลก | กระทำไม่ตรงไปตรงมา, เล่นไม่ซื่อ ก็ว่า. |
เล่นไม่ซื่อ | ก. กระทำไม่ตรงไปตรงมา, เล่นตลก ก็ว่า. |
เลี้ยงลูกเจ้าเฝ้าคลัง | ก. ทำสิ่งที่มีแต่เสมอตัวกับขาดทุน, ทำดีก็เสมอตัว ทำไม่ดีก็ต้องได้รับโทษ. |
สัมปทาน | (สำปะทาน) น. การอนุญาตที่รัฐให้แก่เอกชนเพื่อจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดทำประโยชน์หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ภายในระยะเวลาและตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนด เช่น สัมปทานการเดินรถประจำทาง สัมปทานทำไม้ในป่าสัมปทาน. |
สัมพหุลา | ว. รวมปะปนกันหลาย ๆ อย่าง เช่น งานสัมพหุลาเต็มไปหมด ทำไม่ไหวหรอก, สรรพหุลา ก็ว่า. |
สำมะหาอะไร | ว. นับประสาอะไร, จะพูดไปทำไมมี, จะกล่าวไปทำไม, เช่น งานเล็ก ๆ เช่นนี้ยังทำไม่สำเร็จ สำมะหาอะไรจะไปทำงานใหญ่, สำหาอะไร ก็ว่า. |
เสแสร้ง | (-แส้ง) ก. แกล้งทำให้เข้าใจเป็นอื่น, แกล้งทำไม่ตรงกับใจ, เช่น เขาเสแสร้งทำดีด้วยทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบคนคนนั้น. |
เสียชาติเกิด | ก. เกิดมาแล้วควรจะทำให้ได้ แต่กลับไม่ได้ทำหรือทำไม่สำเร็จ หรือทำความดีไม่ได้ ก็ไม่น่าจะเกิดมาเป็นคน เช่น เกิดเป็นไทย ใจเป็นทาส เสียชาติเกิด เกิดมาเป็นคนทั้งที ต้องทำความดีให้ได้ จะได้ไม่เสียชาติเกิด. |
เสียฤกษ์ | ก. ทำไม่ได้ในระหว่างเวลามงคลที่กำหนดไว้ (ใช้ในทางโหราศาสตร์) เช่น เจ้าสาวเป็นลมหมดสติในระหว่างพิธีรดน้ำสังข์ เลยทำให้เสียฤกษ์ |
แหวกแนว | ก. ทำไม่ซํ้าแบบใคร เช่น เขาชอบแหวกแนว. |