ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: การรุก, -การรุก- |
|
| กองหน้า | น. หน่วยหน้า, ตำแหน่งในกีฬาฟุตบอลที่ผู้เล่นมีหน้าที่จู่โจมในการรุกเข้ายิงประตูฝ่ายตรงข้าม. | ปราการ | (ปฺรา-) น. กำแพงสำหรับป้องกันการรุกราน. | เรือพิฆาต ๒ | น. เรือรบที่มีความเร็วสูง ระวางขับน้ำประมาณ ๓, ๘๐๐-๕, ๕๐๐ ตัน มีหน้าที่หลักในการป้องกันภัยจากเรือดำน้ำและอากาศยาน และอาจทำหน้าที่อื่น ๆ เช่น เฝ้าตรวจการรุกล้ำทางผิวน้ำและอากาศ ตรวจการรุกล้ำของเรือดำน้ำ มีอาวุธสมัยใหม่ทั้งปืนใหญ่ อาวุธนำวิถี และอาวุธปราบเรือดำน้ำ. | เรือลาดตระเวน | น. เรือรบขนาดใหญ่ ระวางขับน้ำประมาณ ๖, ๐๐๐-๒๐, ๐๐๐ ตัน มีความเร็วและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากกว่าเรือประจัญบานมีหน้าที่ลาดตระเวน ตรวจการรุกล้ำทางฝั่งน้ำและทางอากาศยาน คุ้มกัน สนับสนุนกองเรือลำเลียงเป็นต้น. |
| | Aggression (International law) | การรุกราน (กฎหมายระหว่างประเทศ) [TU Subject Heading] | Biological invasions | การรุกรานทางชีวภาพ [TU Subject Heading] | Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] | Organization of American States | คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกราน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดย สันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา [การทูต] | Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] | Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] | Invasion | แทรกซึม, การแทรกลง, การรุกราน, ลุกลาม [การแพทย์] |
| Survivor of countless incursions behind enemy lines. | รอดชีวิตจากการรุกรานที่นับไม่ถ้วนของศัตรู First Blood (1982) | You gotta call offense on that shit. | นายน่าจะเรียกมันว่าการรุกนะ เมื่อกี๊ American History X (1998) | By the blood of our people are your lands kept safe. | ...สกัดการรุกรานของพวกมอร์ดอร์ พี่น้องเราหลั่งเลือด... ...เพื่อปกป้องดินเเดนของพวกท่าน The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring (2001) | Some kind of dormant defense mechanism. | มีบางอย่างนิดหน่อย กลไกป้องกันการรุกราน Resident Evil (2002) | Uh... in this book of yours... did they happen to detail what would happen if they were hostile? | ในหนังสือของลูกน่ะ พวกมันทำอะไรที่คล้ายกับ... การรุกรานบ้างมั้ย มีรายละเอียดอะไร Signs (2002) | Those of you that do know we are nearing the end of our struggle. | ต่างก็คงรู้ดีว่าอีกไม่นานการรุกรานก็จะสิ้นสุดลง The Matrix Reloaded (2003) | This is the single greatest threat we have ever faced and if we do not act accordingly, we will not survive. | นี่คือการรุกรานที่ใหญ่มากเท่าที่เคยเจอมา และถ้าเราทำไม่ได้ เราก็ไม่รอด The Matrix Reloaded (2003) | Even in the case of air there's been some progress and that is the trading of pollution permits. | แม้แต่ในกรณีของอากาศก็มีการรุกคืบ (ไมเคิล วอล์คเกอร์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันเฟรเซอร์) นั่นคือการค้าขายใบอนุญาตก่อมลพิษ The Corporation (2003) | And the dissemination of the idea of themselves is an enormously invasive project so how do you make a brand idea? | และการเผยแพร่แนวความคิดของตัวเอง เป็นโครงการรุกเข้ายึดครองที่ใหญ่มาก ทีนี้คุณจะสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าขึ้นมาอย่างไร? The Corporation (2003) | We're going to push right through our front lines into the Japs' backyard and rescue 500 American prisoners of war. | เราจะทำการรุกขยายแนวหน้าของเรา เข้าไปยังพื่นที่ของพวกยุ่น.. และทำการช่วยเหลือเชลยศึก.. ชาวอเมริกัน 500 คน The Great Raid (2005) | A textbook-style raid that can only succeed through speed, surprise and overwhelming firepower. | มันเป็นการรุกที่ต้องอาศัย.. ความว่องไว การจู่โจมแบบไม่ทันตั้งตัว และการกระหน่ำยิงอย่างไม่ยั้ง.. The Great Raid (2005) | The four of them rode out against impossible odds to defend this island with their lives. | พวกเขาทั้งสี่ออกเรือไปเผชิญกับ การรุกรานที่ชั่วร้าย ที่จะป้องกันเกาะนี้ด้วยชีวิต The Fog (2005) | In order to stop their advance in our sector, you will rendezvous over Doulcon with two Handley Page bombers at 0600 tomorrow and escort them to Jametz where they are to destroy the main German ammunition and supply depot. | เพื่อยับยั้งการรุกคืบในส่วนของเรา เรามีนัดกับเครื่องบินทิ้งระเบิด เฮดลีย์-เพจสองลำที่ดูลกง เวลา 6.00 น. Flyboys (2006) | Just fending off the advances of that totally hot guy. | แค่ป้องกันตัวจากการรุกคืบของหนุ่มฮอทน่ะ The Sweet Taste of Liberty (2005) | I will try to make strong swords and protect BuYeo from any threats. | ข้าจะพยายามผลิตดายที่แข็งแกร่ง และปกป้องพูยอจากการรุกรานทั้งปวง Episode #1.41 (2006) | And he might also be beat up from just defending himself in any kind of turf wars. | และเขาอาจมีร่องรอยจากการต่อสู้ จากการป้องกันการรุกล้ำถิ่นจากคนเร่ร่อนคนอื่นๆ Catching Out (2008) | a method which rejects revenge, aggression, and retaliation." | วิธีการที่ปฏิเสธการแก้แค้น การรุกราน และการตอบโต้ Masterpiece (2008) | These clones, manning of a whole network of tracking stations, are all that stands between the Republic and invasion. | โคลนเหล่านี้ ต้องดูแลเครือข่ายทั้งหมดของสถานีตรวจการณ์ ซึ่งเป็นแนวป้องกันด่านแรก ของสาธารณรัฐ จากการรุกราน Rookies (2008) | Humanity has no more than 10 years to reverse the trend and avoid crossing into this territory... | มนุษยชาติเหลือเวลาไม่ถึง 10 ปี ที่จะกลับไปแก้ไข และหลีกเลี่ยงการรุกล้ำเขตแดนนี้... Home (2009) | Successful attempt for New Zealand. | การรุกของนิวซีแลนด์สำเร็จครับ Invictus (2009) | Favor that I bust your old lady for traficking. | ? ดี \ N. ฉันหยุดรถเข้าชมการรุกภรรยาของคุณ? Prison Break: The Final Break (2009) | Uh, no invasive examinations were approved by the Egyptians. | ไม่มีการรุกล้ำเข้าไปตรวจสอบภายใน ที่ไม่ได้รับการอนุญาต จากทางอียิปต์หรอก A Night at the Bones Museum (2009) | We have not authorized any invasive or investigative procedures on Anok. | เราไม่ได้อนุมัติให้มี การรุกล้ำเข้าไปหรือเข้า ไปตรวจภายในร่างเอน็อค A Night at the Bones Museum (2009) | "Invasion by sea monsters. " | "การรุกรานจากปีศาจทองทะเล" Planet 51 (2009) | "Invasion by 50 foot women! ? " | "การรุกรานจากผูหญิงสูงหาสิบฟุต" Planet 51 (2009) | "So you've been invaded by aliens. " | "คุณวาเปนการรุกรานของเอเลียน." Planet 51 (2009) | The trace of the human genius it makes shores and depths dirty. | ร่องรอยการรุกรานของมนุษย์ สร้างความแปดเปื้อน แก่ชายฝั่งและผืนน้ำ Oceans (2009) | So it's a contamination-type Angel... That's bad. | การรุกรานแบบนี้เป็นปัญหาแน่ Evangelion: 2.0 You Can (Not) Advance (2009) | We're going through the playbook. Michael got move to offense. | พวกเราศึกษาการเล่นจากหนังสือ และไมเคิลกำลังทำการรุกครับ The Blind Side (2009) | Every thrust and counter committed to memory. | ทุกท่าการรุกและรับ ข้าจะจดจำใส่สมอง Mark of the Brotherhood (2010) | Defense is a swift and decisive | คือการรุกที่รวดเร็ว Voyage of Temptation (2010) | Patient mid-game, inevitable checkmate, | อดทนตอนกลางเกม, การรุกฆาตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ The Uncanny Valley (2010) | After enduring more than a month of jungle warfare, the Marines faced the Japanese offensive to retake their lost airfield. | หลังจากต้องทนสู้รบในสมรภูมิป่าดงดิบ มานานนับเดือน.. เหล่านาวิกโยธินก็ได้พบกับการรุกจากญี่ปุ่น.. ที่ต้องการยึดเอาฐานทัพอากาศคืน Basilone (2010) | The invasion began December 26, 1943. | การรุกรานครั้งนี้.. เริ่มขึ้นในวันที่ 26 ธันวาคม 1943 Gloucester/Pavuvu/Banika (2010) | Headed for the first American offensive of World War II. | เพื่อทำการรุกโจมตีเป็นครั้งแรก.. ของสหรัฐอเมริกา ในประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 Guadalcanal/Leckie (2010) | Day two of the invasion on Peleliu. | วันที่สองที่เข้าทำการรุกราน.. เกาะปาเลลู Peleliu Airfield (2010) | As a stepping stone to the invasion | เพื่อวางหมากในการรุกคืบ.. Peleliu Landing (2010) | Have they committed any acts of aggression? | พวกเขาเคยทำผิดว่ามี ท่าทีของการรุกราน? To Keep Us Safe (2010) | The invasion of Alamut was a lie. | เรื่องการรุกรานของอโลเมทเป็นเรื่องโกหก Prince of Persia: The Sands of Time (2010) | This is a textbook military invasion. | นี้เป็นตัวอย่างคลาสสิก ที่เรียกว่า การรุกราน Battle Los Angeles (2011) | She survived the invasion, got the drop on three fighters. | เธออยู่รอดภายใต้การรุกราน แล้วก็ยิงสู้กับทหาร 3 คนได้ What Hides Beneath (2011) | Hitler's aggression only increased. | การรุกรานของฮิตเลอร์ก็เพิ่มขึ้น If at First You Don't Succeed, Lie, Lie Again (2011) | But right now, we're trying to stop the progression. | แต่ตอนนี้ เรากำลังพยายามที่จะหยุดการรุกลาม Don't Deceive Me (Please Don't Go) (2011) | Appeasement is never the answer in the face of naked aggression. | การปลอบใจไม่เคยเป็นคำตอบ ในการเผชิญกับการรุกรานทั่วไป Fall from Grace (2011) | Shao Kahn tended his attention toward conquering a new realm unaware that his own hand has bonded incertainty on his most trusted guardian. | ภัยคุกคามเรื่องการกลับมาของ กษัตริย์จารอด ถูกขจัดไปแล้ว เชาคานน์ ให้ความสนใจของเขาไป ที่การรุกรานขยายอาณาจักรใหม่ Kitana & Mileena: Part 2 (2011) | - The only way to what... violate civil liberties, invade privacy? | /Nทางเดียวอะไร... ละเมิดเสรีภาพ, การรุกรานความเป็นส่วนตัว? You Bury Other Things Too (2011) | This will not stand, this aggression against, uh, Kuwait. | ปธน.จอร์จ เอช ดับเบิ้ลยู บุช: จะไม่ทนต่อการรุกรานที่มีต่อคูเวต The Smile (2012) | The point is blatant aggression against a sovereign nation cannot go unanswered. | ประเด็นก็คือการรุกราน ชาติอื่นอย่างโจ่งแจ้ง ต้องได้รับการตอบแทนอย่างสาสม The Smile (2012) | Sook, if there's one thing I learned from my time as QB-1, it's that the best defense is a good offense. | ซุก มีเรื่องหนึ่งที่พี่เรียนรู้ จากการเป็น QB-1(อเมริกันฟุตบอล) การป้องกันที่ดี ก็คือการรุกที่ดี Sunset (2012) | Yeah, and bear attacks are usually territorial. | ใช่ หมีจะจู่โจมเมื่อมีการรุกล้ำพื้นที่ The New World (2012) |
| การรุกราน | [kān rukrān] (n) EN: aggression ; invasion ; attack FR: agression [ f ] ; invasion [ f ] |
| aggression | (n) การบุกรุก, See also: การรุกราน | counteroffensive | (n) การรุกตอบโต้, See also: การโจมตีตอบโต้ | encroachment | (n) การบุกรุก, See also: การละลาบละล้วง, การละเมิดสิทธิ, การรุกล้ำ, Syn. intrusion, trespass, violation | gumption | (n) การริเริ่ม (คำไม่เป็นทางการ), See also: การรุก, Syn. enterprise, initiation | invasion | (n) การบุกรุก, See also: การรุกล้ำ, การล่วงล้ำ, Syn. intrusion, encroachment | invasion | (n) การรุกราน, See also: การโจมตี, Syn. attack, assult, inroad, Ant. defense, protection | invasive | (adj) ที่เป็นการรุกราน, Syn. offensive | irruption | (n) การบุกรุกเข้าไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง, See also: การรุกล้ำ, Syn. invasion, incursion | mate | (n) (หมากรุก) การรุกจนแต้ม, See also: การรุกฆาต, Syn. checkmate | mate | (int) คำอุทานเมื่อมีการรุกจนแต้ม (หมากรุก) | molestation | (n) การรบกวน, See also: การรุกราน, Syn. abuse | move | (n) การดำเนินการ, See also: การรุกคืบ, การทำให้เจริญก้าวหน้า, Syn. action | offence | (n) การรุก, Syn. attack, aggression, Ant. defense | onset | (n) การโจมตี, See also: การรุกไล่, Syn. attack, assault |
| aggression | (อะเกรส' เชิน) n. การรุกราน, การบุกรุก, การล่วงละเมิด, Syn. attack | counteroffensive | (เคา'เทอะออฟเฟน'ซิฟว) n. การรุกกลับ, การโจมตีข้าศึกที่กำลังรุกเข้ามา, สงครามตอบโต้ | defence | (ดิเฟนซฺ') n. การป้องกัน, การต้านการรุกราน, การพิทักษ์, การแก้ตัวให้, การเป็นทนายให้, การแก้ต่าง, See also: defenceable adj. ดูdefence, Syn. protection | defensible | (ดิเฟน'ซิเบิล) adj. ซึ่งต่อต้านการรุกรานได้, ซึ่งป้องกันได้, ซึ่งสามารถแก้ต่างหรือแก้คดีได้., See also: defensibility n. ดูdefensible | drive | (ไดรฟว) { drove, driving, drives } vt. ขับ, ขับไล่, ไล่, ผลัก, ไส, ผลักดัน, ขับขี่, ต้อน (สัตว์เลี้ยง) , ลอย (ซุง) vi. แล่น, พุ่ง, ขับรถ, ตี (ลูกกอล์ฟ, ตะปู) , มุ่งหมาย n. การขับ, การขับขี่, ทางรถ, สัตว์ที่ไล่ตาม, สัตว์ (ที่ต้อน) , การรุกทางทหาร, พลังงาน, แรงกระตุ้น, กลไกในการขับ, หน่วยขับหน่วยบันทึกไดร์ฟ <คำอ่าน>อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่อ่านและบันทึกข้อมูล เช่น หน่วยขับแถบบันทึก (tape drive) หน่วยขับจานบันทึก (disk drive) | gumption | (กัมพ'เชิน) n. การริเริ่ม, ความกล้าหาญ, การรุก | incursion | (อินเคอ' เชิน) n. การบุกรุก, การโจมตี, การรุกล้ำ, Syn. inroad, raid, attack | inroad | (อิน'โรด) n. การรุกล้ำ, การบุกรุก, การจู่โจม, Syn. incursion | invasion | (อินเ'เชิน) n. การรุกราน, การล้ำรุก, การบุกรุก, การถลันเข้าไป, การแพร่ (ของโรค) | jujitsu | (จูจิท'ซู, จูจูท'ซู) n. ศิลปะป้องกันตัวแบบหนึ่งโดยใช้น้ำหนักและกำลังของคู่ต่อสู้ทำลายการรุกของคู่ต่อสู้เอง. -S.jiujitsu | jujutsu | (จูจิท'ซู, จูจูท'ซู) n. ศิลปะป้องกันตัวแบบหนึ่งโดยใช้น้ำหนักและกำลังของคู่ต่อสู้ทำลายการรุกของคู่ต่อสู้เอง. -S.jiujitsu | offence | (อะเฟนซฺ') n. การกระทำผิด, การกระทำผิดกฎหมาย, การรุก, การโจมตี, การทำให้ขุ่นเคือง, การก้าวร้าว, สิ่งที่ทำให้ขุ่นเคือง, สิ่งที่ละเมิด, ความรู้สึกขุ่นเคือง, ฝ่ายรุก, ฝ่ายโจมตี | offense | (อะเฟนซฺ') n. การกระทำผิด, การกระทำผิดกฎหมาย, การรุก, การโจมตี, การทำให้ขุ่นเคือง, การก้าวร้าว, สิ่งที่ทำให้ขุ่นเคือง, สิ่งที่ละเมิด, ความรู้สึกขุ่นเคือง, ฝ่ายรุก, ฝ่ายโจมตี | parting shot | n. การรุกล้ำก่อนจากไป | thrust | (ธรัสทฺ) vt., vi. ผลัก, ดัน, ยัน, ยัด, แทง, เสียบ, สอด, เสือก, ซุก, โถม, พุ่งเข้าใส่, ตี, ทิ่ม, ผลักอย่างแรง, เหน็บแนม, กล่าวหา n. การกระทำดังกล่าว, การโจมตี, การรุก, แรงผลักดัน, กำลังดัน, การร้าวแตกของผิวพื้นดิน, แรงอัดขาดของชั้นพื้นดิน., See also: thruster n. |
| aggression | (n) การรุกราน, การบุกรุก, การก้าวร้าว, การล่วงละเมิด | checkmate | (n) การรุกจนแต้ม | encroachment | (n) การล่วงเกิน, การรุกล้ำ, การเบียดเบียน, การล่วงล้ำ, การบุกรุก | entrenchment | (n) การตั้งมั่น, การรุก, การขุดสนามเพลาะ | inroad | (n) การโจมตี, การบุกรุก, การรุกราน | molestation | (n) การแกล้ง, การรบกวน, การทำร้าย, การข่มเหง, การรุกราน | offence | (n) การรุกราน, การละเมิด, การกระทำผิด | offensive | (n) การรุกราน, การบุกรุก, การล่วงละเมิด | penetration | (n) การแทง, การรุก, การบุก, การเจาะ, การซึมผ่าน | siege | (n) การโอบล้อม, การรุกเร้า, การล้อมรอบ |
| 防御 | [ぼうぎょ, bougyo] (n, adj) การป้องกันถัย (จากการรุกราน) |
|
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |