กำขี้ดีกว่ากำตด | ก. ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย. |
ที่ว่าการ | น. สถานที่ปฏิบัติราชการระดับอำเภอ เรียกว่า ที่ว่าการอำเภอ. |
ว่ากลอนสด | ก. กล่าวกลอนที่ผูกขึ้นอย่างปัจจุบันโดยมิได้คิดมาก่อน, พูดกลอนสด ก็ว่า, กล่าวข้อความที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน, พูดสด ก็ว่า. |
ว่ากล่าว | ก. ตำหนิ, ตักเตือน, เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ จึงถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปว่ากล่าว, สั่งสอน เช่น ผู้ใหญ่ว่ากล่าวไม่เชื่อฟัง. |
ว่าการ | ก. ดูแลตรวจตราสั่งการงาน. |
ว้าก | ว. เสียงร้องดัง ๆ อย่างเสียงเด็กร้องไห้, หวาก ก็ว่า. |
กฎกระทรวง | น. ข้อกำหนดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้ออกกฎกระทรวง, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี ถ้าเป็นข้อกำหนดที่นายกรัฐมนตรีออก เรียกว่า กฎสำนักนายกรัฐมนตรี. |
กฎทบวง | น. ข้อกำหนดที่รัฐมนตรีว่าการทบวงออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้ออกกฎทบวง. |
กรรมขัย | (กำมะไข) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล (ไตรภูมิ). |
กระชัง ๒ | น. เครื่องสำหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบเพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกรํ่า เมื่อจับปลาหรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สำหรับจับปลาขนาดใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยนํ้าไว้. |
กระดูกร้องได้ | น. ผลสะท้อนของฆาตกรรมที่ทำให้จับตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ คล้ายกับว่ากระดูกของผู้ตายร้องบอก. |
กระทรวง ๒ | (-ซวง) น. ส่วนราชการสูงสุดของราชการบริหารส่วนกลางมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า |
กระไทชาย | น. กระทาชาย, คนผู้ชาย, เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง (ม. คำหลวง กุมาร; มหาราช). |
กระบอก ๓ | น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศ กูเอย (นิ. นรินทร์), กว่ากลิ่นกระบอกบง- กชเกศเอาใจ (เสือโค), ใช้ว่า ตระบอก ก็มี. |
กระไร | ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กราดเกรี้ยว | ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นอย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, เกรี้ยวกราด ก็ใช้. |
กรีด ๓ | ระไป, ครูดไป, เช่น เอาหลังเล็บกรีดลูกทุเรียนเพื่อให้รู้ว่ากินได้หรือยัง |
กฤษฎาญชลี | (กฺริดสะดานชะลี) ก. มีอัญชลีอันกระทำแล้ว, กระทำอัญชลี, เช่น กฤษฎาญชลียะยุ่งแล (ม. คำหลวง ทศพร), ในวรรณคดีแผลงไปเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤษฎาญชลิต เช่น กฤษฎาญชลิตไหว้ (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชวลิตวา เช่น อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชวลิศ เช่น อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), กฤษฎาญชวเลศ เช่น ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์ (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลี เช่น กฤษฎาญชุลีน้อม (ฉันทลักษณ์). |
กล้อ ๒ | (กฺล้อ) น. เครื่องสานยาชันชนิดหนึ่ง เช่น ก็ให้น้ำเต็มเต้า เข้าเต็มไหไปเต็มหม้อ ชื่อว่ากล้อก็บมิให้พร่องเลอย (ม. คำหลวง ชูชก). (ดู กร้อ). |
กล้าย | (กฺล้าย) น. ชื่อกล้วยลูกผสมพันธุ์หนึ่งในสกุล Musa วงศ์ Musaceae ผลใหญ่โค้ง เป็นเหลี่ยมและยาวกว่ากล้วยหอม เปลือกหนา เนื้อเหนียว ไส้แข็งสีส้ม รสหวาน นิยมกินเมื่อทำให้สุกแล้ว, กล้วยกล้าย ก็เรียก. |
กล่าวโทษ | ก. แจ้งว่ากระทำผิด. |
กษัตราธิราช | น. พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทั้งหลาย. |
กษัตริยาธิราช | (กะสัดตฺริยาทิราด) น. พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทั้งหลาย. |
กษัตรี | เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย (ลอ). |
กษิดิ, กษีดิ | (กะสิดิ, กะสีดิ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร), อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่าพระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร) (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). |
กะโล่ | ภาชนะสานคล้ายกระด้ง แต่ก้นลึกกว่ากระด้ง มีหลายขนาด แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้นํ้ารั่วออก สำหรับหมักขี้ไต้หรือยาเส้นนั้น มีขนาดใหญ่กว่ากระด้งมาก มักเรียกว่า กะโล่มอญ หรือ กระด้งมอญ |
ก้ามเกลี้ยง | น. ชื่อกุ้งนํ้าจืดชนิด Macrobrachium sintangense (De Man) ในวงศ์ Palaemonidae ตัวเล็กกว่ากุ้งก้ามกราม ก้ามเล็กเรียบไม่มีหนาม. |
กิงบุรุษ | น. กินนร เช่น และเป็นที่เขานิยมว่ามีนกอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่ากิงบุรุษ (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). |
กุ้งนาง | น. กุ้งก้ามกรามเพศเมีย ลำตัวและก้ามมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้เสมอเมื่อมีอายุเท่ากัน สีอ่อนกว่ากุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นเพศผู้ วางไข่ติดหน้าท้อง ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อย แล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด. |
กุ้งเหลือง | น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus latisulcatus Kishinouye ในวงศ์ Penaeidae ขนาดเล็กกว่ากุ้งกุลาดำ ลำตัวสีเหลืองปนนํ้าตาล ขอบของส่วนท้องสีม่วง แพนหางสีฟ้า, กุ้งเหลืองหางฟ้า ก็เรียก. |
กุลาลาย | น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus semisulcatus De Haan ในวงศ์ Penaeidae รูปร่างและขนาดคล้ายกุ้งกุลาดำ ลำตัวสีน้ำตาลอมแดง แต่มีลายน้อยกว่ากุ้งกุลาดำ หนวดมีลายสลับเป็นปล้อง. |
เกรี้ยวกราด | ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นอย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, กราดเกรี้ยว ก็ใช้. |
เกิน | ว. พ้น, เลย, คำนี้ใช้แก่ลักษณะที่มีมากกว่าหรือยิ่งกว่ากำหนด เช่น เกินขนาด เกินฐานะ เกินเวลา เกินสมควร. |
ขนมผสมน้ำยา | ว. พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันก็ไม่ได้. |
ขยี้ ๒ | น. วิธีบรรเลงดนตรีโดยเพิ่มพยางค์ในประโยคเพลงให้มากขึ้นกว่าการบรรเลงปรกติ ทำได้ ๒ วิธี คือ เพิ่มโดยเติมพยางค์ก่อนจะถึงลูกตกท้ายประโยค หรือเพิ่มโดยการบรรเลงประโยคนั้นให้เร็วขึ้นเป็นหลายครั้งในเวลาเท่ากับการบรรเลงเดิม. |
ข้าวเบา | น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลเร็วกว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวงในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวเหนียวหางยี ๗๑ พันธุ์ข้าวน้ำสะกุย ๑๙, พายัพและอีสานว่า ข้าวดอ. |
ข้าวหนัก | น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลช้ากว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เช่น พันธุ์ข้าวขาวตาแห้ง ๑๗ พันธุ์ข้าวพวงนาก ๑๖. |
เขตติดโรค | น. ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด ในหรือนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่อเกิดขึ้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด. |
เขม้น | (ขะเม่น) ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าวบางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้ (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ (ปรัดเล). |
คร่า | (คฺร่า) ก. ฉุดลากไปอย่างไม่ปรานี เช่น ถ้าเจรจาถึง ๒ ครั้งไซ้ให้คร่ามือออกไปจากพระโรงแลให้ห้ามเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (สามดวง), ท่านให้มาว่ากล่าวร้องฟ้องณะโรงสานตามกระบินเมืองอย่าให้ตีด่าฉุดคร่าเอาโดยกำลังเองศักอันเลย (สามดวง) |
คว้า | กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลงแล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับว่าวปักเป้าคว้ากัน. |
ค่องอ้อย | น. ชื่อการพนันด้วยการทายความสั้นยาวของท่อนอ้อย โดยเอามีดสับคาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อย แล้วตั้งพิงไว้ให้ผู้เล่นทายว่าส่วนของท่อนอ้อยด้านบนกับด้านล่างของมีดยาวเท่ากันหรือสั้นยาวกว่ากันเท่าใด ผู้ใดทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้ชนะ. |
เคย ๒ | ใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากริยานั้น ๆ ได้เป็นมาแล้ว เช่น เคยทำ = ได้ทำมาแล้ว เคยเห็น = ได้เห็นมาแล้ว, บางทีใช้พูดละกริยาที่ประกอบเสีย เหลือแต่ว่า เคย ก็มี เช่น เคยไปหรือไม่เคย ไม่เคยเลย. |
เค้าสนามหลวง | น. สำนักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมืองซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมืองข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของเมือง, เค้าสนาม ก็ว่า. |
จุดศูนย์ถ่วง | น. จุดซึ่งแนวของนํ้าหนักของก้อนเทหวัตถุนั้นผ่านดิ่งลง ไม่ว่าก้อนเทหวัตถุนั้นจะอยู่ในลักษณะใดก็ตาม, จุดศูนย์กลางของความถ่วง ก็ว่า. |
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ | น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตำแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สิน และจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย. |
เฉย | ก. แสดงอาการเป็นปรกติไม่สนใจไยดีต่อสิ่งหรือเหตุการณ์ที่ประสบ เช่น ถูกด่าว่าก็เฉย. |
ชา ๖ | ก. เอาใจใส่, ถือสา, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น อย่าถือคนบ้า อย่าชาคนเมา (ลาว ว่า เอาใจใส่, ว่ากล่าว, บอกสอน, กำกับ). |
แชบ๊วย | น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus merguiensis De Man ในวงศ์ Penaeidae เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีขนาดเล็กกว่ากุ้งกุลาดำ ตัวสีเหลืองอ่อน เปลือกใส พบตามชายฝั่งทะเลและในนํ้ากร่อย. |
ซ้อน | ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น เทศน์ซ้อน. |