ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*พม่า*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: พม่า, -พม่า-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา พม่า (MM) - ไทย (TH) (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
မြန်မာ(n) พม่า

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
พม่า(n) Myanmar, See also: Burma, Syn. เมียนมาร์, ประเทศพม่า, Example: สุวรรณภูมิคือแหลมอินโดจีนที่รวมเอาดินแดนของประเทศพม่า มอญ สยาม เขมรและแหลมมลายู, Count Unit: ประเทศ, Thai Definition: ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย
พม่าแทงกบ(n) name of a Thai tune, Syn. เพลงพม่าแทงกบ, Example: เสียงเพลงบรรเลงขึ้นทันที แต่ไม่ใช่เพลงมหาฤกษ์มหาชัย มันคือเพลง พม่าแทงกบ เรียกร้องเสียงเฮฮาได้ดีมาก, Count Unit: เพลง, Thai Definition: ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง
สหภาพพม่า(n) Union of Myanmar, Syn. พม่า, Example: ชาวกะเหรี่ยงไม่ต้องการที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพพม่า
พม่ารำขวาน(n) name of a Thai tune, Syn. เพลงพม่ารำขวาน, Example: เพลงไทยเดิมหลายๆ เพลงมีชื่อขึ้นต้นเป็นสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่ไทย เช่น ลาวเจริญศรี มอญดูดาว พม่ารำขวาน ทยอยยวน แขกบรเทศ ฯลฯ, Count Unit: เพลง, Thai Definition: ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
เป็ดพม่าน. ชื่อนกเป็ดน้ำขนาดใหญ่ชนิด Tadorna ferruginea (Pallas) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae ขนาดและรูปร่างคล้ายห่าน ลำตัวสีน้ำตาลแดง ตัวผู้มีลายคล้ายสร้อยคอเล็ก ๆ สีแดงเข้ม, จากพราก จากพาก จักรพาก หรือ จักรวาก ก็เรียก.
พม่า ๑(พะม่า) น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย.
พม่า ๒(พะม่า) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงพม่า เช่น พม่ากล่อม พม่าเห่ พม่ากำชับ พม่าห้าท่อน.
ไพม้าน. เรือพายม้า, ใช้ว่า พลายม้า ก็มี.
ก้อ ๒น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต–พม่า มีอยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก.
เขิน ๑น. ชื่อคนไทใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า
จักรพาก, จักรวาก(จักกฺระ-) น. นกจากพราก. (ดู จากพราก, จากพาก และ เป็ดพม่า).
จากพราก, จากพาก(จากกะพรฺาก, จากกะพาก) ดู เป็ดพม่า.
จีน ๑น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับมองโกเลีย รัสเซีย เวียดนาม ลาว พม่า ภูฏาน เนปาล อินเดีย คีร์กีซ และคาซัคสถาน มีภาษาพูดและอักษรของตนเองใช้.
ฉาน ๔น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับทางภาคเหนือของประเทศไทย, ไทใหญ่ ก็เรียก.
ตะวันออกกลางน. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศอินเดียและปากีสถาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา, เดิมหมายรวมถึงประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และพม่า ด้วย.
ตะวันออกไกลน. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ห่างไกลจากทวีปยุโรปมาก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย และไซบีเรีย บางทีก็รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนีเซียด้วย.
เต่าปูลูน. ชื่อเต่าน้ำจืดชนิด Platysternon megacephalum Gray วงศ์ Platysternidae หัวโตมากและแข็งหดเข้ากระดองไม่ได้อย่างเต่าชนิดอื่น ปลายปากเป็นจะงอย กระดองหลังยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร หางยาวเท่ากับหรือยาวกว่ากระดองหลังเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขาสูง ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้เตี้ย ๆ ได้ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยอาจพบถึง ๓ ชนิดย่อย คือ ปูลูเหนือ (P. m. megacephalum Gray), ปูลูพม่า (P. m. peguens Gray) และปูลูไทย ( P. m. vogeli Wermuth) พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันตก.
เถรวาท(เถระวาด) น. ลัทธิที่ถือตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระอรหันตเถระรวม ๕๐๐ รูป ได้รวบรวมไว้ในคราวปฐมสังคายนา, ชื่อนิกายพระพุทธ-ศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หีนยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า.
แถบเรียกเงินรูปีที่เคยใช้ในพม่า ว่า เงินแถบ.
ทวาย ๑(ทะ-) น. ชื่อเมืองทางภาคใต้ของประเทศพม่า, เรียกชาวเมืองนั้น ว่า ชาวทวาย.
ไทใหญ่น. ชื่อเรียกชนชาติไทสาขาหนึ่งอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า, เรียกกันว่า เงี้ยว, ไทหลวง ก็ว่า.
ไทย ๑(ไท) น. ชื่อประเทศที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า
นาค ๒, นาคา ๑(นาก) น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค.
โบชุกน. ตำแหน่งแม่ทัพพม่า เช่น ให้มางจาชโร เปนโบชุกที่สอง ยกทัพรองไปตาม (ตะเลงพ่าย).
ปัตตานีกะ, ปัตตานึกน. กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก หรือปัตตานีกะ (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า).
ผู้หญิงริงเรือ, ผู้หญิงยิงเรือน. ผู้หญิงทั่วไป เช่น เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง (อภัย), อีกอย่างหนึ่งจะไปติดพันกับผู้หญิงริงเรือที่อยู่ในที่หวงแหน (พระราชหัตถเลขา รัชกาลที่ ๔), ของพม่าเป็นเรื่องของพระอินทร์ ดูสนิทกว่าที่จะให้ผู้หญิงยิงเรือ.
พลายม้าน. เรือพายม้า, ใช้ว่า ไพม้า ก็มี.
พายม้าน. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง หัวเรือและท้ายเรือเรียวงอนขึ้นพองาม มีไม้หูกระต่ายติดขวางอยู่ทั้งหัวและท้ายเรือ ตรงกลางลำป่องออก ใช้งานในแถบภาคกลาง, ใช้ว่า ไพม้า หรือ พลายม้า ก็มี.
พุกามน. พม่า, ใช้ พูกาม ก็มี.
พูกามน. พม่า, ปรกติใช้ พุกาม.
มรัมเทศ(มะรำมะเทด) น. ประเทศพม่า.
มอญ ๑น. ชื่อชนชาติหนึ่ง เคยเป็นใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของพม่า ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่า มีภาษาพูดอยู่ในตระกูลมอญ–เขมร และมีอักษรของตนเองใช้.
ม่าน ๒น. ชนชาติพม่า.
มูเซอน. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ตระกูลทิเบต–พม่า อยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทยและพม่า.
รถานึกน. กองทัพเหล่ารถ, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า).
ลาว ๑น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย เขมร เวียดนาม พม่า และจีน, เรียกเต็มว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.
ลีซอน. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ตระกูลทิเบต–พม่า อยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทย.
สหภาพชื่อรูปแบบหนึ่งของการรวมตัวของรัฐตั้งแต่ ๒ รัฐขึ้นไป เช่น สหภาพพม่า
สุวรรณภูมิ(สุวันนะพูม) น. ดินแดนแหลมทองซึ่งเชื่อกันว่ามีอาณาบริเวณครอบคลุมพม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์.
หม่องน. คำนำหน้าชื่อผู้ชายพม่า (พม่า หม่อง ว่า น้อง)
หัตถานึกน. กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า).
หินยาน(หินนะ-) น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และ ไทยเป็นต้น, หีนยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า.
หีนยาน(หีนะยาน, หีนนะยาน, ฮีนะยาน) น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า.
อนีก-, อนีกะ, อนึก(อะนีกะ-, อะนึก) น. กองทัพในสมัยโบราณ, เมื่อใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสใช้ว่า อนีกะ บ้าง อนึก บ้าง เช่น ปัตตานีกะ ปัตตานึก = กองทัพเหล่าราบ กองทัพทหารเดินเท้า, อัศวานีกะ อัศวานึก = กองทัพม้า เหล่าทหารม้า.
อัศวานึก(อัดสะวานึก) น. กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือจตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า).
อัสสานิก, อัสสานีก, อัสสานึกน. อัศวานึก, กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า.
อินเดียน. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งในเอเชียใต้ อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศพม่า.
อีก้อน. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต–พม่า มีอยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทย คล้ายพวกมูเซอ, ก้อ ก็เรียก.

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Art, Burmeseศิลปะพม่า [TU Subject Heading]
Arts, Burmeseศิลปกรรมพม่า [TU Subject Heading]
Burmaพม่า [TU Subject Heading]
Burmeseชาวพม่า [TU Subject Heading]
Burmese languageภาษาพม่า [TU Subject Heading]
Burmese studentsนักเรียนพม่า [TU Subject Heading]
Burmese studentsนักศึกษาพม่า [TU Subject Heading]
Foreign workers, Burmeseคนงานต่างชาติชาวพม่า [TU Subject Heading]
Kengtung (Burma : State)เชียงตุง (พม่า) [TU Subject Heading]
Mandayay (Burma)มัณฑะเล (พม่า) [TU Subject Heading]
Shan State (Burma)รัฐฉาน (พม่า) [TU Subject Heading]
Shewedagan (Rangoon, Burma)เจดีย์ชเวดากอง (ย่างกุ้ง, พม่า) [TU Subject Heading]
Shewemawadawเจดีย์ชเวมอดอ (หงสาวดี, พม่า) [TU Subject Heading]
Thai-Myanmar Friendship Bridgeสะพานมิตรภาพไทย-พม่า [TU Subject Heading]
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategyยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต]
Agreement on Commercial Navigation on Lancang-Mekong Riverความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน " ระหว่างไทย ลาว พม่า และจีน (มณฑลยูนนาน) ได้ลงนามเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543 และมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2544 " [การทูต]
Association of South-East Asian Nationsสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จัดตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 เพื่อร่วมมือและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และการบริหารในภูมิภาค โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมาบรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2527 เวียดนามเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 ในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับสุดท้ายหรือประเทศที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2542 [การทูต]
Quadrangle Economic Cooperationกรอบความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว และจีน (มณฑลยูนนาน) ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) [การทูต]
Bangkok Processเป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต]
Bangladesh-India-Myanmar- Sri Lanka and Thailand Economic Cooperationกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างบังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย " ในช่วงแรกบังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า-ไทย ได้ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อจัดตั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างบังกลาเทศ-อินเดีย-ศรีลังกา-ไทย (BIST-EC) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ต่อมา ได้รับพม่าเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ และเปลี่ยนชื่อจาก BIST-EC เป็น BIMST-EC เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 " [การทูต]
Cambodia-Laos-Myanmar-Viet Namกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม [การทูต]
East-West Economic Corridorการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะฝั่งตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมโยงพม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม [การทูต]
Ganga-Suwanabhumi-Mekong Cooperationความร่วมมือลุ่มน้ำคงคา-สุวรรณภูมิ-ลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทย-ลาว-พม่า-เวียดนาม-กัมพูชา และอินเดีย เป็นกรอบความร่วมมือที่เสนอในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับ รัฐมนตรีต่างประเทศประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 33 เมื่อ 28 กรกฎาคม 2543 โดยมีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2543 [การทูต]
Greater Mekong Subregion Economic Cooperationกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง หรือ กรอบความร่วมมือหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ " ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (มณฑล ยูนนาน) มีธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เป็นกลไกประสานความร่วมมือ โดยริเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 ประกอบด้วยความร่วมมือ 8 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง พลังงาน สื่อสาร โทรคมนาคม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม และการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ การค้า และการลงทุน " [การทูต]
Mekong - Ganga Cooperationความร่วมมือแม่นำโขง - คงคา ริเริ่มขึ้นเมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2543 ที่กรุงเทพฯ มีสมาชิก 6 ประเทศ คือกัมพูชา อินเดีย ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับประเทศในลุ่มแม่น้ำคงคาในด้านการ ท่องเที่ยว การศึกษาวัฒนธรรม และคมนาคมขนส่งโดยอาศัยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกันและความสัมพันธ์ที่ ดีระหว่างกัน และเป็นยุทธศาสตร์เชื่อมโยง GMS (จีน) ไปสู่อินเดีย [การทูต]
Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Fundกองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน " ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนให้ความช่วย เหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2539 โดยให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงาน รับผิดชอบ มีวัตถุประสงค์ให้เงินกู้ผ่อนปรนแก่รัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาประเทศ โดยเงินกู้ที่ รัฐบาลไทยปล่อยให้กู้นี้ จะต้องเป็นเงินสกุลบาท และส่วนหนึ่งของ เงินกู้จะต้องนำไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชนไทย " [การทูต]
State Peace and Development Councilสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ เป็นองค์กรปกครองสูงสุดของพม่าในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC - State Law and Order Restoration Council) อันเป็น กลุ่มทหารพม่าที่เข้ายึดอำนาจการปกครองในวันที่ 18 กันยายน 2531 ภายหลังจากที่ประชาชนชาวพม่าได้ออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของ พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ายึดอำนาจรัฐในครั้งนั้นเป็นไปอย่างนองเลือดและคณะทหารดังกล่าวได้ให้ สัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 27 พฤษภาคม 2533 SLORC กลับปฏิเสธที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่พรรค National League for Democracy (NLD) และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 SLORC ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น SPDC [การทูต]
The Great Wonders of Suwannabhumiโครงการสิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ หมายถึง โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคที่นับถือศาสนาพุทธ อันประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า โดยร่วมกันจัดรายการนำเที่ยวในโบราณสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของ 4 ประเทศ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ นครวัดในกัมพูชา โบราณสถานในพุกาม/มัณฑะเลย์ในพม่า และแขวงหลวงพระบางในลาว เพื่อที่จะดึงดูดชาวต่างชาติให้มาสนใจในดินแดนแห่งนี้ และนำมาซึ่งการพัฒนาสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งยังจะเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 4 ประเทศอย่างสมบูรณ์ โครงการนี้เสนอโดย ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว กัมพูชา และพม่า เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 3 ที่กรุงมะนิลา [การทูต]
watershedสันปันน้ำ แนวสันเขาซึ่งโดยปกติเป็นส่วนที่สูงที่สุดของภูเขาที่แบ่งน้ำให้ตกออกสอง ข้างของภูเขานั้น ๆ เป็นลักษณะทางธรรมชาติซึ่งรัฐที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณานำมาใช้เป็นเส้นเขตแดน ระหว่างประเทศได้ เช่น สันปันน้ำของเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
If a fella's written about the hill tribes of northern Burma, well, you're entitled to know if he's ever been further south than Minsk.ถ้าหนุ่มเขียนเกี่ยวกับชาวไทยภูเขาทางภาคเหนือของพม่า ดีที่คุณมีสิทธิ์ที่จะทราบว่าเขาเคยไปทางใต้กว่ามินสค์ The Russia House (1990)
They've scheduled the hearing for the Burmese.พวกเขากำหนดวันพิจารณาคดีเรื่องพม่าแล้ว Brokedown Palace (1999)
They're being sent back to Burma. We fight to keep them here.พวกเขากำลังถูกส่งกลับพม่า เราสู้เพื่อให้พวกเขาได้อยู่ที่นี่ต่อ Brokedown Palace (1999)
Siam - population six million, spreading across 49 bountiful provinces, from Burma in west to Cambodia in east, presided over by King Maha Mongkut, สยามมีประชากร 6 ล้านคน กระจายอยู่ทั่วใน 49 จังหวัด จากพม่าในฝั่งตะวันตก ถึง กัมพูชาในฝั่งตะวันออก Anna and the King (1999)
You're from Burma, aren't you? Was it nice there?นายมาจากพม่า ใช่มั้ย ที่นั่นเป็นไง Harry Potter and the Sorcerer's Stone (2001)
Unocal cannot do business in Burma without supporting that hopeless regime...ยูโนแคลเข้าไปทำธุรกิจในพม่า โดยสนับสนุนระบอบการปกครองที่เลวร้ายที่สุด... . The Corporation (2003)
A long time ago, I was in Burma and my friends and I were working for the local government.ตอนสมัยหนุ่มๆผมกับเพื่อนในพม่า ทำงานให้รัฐบาลท้องถิ่น The Dark Knight (2008)
- That bandit in the forest in Burma...ในป่าของพม่า The Dark Knight (2008)
You know about the ethnic cleansing in Burma?เธอรู้เรื่องชนเผ่าที่ถูกกวาดล้างในพม่าไหม? Spanish 101 (2009)
Surpriseมาจากพม่า The Expendables (2010)
See, gwenie's dad, my son, he's over there in burmaคือ พ่อของกวินนี่.. ลูกชายของฉัน ตอนนี้เค้าอยู่ในพม่า Melbourne (2010)
And my time with her in Burma.และช่วงเวลากับเธอในพม่า Chuck Versus the Cubic Z (2010)
Oct. 9th, 1983, Aung San Mausoleum, Burma= 9 ตุลาคม 1983, อองซาน, พม่า = Episode #1.1 (2011)
- At 10:28 Burmese local time...= พม่า 10: 28 ในเวลาท้องถิ่น = Episode #1.1 (2011)
We've also learned there were four Burmese casualties.เป็นชาวพม่า 4 ราย Episode #1.1 (2011)
We mourn the 17 men... who perished at Burma's Aung San Mausoleum. May they rest in peace.ภาครัฐของอองซาน ประเทศพม่า ได้ประกอบประรำพิธี เพื่อระลึกถึงเหตณ์การครั้งนี้ ในสุสานแห่งชาติ Episode #1.1 (2011)
Burma suspended diplomatic relations with North Korea.ที่ประเทศสังคมนิยม พม่า บอกให้เราทำได้แค่ทางการทูต Episode #1.1 (2011)
The nation wishes President CHUN a successful tour to Burma...คนทั้งชาติร่วมภาวนาให้ ปธน.ชุนดูฮวาน ประสบความสำเร็จในการเยือนพม่า... The King (2017)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
นกเขาพม่า[nok khao Phamā] (n, exp) EN: Oriental Turtle Dove  FR: Tourterelle orientale [ f ]
นกภูหงอนพม่า[nok phū ngøn Phamā] (n, exp) EN: Burmese Yuhina  FR: Yuhina de Birmanie [ f ] ;Yuhina des montagnes [ f ] ; Yuhina birmane [ f ]
เป็ดพม่า[pet Phamā] (n, exp) EN: Ruddy Shelduck  FR: Tadorne casarca [ m ] ; Casarca roux [ m ] ; Canard casarca [ m ]
พม่า[Phamā] (n, prop) EN: Myanmar ; Burma  FR: Myanmar ; Birmanie [ f ] (vx)
พม่า[Phamā] (adj) EN: Burmese  FR: birman
ผีเสื้อจุดเหลี่ยมพม่า[phīseūa jut līem Phamā] (n, exp) EN: Swinhoe's Ace
ผีเสื้อตาลพุ่มพม่า[phīseūa tān phum Phamā] (n, exp) EN: Burmese Bushbrown
ประเทศพม่า[Prathēt Phamā] (n, exp) EN: Myanma ; Burma  FR: Myanmar [ m ] ; Birmanie [ f ]
สหภาพพม่า[Saphaphāp Phamā] (n, prop) EN: Union of Myanmar

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
Burma(n) สหภาพพม่า, See also: พุกามประเทศ, พุกาม
dacoit(n) โจรในประเทศพม่าหรืออินเดีย (ที่ก่ออาชญากรรมหรือลักทรัพย์), Syn. dakoit
Hinayana(n) นิกายหินยานของพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชา, See also: ชื่อนิกายในพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่นับถือกันในศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชาและกัมพูชา, ชื่
Indochina(n) อินโดจีน (มีพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนามและแหลมมลายู)
Mandalay(n) เมืองของประเทศพม่าหรือเมียนมาร์
Myanmar(n) พม่า, See also: เมียนมาร์
Myanmar(n) ประเทศพม่า, See also: ประเทศเมียนมาร์
Naga(n) คนในเอเชียใต้มักในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือและพม่าตะวันตก, See also: ภาษา Naga
pya(n) หน่วยเงินตราของประเทศพม่า
Rangoon(n) เมืองร่างกุ้งเป็นเมืองหลวงพม่า (ชื่อเดิมของเมืองย่างกุ้ง Yangon)
Shan(n) ฉาน (ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามแถบภูเขาในพม่า ลาว จีน), See also: ชาวไทยใหญ่
Union of Burma(n) สหภาพพม่า, See also: ชื่อที่เป็นทางการของประเทศพม่า

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
burma(เบอร์'มะ) n. พม่า ดู Union of Burma
burmese(เบอร์'มีซ, -มีส) n., adj. ชาวพม่า, ภาษาพม่า
cheroot(ชะรูท') n. บุหรี่ซิการ์หัวสี่เหลี่ยม, บุหรี่พม่า
hinayana(ฮีนะยา'นะ) n. นิกายหินยานของพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชา, Syn. Theravada. -Hinayanist n.
indo-china(อิน'โดไช'นะ) n. อินโดจีน (ประกอบด้วย เวียดนาม, ลาว, เขมร, ไทย, พม่า, มาเลเซียและสิงคโปร์), Syn. Farther India
kyat(ไคอาท, คิอาท') n. เหรียญทองแดงผสมนินิกเกิลและหน่วยเงินตราของพม่า
mon-khmer(มอน'ขเมอ) adj., n. (กลุ่ม) เกี่ยวกับภาษามอญ ขอม พม่าและภาษาเขมร.
rangoon(แรงกูน') n. ชื่อเมืองหลวงและเมืองท่าของพม่า (Myanmar) , กรุงย่างกุ้ง
southeast asian. เอเซียอาคเนย์, ประเทศและดินแดนในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย (ได้แก่บรูไน, พม่า, เขมร, อินโดนีเซีย, ลาว, ไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ตีมอร์, สิงคโปร, เวียดนาม) . -Sountheast Asian
union of burman. สหภาพพม่า, Syn. Myanmar

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
phasin(n, name) ผ้าซิ่น เป็นเครื่องแต่งกายของผู้หญิง ผ้าทอเป็นผืนด้วยมือ เป็นผืนยาวประมาณ 2 เมตร ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัวตั้งแต่เอวลงไป อาจตัดและเย็บก็ได้ มีใช้ในประเทศไทย ลาว พม่า มีลวดลายต่าง ๆ กัน ภาษาไทยเรียก ผ้าถุง หรือผ้านุ่ง ก็ได้
talaing(n) คำที่ใช้เรียกตัวเองของ"มอญ" แต่พม่าเรียก"มอญ"ว่า ตะเลง (Talaings) ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า Talingana อันเป็นแคว้นหนึ่ง ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย, Syn. Mon
yangon(n) ย่างกุ้ง (เมืองหลวงประเทศพม่า)

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top