Hall effect | ปรากฏการณ์ฮอลล์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Greenshouse effect | ปรากฏการณ์เรือนกระจก [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Greenhouse effect | ปรากฏการณ์เรือนกระจก, Example: ภาวะที่กลุ่มของก๊าซชนิดต่างๆมาห่อหุ้มชั้นบรรยากาศของโลกไว้ กลุ่มก๊าซเหล่านี้ประกอบด้วยก๊าซหลักๆ 5 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ สารซีเอฟซี ออกไซด์ของไนโตรเจน มีเธนและโอโซน ก๊าซเหล่านี้เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของบรรยากาศโลกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นกลุ่มก๊าซที่มีความสามารถในการดูดซับรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ เป็นผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นจนเหมาะที่สิ่งมีชีวิตต่างๆจะอาศัยอยู่ได้ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Kick | ปรากฏการณ์ที่ของไหลจากชั้นหินทะลักเข้าสู่หลุมเจาะ, ปรากฏการณ์ที่ของไหลจากชั้นหินทะลักเข้าสู่หลุมเจาะเนื่องจากการเสียสภาพสมดุลย์ความดันที่ก้นหลุมเจาะ เนื่องจาก Hydrostatic pressure ของน้ำโคลนในหลุมเจาะมีค่าความดันน้อยกว่าความดันของไหลในชั้นหิน (formation pore pressure), Example: การเรียกชื่อ kick สามารถเรียกได้ตามลักษณะของไหลที่ไหลเข้าหลุม เช่น เป็นก๊าซ ก็เรียกว่า gas kick เป็นต้น [ปิโตรเลี่ยม] |
Photovoltaic effect | ปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก, Example: ปรากฏการณ์ที่รอยต่อพี-เอ็น เมื่อได้รับแสงจะเกิด อิเลกตรอนและโฮลอิสระขึ้น ซึ่งแรงดันภายในพี-เอ็นจะทำให้ประจุอิเลกตรอนและโฮลที่เกิดขึ้นแยกตัวออกจากกัน ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเอาท์พุตขึ้นที่ปลายทั้ง2 ของรอยต่อพี-เอ็น [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Blast wave | คลื่นแรงผลักดันฉับพลัน, คลื่นกระแทกที่แพร่ไปในอากาศ หรือ คลื่นที่มีความดันเพิ่มขึ้นซึ่งกำหนดได้แน่ชัด กระจายผ่านตัวกลางที่แวดล้อมอยู่ออกไปอย่างรวดเร็วจากศูนย์กลางของระเบิด หรือปรากฏการณ์ของแรงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน [นิวเคลียร์] |
Bragg’s law | กฎของแบรกก์, กฎที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์ตกกระทบ มุมตกกระทบและระยะห่างของอะตอมซึ่งเป็นเงื่อนไขของการเกิดปรากฏการณ์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ กฎนี้ ดับเบิลยู. แอล. แบรกก์ (W. L. Bragg) คิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2455 และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับบิดา คือ ดับเบิลยู. เอช. แบรกก์ (W. H. Bragg) ในปี พ.ศ. 2458 [นิวเคลียร์] |
Cerenkov radiation | การแผ่รังสีเซเรนโกฟ, ปรากฏการณ์เรืองแสงเมื่ออนุภาคที่มีประจุเคลื่อนผ่านวัสดุโปร่งใส ด้วยความเร็วที่สูงกว่าความเร็วของแสงในวัสดุนั้น เช่น ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หรือเครื่องฉายรังสีแกมมาแบบสระน้ำ จะเห็นการแผ่รังสีนี้เป็นแสงเรืองสีฟ้า พาเวล อเล็กเซวิช เซเรนโกฟ (Pavel Alexsejevich Cerenkov) เป็นคนแรกที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ [นิวเคลียร์] |
Compton scattering | การกระเจิงแบบคอมป์ตัน, ปรากฏการณ์เมื่อโฟตอนวิ่งชนอิเล็กตรอนของอะตอม แล้วเกิดการกระเจิง โฟตอนที่กระเจิงออกไปจะมีพลังงานลดลงจากเดิม ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมของการกระเจิงและมวลของอนุภาคที่ถูกชน ปรากฏการณ์นี้ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ คือ อาร์เทอร์ ฮอลลี คอมป์ตัน (Arthur Holly Compton) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี พ.ศ.2470 [นิวเคลียร์] |
x-ray fluorescence | การเรืองรังสีเอกซ์, ปรากฏการณ์การเกิดรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะของธาตุที่สนใจโดยใช้พลังงานที่เหมาะสมไปกระตุ้นอะตอมของธาตุนั้น [นิวเคลียร์] |
X-ray diffraction | การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์, ปรากฏการณ์ที่รังสีเอกซ์ซึ่งสะท้อนจากภายในผลึก แล้วรวมกัน เกิดเป็นคลื่นสะท้อนที่มีความเข้มสูงสุด [นิวเคลียร์] |
Thermoluminescence dating | การหาอายุโดยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์, วิธีหาอายุโบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผา โบราณสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐและตะกอนดิน โดยอาศัยปรากฏการณ์เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ วิธีที่นิยมใช้มี 2 วิธี คือ Quartz and Feldspar Inclusion Method สามารถหาอายุตัวอย่างที่มีหินเขี้ยวหนุมานประกอบอยู่ได้ในช่วง 50 ถึง 100, 000 ปี และถ้ามีหินฟันม้าประกอบอยู่ สามารถหาอายุได้ในช่วง 500 ถึง 500, 000 ปี อีกวิธีหนึ่งได้แก่ Pre-dose Method สามารถหาอายุตัวอย่างที่มีหินเขี้ยวหนุมานประกอบอยู่ได้ในช่วงไม่เกิน 1, 000 ปี (ดู thermoluminescence ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Thermoluminescence | เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์, ปรากฏการณ์การเปล่งแสงของสารบางชนิดเมื่อได้รับความร้อน นำมาประยุกต์ใช้วัดปริมาณรังสีที่สารนั้นดูดกลืนไว้ เช่น การวัดปริมาณรังสีด้วยทีแอลดี การหาอายุโบราณวัตถุและโบราณสถาน เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์เกิดเมื่อสารได้รับรังสีและดูดกลืนพลังงานจากรังสีไว้ ทำให้อิเล็กตรอนส่วนหนึ่งหลุดออกมา และบางส่วนจะถูกจับไว้ในผลึกที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อนำมากระตุ้นด้วยความร้อน อิเล็กตรอนดังกล่าวจะถูกปลดปล่อยออกมาพร้อมทั้งคายพลังงานในรูปของแสง ตัวอย่างสารเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ในธรรมชาติ เช่น แร่แคลไซต์ แร่โดโลไมต์ หินฟันม้า หินเขี้ยวหนุมาน เพทาย และสารที่สังเคราะห์ขึ้น เช่น แคลเซียมฟลูออไรด์ (ดู thermoluminescence dating ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Radioactivity | กัมมันตภาพรังสี, ปรากฏการณ์ที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีสลายตัว และมีการปล่อยรังสีออกมาด้วย โดยทั่วไปการสลายตัวจะให้นิวไคลด์ใหม่ ปรากฏการณ์นี้ค้นพบโดย อองรี เบ็กเคอเรล ใน พ.ศ. 2439 [นิวเคลียร์] |
El Nino | ปรากฏการณ์เอลนีโน, Example: เป็นการไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่นในช่วงเวลาหนึ่ง จากเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ไปแทนที่กระแสน้ำเย็นที่ไหลอยู่เดิม ตามเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกลงไปถึงชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ [สิ่งแวดล้อม] |
RED TIDE | ปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี, Example: ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากแพลงค์ตอนพืช (พืชน้ำขนาดเล็ก)มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนทำให้น้ำทะเลบริเวณนั้น เปลี่ยนสีไปจากน้ำทะเลปกติเช่น สีเขียว สีน้ำตาล สีแดง เป็นต้น [สิ่งแวดล้อม] |
Iron Curtain | ม่านเหล็ก เป็นศัพท์ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นหมายถึงเครื่องกีดขวางปิดกั้นเขต ซึ่งโซเวียตรัสเซียและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้มีการ ติดต่อหรือเดินทางเข้าไปในอาณาเขตของประเทศดังกล่าว ที่เรียกกันว่า ประเทศหลังม่านเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองในระหว่างสงครามเย็น แต่ภายหลังที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ม่านเหล็กก็พลอยหมดสภาพไปในที่สุด [การทูต] |
radioactivity | กัมมันตภาพรังสี, คือ ปรากฏการณ์ที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีสลายตัว และมีการปล่อยรังสีออกมาด้วย โดยทั่วไปการสลายตัวจะให้นิวไคลด์ใหม่ ปรากฏการณ์นี้ค้นพบโดย อองรี เบ็กเคอเรล ในปีพ.ศ. 2439 [พลังงาน] |
Die swell | ปรากฏการณ์ของการผ่อนคลายความเค้นที่อยู่ในพอลิเมอร์หลอม ซึ่งเกิดขณะที่พอลิเมอร์หลอมเริ่มเคลื่อนตัวออกสู่หัวดาย และมีผลทำให้พอลิเมอร์หลอมที่ออกจากหัวดายบวมตัวใหญ่กว่าขนาดของรูดาย [เทคโนโลยียาง] |
Marching | ปรากฏการณ์ที่มอดุลัสของยางมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อยางเกิดสภาวะการคงรูปมากกว่าสภาวะที่เหมาะสม (เกิดโอเวอร์เคียว) เนื่องจากเกิดการเชื่อมระหว่างโมเลกุลหรือโครงร่างแหมากขึ้น มักเกิดในยางเอสบีอาร์ (SBR) หรือ ยางบิวทาไดอีน (Butadiene) [เทคโนโลยียาง] |
Storage hardening | ปรากฏการณ์ที่ความหนืดของยางดิบหรือยางที่ยังไม่ได้ผ่านการคงรูปเพิ่ม ขึ้นระหว่างการเก็บ เนื่องจากหมู่อัลดีไฮด์ (aldehyde group) ที่มีอยู่ในยางธรรมชาติเข้าไปทำปฏิกิริยาควบแน่นกัน เกิดเป็นโครงสร้างสามมิติที่มีการเชื่อมโยง (crosslink) ระหว่างโมเลกุลยางมีผลทำให้ยางแข็งขึ้น [เทคโนโลยียาง] |
Chain of Events | ปรากฏการณ์แบบลูกโซ่ [การแพทย์] |
Fibrinolysis | ไฟบริโนไลซิส, ปรากฏการณ์, ไฟบริโนลัยซิส, ไฟบริโนไลซิส [การแพทย์] |
greenhouse effect | ปรากฏการณ์ เรือนกระจก [อุตุนิยมวิทยา] |
total reflection | การสะท้อนกลับหมด, ปรากฏการณ์ที่แสงผ่านจากตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหมากไปยังตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหน้อยกว่า เมื่อมุมตกกระทบโตกว่ามุมวิกฤต ลำแสงจะไม่ทะลุผ่านไปยังตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหน้อยกว่าแต่จะสะท้อนกลับเข้ามาในตัวกลางเดิม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
gravitation | ความโน้มถ่วง, ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุและวัตถุนั้นอยู่ในสนามโน้มถ่วงของโลก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
spark | ประกายไฟฟ้า, ปรากฏการณ์ที่ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง เช่น อากาศหรือฉนวนไฟฟ้า ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้าสูง เกิดจากการเสื่อมสภาพเป็นฉนวนอย่างฉับพลันของตัวกลางนั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Doppler effect | ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์, การเปลี่ยนความถี่ของเสียงหรือระดับเสียงที่ผู้รับฟังได้ยิน เนื่องจากการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงกับผู้รับฟัง เช่น เมื่อรถพยาบาลเล่นเข้ามาใกล้ เราจะได้ยินเสียงไซเรนมีความถี่สูงกว่าเมื่อแล่นห่างออกไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thermoelectric effect | ปรากฏการณ์เทอร์มออิเล็กตริก, ปรากฏการณ์ที่พลังงานความร้อนเปลี่ยนไปเป็นพลังงานไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากคู่ควบความร้อน เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
photoelectric effect | ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก, การหลุดของอิเล็กตรอนออกจากผิวโลหะเนื่องจากผิวโลหะมีแสงตกกระทบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electricity | ไฟฟ้า, วิชาฟิสิกส์แขนงหนึ่งที่ศึกษาปรากฏการณ์และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับประจุไฟฟ้าเมื่ออยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
image | ภาพ, ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการรวมกันหรือเสมือนรวมกันของรังสีของแสงที่สะท้อนมาจากกระจกหรือหักเหผ่านเลนส์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mirage | มิราจ, ภาพลวงตา, ปรากฏการณ์ซึ่งเกิดจากแสงหักเห เนื่องจากชั้นของอากาศซึ่งแสงเคลื่อนที่ผ่านมีอุณหภูมิต่างกัน เช่น การเห็นภาพเสมือนมีน้ำบนถนนในระยะไกลในตอนกลางวันที่มีแสงแดดจัด เป็นเพราะอากาศใกล้พื้นถนนร้อนกว่าอากาศที่อยู่เหนือขึ้นไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
rainbow | รุ้ง, ปรากฏการณ์ทางแสงซึ่งปรากฏเป็นแถบสเปกตรัมรูปโค้งในอากาศเหนือพื้น รุ้งเกิดจากแสงอาทิตย์ที่มาทางด้านหลังผู้สังเกตตกกระทบละอองน้ำในอากาศแล้วเกิดการหักเหการสะท้อนภายในและกระจายออกมาเป็นแสงสีต่าง ๆ รุ้งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นให้เห็นภายหลังฝนตก หรือ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
physics | ฟิสิกส์, วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติ โดยเฉพาะสมบัติของสสารและพลังงาน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
magnetism | วิชาแม่เหล็ก, วิชาฟิสิกส์แขนงหนึ่งที่ศึกษาปรากฏการณ์และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับแม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
acoustics | สวนศาสตร์, วิชาฟิสิกส์ของเสียงซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการส่งผ่าน การดูดกลืน การสะท้อน การหักเห การเลี้ยวเบน การแทรกสอด และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของเสียงในตัวกลางและภาวะแวดล้อมต่าง ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hertz | เฮิรตซ์, หน่วยวัดความถี่ของคลื่น ใช้สัญลักษณ์ Hz 1Hz คือความถี่ของปรากฏการณ์แบบพริออดิกที่เกิดขึ้นครบ 1 รอบในเวลา 1 วินาที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
eclipse of the moon[ lunar eclipse ] | จันทรุปราคา, ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์ โคจรเข้ามาอยู่ในแนวเดียวกัน โดยที่โลกจะอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ จึงบังแสงอาทิตย์ไว้ทำให้เกิดเงามืดบนดวงจันทร์ชั่วระยะเวลาหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
eclipse of the sun [ solar eclipse ] | สุริยุปราคา, ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรเข้ามาอยู่ในแนวเดียวกันโดยที่ดวงจันทร์จะอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก จึงบังแสงอาทิตย์ไว้ทำให้เกิดเงามืดบนพื้นโลกชั่วระยะเวลาหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hypothesis | สมมติฐาน, ข้อสมมุติที่ตั้งขึ้นสำหรับปรากฏการณ์หนึ่ง เพื่อเป็นการกำหนดแนวความคิดที่จะค้นหาและตั้งกฏหรือทฤษฎีเพื่ออธิบายปรากกฏการณ์นั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law | กฎ, ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งได้จากการสังเกตหรือการทดลองสำหรับปรากฏการณ์หนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mesosphere | มีโซสเฟียร์, ชั้นบรรยากาศถัดขึ้นไปจากสตราโตสเฟียร์จนถึงระยะสูงประมาณ 80 กิโลเมตรเป็นชั้นที่เกิดมีปรากฏการณ์เกี่ยวกับอุกกาบาต อุณหภูมิของชั้นอากาศนี้จะลดต่ำลงถึงประมาณ -100 องศาเซลเซียส ที่ระยะสูงสุด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
meteorology | อุตุนิยมวิทยา, วิชาฟิสิกส์แขนงหนึ่งซึ่งศึกษาเกี่ยวกับสภาพและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของลมฟ้าอากาศ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
natural science | วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, วิชาหรือความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งสามารถจะวัดได้ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของสสารและพลังงานวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแบ่งเป็นกลุ่มวิชาใหญ่ ๆ 2 กลุ่ม คือ วิทยาศาสตร์กายภาพ และ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ แต่มีหลายวิชาที่เป็นการศึกษาร่วมกันท [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
phenomena | ปรากฏการณ์, คำพหูพจน์ของ phenomenon [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
phenomenon, phenomena (พหูพจน์), | ปรากฏการณ์, เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปรากฏให้เห็นในธรรมชาติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
postulate [ axiom ] | สัจพจน์, ข้อความที่ตั้งขึ้นและยอมรับโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ทดสอบ เพื่อเป็นการกำหนดแนวความคิดที่จะค้นหากฏหรือทฤษฎีเพื่อจะอธิบายปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ คำนี้มีความหมายคล้ายคำว่า สมมติฐาน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
science | วิทยาศาสตร์, ความรู้ที่ได้ประมวลไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต มีทฤษฎีและกฏเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติ ทฤษฎีและกฎต่าง ๆ สามารถทดสอบได้ด้วยการทดลอง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
scientific method | วิธีการทางวิทยาศาสตร์, วิธีการที่ใช้ศึกษาค้นคว้าโดยการสังเกตรวบรวมข้อมูลและตั้งสมมติฐานเพื่อเป็นแนวทางที่จะทำการทดลองหรือทดสอบสมมติฐานนั้น เพื่อหาคำอธิบายที่เชื่อถือได้ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ถ้าสมมติฐานนั้นถูกต้องก็จะสร้างทฤษฎีหรือกฎขึ้น วิธีการทางวิทยาศาสตร์นี้ใช้ในการศึกษาค้นคว้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |