ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ตัวสะกด*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ตัวสะกด, -ตัวสะกด-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ตัวสะกด(n) final consonant, See also: final pronounced letter of a word, Example: ตัวสะกดในภาษาไทยมี 8 มาตรา, Count Unit: ตัว, มาตรา, Thai Definition: พยัญชนะท้ายคำหรือพยางค์ที่ทำหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไปตามมาตราต่างๆ
ตัวสะกด(n) final consonant, See also: final pronounced letter of a word, Example: ตัวสะกดในภาษาไทยมี 8 มาตรา, Count Unit: ตัว, มาตรา, Thai Definition: พยัญชนะท้ายคำหรือพยางค์ที่ทำหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไปตามมาตราต่างๆ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
ตัวสะกดน. พยัญชนะท้ายคำหรือพยางค์ที่ทำหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไปตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน.
(กอ) พยัญชนะตัวที่ ๑ เรียกว่า กอ ไก่ เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากกหรือแม่กก เช่น กก ปาก สัก.
ก กาน. เรียกแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด ว่า มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา.
ก หันน. อักษร ก คู่ ในหนังสือโบราณใช้แทนไม้หันอากาศตัวหนึ่ง เป็นตัวสะกดตัวหนึ่ง เช่น จกก = จัก หลกก = หลัก.
(ขอ) พยัญชนะตัวที่ ๒ เรียกว่า ขอ ไข่ เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากกหรือแม่กก เช่น มุข เลข.
เขียนไทยน. วิชาเขียนภาษาไทยตามคำบอกของครู เพื่อฝึกเขียนตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า.
(คอ) พยัญชนะตัวที่ ๔ เรียกว่า คอ ควาย เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากกหรือแม่กก เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค.
ครุ ๒(คะรุ) ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ั แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย ุ แทน.
คล้องจองก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้องอยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน
คำตายน. คำสระสั้นที่ไม่มีตัวสะกดพวกหนึ่ง และคำในมาตรากก กด กบ.
คำเป็นน. คำสระยาวที่ไม่มีตัวสะกด และคำในมาตรากง กน กม เกย เกอว.
(คอ) พยัญชนะตัวที่ ๖ เรียกว่า ฆอ ระฆัง เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากกหรือแม่กก เช่น เมฆ.
(งอ) พยัญชนะตัวที่ ๗ เรียกว่า งอ งู เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากงหรือแม่กง เช่น บาง ทอง.
(จอ) พยัญชนะตัวที่ ๘ เรียกว่า จอ จาน เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น กิจ วินิจฉัย ตำรวจ.
ช ๑พยัญชนะตัวที่ ๑๐ เรียกว่า ชอ ช้าง เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ราช คช กริช แซนด์วิช.
(ซอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๑ เรียกว่า ซอ โซ่ เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้นและเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ก๊าซ.
(ยอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๓ เรียกว่า ญอ หญิง เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น ปัญญา สัญชาติ ผจญ โคโลญ.
(ดอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๔ เรียกว่า ฎอ ชฎา เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น กฎ มงกุฎ.
(ตอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๕ เรียกว่า ฏอ ปฏัก เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ปรากฏ นาฏ.
(ถอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๖ เรียกว่า ฐอ ฐาน เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น รัฐ อัฐ.
(ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๗ เรียกว่า ฑอ มณโฑ เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น ออกเสียงเป็น ด บ้าง เช่น บัณฑิต มณฑป หรือ ท บ้าง เช่น มณฑล มณฑา และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ษัฑ.
(ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๘ เรียกว่า ฒอ ผู้เฒ่า เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น วัฒน์ วุฒิ.
ณ ๑(นอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๙ เรียกว่า ณอ เณร เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น คุณ บัณฑิต.
(ดอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๐ เรียกว่า ดอ เด็ก เป็นอักษรกลางใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น มดกัด.
(ตอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๑ เรียกว่า ตอ เต่า เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น จิต เมตตา ฟุต.
(ถอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๒ เรียกว่า ถอ ถุง เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น รถ นาถ.
ท ๑(ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๓ เรียกว่า ทอ ทหาร เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ประมาท บท.
ธ ๑(ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๔ เรียกว่า ธอ ธง เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น สุเมธ มคธ.
น ๑(นอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๕ เรียกว่า นอ หนู เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น จาน.
บ ๑(บอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๖ เรียกว่า บอ ใบไม้ เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากบหรือแม่กบ เช่น ดิบ.
บังคับครุน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อำ ใอ ไอ เอา เช่น รำ ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.
บังคับลหุน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น ละ ติ ลุ.
(ปอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๗ เรียกว่า ปอ ปลา เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากบหรือแม่กบ เช่น บาป เนปจูน สัปดาห์.
(พอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๐ เรียกว่า พอ พาน เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากบหรือแม่กบ เช่น ภพ ภาพ สรรพ ผลลัพธ์.
(ฟอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๑ เรียกว่า ฟอ ฟัน เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากบหรือแม่กบ เช่น เสิร์ฟ ไมโครเวฟ.
(พอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๒ เรียกว่า ภอ สำเภา เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากบหรือแม่กบ เช่น ปรารภ ลาภ.
(มอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๓ เรียกว่า มอ ม้า เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้นและเป็นตัวสะกดในมาตรากมหรือแม่กม เช่น ลม ยาม.
มาตราแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า มาตรา ก กา หรือ แม่ ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในมาตราเกอวหรือแม่เกอว
แม่คำหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือมาตรา ก กา, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กกหรือมาตรากก, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กงหรือมาตรากง, คำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กดหรือมาตรากด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กนหรือมาตรากน, คำหรือพยางค์ที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด เรียกว่า แม่กบหรือมาตรากบ, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กมหรือมาตรากม, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกยหรือมาตราเกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอวหรือมาตราเกอว.
ไม้ผัดน. เครื่องหมายรูปสระดังนี้  ั ใช้แทนเสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้หันอากาศ หรือ หางกันหัน, ก็เรียก.
ไม้หันอากาศน. เครื่องหมายรูปสระดังนี้  ั ใช้แทนเสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้ผัด หรือ หางกังหัน ก็เรียก.
(ยอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๔ เรียกว่า ยอ ยักษ์ เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตราเกยหรือแม่เกย เช่น ลุย สาย.
(รอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เรียกว่า รอ เรือ เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น การ วาร, เมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีพยางค์อื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียงประสมสระ ออ และตัว ร ออกเสียง ระ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).
รร(รอหัน) อักษร ร ควบกัน ๒ ตัว ถ้าไม่มีตัวสะกด ใช้แทนสระอะกับแม่กนสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) สรร (สัน) สรรค์ (สัน), ถ้ามีตัวสะกดใช้แทนสระอะ เช่น วรรณ (วัน) สรรพ (สับ) กรรม (กัม) อรรถ (อัด).
(ลอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๖ เรียกว่า ลอ ลิง เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น กาล พาล ฟุตบอล.
ลดรูปก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียงสระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ–ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ–ะ เป็น ลง.
ลหุใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน.
(วอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๗ เรียกว่า วอ แหวน เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้นและใช้เป็นตัวสะกดในมาตราเกอวหรือแม่เกอว เช่น กล่าว นิ้ว, ใช้ประสมกับรูปไม้หันอากาศเป็นสระอัวในคำที่ไม่มีตัวสะกด เช่น ตัว มัว, ใช้เป็นสระอัวในคำที่มีตัวสะกด เช่น สวย รวม.
(สอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๘ เรียกว่า ศอ ศาลา เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ปราศจาก อัศวิน อากาศ.
(สอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๙ เรียกว่า ษอ ฤๅษี เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น เศรษฐี พิษ อังกฤษ.

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Orthography and spellingตัวสะกด [TU Subject Heading]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
"But, since I found you, I hear those four-letter words...ตั้งแต่ผมพบคุณ เมื่อผมได้ยินคำที่มีตัวสะกดสี่ตัวนี้ The Perfect Man (2005)
"and all I think about is another four-letter-word:สิ่งที่ผมคิดออกคือ อีกคำหนึ่งที่มีตัวสะกดสี่ตัว The Perfect Man (2005)
You used the native pronunciation, คุณออกเสียง ตัวสะกดตามชาวพื้นเมือง The Ten (2007)
So it's not as if he remembers any one wrong spelling.ไม่ใช่ทุกคำที่เขาจำตัวสะกดผิด Like Stars on Earth (2007)
And he mixes up similarly spelled words. 'T-O-P' becomes 'P-O-T'.และเขาผสมตัวสะกดของคำที่คล้ายกัน 'T o P' กลายเป็น 'P O T' Like Stars on Earth (2007)
Spell "Jenny" with an "I" or would...ตัวสะกด เจนนี่ ด้วยตัว I หรือว่า.. Chuck Versus the Cougars (2008)
Excuse the spelling.ขอโทษเรื่องตัวสะกด S.O.B. (2009)
Gah! Mah!- ระวังเสียงตัวสะกด The King's Speech (2010)
I'm still not adjusted to how the SyFy channel spells their name now.เป็นฉันจะไม่เปลี่ยน ตัวสะกดของช่อง ไซไฟ The Thespian Catalyst (2011)
Have you heard of spell check?เคยได้ยินเรื่อง การตรวจทานตัวสะกดมั้ย Sadie Hawkins (2013)
Cops will use tracers, Oliver, same as we did.ตำรวจใช้ตัวสะกดรอย เหมือนที่เราทำไงโอลิเวอร์ Broken Dolls (2013)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
มาตราตัวสะกด[māttrā tūasakot] (n, exp) FR: consonnes finales [ f ]
ตามตัวสะกด[tām tūasakot] (n) EN: spelling
ตัวสะกด[tūasakot] (n, exp) EN: final consonant ; final voiced consonant  FR: consonne finale [ f ]

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
child processโปรแกรมลูกหมายถึง การที่กำหนดให้โปรแกรมที่กำลังใช้อยู่สามารถ เรียกโปรแกรมอื่นมาทำงานได้ เช่น ในขณะที่กำลังใช้โปรแกรมประมวลผลคำพิมพ์เอกสารอยู่ เราสามารถสั่งให้โปรแกรมประมวลผลคำนั้นไปเรียกโปรแกรมตรวจเช็คตัวสะกดมาทำงานได้ โปรแกรม ประมวลผลคำนั้นจะเรียกว่าโปรแกรมแม่ (parent program) และโปรแกรมตรวจเช็คตัวสะกดเรียกว่าโปรแกรมลูก
scannerเครื่องกราดตรวจเครื่องกราดภาพตัวกราดตรวจตัวกราดภาพหมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่ใช้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับนำข้อความหรือภาพเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำได้ ด้วยวิธีการกราดแสงผ่าน คอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลที่ส่งเข้าไปนั้นมาแก้ไข ปรับแต่ง เพิ่มเติม จัดเก็บและแสดงผลออกมาได้ทั้งทางจอภาพและเครื่องพิมพ์ แต่เดิม เมื่อใช้เครื่องจับภาพอ่านข้อมูลที่เป็นเอกสารเข้าไป คอมพิวเตอร์จะนำไปเก็บในลักษณะของภาพ (image) กล่าวคือไม่สามารถนำข้อความนั้นมาแก้ไขได้ แต่ในปัจจุบัน การพัฒนาได้ก้าวไปไกล ถึงการที่สามารถแปลงตัวอักษรที่เป็นภาพ ให้มีลักษณะเป็นเอกสารที่นำมาแก้ไขตัวสะกดได้ โดยนำมาทำในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) เครื่องกราดภาพที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 2 แบบคือ แบบระนาบ (flatbed) กับแบบมือถือ (handheld) เช่น แบบที่ใช้ในการอ่านรหัสแท่ง (bar code) ใช้ตามร้านสรรพสินค้า
spell checkerโปรแกรมตรวจตัวสะกดหมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ช่วยในการตรวจสอบตัวสะกดการันต์ของข้อความที่พิมพ์ โดยเทียบกับพจนานุกรม (โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ) มักใช้ร่วมกับโปรแกรมประมวลคำ (word processing) ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปมากนอกจากจะทักท้วงถ้าพบตัวที่สะกดผิดแล้ว ยังแสดงคำที่สะกดถูกให้ด้วย
spelling(สเพล'ลิง) n. การสะกดคำ, การสะกดอักษร, ตัวสะกด, อักษรสะกด., Syn. orthography
word processingการประมวลผลคำการประมวลคำหมายถึงการนำข้อมูลต่าง ๆ มาพิมพ์ใส่เข้าไปในคอมพิวเตอร์ แล้วใช้คำสั่งจัดให้แสดงผลในรูปแบบที่ต้องการ เช่น กำหนดขนาดของหน้า กำหนดให้ให้หน้าหนึ่งมีกี่บรรทัด แต่ละบรรทัดมีกี่ตัวอักษร นอกจากนั้น ยังสามารถแก้ไขง่าย กับทั้งเก็บไว้ใช้ในโอกาสหลังได้ ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จช่วย ปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาให้ทำเพิ่มขึ้นได้อีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า แทรกภาพได้ ทำตารางประกอบได้ ตรวจแก้ตัวสะกดให้ได้ แม้แต่เสนอศัพท์ต่าง ๆ ให้เลือกใช้ ก็ได้ ฯ

English-Thai: Nontri Dictionary
spelling(n) การสะกดคำ, การสะกดการันต์, ตัวสะกด

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top