เกาะชายผ้าเหลือง | ก. พึ่งพาผลบุญจากผู้ที่บวชเป็นพระภิกษุสามเณร เช่น ถ้ามีลูกชายก็จะได้บวชให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลือง. |
ชายผ้าสีดา | น. ชื่อเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Platycerium วงศ์ Polypodiaceae เหง้าใหญ่สั้น ใบมี ๒ แบบ ใบที่ทาบกับต้นไม้เป็นใบไม่สร้างอับสปอร์ แผ่นใบตั้ง ไม่มีก้านใบ ติดอยู่กับต้นตลอดไป ส่วนใบสร้างอับสปอร์แผ่นใบตั้งขึ้นหรือห้อยลง ขอบหยักเว้า ใบจะร่วงไปตามอายุ. |
เห็นชายผ้าเหลือง | มีโอกาสได้จัดการบวชลูกหลานเป็นต้นในพระพุทธศาสนา ถือว่าได้บุญมาก. |
กรวยเชิง | น. ลายที่ทำเป็นรูปกรวย ใช้เป็นลายชายผ้าและปลายเสา เรียกชื่อต่าง ๆ กันแล้วแต่ลายอยู่ที่ไหน เช่น ถ้าอยู่ที่เชิงผ้า เรียกว่า กรวยเชิง, ถ้าอยู่ที่เชิงผ้าเกี้ยว เรียกว่า เชิงเกี้ยว, ถ้าอยู่ที่ด้ามหอก เรียกว่า เชิงหอก. |
กระเบน | เรียกชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียงสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน |
กริบ | (กฺริบ) ก. ขริบ, ตัดเล็มด้วยกรรไกร เช่น กริบผม กริบชายผ้า, ตัดขาดโดยฉับไวและแนบเนียนด้วยความคม. |
กลิ้ม | (กฺลิ้ม) ก. เล็มหน้าผ้า, เย็บหน้าผ้าให้เป็นตะเข็บเพื่อมิให้ชายผ้าหลุดออก. |
เขี้ยวตะขาบ | ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากันคล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง. |
ครุย | (คฺรุย) น. ชายผ้าที่ทำให้รุ่ยเป็นเส้น ๆ, ชายครุย ก็ว่า |
จำ ๔ | น. ชายผ้า เช่น เอาพระจำเจิมเฉลิมเชิงเวียน. |
โจงกระเบน | ก. ม้วนชายผ้านุ่งแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, เรียกวิธีนุ่งผ้าเช่นนั้น ว่า นุ่งผ้าโจงกระเบน. |
ฉุด | ก. ออกแรงดึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างแรงให้เข้ามาหาตัว เช่น ฉุดคนที่หกล้มให้ลุกขึ้นมา ฉุดไว้ไม่ให้ไป, โดยปริยายหมายความว่า ถ่วงให้ต่ำลง เช่น คะแนนภาษาอังกฤษฉุดให้คะแนนรวมต่ำลง, หรือดึงให้สูงขึ้น เช่น ได้เกาะชายผ้าเหลืองฉุดขึ้นสวรรค์. |
ชาย ๒ | น. ส่วนริมหรือปลายของสิ่งของบางอย่าง เช่น ชายผ้า ชายจีวร, ส่วนที่สุดเขต, ริม, เช่น ชายป่า ชายแดน ชายทะเล. |
ชายกระเบน | น. ชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียง สอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, หางกระเบน ก็เรียก. |
ชายครุย | น. ชายผ้าที่ทำให้รุ่ยเป็นเส้น ๆ, ครุย ก็ว่า. |
เต่อ | ว. ลักษณะที่ชายผ้านุ่งหรือแขนเสื้อเป็นต้นสั้นขึ้นไปมาก เช่น นุ่งผ้าสั้นเต่อ แขนเสื้อสั้นเต่อ, เตินเต่อ ก็ว่า. |
เตินเต่อ | ว. ลักษณะที่ชายผ้านุ่งหรือแขนเสื้อเป็นต้นสั้นขึ้นไปมาก เช่น นุ่งผ้าสั้นเตินเต่อ นุ่งผ้าสูงเตินเต่อ, เต่อ ก็ว่า. |
ทศ ๒, ทศา | (ทด, ทะสา) น. ชายผ้า, ชายครุย. |
ทสา | (ทะ-) น. ชายผ้า, ชายครุย. |
นุ่งผ้าโจงกระเบน | ก. นุ่งผ้าแล้วม้วนชายผ้านุ่งสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว. |
ผ้าเหลือง | น. จีวร เช่น เกาะชายผ้าเหลือง, เครื่องหมายแห่งพระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ในความว่า ไม่เห็นแก่พระ ก็เห็นแก่ผ้าเหลืองเถิด. |
รุ่ย ๒ | ว. หลุดออกจากที่เดิมทีละเล็กละน้อย เช่น ด้ายชายผ้ารุ่ยไปทีละเส้นสองเส้น. |
ลอยชาย | ว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้าลอยชาย |
ลูกรุ่ย | น. แก้วเป็นต้นที่ทำเป็นแท่งยาว ๆ คล้ายผลต้นลุ่ยสำหรับห้อยเป็นระย้า, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกรุ่ยชายผ้าม่าน. |
เล็ม | ก. เย็บริมชายผ้า เช่น เล็มผ้า |
สลวย | (สะหฺลวย) ว. ลักษณะของเส้นผมที่ละเอียด อ่อนนุ่ม ทิ้งตัว และมีปลายช้อยงอนงาม เช่น ผมสลวยจัดทรงง่าย, ลักษณะชายผ้าที่ทิ้งตัวห้อยลง เช่น ผ้าม่านทิ้งชายห้อยสลวย. |
ส่าหรี | (-หฺรี) น. เครื่องแต่งกายสตรีอินเดียแบบหนึ่ง เป็นผ้าชิ้นยาวประมาณ ๕-๖ เมตร ใช้เป็นทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม ส่วนที่นุ่ง ยาวกรอมส้น พันรอบตัวและจีบข้างหน้าเหน็บไว้ที่เอว ส่วนผ้าห่มใช้ชายผ้าที่เหลือพาดอกและสะพายบ่า โดยมากเป็นบ่าซ้ายห้อยชายไปข้างหลัง ชายที่ห้อยดึงมาคลุมหัวก็ได้. |
หน้า | ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า |
หยักรั้ง | ว. อาการนุ่งผ้าถุงหรือผ้าโสร่งรั้งผ้าทางด้านข้างมาเหน็บเอวทั้ง ๒ ข้างให้ชายผ้าร่นสูงขึ้น. |
หลบหลังคา | วิธีสอยชายผ้าอย่างหนึ่ง. |
หว็อย ๆ | ว. อาการที่ชายผ้าหรือใบไม้เป็นต้นถูกลมพัดปลิวสะบัดหรือปลิวพลิกไปมา. |
หางกระเบน | น. ชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียง สอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, ชายกระเบน ก็เรียก. |
หางหงส์ ๑ | น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรำ |