กระจุ๋งกระจิ๋ง | ก. พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า. |
กระจุ๋งกระจิ๋ง | ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า. |
กระจุบ, กระจุ๊บ | น. ส่วนของโคมตรงที่สวมหลอด |
กระจุบ, กระจุ๊บ | ส่วนหนึ่งของตะเกียงที่ไส้ผ่านสำหรับจุดไฟ. |
กระจุ๋มกระจิ๋ม | ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ น่าเอ็นดู, จุ๋มจิ๋ม ก็ว่า. |
จระจุ่ม | (จะระ-) ก. ใส่, เผา, ทิ้ง, โยน. |
จุ๊กกรู๊ | ว. เสียงนกเขาขันคู, กรุกกรู๊ ก็ว่า. |
จุ่ง | ก. จง, คำช่วยกริยาบอกความบังคับหรือความหวัง. |
จุ้งจัง | น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จิงจัง หรือ จิ้งจัง ก็ว่า. |
จุ๋งจิ๋ง | ก. พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า. |
จุ๋งจิ๋ง | ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า. |
จุ่น | ว. ลักษณะสะดือที่โปนออกมา เรียกว่า สะดือจุ่น. |
จุ้น ๑ | น. ที่รองภาชนะเช่นถ้วยหรือป้าน ทำด้วยไม้หรือกระเบื้องเป็นต้น. |
จุ้น ๒ | ก. จุ้นจ้าน. |
จุ้นจ้าน | ก. เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หรือในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวจนน่าเกลียด, (ปาก) จุ้น. |
จุ้นจู๊ | น. ผู้จัดการเรือ, หัวหน้าและผู้จัดการเรื่องสินค้าในเรือ. |
จุ๊บ ๑ | ว. เสียงอย่างเสียงดูดปาก. |
จุ๊บ ๑ | ก. จูบ, ดูด. |
จุ๊บ ๒ | น. หลอดสำหรับรับของไหลเช่นลมหรือไอนํ้าเป็นต้นให้ผ่านเข้าไป. |
จุ๊บแจง ๑ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Cerithidea obtusa (Lamarck) ในวงศ์ Potamididae เปลือกขรุขระ รูปค่อนข้างยาว ปลายแหลม สีเทาอมดำหรือน้ำตาล. |
จุ๊บแจง ๒ | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่. |
จุ่ม | ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจ่อมลงไปในของเหลวแล้วยกขึ้น เช่น เอาผ้าจุ่มนํ้า. |
จุ้ม | ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งชุบหรือจุ่มลงไปในของเหลว เช่น เอาปากกาจุ้มหมึก. |
จุ๋มจิ๋ม | ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ น่าเอ็นดู, กระจุ๋มกระจิ๋ม ก็ว่า. |
จุ้ย | ว. เล็ก, น้อย, เช่น พระจอมจุ้ย. |
พิธีจุ่ม | น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะเพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน, ศีลล้างบาป ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม. |
เรือเอี้ยมจุ๊น | น. เรือขนาดใหญ่ต่อด้วยไม้ ท้องเรือเป็นสัน สำหรับขนถ่ายและบรรทุกสินค้า. |
ลิงจุ่น | ดู ลิงลม. |
ศีลจุ่ม | น. ศีลล้างบาป. |
สะดือจุ่น | น. สะดือที่มีลักษณะโปนออกมา. |
เอี้ยมจุ๊น | น. ชื่อเรือขนาดใหญ่ ต่อด้วยไม้ ท้องเรือเป็นสัน สำหรับขนถ่ายและบรรทุกสินค้า. |
กระแชง ๑ | ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่าเรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทำเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง. |
กระแตแต้แว้ด ๒ | น. ใช้เปรียบผู้หญิงที่ชอบจุ้นจ้าน เจ้ากี้เจ้าการ, กระแตแว้ด ก็ว่า. |
กระแตแว้ด | น. ใช้เปรียบผู้หญิงที่ชอบจุ้นจ้าน เจ้ากี้เจ้าการ, กระแตแต้แว้ด ก็ว่า. |
กระทงทอง | น. ของว่างชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระทงใส่ไส้ กระทงทำจากแป้งสาลีผสมกับไข่เป็ด หัวกะทิ เป็นต้น เอาพิมพ์กระทงจุ่มแป้งลงทอดในกระทะให้เป็นรูปกระทงตามพิมพ์ ใส่ไส้ทำด้วยเนื้อไก่ หอมใหญ่ มันฝรั่ง ผัดปรุงรสเค็มหวาน. |
กระทงเหิน | น. ไม้ขวางเรืออันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือของเรือเอี้ยมจุ๊น, ถ้าเป็นเรือพายม้า เรียกว่า หูกระต่าย. |
กรุกกรู๊ | (กรุกฺ-) ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. |
ขนมกง | น. ขนมทำด้วยถั่วทองคั่วบดละเอียด กวนในน้ำตาลปึกที่ต้มกับกะทิจนเหนียวและปั้นได้ ปั้นเป็นวงรูปล้อมีกากบาทตรงกลาง จุ่มลงในแป้งแล้วทอดในน้ำมันร้อนจัดจนสุก เป็นขนมในงานมงคลเช่นงานแต่งงาน. |
คอไฟ | น. ส่วนของโคมหรือตะเกียงตรงที่ต่อกระจุ๊บกับหม้อนํ้ามัน. |
จ่อม ๒ | ก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม, เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด เช่น ใจจ่อมเจ้า |
จิงจัง, จิ้งจัง | น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จุ้งจัง ก็ว่า. |
จิ้ม | ก. จุ่ม, จุ้ม, เช่น จิ้มนํ้าพริก จิ้มหมึก |
แจดแจ้, แจ๊ดแจ๋ | ว. มีกิริยาวาจาจุ้นจ้านเกินพอดี. |
แฉ่ | ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฝนตกพรำ ๆ เป็นระยะ ๆ หรือเสียงที่เอาโลหะเผาไฟร้อนจุ่มลงในนํ้า. |
ชุบ | ก. จุ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งในของเหลว ทำให้ของเหลวหรือสารละลายในของเหลวเกาะติด เช่น ชุบทอง |
ชุบตัว | ก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้นอย่างพระสังข์ชุบตัวให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟเพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราชชุบตัวในกองไฟเพื่อให้กลับเป็นหนุ่มใหม่ |
ชุบมือ | ก. เอามือจุ่มลงในน้ำเพื่อให้เปียกก่อนเปิบข้าวเป็นต้น. |
ดอกจอก | ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิให้เหลว ปรุงให้มีรสเค็มหวานเล็กน้อย ใช้พิมพ์รูปอย่างดอกจอกจุ่มให้แป้งติด แล้วเอาไปทอด |
ดำหัว | น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทำในวันสงกรานต์เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือ วิธีดำหัว คือ เอานํ้าสะอาด พร้อมดอกคำฝอย ฝักส้มป่อย และผงขมิ้น ใส่ขัน ไปเคารพและขอขมาผู้ใหญ่ โดยให้ท่านจุ่มน้ำลูบศีรษะตนเองเพื่อให้ท่านอยู่เย็นเป็นสุขและขอรับพรจากท่าน. |
แท่นหมึก | น. ที่ฝนหมึกแท่งของจีน สำหรับใช้พู่กันจุ้มเขียนหนังสือ. |