International Atomic Energy Agency | ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ, ไอเออีเอ, หน่วยงานสากลด้านความร่วมมือทางนิวเคลียร์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 ภายใต้องค์การสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพของโลก ป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ให้ความช่วยเหลือด้านการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของมนุษยชาติ [นิวเคลียร์] |
Asian Development Bank | ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีสมาชิกทั้งหมด 59 ประเทศ (สถานะเมื่อ เดือนตุลาคม 2543) แบ่งเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 43 ประเทศ (รวมทั้งไทย) และประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคอีก 16 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ [การทูต] |
Amnesty International | องค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว [การทูต] |
European Central Bank | ธนาคารกลางยุโรป มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครแฟรงเฟิร์ต ประกอบด้วยผู้ว่าธนาคารกลางของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มีหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินและการนำเงินสกุลยูโรมาใช้ในระบบยูโร (EURO System) [การทูต] |
Food and Agriculture Organization | องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2488 มีหน้าที่บรรเทาความอดอยากและหิวโหยของ ประชากรโลกด้วยการส่งเสริม และพัฒนาเกษตรกรรม การปรับปรุงโภชนาการ และแสวงหาความมั่นคงทางด้านอาหาร ปัจจุบันมีสมาชิก 171 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี " [การทูต] |
International Bank for Reconstruction and Development | ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ธนาคารโลก (World Bank) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เพื่อส่งเสริมให้เงินทุนมีการไหลเวียนระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านการให้กู้ในโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนา [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2490 โดยอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (Convention on International Civil Aviation) มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นหน่วยงานกลางระหว่างประเทศสมาชิก ในการออกกฎ ระเบียบ และ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการบินพลเรือน ปัจจุบันมีสมาชิก 185 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา " [การทูต] |
International Maritime Organization | องค์การกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นเวทีระหว่างประเทศสมาชิก ในการกำหนดมาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการเดินเรือ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งเป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน มีสมาชิก 155 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร " [การทูต] |
Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
Inter- Parliamentary Union | สหภาพรัฐสภา ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2432 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยูที่นครเจนิวา ประเทศวิตเวอร์แลนด์ มีสมาชิกจำนวน 153 ประเทศ และ 8 กลุ่มสมาชิกสมทบ (กันยายน 2552) [การทูต] |
Inter-Parliamentary Union | สหภาพรัฐสภา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2432 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิกจำนวน 140 ประเทศ (ตุลาคม 2547) [การทูต] |
Millennium Summit | การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ การประชุมสุดยอดของประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลที่จัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ เสนอข้อคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 ให้สามารถเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงและสิ่งท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [ ที่ประชุมยืนยันพันธกรณีร่วมกันที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สหประชา ชาติในการดำเนินการเรื่องสำคัญของมนุษยชาติ ดังระบุไว้ในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Declaration) ] [การทูต] |
North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Organization of American States | คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกราน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดย สันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
Organisation for Economic Cooperation and Development | องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาที่ลงนามในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2503 และมีผลบังคับใช้ วันที่ 30 กันยายน 2504 มีสมาชิก 29 ประเทศ (ส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว) เป็นเวทีหารือระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส [การทูต] |
Organization of European Economic Cooperation | คือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Southeast Asia Collective Defense Treaty (Mahila Pact) | สนธิสัญญาซีโต้ สนธิสัญญานี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญามีประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สนธิสัญญาได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะ ป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกันสำนักงานใหญ่ขององค์การซีโต้ตั้ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมากทำให้องค์การซีโต้หมดความ จำเป็น และได้ยุบเลิกไปนานแล้ว [การทูต] |
The League of Nations | สันนิบาตชาติ เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาแวร์ซาย และสนธิสัญญาอื่น ๆ ที่ทำขึ้นตอนเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสถาปนาเป็นองค์การระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1920 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา สันนิบาตชาติมีหน้าที่สำคัญสองประการ คือ1. ดูแลให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามสนธิสัญญา2. ให้โลกมีสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศแต่สันนิบาตชาติมีอายุอยู่ได้ ไม่นาน อุปสรรคสำคัญที่สุดอันหนึ่ง คือ ไม่มีสหรัฐอเมริการ่วมเป็นสมาชิกขององค์การด้วย สันนิบาตชาติประชุมกันเป็นสมัยประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1939 และหมดสภาพเป็นองค์การระหว่างประเทศลงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946 ทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดได้โอนไปให้แก่องค์การสหประชาชาติ [การทูต] |
United Nations Development Programme | โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ปริหารและประสานความช่วยเหลือด้านวิชาการทั้งหมดในระบบสหประชาชาติ [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |