แต่ ๑ | ว. เฉพาะ, อย่างเดียว, เท่านั้น, เช่น เลือกเอาแต่ดี ๆ อยู่แต่ในบ้าน. |
แต้ ๑ | ว. อย่างเบิกบานเต็มที่ เช่น ยิ้มแต้ รำแต้ วิ่งแต้. |
กระเบน | น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวกว้างตั้งแต่ ๑๕-๓๐๐ เซนติเมตร ลำตัวแบนลงมาก และต่อเนื่องกับครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด |
ความถี่วิทยุ | น. ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งวิทยุและโทรทัศน์ ขนาดตํ่าสุดตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ขนาดสูงสุดตั้งแต่ ๓๐, ๐๐๐ ถึง ๓๐๐, ๐๐๐ เมกะเฮิรตซ์. |
ซ่องโจร | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำ สมคบกันตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป. |
เด็กชาย | น. คำนำหน้าชื่อเด็กผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีลงมา. |
เด็กหญิง | น. คำนำหน้าชื่อเด็กผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีลงมา. |
ต่อแต้ม | น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ตัวทำเป็นรูปไม้สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ๒ ตอน มีแต้มตั้งแต่ ๑ ถึง ๖ ใช้ด้านที่แต้มเท่ากันมาต่อกัน ตัวของใครหมดก่อนเป็นผู้ชนะ |
ตะขาบ ๑ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้อง ชั้น Chilopoda มีเขี้ยว ๑ คู่ หัวและลำตัวยาวแบนหรือค่อนข้างแบน มีจำนวนปล้องตั้งแต่ ๑๕ ปล้องขึ้นไป แต่ละปล้องมีขา ๑ คู่ไปจนถึงปล้องสุดท้ายหรือเกือบสุดท้าย ขามี ๕-๗ ปล้อง อยู่ด้านข้างของลำตัว บางชนิดมีนํ้าพิษ ทำให้ผู้ถูกกัดเจ็บปวด เช่น ตะขาบไฟ ( Scolopendra morsitansLinn.) ในวงศ์ Scolopendridae ลำตัวยาว ๑๔-๒๐ เซนติเมตร สีน้ำตาลแดง, กระแอบ หรือ จะขาบ ก็เรียก. |
ตี | น. วิธีนับเวลาในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกา เรียกว่า ตี ๑ ถึง ตี ๖, แต่ตี ๖ นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง. |
เถร, เถร-, เถระ | (เถน, เถระ-) น. พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกำหนดว่า พระมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ. |
เถรภูมิ | (เถระพูม) น. ระดับชั้นของพระภิกษุที่มีพรรษาระดับสูง คือตั้งแต่ ๑๐ พรรษาขึ้นไป อยู่ต่อจาก นวกภูมิ กับ มัชฌิมภูมิ. |
ทุ่ม | น. วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม, (โบ) วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกาของอีกวันหนึ่ง. |
นาฟางลอย | น. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ข้าวขึ้นน้ำ” เนื่องจากมีรากยาว สามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อและที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมีระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร, นาเมือง ก็เรียก. |
นาสวน | น. นาข้าวที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีระดับน้ำลึกตั้งแต่ ๑ เมตรลงมา |
นางสาว | น. คำนำหน้าชื่อหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้วหรือหญิงซึ่งเป็นหม้าย ก็มีสิทธิใช้คำนำหน้าชื่อว่า นางสาว ได้. |
นาย | น. คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป |
ผีเสื้อ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Chaetodontidae ยกเว้นปลาโนรี ( Heniochusspp.) ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก ปากเล็ก บางชนิดปากยื่นยาวเป็นท่ออยู่ปลายสุดของหัว มีเกล็ดหนามคลุมถึงบนครีบหลัง ครีบก้น และครีบหาง สีสวยสด แตกต่างกันตามชนิด มักเป็นบั้ง แถบ หรือจุดคละกันหลายสี อาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง กินสัตว์น้ำขนาดเล็กหรือสาหร่าย ขนาดยาวตั้งแต่ ๑๐-๓๐ เซนติเมตร มีการนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม. |
โมง ๑ | น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า. |
รัชชูปการ | น. เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากชายฉกรรจ์ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘-๖๐ ปีที่มิได้รับราชการทหารหรือได้รับการยกเว้นเป็นรายบุคคล เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชบัญญัติลักษณะการเก็บเงินรัชชูปการ พุทธศักราช ๒๔๖๒). |
รำ ๒ | น. การแสดงที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น แขน ขา ลำตัว นิ้ว มือ และเท้า ไปตามลีลาดนตรี ใช้ผู้แสดงตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป มีลีลาและแบบท่ารำสวยงาม เช่น รำแม่บท รำฉุยฉายพราหมณ์, ถ้าเป็นการถืออาวุธประกอบเรียกว่า รำอาวุธ เช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, บางครั้งมีการรำเป็นหมู่ก็เรียกว่า รำ เช่น รำโคม รำวง, อาการที่แสดงท่าแสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน. |
ลมกรด | น. กระแสลมแรงจัดในบรรยากาศชั้นบนในระดับสูงตั้งแต่ ๑๐, ๐๐๐-๑๕, ๐๐๐ เมตร มีลักษณะเป็นลำคล้ายท่อรูปรีขนาดใหญ่, โดยปริยายหมายความว่า เร็วมาก เช่น นักวิ่งลมกรด. |
วัยสาว | น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี, ใช้แก่หญิง. |
วัยหนุ่ม | น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี, ใช้แก่ชาย. |
วัยหนุ่มสาว | น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี. |
สาว ๑ | น. หญิงที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปีขึ้นไป เช่น ย่างเข้าสู่วัยสาว โตเป็นสาวแล้วยังซุกซนเหมือนเด็ก ๆ. |
หนุ่ม | น. ชายที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี. |
อังคุตรนิกาย | (-คุดตะระ-) น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงหลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ. |