ณ ๑ | (นอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๙ เรียกว่า ณอ เณร เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น คุณ บัณฑิต. |
คุณ ๑, คุณ- | (คุน, คุนนะ-) น. ความดีที่มีประจำอยู่ในสิ่งนั้น ๆ เช่น คุณของแผ่นดิน, ความดีที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น ไม่รู้คุณข้าวแดงแกงร้อน |
คุณ ๑, คุณ- | ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.) |
คุณ ๑, คุณ- | คำที่ใช้เรียกนำหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร |
คุณ ๑, คุณ- | คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป |
คุณ ๑, คุณ- | คำแต่งชื่อ. |
คุณ ๑, คุณ- | (คุน, คุนนะ-) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา. |
ศาณ ๑ | น. หินลับมีด, หินเจียระไน. |
กระจกตา | น. ส่วนใสของตา มีรูปกลมแบน สีใส พื้นหน้านูนออกพื้นหลังหวำ หนาประมาณ ๑ มิลลิเมตร ประกอบอยู่เบื้องหน้าของดวงตา. |
กระเจี๊ยบ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Abelmoschus esculentus (L.) Moench ในวงศ์ Malvaceae ผลสีเขียว ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร ใช้เป็นผัก, กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทวาย หรือ มะเขือมอญ ก็เรียก. |
กระชับ ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Xanthium indicum K. Koenig ex Roxb. ในวงศ์ Compositae มักขึ้นเป็นวัชพืชในทุ่งนาและริมนํ้า ลำต้นและใบคาย ใบมนเว้า ขอบจัก โคนใบแหลม ดอกเล็กรวมเป็นกระจุกแน่น ผลรี ยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร มีหนามปลายงอทั่วทั้งผล รากหอมอ่อน ๆ ใช้อบผ้าได้ บางส่วนของไม้นี้ใช้เป็นยาได้ แต่ทั้งต้นเป็นพิษต่อปศุสัตว์, ขี้ครอก หรือ ขี้อ้น ก็เรียก. |
กระดูกอึ่ง | ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก |
กระดูกอึ่ง | และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง. |
กระแตไต่ไม้ ๒ | น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Sm. ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีนํ้าตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือ ใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีนํ้าตาลเข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีนํ้าตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทำหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก. |
ก้ามปู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Samanea saman (Jacq.) Merr. ในวงศ์ Leguminosae เรือนยอดทึบแบนแผ่สาขากว้างใหญ่จึงให้ร่มเงาได้ดี ช่อดอกเป็นพู่สีชมพูแก่ ฝักแก่สีนํ้าตาลไหม้ ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร รสหวาน เป็นไม้ที่นำเข้ามาปลูก, เดิมเรียก จามจุรีแดง แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า จามจุรี, พายัพเรียก ฉำฉา หรือ สำสา. |
กำแพงเขย่ง | (-ขะเหฺย่ง) น. ชื่อพระพิมพ์ปางลีลา ยกพระบาทข้างหนึ่งคล้ายเขย่ง เพราะขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นแห่งแรก จึงเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง, ถ้ามีขนาดสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก. |
กินูน | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae ลำตัวมีขนาดและสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินกินรากพืช ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บนต้นไม้กินใบไม้ มักบินเข้าหาแสงไฟ ชาวบ้านในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำมารับประทาน ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Anomala antiqueGyllenhal ลำตัวสีดำเหลือบน้ำเงิน ยาว ๑๘-๒๐ มิลลิเมตร ชนิด Sophrops foveatus Moser ลำตัวสีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ ๑๕ มิลลิเมตร, แมลงนูน ก็เรียก. |
ขวบ | น. ปี, รอบปี, ลักษณนามใช้แก่อายุของเด็กประมาณ ๑๒ ปีลงมา เช่น เด็กอายุ ๕ ขวบ, เวลาที่นับมาบรรจบรอบ เช่น ชนขวบ. |
ขาไก่ ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Sericocalyx schomburgkii (Craib) Bremek .ในวงศ์ Acanthaceae ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร ปลูกเป็นรั้ว. |
ข้าวฟ่าง | น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิด ในวงศ์ Gramineae คือ ข้าวฟ่างหางหมา [ Setaria italica (L.) P. Beauv. ] ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร เมล็ดขนาดเมล็ดงา และข้าวฟ่างสมุทรโคดมหรือข้าวฟ่างหางช้าง [ Sorghum bicolor (L.) Moench ] ต้นสูงประมาณ ๒ เมตร เมล็ดขนาดเมล็ดพริกไทย. |
ข้าวต้ม ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Wissadula periplocifolia (L.) C. Presl ex Thwaites ในวงศ์ Malvaceae ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร เปลือกเหนียว ใบรูปใบโพโคนป้าน ผลมี ๕ พู เมื่อแก่พูแยกออกจากกัน. |
ขาวพวง | น. ชื่อส้มโอพันธุ์หนึ่ง ผลคล้ายส้มจุก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เซนติเมตร. |
ค่อม ๒ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงชนิด Hypomeces squamosus (Fabricius) ในวงศ์ Curculionidae ลำตัวด้านบนโค้งนูน ยาวประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร หัวยื่นออกไปเป็นงวงสั้น ๆ ตัวและปีกสีเขียวเหลือบทอง, ค่อมทอง หรือ ทับเล็ก ก็เรียก. |
คัน ๓ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Amesiodendron chinense (Merr.) Hu ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามชายนํ้า สูงประมาณ ๑๐ เมตร, ขัน ก็เรียก. |
คันหามเสือ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็ก ๒ ชนิดในวงศ์ Araliaceae คือ ชนิด Trevesia valida Craib ขึ้นตามหินใกล้ลำธารในป่า ลำต้นมีหนามห่าง ๆ และชนิด Aralia montana Blume ลำต้นและใบมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ ยาวประมาณ ๑ เมตร. |
คุณากร | ดู คุณ ๑, คุณ-. |
คุณูปการ, คุโณปการ | ดู คุณ ๑, คุณ-. |
ง่าม ๒ | น. ชื่อมดชนิด Pheidologeton diversus (Jerdon) ในวงศ์ Formicidae สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดำตลอดตัว มีกลิ่นเฉพาะตัว อยู่กันเป็นฝูง ในฝูงจะพบมดเฝ้ารังมีขากรรไกรเป็นง่ามใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร ส่วนมดงานลำตัวยาวเพียงประมาณ ๓ มิลลิเมตร. |
เจาะจมูก | ก. เจาะด้านหัวและท้ายของซุงเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายจมูกห่างจากหัวไม้ประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑๒.๕ เซนติเมตร แล้วเอาลวดหรือหวายร้อยเข้ากับคานแพซึ่งเป็นไม้ยาว ๆ ขวางลำกับท่อนซุงเพื่อผูกเป็นแพ. |
ใจมือ | น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๑๕๐ เมล็ดข้าว = ๑ ใจมือ ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ และ ๘ กำมือ = ๑ จังออน |
ซุย ๑ | น. มีดขนาดย่อม ใบมีดรูปร่างคล้ายปลาลิ้นหมา ปลายแหลม สันหนา คมบาง ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ. |
ด้วง ๓ | น. ชื่อเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ ๕-๖ เซนติเมตร มีคันยาวประมาณ ๑ เมตร มีสายห่วงติดกับกระบอกส่วนล่าง โยงไปผูกติดกับปลายคัน มีไม้คํ้าอันหนึ่งเพื่อให้คันโก่ง กับไม้ลิ้นพาดปากกระบอกอีกอันหนึ่งทำหน้าที่เสมือนไก สำหรับดักแย้เป็นต้น. |
ดาสวน | น. ชื่อแมลงพวกมวนชนิด Sphaerodema rusticum (Fabricius) และ S. molestum (Dufour) ในวงศ์ Belostomatidae ลักษณะคล้ายแมลงดานาแต่ตัวเล็กกว่ามาก ลำตัวยาวประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยมักบินเข้าหาแสงไฟ เพศเมียวางไข่บนหลังเพศผู้เป็นกลุ่มยึดติดกันด้วยสารเหนียว นำมาคั่วกับเกลือกินได้, แมลงดาสวน สีเสียด แมลงสีเสียด มวนหลังไข่ หรือ มวนก้าน ก็เรียก |
ดิ่งพสุธา | น. เรียกการกระโดดร่มจากที่สูงโดยให้ตัวลอยอยู่ในอากาศก่อน เมื่อใกล้พื้นดินประมาณ ๑, ๐๐๐ เมตร จึงกระตุกสายร่มให้กางออก ว่า กระโดดร่มแบบดิ่งพสุธา. |
ดิ้ว | ไม้ถือมีลักษณะแบนหนาหรือกลม เป็นท่อนยาวประมาณ ๑ ศอก ด้านมือจับมีเชือกร้อยสำหรับคล้องข้อมือ มีไว้ถือป้องกันตัว. |
เด็กแดง | น. เด็กที่เพิ่งคลอดไม่นาน อายุประมาณ ๑ เดือน. |
เดือนสุริยคติ | (-สุริยะคะติ) น. ช่วงเวลาประมาณ ๑ ใน ๑๒ ของปีสุริยคติ ได้แก่เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม เดือนที่ลงท้ายด้วยอายนมี ๓๐ วัน เดือนที่ลงท้ายด้วยอาคมมี ๓๑ วัน และเดือนที่ลงท้ายด้วยอาพันธ์มี ๒๘ หรือ ๒๙ วัน. |
ตะนอย | น. ชื่อมดชนิด Tetraponera ruflonigra (Jerdon) ในวงศ์ Formicidae ลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวและท้องสีดำหรือน้ำตาลดำ ส่วนอกและส่วนท้องปล้องแรกสีน้ำตาลแดง มีอวัยวะสำหรับต่อยปล่อยกรดทำให้เจ็บปวดได้ ทำรังอยู่เป็นฝูงตามกอหญ้า ใต้ก้อนหิน หรือใต้ดินที่ชื้นต่าง ๆ. |
ตะบอง | น. ไม้มีด้ามสำหรับถือ ใช้ตี โดยมากเป็นท่อนกลม, ถ้ามีขนาดยาวประมาณ ๔ ศอก เรียกว่า ตะบองยาว ถ้ามีขนาดยาวประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า ตะบองสั้น, กระบอง หรือ ตระบอง ก็ว่า. |
ติ้ว ๒ | น. ไม้ซี่แบน ๆ ชิ้นเล็ก ๆ มักทำด้วยไม้ไผ่ ยาวประมาณ ๑-๒ คืบ ใช้สำหรับเป็นคะแนน เช่น ปักติ้ว นับติ้ว ถ้าส่วนปลายมีเครื่องหมายหรือตัวเลขกำกับไว้ ใช้สำหรับเสี่ยงทาย เช่น สั่นติ้วเซียมซี หรือสำหรับใช้แทนสลาก เช่น เอาติ้วไปขึ้นของ. |
เต่าทอง ๑ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงขนาดเล็กหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Chrysomelidae รูปร่างค่อนข้างกลม ลำตัวโค้งแบน ปีกแข็งใส โค้งนูน เมื่อหุบปีกจดกันด้านหลังทำให้มองคล้ายหลังเต่า ปีกมีลวดลายเหลือบสีทอง เรียก เต่าทอง เช่น ชนิด Aspidomorpha sanctaecrucis (Fabricius) ตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร ชนิด Cassida circumdata (Herbst) ตัวยาวประมาณ ๔ มิลลิเมตร. |
นอ ๑ | น. สิ่งที่งอกขึ้นเหนือจมูกแรด ยาวประมาณ ๑๒-๑๕ เซนติเมตร แข็งเหมือนเขาสัตว์ |
นิวรณ์ | น. สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ ประการ คือ ความพอใจในกามคุณ ๑ ความพยาบาท ๑ ความหดหู่ซึมเซา ๑ ความฟุ้งซ่านรำคาญ ๑ ความลังเลใจ ๑. |
บรรทัดรองมือ | น. อุปกรณ์อย่างหนึ่งสำหรับจิตรกรใช้รองมือเขียนภาพ เป็นไม้แบน ๆ ยาว ๑-๒ ฟุต กว้างประมาณ ๑ นิ้ว หุ้มปลายข้างหนึ่งด้วยสำลีพันกระดาษฟางหรือผ้าเนื้อนุ่ม. |
เบ็ดราว | น. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราว โดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง. |
ประกับ ๒ | น. วัตถุใช้แทนเงินปลีก ขนาดเท่าเหรียญมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว ทำด้วยดินเผาตีตราต่าง ๆ. |
ปล้องทอง | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Boiga dendrophila (Boie) ในวงศ์ Colubridae ตัวโต ยาวประมาณ ๑.๗ เมตร สีดำตลอดตัวมีลายสีเหลืองพาดขวางเป็นปล้อง ๆ อาศัยตามป่าโกงกางทางภาคใต้ของประเทศไทย หากินตามพื้นดินและบนต้นไม้ กินนก หนู ตุ๊กแก มีพิษอ่อน. |
ปากกว้าง | น. ชื่องูนํ้าขนาดกลางชนิด Homalopsis buccata (Linn.) ในวงศ์ Colubridae ลำตัวยาวประมาณ ๑.๓ เมตร หัวใหญ่ ด้านบนมีแถบสีน้ำตาลเหลืองพาดขวาง ปากกว้าง เกล็ดมีสัน ตัวสีน้ำตาลแดง มักพบอาศัยอยู่ตามริมคลอง บึง และหนองน้ำ หากินเวลากลางคืน กินปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นอาหาร มีพิษอ่อนมาก, หัวกะโหลก เหลือมอ้อ เหลือมน้ำ หรือ เห่าน้ำ ก็เรียก. |
ปากจิ้งจก ๒ | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Ahaetulla prasina (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๓ เมตร หัวและลำตัวเรียวยาว มีหลายสี ส่วนมากสีเขียวปลายหางสีนํ้าตาลแดง มักพบอาศัยบนต้นไม้ หากินเวลากลางวัน ส่วนใหญ่กินกิ้งก่า พบทั่วประเทศไทย มีพิษอ่อนมาก, บางครั้งเรียกชื่อตามสี เช่น ตัวสีส้มเรียก งูง่วงกลางดง ตัวสีเทาเรียก งูกล่อมนางนอน, เขียวหัวจิ้งจก เชือกกล้วย รากกล้วย หรือ แห้ว ก็เรียก. |
ปูเล ๒ | น. วิธีการจับสัตว์น้ำอย่างหนึ่ง โดยใช้ผ้าหนา ๆ ห่อทรายม้วนเป็นลำยาวแล้วใช้คนประมาณ ๑๐ คนดันผ้าไปตามหาดทรายหรือชายตลิ่งตื้น ๆ เพื่อต้อนปลาขึ้นไปบนฝั่ง. |