ว้า ๑ | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดจากที่คาดไว้เป็นต้น. |
ว้า ๑ | ว. คำออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า. |
ละว้อ, ละว้า ๑ | น. คนชาวเขาตอนเหนือประเทศไทยพวกหนึ่งในตระกูลมอญ–เขมร. |
เว้า ๑ | ก. พูด. |
หวา, หว่า ๑ | ว. คำประกอบท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ไปไหนหวา. |
หว้า ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Syzygium Cumini (L.) Skeels. ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีม่วงดำ กินได้. |
กาแล็กซี | น. ระบบขนาดใหญ่ของดาวฤกษ์ ประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์ เนบิวลา และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ กาแล็กซีมากกว่า ๑, ๐๐๐ ล้านกาแล็กซีรวมกันเป็นเอกภพ, ทางช้างเผือก ถือเป็นกาแล็กซีหนึ่ง. |
กำลังม้า | น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ กำลังม้า คือ อัตราของการทำงานได้ ๕๕๐ ฟุตปอนด์ต่อวินาที ๑ กำลังม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, แรงม้า ก็ว่า. |
ไขว่ | (ไขฺว่) น. ลักษณนามเรียกแผ่นกระดาษที่รองรับแผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่น ว่า ๑ ไขว่. |
ชั้นฉาย | น. ชื่อหน่วยในมาตราวัดเวลาในสมัยโบราณ วัดโดยอาศัยการวัดเงาของตัวคนที่เกิดจากแสงแดดด้วยระยะความยาวของฝ่าเท้าของบุคคลนั้น ตอนเช้าหรือเย็นเงาจะทอดยาว และตอนเที่ยงเงาจะสั้นที่สุดหรืออาจไม่มีเลย เงาจะเปลี่ยนสั้นยาวได้จากเดือนหนึ่งไปสู่อีกเดือนหนึ่ง, เงายาว ๑ ฝ่าเท้า เรียกว่า ๑ ชั้นฉาย สามารถเทียบเวลาได้ ถ้าเป็นตอนเช้าเท่ากับ ๑๑.๔๕ นาฬิกา ถ้าเป็นตอนบ่ายเท่ากับ ๑๒.๑๕ นาฬิกา เช่น ปีขาลวันอังคารเดือนห้า ตกฟากเวลาสามชั้นฉาย (ขุนช้างขุนแผน). |
เซลเซียส | น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า องศาเซลเซียส เดิมเรียกว่า องศาเซนติเกรด กำหนดเป็นมาตรฐานว่า จุดเยือกแข็งของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๐ องศา (เขียนย่อว่า ๐ ºซ.) และจุดเดือดของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๑๐๐ องศา (เขียนย่อว่า ๑๐๐ ºซ.), อักษรย่อว่า ซ. |
ทุ่ม | น. วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม, (โบ) วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกาของอีกวันหนึ่ง. |
นักษัตร ๒ | (นักสัด) น. ชื่อรอบเวลา กำหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร โดยกำหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ ชวด–หนู ฉลู–วัว ขาล–เสือ เถาะ–กระต่าย มะโรง–งูใหญ่ มะเส็ง–งูเล็ก มะเมีย–ม้า มะแม–แพะ วอก–ลิง ระกา–ไก่ จอ–หมา กุน–หมู. |
น้ำบาดาล | น. น้ำที่สูบจากใต้ดินที่ลึกไม่ต่ำกว่า ๑๐ เมตร. |
นิรัพพุท | (-รับพุด) น. สังขยาจำนวนสูง เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า ๑๐๐ ล้าน. |
บาดาล | น. พื้นที่ใต้ระดับผิวดินลงไป, เรียกนํ้าที่สูบจากใต้ดินที่ลึกไม่ตํ่ากว่า ๑๐ เมตร ว่า นํ้าบาดาล |
โบราณวัตถุ | (โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ) น. สิ่งของโบราณที่เคลื่อนที่ได้ เช่น เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป |
โบราณสถาน | (โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน) น. สิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป |
เฟื้อง | น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ หมายความว่า ๑ เฟื้อง. |
แรงม้า | น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ แรงม้า คือ อัตราของการทำงาน ได้ ๕๕๐ ฟุตปอนด์ต่อวินาที ๑ แรงม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, กำลังม้า ก็เรียก. |
แว่น ๔ | น. ชื่อนกขนาดกลาง ในวงศ์ Phasianidae ตัวสีน้ำตาลหรือเทา มีแววที่ปีกและหาง ตัวผู้มีเดือยที่แข้งมากกว่า ๑ เดือย ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะรำแพนปีกและหางใต้ตัวเมียสนใจ ทำรังตามพื้นดิน กินแมลง สัตว์ขนาดเล็ก และเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ แว่นสีเทาหรือแว่นเหนือ [ Polyplectron bicalcaratum (Linn.) ] และแว่นสีน้ำตาลหรือแว่นใต้ [ P. malacense (Scopoli) ]. |
เศษเกิน | น. จํานวนจริงที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า ๑ เช่น |
เศียร | เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร. |
สูตรเคมี | น. หมู่สัญลักษณ์ของธาตุซึ่งเขียนขึ้นแทนสารใดสารหนึ่งเพื่อแสดงให้ทราบว่า ๑ โมเลกุลของสารนั้น ๆ ประกอบด้วยธาตุใดบ้าง และมีอย่างละกี่อะตอม เช่น H2O เป็นสูตรเคมีที่เขียนขึ้นแทนนํ้า เพื่อแสดงว่านํ้า ๑ โมเลกุล ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน ๒ อะตอม และธาตุออกซิเจน ๑ อะตอม. |