Accelerator | เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น <em>โปรตอน</em>หรือ<em>อิเล็กตรอน</em> โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น <em>ไซโคลทรอน</em> <em>ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น</em> และ<em>บีตาทรอน</em> [นิวเคลียร์] |
Activation | การก่อกัมมันตภาพรังสี, กระบวนการทำให้ธาตุเกิดกัมมันตภาพรังสีโดยการระดมยิงธาตุนั้นๆ ด้วยนิวตรอน โปรตอน หรือ อนุภาคอื่นๆ ตัวอย่างการก่อกัมมันตภาพรังสี เช่น การผลิตสารไอโซโทปกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 โดยการระดมยิงธาตุเทลลูเรียมด้วยนิวตรอน [นิวเคลียร์] |
Alpha particle | อนุภาคแอลฟา, อนุภาคที่มีประจุบวก ประกอบด้วย<em>โปรตอน</em> 2 อนุภาค และ<em>นิวตรอน</em> 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจาก<em>การสลาย</em>ของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม [นิวเคลียร์] |
Antimatter | ปฏิสสาร, สสารที่มีอะตอมประกอบด้วยปฏิยานุภาค เช่น อะตอมของแอนติไฮโดรเจนประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีแอนติโปรตอนจำนวน 1 อนุภาค และมีโพซิตรอน 1 อนุภาคโคจรอยู่รอบๆ (ดู antiparticle ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Antiparticle | ปฏิยานุภาค, อนุภาคที่มีมวล ประจุไฟฟ้า และเลขสปิน เท่ากับอนุภาคนิวเคลียร์ชนิดเดียวกัน แต่มีประจุไฟฟ้าและหรือโมเมนต์แม่เหล็กตรงข้ามกัน ตัวอย่างโปรตอนมีประจุไฟฟ้า +1 ส่วนแอนติโปรตอนมีประจุไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
Atom | อะตอม, หน่วยที่เล็กที่สุดที่ยังคงสมบัติทางเคมีของธาตุ โครงสร้างของอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสอยู่ตรงกลางและอิเล็กตรอนอยู่ในวงโคจรรอบนิวเคลียส นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ในสภาพปกติอะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับโปรตอน [นิวเคลียร์] |
Atomic number, Z | เลขเชิงอะตอม, จำนวนโปรตอนภายในนิวเคลียสของอะตอมใดๆ และเป็นสิ่งชี้บอกตำแหน่งของธาตุในตารางพีริออดิก [นิวเคลียร์] |
Atomic weight, A | น้ำหนักเชิงอะตอม, น้ำหนักทั้งหมดของโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียสของธาตุรวมกัน (ดู atomic mass ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Binding energy | พลังงานยึดเหนี่ยว, พลังงานยึดเหนี่ยวของโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียส มีค่าเท่ากับพลังงานที่น้อยที่สุดสำหรับการแยกนิวเคลียสออกเป็นโปรตอนและนิวตรอน นอกจากนี้ยังหมายถึง พลังงานยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนด้วย ซึ่งมีค่าเท่ากับพลังงานที่ต้องใช้เพื่อแยกอิเล็กตรอนออกมาจากอะตอมหรือโมเลกุล [นิวเคลียร์] |
Cosmic radiation | รังสีคอสมิก, รังสีจากอวกาศซึ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก มีองค์ประกอบโดยประมาณ ได้แก่ โปรตอนร้อยละ 87 รังสีแอลฟาร้อยละ 11 รังสีอนุภาคหนักที่มีเลขเชิงอะตอมระหว่าง 4 ถึง 26 ร้อยละ 1 และ อิเล็กตรอนร้อยละ 1 [นิวเคลียร์] |
Particle accelerator | เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น โปรตอนหรืออิเล็กตรอน โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น ไซโคลทรอน ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และบีตาทรอน [นิวเคลียร์] |
Electron | อิเล็กตรอน, อนุภาคมูลฐานที่เป็นส่วนประกอบของอะตอม มีประจุไฟฟ้าลบ และมีมวล 1 ใน 1873 ส่วนของมวลโปรตอน โดยแต่ละอะตอมจะมีอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งอยู่ล้อมรอบนิวเคลียสที่มีประจุบวก สำหรับอะตอมที่เป็นกลางจำนวนอิเล็กตรอนจะเท่ากับจำนวนโปรตอนและเป็นตัวกำหนดสมบัติทางเคมีของอะตอม [นิวเคลียร์] |
Elementary particles | อนุภาคมูลฐาน, อนุภาคชั้นสามัญที่สุดของสสารและรังสี ส่วนใหญ่มีอายุสั้นและไม่ปรากฏในภาวะปกติ (ยกเว้น อิเล็กตรอน นิวตรอน โปรตอน และนิวทริโน) เดิมหมายถึงอนุภาคใดๆ ที่ไม่สามารถแบ่งย่อยต่อไปได้ หรืออนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม ปัจจุบันหมายถึงอนุภาคโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน มีซอน มิวออน แบรีออน และปฏิยานุภาคของอนุภาคเหล่านี้ รวมทั้งโฟตอน แต่ไม่รวมอนุภาคแอลฟาหรือดิวเทอรอน [นิวเคลียร์] |
Triton | ไทรทอน, นิวเคลียสของอะตอมทริเทียม ประกอบด้วยโปรตอน 1 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค [นิวเคลียร์] |
Transmutation | การแปรธาตุ, การเปลี่ยนจากธาตุหนึ่งเป็นอีกธาตุหนึ่ง โดยการเปลี่ยนจำนวนโปรตอนภายในนิวเคลียสของอะตอมด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่น การแปรธาตุโคบอลต์-60 เป็นนิกเกิล-60 [นิวเคลียร์] |
Synchrotron | ซิงโครทรอน, เครื่องเร่งอนุภาค ที่อนุภาคถูกเร่งโดยสนามไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนแปลงด้วยความถี่ในย่านความถี่ของคลื่นวิทยุ และถูกบังคับให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่โดยการควบคุมของสนามแม่เหล็กที่เพิ่มขึ้น พร้อมสัมพันธ์กับความเร็วของอนุภาคที่เพิ่มขึ้น ซิงโครทรอนเครื่องแรก ชื่อ คอสโมทรอน (Cosmotron) สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2495 ตั้งอยู่ที่ Brookhaven National Laboratory ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเร่งโปรตอนให้มีพลังงานสูงถึง 2, 300 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์, Example: [นิวเคลียร์] |
Subatomic particle | อนุภาคย่อยของอะตอม, อนุภาคใด ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม เช่น อิเล็กตรอน นิวตรอน และโปรตอน, Example: [นิวเคลียร์] |
Spallation Neutron Source | ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน, เครื่องผลิตนิวตรอนชนิดหนึ่ง โดยการเร่งโปรตอนพลังงานสูงกว่า 100 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เข้าชนเป้าซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น แทนทาลัม ทังสเตน หรือ ยูเรเนียม ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มีการปลดปล่อยนิวตรอนพลังงานเฉลี่ย 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชันเครื่องแรกมีชื่อว่า KENS ตั้งอยู่ที่สถาบัน KEK (Ko Enerugi Kenkyujo) ประเทศญี่ปุ่น เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 [นิวเคลียร์] |
Radioactivation | การก่อกัมมันตภาพรังสี, กระบวนการทำให้ธาตุเกิดกัมมันตภาพรังสีโดยการระดมยิงธาตุนั้นๆ ด้วยนิวตรอน โปรตอน หรือ อนุภาคอื่นๆ ตัวอย่างการก่อกัมมันตภาพรังสี เช่น การผลิตสารไอโซโทปกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 โดยการระดมยิงธาตุเทลลูเรียมด้วยนิวตรอน [นิวเคลียร์] |
radiation | รังสี, การแผ่รังสี, พลังงานที่แผ่จากต้นกำเนิดรังสีผ่านอากาศหรือสสาร ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ความร้อน แสงสว่าง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา หรือเป็นกระแสของอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น รังสีคอสมิก รังสีแอลฟา รังสีบีตา อนุภาคนิวตรอน อนุภาคโปรตอน [นิวเคลียร์] |
Proton synchrotron | โปรตอนซิงโครทรอน, เครื่องเร่งอนุภาคที่ใช้เร่งอนุภาคโปรตอนให้มีพลังงานสูงมากในช่วงพันล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (ดู synchrotron ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Proton | โปรตอน, อนุภาคมูลฐานที่มีประจุไฟฟ้าบวกหนึ่งหน่วย มีมวลประมาณ 1837 เท่าของอิเล็กตรอน โปรตอนเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสทุกชนิด เลขเชิงอะตอม ของอะตอมใด ๆ จะเท่ากับจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมนั้น [นิวเคลียร์] |
Nucleus | นิวเคลียส, แกนกลางของอะตอม มีประจุเป็นบวก และขนาดเล็กประมาณ 10-15 เมตร หรือประมาณ 1 ใน 10, 000 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของอะตอม เป็นที่รวมของมวลเกือบทั้งหมดของอะตอม ทุกนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ยกเว้นนิวเคลียสของไฮโดรเจนธรรมดาที่มีเพียงโปรตอนหนึ่งอนุภาค [นิวเคลียร์] |
Nucleon | นิวคลีออน, องค์ประกอบของนิวเคลียส หมายถึง โปรตอน หรือนิวตรอน, Example: [นิวเคลียร์] |
Neutron | นิวตรอน, อนุภาคมูลฐานที่ไม่มีประจุ มีมวลมากกว่าโปรตอนเล็กน้อย และพบในนิวเคลียสของทุกอะตอมยกเว้นอะตอมไฮโดรเจนธรรมดา นิวตรอนอิสระไม่เสถียร มีครึ่งชีวิต 10.3 นาที สลายเป็นอิเล็กตรอน โปรตอน และนิวทริโน [นิวเคลียร์] |
Mass number, A | เลขมวล, ผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอนภายในนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งๆ ซึ่งเป็นเลขจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงที่สุดกับน้ำหนักเชิงอะตอมของแต่ละไอโซโทป เช่น ยูเรเนียม-235 มีโปรตอน 92 อนุภาค และนิวตรอน 143 อนุภาค ดังนั้นเลขมวลคือ 235 <br>(ดู atomic mass และ atomic number ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Isotone | ไอโซโทน, นิวไคลด์ที่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากันแต่จำนวนโปรตอนต่างกัน เช่น $ ^{ 39 } $ <sub>19</sub>K และ $ ^{ 40 } $ <sub>20</sub>Ca มีจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียสเท่ากับ 20 เหมือนกัน, Example: [นิวเคลียร์] |
Isomer | ไอโซเมอร์, นิวไคลด์ที่มีจำนวนนิวตรอนและโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากัน แต่มีสถานะพลังงานต่างกัน เช่น Tc-99m เป็นไอโซเมอร์กับ Tc-99 [นิวเคลียร์] |
Isotope | ไอโซโทป, อะตอมของธาตุเดียวกัน ซึ่งในนิวเคลียสมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนต่างกัน เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป ได้แก่ $ ^{ 1 }_{ 1 } H $ , $ ^{ 2 }_{ 1 } H $ , $ ^{ 3 }_{ 1 } H $ ไอโซโทปของธาตุเดียวกัน จะมีสมบัติทางเคมีเหมือนกัน แต่สมบัติทางฟิสิกส์ต่างกัน [นิวเคลียร์] |
Ionizing radiation | รังสีชนิดก่อไอออน, รังสีหรืออนุภาคใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตอนที่มีความเร็วสูง รังสีเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต <br>(ดู beta particle ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Heavy hydrogen | ไฮโดรเจนมวลหนัก, ไอโซโทปของไฮโดรเจนที่มีเลขมวลเท่ากับ 2 นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอน 1 อนุภาคและนิวตรอน 1 อนุภาค มีชื่อเฉพาะเรียกว่า ดิวเทอเรียม <br>(ดู deuterium, <sup>2</sup>H, D ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Proton exchange membrane fuel cells | เซลล์เชื้อเพลิงชนิดเมมเบรนแลกเปลี่ยนโปรตอน [TU Subject Heading] |
Complex, Proton-Translocating | คอมเพลกส์ของการเกิดการย้ายที่ของโปรตอน [การแพทย์] |
Force, Proton-Motive | แรงขับเคลื่อนโปรตอนทั้งหมด [การแพทย์] |
acid | กรด, 1. สารที่แตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน(H+)ในสารละลาย 2. โมเลกุลหรือไอออนที่สามารถให้โปรตอนได้ 3. สารที่ละลายน้ำแล้วได้สารละลายที่มีความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน(H3O+) มากกว่าไฮดรอกไซด์ไอออน(OH-) สารที่มีสมบัติเป็นกรดนั้นจำเป็นต้องสามารถทดสอบสมบัติต่าง ๆ ได้เช่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
strong acid | กรดแก่, 1.โมเลกุลหรือไอออนที่ให้โปรตอนได้ดี 2.สารละลายที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ H3O+ ได้ดี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
weak acid | กรดอ่อน, 1. โมเลกุลหรือไอออน ที่ให้โปรตอนได้น้อย 2. สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ H3O+ ได้น้อย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Bronsted-Lowry theory | ทฤษฎีกรด-เบสเบรินสเตด- ลาวรี, ทฤษฎีกรด-เบสที่นักวิทยาศาสตร์ ชาวอังกฤษชื่อ T.M. Lowry (1874 - 1936) และนักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ชื่อ J. N. Bronsted (1879 -1944) ต่างคนต่างได้เสนอเมื่อปี ค.ศ. 1923 โดยอธิบายความหมายของกรด-เบส ในเรื่องของการให้หรือรับโปรตอนดังนี้ กรดคือสารที่ให้โปรตอนแล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
base | เบส, 1. สารที่แตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH- ) ในสารละลาย 2. โมเลกุลหรือไอออนที่สามารถรับโปรตอนได้ 3. สารที่ละลายน้ำแล้วได้สารละลายที่มีความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์ไอออนมากกว่าไฮโดรเนียมไอออน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
strong base | เบสแก่, 1. โมเลกุลหรือไอออนที่รับโปรตอนได้ดี 2. สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ OH- ได้ดี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
weak base | เบสอ่อน, 1. โมเลกุลหรือไอออนที่รับโปรตอนได้น้อย 2. สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ OH- น้อย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mass number | เลขมวล, ตัวเลขแสดงผลบวก ของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
atomic number | เลขอะตอม, เลขแสดงจำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
atom | อะตอม, ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งสามารถแสดงสมบัติของธาตุนั้นได้ ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานสำคัญ 3 ชนิดคือ โปรตอน อิเล็กตรอนและนิวตรอน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hydronium ion | ไฮโดรเนียมไอออน, ไอออนที่เกิดจากการรวมกันระหว่างโปรตอนกับโมเลกุลของน้ำ (H+ + H2O ® H3O+) ไฮโดรเนียมไอออนนี้มีประจุไฟฟ้าบวกและ เป็นส่วนที่ทำให้สารละลายมีสมบัติเป็นกรด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nucleus, nuclei | นิวเคลียส, ส่วนที่เป็นแกนกลางของอะตอม ซึ่งเป็นมวลเกือบทั้งหมดของอะตอม และมีประจุไฟฟ้าบวก นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอน และนิวตรอน ยกเว้นนิวเคลียสของไฮโดรเจนที่ประกอบด้วย โปรตอนเพียงอย่างเดียวและมี 1 โปรตอนเท่านั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
proton | โปรตอน, อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งมีประจุบวกซึ่งมีขนาดเท่ากับประจุของอิเล็กตรอน มีมวล 1.6726 x 10-27 กิโลกรัม ซึ่งเป็น 1836.12 เท่าของมวลของอิเล็กตรอน โปรตอนเป็นส่วนประกอบของนิวเคลียสของทุก ๆ ธาตุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
binding energy | พลังงานยึดเหนี่ยว, การรวมตัวของโปรตอนและนิวตรอนเป็นนิวเคลียส จะปล่อยพลังงานออกมา เรียกพลังงานนี้ว่า พลังงานยึดเหนี่ยว พลังงานยึดเหนี่ยวนี้เทียบเท่ากับมวลพร่อง มวลพร่อง = มวลโปรตอน + มวลนิวตรอน - มวลนิวเคลียส ตัวอย่าง โปรตอน 1 ตัวรวมกับนิวตรอน 1 ตัว เป็นดิวเทอรอน จะปล่อยพลัง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cosmic rays | รังสีคอสมิก, รังสีที่มีพลังงานสูงจากนอกโลก ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ส่วนมากเป็นโปรตอน และมีอิเล็กตรอน รังสีแอลฟาและนิวเคลียสของธาตุบางธาตุปนอยู่ด้วย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alpha ray [ α - ray ] | รังสีแอลฟา, รังสีชนิดหนึ่งแผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสี เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก คือ เป็นนิวเคลียสของ อะตอมของธาตุฮีเลียม ประกอบด้วย 2 โปรตอน และ 2 นิวตรอน มีอำนาจทะลุผ่านน้อยมาก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |