ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*เสรีภาพ*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: เสรีภาพ, -เสรีภาพ-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา ไทย (TH) - อังกฤษ (EN) (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
เสรีภาพแห่งการพอเพียง[พอเพียงเพื่อเสรีภาพ] (n, vi, vt, modal, verb, aux, verb, adj, adv, prep, pron, phrase, colloq, abbrev, name, org, uniq) เสรีภาพกระผมอย่างยกตัวอย่างที่ในหลวงร9และร10พยายามทำอยู่และส่งเสริมอย่างยิ่งมันคือสิ่งที่เป็นพื้นฐานแห่งชีวิตของทุกคนไม่ว่าคุณจะอดอยากประเทศยากจนในดินแดนต่างๆทั่วโลกไทยคือครัวโลกเรายินดีแบ่งปันความรู้เศรฐกิจพอเพียงนี้ด้วยพืชและสูตรการทำอาหารของไทยที่มีมากมายใข่2ฟองก็สามารถสร้างเมนูเพื่อยังชีพได้เกิน10อย่างผัดทอดนึ่งต้ม

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
เสรีภาพ(n) freedom, See also: liberty, Syn. ความอิสระ, Example: แม้ประชาชนจะมีเสรีภาพในการชุมนุมก็ตามแต่จะต้องไม่ทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น, Thai Definition: ความมีเสรี
สิทธิเสรีภาพ(n) liberty and rights
เสรีภาพในการพูด(n) freedom of speech, Syn. สิทธิเสรีภาพในการพูด, อิสระในการพูด, Example: บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการพูด
เสรีภาพทางวิชาการ(n) academic freedom, See also: academic independence, Thai Definition: ความเป็นอิสระในทางวิชาการ
เสรีภาพทางวิชาการ(n) academic freedom, See also: academic independence, Thai Definition: ความเป็นอิสระในทางวิชาการ
เสรีภาพในการเขียน(n) liberty of writing, See also: freedom of writing, Syn. สิทธิเสรีภาพในการเขียน, อิสระในการเขียน, Example: เสรีภาพในการเขียนเกิดขึ้นแล้วที่นี่บนอินเทอร์เน็ต
เสรีภาพทางการเมือง(n) political liberty, Thai Definition: ความสามารถของบุคคลที่จะกระทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน(n) fundamental rights and freedoms, Example: สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เป็นสิทธิที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด ไม่มีใครพรากจากตัวมนุษย์ได้

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
เสรีภาพน. ความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้ตามที่ตนปรารถนาโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง เช่น เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการนับถือศาสนา, ความมีสิทธิที่จะทำจะพูดได้โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น.
กฎอัยการศึกน. กฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารลิดรอนสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนได้ตามความจำเป็น ทั้งให้มีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน การใช้กฎอัยการศึกจะกระทำได้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยจะให้มีผลบังคับทุกท้องที่หรือบางท้องที่ก็ได้ตามความจำเป็น.
กฎหมายรัฐธรรมนูญน. กฎหมายที่วางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตย การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย.
กรรโชก(กัน-) น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น.
กระบวนการยุติธรรมน. ขั้นตอนและวิธีดำเนินการในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่ออำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล.
ก่อการร้ายน. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อบุคคล ต่อทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะ หรือต่อทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของบุคคลใดหรือต่อสิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ โดยผู้กระทำมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ.
ขู่เข็ญแสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.
ค่าไถ่น. ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง.
ไถ่ ๑ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง.
ทุนนิยมน. ระบบเศรษฐกิจที่ยอมให้บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพยากรที่เป็นทุน มีเสรีภาพในการผลิตและการค้า.
ปลดปล่อย(-ปฺล่อย) ก. ปล่อยจากที่คุมขังหรือการผูกมัด, ให้เสรีภาพ.
รัฐธรรมนูญ(รัดถะทำมะนูน, รัดทำมะนูน) น. บทกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ กำหนดรูปแบบและระบอบการปกครองของประเทศ สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชน อำนาจหน้าที่ขององค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร.
ละเมิดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิ.
เสรีธรรมน. หลักเสรีภาพ.
เสรีนิยมว. ชอบเสรีภาพ, ที่เป็นไปในทางส่งเสริมเสรีภาพ.
อัยการองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบด้วยคณะกรรมการอัยการ อัยการสูงสุด และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยธุรการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งหรือคดีปกครอง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ตรวจร่างสัญญาและเอกสารทางกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า องค์กรอัยการ, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดิน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
person, liberty of theเสรีภาพในร่างกาย, เสรีภาพของบุคคล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political libertyเสรีภาพทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political libertyเสรีภาพทางการเมือง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
liberty to assembleเสรีภาพในการชุมนุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
liberty, civilเสรีภาพของพลเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
liberty, politicalเสรีภาพทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
liberty, religiousเสรีภาพทางศาสนา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
law, gagกฎหมายลิดรอนเสรีภาพ (ในการพูด การเขียน และการร้องทุกข์) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
libertyเสรีภาพ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
libertyเสรีภาพ [ ดู freedom ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
liberty of assemblyเสรีภาพในการชุมนุม (ก. รัฐธรรมนูญ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
liberty of communicationเสรีภาพในการสื่อสาร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
liberty of the dwellingเสรีภาพในเคหสถาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
liberty of the personเสรีภาพในร่างกาย, เสรีภาพของบุคคล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
religion, freedom of; religious freedom; religious libertyเสรีภาพทางศาสนา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
religious freedom; religion, freedom of; religious libertyเสรีภาพทางศาสนา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
religious freedomเสรีภาพทางศาสนา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
religious liberty; religion, freedom of; religious freedomเสรีภาพทางศาสนา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
offences against liberty and reputationความผิดต่อเสรีภาพและชื่อเสียง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
academic freedomเสรีภาพทางวิชาการ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
assemble, liberty to; assembly, freedom ofเสรีภาพในการชุมนุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
assembly, freedom of; assemble, liberty toเสรีภาพในการชุมนุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
assembly, liberty ofเสรีภาพในการชุมนุม (ก. รัฐธรรมนูญ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
civil libertiesเสรีภาพของพลเมือง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
civil libertyเสรีภาพของพลเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
communication, liberty ofเสรีภาพในการสื่อสาร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
dwelling, liberty of theเสรีภาพในเคหสถาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
gag lawกฎหมายลิดรอนเสรีภาพ (ในการพูด การเขียน และการร้องทุกข์) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
gag lawกฎหมายลิดรอนเสรีภาพ (ในการพูด การเขียน และการร้องทุกข์) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
free speech; freedom of speechเสรีภาพในการพูด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
freedom of choiceเสรีภาพในการเลือก (ตามความสมัครใจ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
freedom of contractเสรีภาพในการทำสัญญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
freedom of expressionเสรีภาพในการแสดงออก [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
freedom of informationเสรีภาพทางข้อมูลข่าวสาร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
freedom of movement for workersเสรีภาพของคนทำงานที่จะเข้าไปทำงาน [ ในดินแดนของประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
freedom of religion; freedom, religiousเสรีภาพทางศาสนา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
freedom of speech; free speechเสรีภาพในการพูด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
freedom, academicเสรีภาพทางวิชาการ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
freedom, religious; freedom of religionเสรีภาพทางศาสนา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
freedomเสรีภาพ, อิสรภาพ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
freedomเสรีภาพ [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
freedomเสรีภาพ [ ดู liberty ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
freedom of assemblyเสรีภาพในการชุมนุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
expression, freedom ofเสรีภาพในการแสดงออก [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
testamentary freedomเสรีภาพในการทำพินัยกรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
workers, freedom of movement forเสรีภาพของคนทำงานที่จะเข้าไปทำงาน [ ในดินแดนของประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Academic freedomเสรีภาพทางวิชาการ [TU Subject Heading]
Assembly, Right ofเสรีภาพในการชุมนุม [TU Subject Heading]
Convention Concerning Freedom of Association and Protection of the Right to Organise (1948)อนุสัญญาว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการรวมตัวเป็นสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการจัดตั้ง (ค.ศ. 1948) [TU Subject Heading]
Freedom of associationเสรีภาพในการรวมตัวเป็นสมาคม [TU Subject Heading]
Freedom of expressionเสรีภาพในการแสดงออก [TU Subject Heading]
Freedom of informationเสรีภาพด้านสารสนเทศ [TU Subject Heading]
Freedom of religionเสรีภาพในการนับถือศาสนา [TU Subject Heading]
Freedom of speechเสรีภาพในการพูด [TU Subject Heading]
Freedom of the pressเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ [TU Subject Heading]
Libertyเสรีภาพ [TU Subject Heading]
Zone of Peace Freedom and Neutralityเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [การทูต]
Commission on Human Rightsคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต]
Diplomatic Privileges and Immunitiesเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต]
Exclusive Economic Zoneเขตเศรษฐกิจจำเพาะ คือ บริเวณที่อยู่เลยไปจากและประชิดกับทะเลอาณาเขต สิทธิและเขตอำนาจของรัฐชายฝั่งและสิทธิเสรีภาพของรัฐอื่นถูกกำหนดโดยบท บัญญัติที่เกี่ยวข้องของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล พ.ศ. 2525 [การทูต]
Freedom of Communicationเสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต]
Freedom of Movement of Diplomatic Agentsเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและการเดินทางของผู้แทน ทางการทูต โดยปกติ รัฐผู้รับย่อมอนุญาตโดยเสรีแก่ผู้แทนทางการทูต ที่จะเคลื่อนย้ายและเดินทางไปไหนมาไหนได้ทั่วประเทศ แต่ระหว่างสงครามเย็นที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการทูตของกลุ่ม ประเทศคอมมิวนิสต์บางแห่ง ได้แก่ สหภาพโซเวียต บัลแกเรีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี รูเมเนีย และโปแลนด์ นัยว่าสหรัฐฯ ได้กำหนดเขตแขวงในดินแดนของตน 355 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นเขตห้ามเข้าสำหรับผู้แทนทางการทูตของประเทศเหล่านั้นในทำนองเดียวกัน กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ดังกล่าวก็ได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการ ทูตของสหรัฐฯ เช่นกัน สำหรับเสรีภาพการเคลื่อนย้ายนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในข้อ 26 ว่า?ภายในบังคับของกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตหวงห้ามหรือวางระเบียบไว้ โดยเหตุผลของความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันแก่สมาชิกทั้งมวลของคณะเกี่ยวกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน? [การทูต]
Freedom of Movement of Member of Consular Postเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของบุคคลในสถานที่ทำการทาง กงสุล เรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ในข้อ 34 ว่า?ภายในบังคับแห่งกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตซึ่งเป็นที่หวงห้าม หรือที่ได้กำหนดระเบียบไว้ เพราะเหตุผลในทางความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน แก่บุคคลทั้งปวงในสถานที่ทำการทางกงสุล? [การทูต]
Hugo Grotius (1583-1645)บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations) [การทูต]
International Labor Organizationคือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต]
International Trade Organizationองค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต]
North Atlanitc Treaty Organizationองค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต]
Pacific Charterคือกฎบัตรแปซิฟิค ซึ่งประกาศ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ในโอกาสที่มีการตกลงกันทำสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Defense Treaty-SEATO ) ประเทศที่ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาสาระสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SEATO (ซีโต้) นั้นคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตรฐานการครอง ชีพสูงขึ้น มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคามสนธิสัญญาคือ บรรดาประเทศภาคีตกลงที่จะป้องกันหรือตอบโต้ความพยายามใด ๆ ที่จะล้มล้างเสรีภาพที่มีอยู่ในเขตสนธิสัญญา หรือทำลายอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งเขตแดนของประเทศภาคี พูดอย่างสั้น ๆ ก็คือฝ่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ต้องการกีดกันมิให้ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไปมีอำนาจครอบงำดินแดนเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเย็น (Cold War ) โดยวิธีรุกรานหรือวิธีอื่นใดก็ตาม [การทูต]
Personal Inviolability of Diplomatic Agentsหมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต]
Potsdam Proclamationคือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต]
Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treatyสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ลงนามในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2538 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาคและส่งเสริมความพยายามระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคใน การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่ง นอกจากเป็นส่วนประกอบสำคัญของแผนงานว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Zone of Peace, Freedom and Neutrality - ZOPFAN) แล้ว ยังเป็นการสนับ สนุนกระบวนการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในเวทีระดับโลกอีกด้วย " [การทูต]
self-determinationการกำหนดใจตนเอง หมายถึง สิทธิและเสรีภาพในการที่จะให้ชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในประเทศใดประเทศหนึ่ง ตัดสินหรือกำหนดสถานะด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของตน โดยเลือกที่จะอยู่อย่างเดิมหรือแยกตัวออกไป [การทูต]
Work of the United Nations on Human Rightsงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต]
Freedom, Academicเสรีภาพทางวิชาการ [การแพทย์]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ[Anusāwarī Thēphī Sērīphāp] (n, prop) EN: Statue of Liberty
เสรีภาพ[sēriphāp] (n) EN: freedom ; liberty  FR: liberté [ f ] ; indépendance [ f ]
เสรีภาพแห่งการพูด[sērīphāp haeng kān phūt] (n, exp) EN: freedom of speech  FR: liberté d'expression [ f ] ; liberté de parole [ f ]
เสรีภาพแห่งหนังสือพิมพ์[sērīphāp haeng nangseūphim] (n, exp) EN: freedom of the press  FR: liberté de la presse [ f ]
เสรีภาพในการชุมนุม[sērīphāp nai kān chumnum] (n, exp) EN: freedom of assembly  FR: liberté d'assemblée [ f ] ; liberté de réunion [ f ]
เสรีภาพในการจัดพิมพ์[sērīphāp nai kān jatphim] (n, exp) EN: freedom of the press  FR: liberté de la presse [ f ]
เสรีภาพในการเขียน[sērīphāp nai kān khīen] (n, exp) EN: liberty of writing ; freedom of writing  FR: liberté d'écriture [ f ]
เสรีภาพในการพูด[sērīphāp nai kān phūt] (n, exp) EN: freedom of speech  FR: liberté d'expression [ f ] ; liberté de parole [ f ]
เสรีภาพในการหยุดงาน[sērīphāp nai kān yut ngān] (n, exp) FR: liberté de grève [ f ] ; droit de grève [ m ]
เสรีภาพส่วนบุคคล[sērīphāp suanbukkhon] (n, exp) EN: individual liberty  FR: liberté individuelle [ f ]
เสรีภาพทางการเมือง[sērīphāp thang kānmeūang] (n, exp) EN: political liberty  FR: liberté poltique [ f ]
เสรีภาพทางวิชาการ[sērīphāp thang wichākān] (n, exp) EN: academic freedom ; academic independence
สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน[sitthi lae sēriphāp khanpheūnthān] (n, exp) EN: fundamental rights and freedoms  FR: droits et libertés fondamentaux [ mpl ]
สิทธิเสรีภาพ[sitthi sēriphāp] (n, exp) EN: liberty and rights  FR: droits et libertés [ mpl ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
affranchise(vt) คืนเสรีภาพให้, Syn. enfranchise
bow down(phrv) จำกัดสิทธิเสรีภาพของ
cage in(phrv) จำกัดเสรีภาพ (มักใช้รูป passive voice)
cage up(phrv) จำกัดเสรีภาพ (มักใช้รูป passive voice)
cool up(phrv) จำกัดสิทธิเสรีภาพ, See also: กักขัง, ปิดกั้น, Syn. coop in
disabuse of(phrv) เป็นอิสระจาก, See also: ทำให้มีเสรีภาพ
free(vt) ทำให้ปลอดจากสิ่งกีดขวาง, See also: ทำให้มีสิทธิเสรีภาพ
freedom(n) ความเป็นอิสระ, See also: เสรีภาพ, อิสรภาพ, Syn. independence, liberty
keep under(phrv) จำกัดสิทธิเสรีภาพของ, Syn. keep down
libertarian(n) ผู้สนับสนุนหรือยึดถึงหลักแห่งเสรีภาพ, See also: นักเสรีนิยม
liberty(n) อิสรภาพ, See also: เสรี, อิสระ, อิสระเสรี, เสรีภาพ, Syn. freedom
licence(n) เสรีภาพ, See also: ความเป็นอิสระที่จำทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
license(n) เสรีภาพ, See also: ความเป็นอิสระที่จำทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
free lunch(sl) อิสระ, See also: เสรีภาพ
freebee(sl) เสรีภาพ, See also: อิสระ, Syn. freebie, freeby
freebie(sl) เสรีภาพ, See also: อิสระ, Syn. freeby
freeby(sl) เสรีภาพ, See also: อิสระ, Syn. freebie
Statue of Liberty(n) อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพของอเมริกา
toleration(n) เสรีภาพในการนับถือศาสนา
tie down(phrv) จำกัดเสรีภาพของ, Syn. bind down, chain down

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
affranchise(อะแฟรน'ไชสฺ) vt. ให้เสรีภาพคืน, ปล่อยพันธะ, ปล่อยทาส, ปล่อยให้อิสระ.
bill of rightsn. พระราชบัญญัติลัทธิและเสรีภาพของพลเมือง
freedom(ฟรี'เดิม) n. อิสรภาพ, เสรีภาพ, Syn. independence
gag(แกก) { gagged, gagging, gags } vt., n. ปิดปาก, อุดปาก, ใช้เครื่องถ่างปาก, จำกัดการพูด, พูดโดยไม่มีบท, สอดแทรกนอกบท vi. หายใจไม่ออก, พูดตลก, สอดแทรกบทตลก, พูดตลก. n. เครื่องถ่างปาก, สิ่งที่ใช้อุดปาก, การจำกัดเสรีภาพในการพูด, เรื่องตลก, กลอนสด, การพูดโดยมีบท คำที่มีความ
gag law n.กฏจำกัดเสรีภาพการพูด, กฎหมายปิดปาก
gag ruleกฏจำกัดเสรีภาพการพูด, กฎหมายปิดปาก
lib(ลิบ) n. =liberation (อิสรภาพ, เสรีภาพ)
liberty(ลิบ'เบอที) n. อิสรภาพ, เสรีภาพ, ความเป็นอิสระ, สิทธิไปไหนมาไหน. -at liberty อิสระ ไม่มีงานทำ, Syn. freedom
statue of libertyn. อนุสาวรีย์เทพธิดาแห่งเสรีภาพบนเกาะ Liberty ในอ่าวท่าเรือนิวยอร์ค

English-Thai: Nontri Dictionary
affranchise(vt) ให้อิสระ, ให้เสรีภาพ, ปลดปล่อย
free(vt) ทำให้เป็นอิสระ, ทำให้เป็นไทย, ปลดเปลื้อง, ทำให้มีเสรีภาพ
freedom(n) เสรีภาพ, อิสรภาพ, ความเป็นไทย, สิทธิพิเศษ
gag(n) การอุดปาก, การปิดปาก, การจำกัดเสรีภาพในการพูด
liberate(vt) ปลดปล่อย, ปลดเปลื้อง, ทำให้มีเสรีภาพ
liberation(n) การให้เสรีภาพ, การปลดปล่อย
liberty(n) เสรีภาพ, อิสรภาพ, สิทธิ, อำนาจ

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
american civil liberties union(n) สหภาพสิทธิเสรีภาพพลเรือนอเมริกัน
non-refoulement(n) หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปยังดินแดนหรือถิ่นที่ชีวิตและเสรีภาพของพวกเขาจะถูกคุกคาม Non-refoulement is a principle in international law, specifically, refugee law, which protects refugees from being returned to places where their lives and freedoms would be threatened.[ Google ] Art.33(1) of the 1951 UN Convention on the Status of Refugees, and its 1967 protocol.
thqn[ที-เอช-คิว-เอ็น] (abbrev, name, org, u) เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ, Thailand Queer Network, เป็นเครือข่ายความร่วมมือกันขององค์กรอิสระต่างๆ ในประเทศไทย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำงานด้านสาธารณะประโยชน์ สิทธิและเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ให้แก่คนไทยที่รักเพศเดียวกัน และคนไทยในชุมชนอื่นที่ไม่อยู่ในการดูแลจากสังคมไทย ดูเวปไซต์ทางการที่ http://www.thqn.net/, Syn. เครือข่ายคนรักเพศเดียวกัน

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top