Coolant | ตัวทำให้เย็น, สารระบายหรือถ่ายโอนความร้อนที่หมุนเวียนในระบบระบายความร้อนของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เช่น น้ำ น้ำมวลหนัก อากาศ คาร์บอนไดออกไซด์ โซเดียมเหลว และโลหะผสมโซเดียม-โพแทสเซียม [นิวเคลียร์] |
ค่าความร้อน | ค่าความร้อน, ปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นต่อน้ำหนักเชื้อเพลิง เมื่อเชื้อเพลิงนั้นๆ ถูกเผาไหม้, Example: ค่าความร้อนโดยทั่วไปมี 2 ประเภทคือ ค่าความร้อนสูง (high heating value) และค่าความร้อนต่ำ (low heating value) [ปิโตรเลี่ยม] |
heat capacity | ความจุความร้อน, อัตราส่วนของพลังงานความร้อนที่ให้แก่สารต่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ความจุความร้อนมีหน่วนเป็น JK-1 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
specific heat capacity | ความจุความร้อนจำเพาะ, ความจุความร้อนจำเพาะของสารใด ๆ คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้สารนั้น 1 หน่วยมวล มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศา มีหน่วยเป็นจูล/กิโลกรัม/เคลวิน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
latent heat | ความร้อนแฝง, ปริมาณความร้อนที่สารให้หรือรับไว้เพื่อใช้ในการเปลี่ยนสถานะ โดยที่สารนั้นมีอุณหภูมิคงตัว ความร้อนแฝงที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารหนึ่งหน่วยมวลเรียกว่า ความร้อนแฝงจำเพาะ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
calorific value | ค่าความร้อน, ปริมาณความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ของเชื้อเพลิง 1 หน่วยมวล มีหน่วยเป็น J kg (-1) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
insulator | ฉนวน, สารที่เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้า หรือเป็นตัวนำความร้อนที่ไม่ดี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heat conductor | ตัวนำความร้อน, สารที่มีสภาพนำความร้อนสูง ตัวนำความร้อนที่ดีส่วนมากเป็นโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thermal power plant | โรงไฟฟ้าระบบกำลังความร้อน, โรงผลิตพลังไฟฟ้าโดยเปลี่ยนพลังงานความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ น้ำมัน เป็นต้น เป็นพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heat of solution | ความร้อนของการเกิดสารละลาย, ปริมาณความร้อนที่ระบบคายออกหรือดูดเข้าเมื่อละลายสาร 1 โมลให้เป็นสารละลายเจือจาง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heat of reaction | ความร้อนของปฏิกิริยา, ปริมาณความร้อนที่ระบบคายออกหรือดูดเข้าเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
geothermal energy | พลังงานความร้อนใต้ธรณี, พลังงานความร้อนที่สะสมอยู่ใต้เปลือกโลกทำให้เกิดภูเขาไฟ น้ำพุร้อน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hurricane | พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อนที่มีกำลังแรงมาก ความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกอ่าวเม็กซิโก ถ้าเกิดบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนเรียกพายุไต้ฝุ่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
typhoon | พายุไต้ฝุ่น, พายุโซนร้อนที่มีกำลังแรงมาก ความเร็วลมบริเวณใกล้ศูนย์กลางเกินกว่า 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
calorie | แคลอรี, หน่วยความร้อน ใช้สัญลักษณ์ cal 1 แคลอรี คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำหนึ่งกรัมมีอุณหภูมิสูงขึ้นจาก 14.5 °C เป็น 15.5°C ที่ความดันปกติ 1 cal = 4.185 J [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
pasteurization | การฆ่าเชื้อแบบปาสเตอร์, การฆ่าเชื้อโรคในอาหารที่เป็นของเหลว โดยใข้ความร้อนที่ไม่สูงนักแล้วทำให้เย็นลงอย่างเร็วเพื่อรักษาคุณค่าของอาหารให้คงเดิม เช่น การฆ่าเชื้อโรคในน้ำนมโดยให้ความร้อนประมาณ 62°C เป็นเวลา 30 นาทีแล้วทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |