Gamma ray brusts | การระเบิดของรังสีแกมมา [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Absorbed dose | ปริมาณ (รังสี) ดูดกลืน, Absorbed dose, D<sub>T, R</sub> ปริมาณพลังงานที่วัตถุดูดกลืนไว้เมื่อได้รับรังสี มีหน่วยเป็น เกรย์ ปกติจะระบุชนิดของวัตถุและชนิดของรังสี โดยเขียนเป็นสัญลักษณ์ดังนี้ D<sub>material, radiation</sub> เช่น D<sub>lung, alpha </sub>ยกเว้นรังสีแกมมาอาจไม่ต้องระบุชนิดของรังสี เช่น Dwater (ดู gray, Gy ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Absorber | สารดูดกลืน, วัสดุใดๆ ที่สามารถดูดกลืนหรือลดความเข้มของ<em>รังสีชนิดก่อไอออน</em> ตัวอย่างของสารดูดกลืน<em>นิวตรอน</em> เช่น แฮฟเนียม หรือ แคดเมียม ใช้เป็นแท่งควบคุมใน<em>เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์</em> สารดูดกลืนรังสีแกมมา เช่น คอนกรีตและเหล็ก ใช้เป็นวัสดุกำบังรังสีในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แผ่นกระดาษหรือแผ่นโลหะบางสามารถดูดกลืนหรือลดความเข้มของรังสีแอลฟาได้ [นิวเคลียร์] |
Activation analysis | การวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสี, การจำแนกชนิดและตรวจหาปริมาณของธาตุในสารตัวอย่าง โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาลักษณะเฉพาะที่ปลดปล่อยจาก <em>นิวไคลด์กัมมันตรังสี</em>ที่เกิดขึ้นจากการนำสารตัวอย่างนั้นไปก่อกัมมันตภาพรังสี (ดู Activation ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Annihilation | ประลัย, ปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคกับปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้นๆ แล้วอนุภาคทั้งสองหายไปกลายเป็นรังสีแกมมาพลังงานเท่ากันเคลื่อนที่ออกไปในทิศทางตรงข้ามกัน เช่นการรวมตัวของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอน ได้รังสีแกมมาพลังงานรวม 1.02 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (ดู Antimatter ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Cerenkov radiation | การแผ่รังสีเซเรนโกฟ, ปรากฏการณ์เรืองแสงเมื่ออนุภาคที่มีประจุเคลื่อนผ่านวัสดุโปร่งใส ด้วยความเร็วที่สูงกว่าความเร็วของแสงในวัสดุนั้น เช่น ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หรือเครื่องฉายรังสีแกมมาแบบสระน้ำ จะเห็นการแผ่รังสีนี้เป็นแสงเรืองสีฟ้า พาเวล อเล็กเซวิช เซเรนโกฟ (Pavel Alexsejevich Cerenkov) เป็นคนแรกที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ [นิวเคลียร์] |
Decay, radioactive | การสลาย(กัมมันตรังสี), การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Disintegration, radioactive | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Electromagnetic radiation | รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กที่ประสาน และมีอันตรกิริยาต่อกัน เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุ รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ รังสีเหล่านี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง และสามารถผ่านสุญญากาศได้ [นิวเคลียร์] |
Excited state | สถานะถูกกระตุ้น, สถานะของนิวเคลียส อิเล็กตรอน อะตอม หรือโมเลกุล ขณะเมื่อมีพลังงานสูงกว่าระดับปกติ พลังงานส่วนเกินของนิวเคลียสมักถูกปลดปล่อยเป็นรังสีแกมมา สำหรับพลังงานส่วนเกินของโมเลกุลอาจปรากฏในลักษณะการเรืองแสงหรือความร้อน (ดู ground state ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Terrestrial radiation | รังสีจากพื้นโลก, รังสีจากสารกัมมันตรังสีที่มีอยู่บนพื้นโลก เป็นรังสีที่มนุษย์ได้รับจากภายนอกร่างกายปีละประมาณ 410 ไมโครซีเวิร์ต ส่วนที่มีผลเป็นปริมาณรังสีต่อมนุษย์คือรังสีแกมมา ซึ่งปลดปล่อยมาจากนิวไคลด์รังสีที่มีกำเนิดมาพร้อมกับโลก (ดู Primordial radionuclides) ได้แก่ สารกัมมันตรังสีในอนุกรมยูเรเนียม อนุกรมทอเรียม และสารกัมมันตรังสีโพแทสเซียม (K-40) [นิวเคลียร์] |
Single Photon Emission Computed Tomography | สเป็กต์, เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด ใช้มากในการศึกษาสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) แต่ก็สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยระบบอวัยวะใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเภสัชภัณฑ์รังสีที่ใช้ซึ่งมีครึ่งชีวิตยาวกว่าที่ใช้กับเพ็ต จึงไม่จำเป็นต้องมีไซโคลทรอนอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สเป็กต์มีความละเอียดในการวิเคราะห์ต่ำกว่าเพ็ตมาก, Example: [นิวเคลียร์] |
Single Photon ECT | สเป็กต์, เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด ใช้มากในการศึกษาสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) แต่ก็สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยระบบอวัยวะใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเภสัชภัณฑ์รังสีที่ใช้ซึ่งมีครึ่งชีวิตยาวกว่าที่ใช้กับเพ็ต จึงไม่จำเป็นต้องมีไซโคลทรอนอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สเป็กต์มีความละเอียดในการวิเคราะห์ต่ำกว่าเพ็ตมาก [นิวเคลียร์] |
Scintillation | แสงวับ, แสงที่เปล่งออกมาอย่างรวดเร็ว เมื่อรังสีชนิดก่อไอออนทำอันตรกิริยากับวัสดุบางชนิด เช่น รังสีแกมมากระทำต่อผลึกโซเดียมไอโอไดด์ [นิวเคลียร์] |
Radiotherapy | รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์] |
Radiography | การถ่ายภาพรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออน เช่น รังสีเอกซ์ หรือ รังสีแกมมา ถ่ายภาพวัตถุบนแผ่นฟิล์มโดยอาศัยหลักการดูดกลืนรังสี ส่วนของวัตถุที่ดูดกลืนรังสีไว้น้อยกว่าจะปรากฏภาพเงาบนฟิล์มทึบกว่าส่วนของวัตถุที่ดูดกลืนรังสีไว้มากกว่า [นิวเคลียร์] |
Radioactive decay | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิ วไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Radiative capture | การจับยึดแบบปล่อยรังสี, กระบวนการจับยึดทางนิวเคลียร์โดยนิวเคลียสแล้วแผ่เฉพาะรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาทันที เช่น เมื่อนิวเคลียสจับยึดนิวตรอนแล้วปล่อยรังสีแกมมาออกมา [นิวเคลียร์] |
Radiation, nuclear | รังสีนิวเคลียร์, การแผ่รังสีของนิวเคลียส, รังสีในรูปของอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสี เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมา <br>(ดู radiation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Radiation therapy | รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์] |
Radiation induced F1-sterility | การชักนำให้เป็นหมันในรุ่นลูกด้วยรังสี, การใช้รังสีชักนำให้แมลงศัตรูพืชในกลุ่มผีเสื้อเป็นหมันแบบไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะถ่ายทอดความเป็นหมันแบบสมบูรณ์ในรุ่นลูก โดยไม่ทำให้พฤติกรรมและความสามารถในการผสมพันธุ์เสียไป ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมประชากรแมลงอีกวิธีหนึ่ง <br>วิธีการนี้ประสบความสำเร็จใน หนอนเจาะสมอฝ้ายสีชมพู (pink bollworm) และหนอนทำลายแอปเปิล (codling moth) โดยใช้รังสีแกมมาที่ปริมาณ 80-200 เกรย์ </br> <br> (ดู sterile insect technique ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์] |
radiation | รังสี, การแผ่รังสี, พลังงานที่แผ่จากต้นกำเนิดรังสีผ่านอากาศหรือสสาร ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ความร้อน แสงสว่าง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา หรือเป็นกระแสของอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น รังสีคอสมิก รังสีแอลฟา รังสีบีตา อนุภาคนิวตรอน อนุภาคโปรตอน [นิวเคลียร์] |
Photon | โฟตอน, กลุ่มหนึ่งๆ ของพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีโมเมนตัมซึ่งเป็นลักษณะของอนุภาค แต่ไม่มีมวลหรือประจุไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ [นิวเคลียร์] |
Pair production | แพร์โพรดักชัน, การแปลงพลังงานจลน์ของโฟตอนหรืออนุภาคที่มีพลังงานสูงให้เป็นมวล เกิดเป็นอนุภาคย่อยและปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้น เช่น การที่รังสีแกมมาหรือรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานตั้งแต่ 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ขึ้นไป ผ่านสนามไฟฟ้ารอบนิวเคลียสแล้วกลายเป็นอิเล็กตรอนและโพซิตรอนที่มีพลังงานเท่ากัน <br>พลังงาน 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์เทียบเท่ากับมวลนิ่งของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอนรวมกัน</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Nuclear radiation | รังสีนิวเคลียร์, การแผ่รังสีของนิวเคลียส, รังสีในรูปของอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสี เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมา <br>(ดู radiation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Nuclear fission | การแบ่งแยกนิวเคลียส, การที่นิวเคลียสของธาตุหนักบางชนิดแยกออกเป็นนิวเคลียสของธาตุที่เบากว่าอย่างน้อยสองชนิดที่มีขนาดใกล้เคียงกัน พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอน 1 ถึง 3 อนุภาค รังสีแกมมา และพลังงานออกมา [นิวเคลียร์] |
Neutron bomb | ลูกระเบิดนิวตรอน, ลูกระเบิดไฮโดรเจนขนาดเล็ก ออกแบบเป็นพิเศษให้มีผลทำลายน้อยที่สุดจากแรงระเบิดและความร้อนในวงจำกัดรัศมีสองร้อยถึงสามร้อยเมตร แต่มีผลในวงกว้างทำให้สิ่งมีชีวิตถึงตายได้จากอนุภาคนิวตรอนและรังสีแกมมา ลูกระเบิดนิวตรอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายรถถังและกองทหารในสนามรบโดยไม่เป็นอันตรายต่อตัวเมืองและย่านชุมชนที่อยู่ห่างออกไป <br>(ดู H-bomb ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Neutron Activation Analysis | การวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอน, เอ็นเอเอ, การจำแนกชนิดและปริมาณของธาตุในสารตัวอย่างโดยใช้อนุภาคนิวตรอนเป็นตัวกระทำให้เกิดกัมมันตภาพรังสีแก่สารตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ แล้ววัดรังสีแกมมาเฉพาะตัวที่ปลดปล่อยจากนิวไคลด์รังสีที่เกิดขึ้น <br>(ดู activation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Mutagenic agent | สิ่งก่อการกลาย, สิ่งก่อกลายพันธุ์, สิ่งที่ทำให้ความถี่ของการกลายพันธุ์เพิ่มสูงขึ้นจากที่เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น สารเอทิลมีเทนซัลโฟเนต (ethylmethane sulfonate) และรังสีแกมมา [นิวเคลียร์] |
Mutagen | สิ่งก่อการกลาย, สิ่งก่อกลายพันธุ์, สิ่งที่ทำให้ความถี่ของการกลายพันธุ์เพิ่มสูงขึ้นจากที่เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น สารเอทิลมีเทนซัลโฟเนต (ethylmethane sulfonate) และรังสีแกมมา, Example: [นิวเคลียร์] |
Ionizing radiation | รังสีชนิดก่อไอออน, รังสีหรืออนุภาคใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตอนที่มีความเร็วสูง รังสีเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต <br>(ดู beta particle ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Induced mutation | การกลายพันธุ์จากการเหนี่ยวนำ, การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ ของเซลล์สิ่งมีชีวิต โดยการใช้รังสีแกมมา หรือสารเคมีบางชนิด เหนี่ยวนำให้เกิดการกลาย [นิวเคลียร์] |
Fission | ฟิชชัน, การแบ่งแยกนิวเคลียส, การที่นิวเคลียสของธาตุหนักบางชนิดแยกออกเป็นนิวเคลียสของธาตุที่เบากว่าอย่างน้อยสองชนิดที่มีขนาดใกล้เคียงกัน พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอน 1 ถึง 3 อนุภาค รังสีแกมมา และพลังงานออกมา [นิวเคลียร์] |
Food irradiation | การฉายรังสีอาหาร, การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งผลิตอย่างถูกสุขลักษณะและบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่เหมาะสม ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรือลำอิเล็กตรอนจากเครื่องเร่งอนุภาค ด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม เพื่อฆ่าเชื้อโรคหรือพยาธิ ยับยั้งการทำลายหรือแพร่พันธุ์ของแมลง ยืดอายุการเก็บรักษา ยับยั้งการงอก และชะลอการสุก [นิวเคลียร์] |
Gamma field | ไร่รังสีแกมมา, พื้นที่ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง และติดตั้งเครื่องฉายรังสีแกมมาอยู่ตรงกลาง ใช้สำหรับปลูกพืชไร่ พืชสวน ไม้ดอก และไม้ประดับ เพื่อศึกษาผลของรังสีแกมมาปริมาณต่ำที่พืชได้รับอย่างสม่ำเสมอ [นิวเคลียร์] |
Gamma greenhouse | เรือนรังสีแกมมา, เรือนเพาะเลี้ยงพืชที่มีหลังคาโปร่งแสง บริเวณตรงกลางเรือนหรือด้านใดด้านหนึ่งของห้องติดตั้งเครื่องฉายรังสีแกมมา มีกำแพงคอนกรีตหนาเพื่อป้องกันไม่ให้รังสีออกสู่ภายนอก และมีเครื่องควบคุมการฉายรังสีอยู่ด้านนอก ใช้สำหรับศึกษาผลของรังสีต่อพืชและการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยให้พืชที่ปลูกในกระถางได้รับรังสีปริมาณต่ำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานาน [นิวเคลียร์] |
Gamma irradiation | การฉายรังสีแกมมา [นิวเคลียร์] |
Gamma radiation | รังสีแกมมา [นิวเคลียร์] |
Gamma ray | รังสีแกมมา, Example: รังสีที่มีอำนาจการทะลุทะลวงสูง ส่งผ่านไปได้ในอากาศเป็นระยะทางไกลไชทะลุของบางอย่างได้ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะบางๆ ต้องใช้กำแพงคอนกรีตจึงจะกั้นไว้ได้ เช่น 60Co รังสี gamma เป็นอันตรายต่อร่างกายมาก เพราะไชผ่านเข้าไปได้ลึก และทำให้โมเลกุลที่มันตกกระทบกลายเป็น ion เป็นเหตุให้เคมีของโมเลกุลเปลี่ยนไป หรือเซลล์ตาย และยังผลกระทบต่อไปจนกระทั่งอวัยวะถูกทำลาย [สิ่งแวดล้อม] |
Effect of gamma rays on | ผลกระทบของรังสีแกมมา [TU Subject Heading] |
Gamma cameras | เครื่องบันทึกภาพรังสีแกมมา [TU Subject Heading] |
Gamma rays | รังสีแกมมา [TU Subject Heading] |
Relative Biological Effect | ผลทางชีววิทยาสัมพัทธ์, การเปรียบเทียบปริมาณรังสีของรังสีชนิดหนึ่งกับรังสีเอกซ์ 250 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ หรือรังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60 ที่ก่อให้เกิดผลทางชีววิทยาเหมือนกัน ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน $ RBE = \frac{ ปริมาณรังสีจากรังสีเอกซ์ 250 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ หรือรังสีแกมมาจากโคบอลต์-60 }{ ปริมาณรังสีจากรังสีชนิดอื่น } $ [นิวเคลียร์] |
Gamma (G - Ray) | รังสีแกมมา, Example: มีอำนาจการทะลุทะลวงสูง ส่งผ่านไปได้ในอากาศเป็นระยะทางไกล ไชทะลุของบางอย่างได้ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะบาง ๆ ต้องใช้กำแพงคอนกรีตจึงจะกั้นไว้ได้ เช่น 60Co รังสี gamma เป็นอันตรายต่อร่างกายมาก เพราะไชผ่านเข้าไปได้ลึก และทำให้ โมเลกุลที่มันตกกระทบกลายเป็น ion เป็นเหตุให้เคมีของโมเลกุลเปลี่ยนไปหรือเซลล์ตาย และยังผลกระทบต่อไปจนกระทั่งอวัยวะถูกทำลาย [สิ่งแวดล้อม] |
gamma irradiation | การฉายรังสีแกมมา, การนำวัตถุใดๆ ไปฉายรังสีแกมมาโดยไม่มีรังสีตกค้าง [พลังงาน] |
ionisingradiation | รังสีชนิดก่อไอออน, คือ พลังงานในรูปแม่เหล็กไฟฟ้า หรืออนุภาครังสีใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตรอนที่มีความเร็วสูง รังสีชนิดนี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต [พลังงาน] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
radappertization | การทำให้ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์ด้วยรังสี, คือ การนำอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ซึ่งบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีสูงกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหรือจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ยังผลให้อาหารนั้นเก็บได้นานหลายเดิอน หรือเป็นปี โดยไม่ต้องใช้ความเย็น เช่น การทำอาหารแช่แข็ง หรือใช้ความร้อน เช่น การทำอาหารกระป๋อง ตัวอย่างอาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อทำให้ปลอดจุลินทรีย์ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อไก่งวงรมควัน อาหารสำหรับคนไข้ และอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศ [พลังงาน] |
radiation disinfestation | การควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลงด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตผลการเกษตร ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน เพื่อกำจัด หรือยับยั้งการขยายพันธุ์ของแมลงที่อาจมีอยู่ในอาหารหรือผลิตผลการเกษตร และจะต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการกลับเข้ามาทำลายของแมลงที่อาจมีอยู่ในอาหาร หรือผลิตผลการเกษตรที่ฉายรังสีด้วยปริมาณรังสีไม่เกิน 1 กิโลเกรย์ เช่น มะม่วง มะละกอ เมล็ดโกโก้ ถั่ว ข้าว ข้าวสาลี ปลาแห้ง ปลารมควัน ดอกกล้วยไม้ [พลังงาน] |
radiation sprout inhibition | การยับยั้งการงอกด้วยรังสี, คือ การนำอาหารประเภทพืชหัวไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า0.15 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุม หรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ทำให้เกิดการงอก ยังผลให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานหลายเดือนโดยไม่งอกหรืองอกเล็กน้อย ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาอาหารที่ผ่านการฉายรังสีที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้ อาหารเน่าเสีย ตัวอย่างของอาหารที่นำมาฉายรังสี ได้แก่ หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง กระเทียม และขิง [พลังงาน] |